
เปิดใจ “น้องโฟกัส” สาวน้อยเจ้าของ “คุณนาย เบเกอรี่” พลิกวิกฤตเป็นโอกาส ขายโดนัท 5 บาทจนดังเปรี้ยง ช่วงพีคขายกว่าหมื่นชิ้นต่อวัน รับทรัพย์ 7 หลักต่อเดือน
วิกฤตโควิด ทำชีวิตพลิกเพราะโดนัท
ตอนอายุ 13 ปี ตัวเรากำลังทำอะไรกันอยู่...?
หลายคนก็คงปรับตัวกับการเรียนที่ก้าวจากชั้นประถม มาสู่ชั้นมัธยมต้น บ้างอาจจะทำกิจกรรมสนุกสนานตามวัย
แต่สำหรับ “น้องโฟกัส - ธันย์สิตา อริยะรุ่งรัตน์” เธอกลายเป็นเจ้าของร้าน “คุณนาย เบเกอรี่” ร้านขนมใน จ.พระนครศรีอยุธยา ที่โด่งดังไปทั่วประเทศ กับการขายเบเกอรี่ราคาเริ่มต้นเพียงชิ้นละ 5 บาท แต่สร้างรายได้ถึง 7 หลักต่อเดือน
ย้อนไปถึงจุดเริ่มต้นเมื่อราว 4 ปีที่แล้ว การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบไปทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ครอบครัว “อริยะรุ่งรัตน์” ทำให้เสาหลักของบ้านอย่างคุณแม่ ต้องออกจากงานประจำที่ทำอยู่ มาหาอาชีพใหม่

น้องโฟกัสในวัยเพียง 13 ปี ได้รับรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และพยายามหาทางออก เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของครอบครัว
“ถ้าเป็นเมื่อก่อนนะคะ คุณแม่จะทำงานประจำค่ะ ก็คือเป็นพวกร้านถ่ายรูป ก็จะกระทบทั้งเรื่องรายได้ด้วยค่ะ แล้วก็เหมือนที่บ้านหนูรายได้จะมาจากคุณแม่เป็นหลัก ก็เลยกระทบกันทั้งบ้าน พอเกิดโควิดก็เลยทำให้ทั้งบ้านต้องมาช่วยกันแก้ปัญหาค่ะ
คุณแม่เขาจะชอบทำพวกขนมเป็นเหมือนงานอดิเรกค่ะ ตอนนั้นก่อนที่จะมีโควิด คุณแม่เขาก็จะทำขนมอยู่แล้ว แล้วหนูก็จะเอาไปขายที่โรงเรียนด้วย (เพื่อนๆ) เขาก็ชอบค่ะ สมัยที่หนูเอาไปขาย ส่วนมากหนูจะชอบเอาพวกทาร์ตไข่อะไรอย่างนี้ไปขายค่ะ เขาก็จะชอบอุดหนุนกัน

แต่ว่าพอมีโควิดเข้ามา แม่ออกจากงานประจำ ก็เลยกลายเป็นว่าเราต้องมาหางานใหม่ ทีนี้ก็เลยคิดว่าตอนนี้สิ่งที่เราทำเป็นก็อาจจะเป็นขนม ก็เลยให้คุณแม่ลองเอาขนมมาทำเป็นอาชีพหลักค่ะ ตอนนั้นยังไม่ได้ทำหน้าร้านค่ะ เราก็ต้องหาหน้าร้านเป็นหลักเป็นแหล่ง
ตอนนั้นหนูอยู่ประมาณช่วง ม.ต้นค่ะ ก็คือมันเป็นช่วงโควิดพอดี ก็เลยทำให้ที่โรงเรียนเขาจะเรียนเป็นออนไลน์กัน ก็ทำให้จะมีเวลาอยู่ที่บ้านเยอะขึ้นค่ะ ก็คือช่วยคุณแม่ชิมขนมแต่ละวัน ว่ารสชาตินี้พอจะขายได้หรือยัง ถูกปากเราหรือยัง
เหมือนคุณแม่เขาจะหาเรียนนู่น หาเรียนนี่ ค่อยๆ ปรับสูตรเป็นของตัวเองไปเรื่อยๆ ให้ถูกปากลูกๆ มากที่สุด เพราะคิดว่าถ้าถูกปากเรา ก็อาจจะถูกปากลูกค้า อย่างนี้ค่ะ”
จากแผงลอย สู่หน้าร้าน
มนูแรกที่ตัดสินใจวางขายคือ ‘แพนเค้กญี่ปุ่น’ แต่ด้วยสถานการณ์ของเศรษฐกิจในตอนนั้น ทำให้ขนมตัวนี้ไม่ได้รับความนิยม จึงจำเป็นต้องหาเมนูใหม่มาทดแทน
“ตอนแรกหนูเคยขายเป็นแพนเค้กญี่ปุ่น แต่ว่าเหมือนราคามันจะสูงไปนิดนึง พอเป็นช่วงโควิดเนี่ย จะทำให้คนเลือกใช้จ่ายกันมากขึ้น ตอนนั้นหนูขายเป็นกล่องค่ะ ชิ้นละประมาณ 70 กว่าบาทถึง 100 กว่าบาทค่ะ
ตอนที่ขายแพนเค้กยอดขายน้อยค่ะ ส่วนมากเขาอาจจะไม่ใช้เงิน 100 บาท กับการซื้อขนมมื้อนึงอะไรอย่างนี้ค่ะ ก็อาจจะขายไม่ค่อยได้ค่ะ
ก็คิดว่างั้นเราอาจจะต้องหาขนมที่ตอบโจทย์คนมากกว่านี้ เลยเลือกเป็นพวกโดนัท เพราะว่าคุณแม่เขาจะชอบทำขนมให้กินหลายตัวใช่ไหมคะ แต่ว่าตัวที่จะชอบกินกันมากที่สุดก็คือพวกโดนัท
เราคุยกันว่าโดนัท หนูคิดว่ามันสามารถเล่นได้มากที่สุด คือเราสามารถแต่งหน้าทำรูปแบบได้มากค่ะ ก็เลยเลือกเป็นโดนัท ที่บ้านไม่เคยทำธุรกิจอาหารค่ะ อันนี้เป็นครั้งแรกเลย ตอนนั้นมีหน้าร้านที่อยุธยาเลยค่ะ”
โดนัท 5 บาท คนซื้อได้กำไร คนขายไม่ขาดทุน
หลังจากที่ตัดสินใจแล้วว่าจะลุยในเส้นทางเบเกอรี่ เมนูแจ้งเกิดของที่ร้านก็คือ “โดนัท” ในราคาชิ้นละ 5 บาท ที่บวกลบคูณหารแล้วว่าราคานี้ไม่ขาดทุน
“
ประมาณหนู 13 ค่ะ ก็ประมาณ 3 - 4 ปีที่แล้วค่ะ ช่วงที่โควิดเข้ามา ตัดสินใจไม่นานค่ะ เพราะว่าเหมือนตอนนั้นเราไม่ได้มีงานเป็นหลักอยู่แล้วด้วย การเริ่มต้นอันนี้เราสามารถเริ่มได้เลย ก็คือถ้าสมมติว่ามันไม่เวิร์ก ก็อาจจะเริ่มตัวอื่นค่ะ
ตอนที่หน้าร้านเริ่มเป็นโดนัทค่ะ ก็คือเป็นตัวแป้งโดนัท แต่ว่าเราอาจจะทำให้รูปแบบแตกต่างค่ะ เริ่มต้นที่ 5 บาทเลยค่ะ แต่ว่าวันแรกที่ขายเนี่ย เหมือนพี่ที่ร้านก็กลัวเราจะไม่ได้กำไร เขาก็เลยเคยลองขาย 10 บาทให้
แต่ว่าก็คือ 10 บาทลูกค้าไม่ซื้อเลย เพราะว่ามันไม่ได้มีความแตกต่างกับขนมทั่วไปค่ะ เขาก็เลยขาย 5 บาทแบบที่เราตั้งใจไว้ เลยทำให้ลูกค้าซื้อเยอะขึ้น เราก็เลยคิดว่างั้น 5 บาท ควรจะเป็นราคาที่เราตั้งไว้เป็นมาตรฐานค่ะ
ไม่ขาดทุนค่ะ ก็คือเหมือนอย่างถ้าเราจะขายใช่ไหมคะ อย่างแรกเราก็ต้องได้กำไร แต่ว่ากำไรที่หนูได้อาจจะน้อยค่ะ อาจจะเป็นบาทนึงอะไรอย่างนี้ แต่หนูจะไปอาศัยที่ปริมาณมากกว่าค่ะ
โดนัท 5 บาท เมนูกู้วิกฤต
5 บาทก็คือเหมือนช่วยกันคิด เพราะว่าถ้าอย่างหนู หนูยึดจากหนูเป็นวัยนักเรียนอยู่ใช่ไหมคะ หนูก็คิดว่าเงินน้อยที่สุดอย่างน้อยที่เราจะเอามาโรงเรียน ก็อาจจะเป็น 5 บาท หนูก็เลยคิดว่า ถ้าตอนนั้นไม่ได้มองกลุ่มเป้าหมายเยอะมากขนาดนั้น ถ้าเราขายเด็กที่เดินผ่านไปผ่านมาแถวหน้าร้าน ก็น่าจะตอบโจทย์ พอใจแล้วค่ะ
เด็กแถวหน้าร้าน เขาก็รู้แล้วว่าร้านนี้ขายขนม 5 บาท เขาก็จะถือเหรียญมา 5 บาท ขอคุณแม่มาแล้วก็มาเคาะประตู จะไม่ค่อยได้คุยค่ะ แล้วก็ส่วนมากเขาจะซื้อเป็นพวกโดนัทอย่างนี้ค่ะ เขาจะชอบมาซื้อทุกวันค่ะ”
แน่นอนว่านี่ไม่ใช่ร้านขนมเจ้าเดียวที่มีในท้องตลาด แล้วเพราะอะไรล่ะ ที่ทำให้ลูกค้าติดใจกลับมาอุดหนุนกัน
น้องโฟกัสบอกว่า ที่ร้านนอกจากจะทำราคาไว้ถูกแล้ว ขนมทุกชิ้นยังใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ บวกกับรสชาติเกินคุ้ม จึงทำให้มีลูกค้าติดใจวนเวียนกลับมาซ้ำอีก
“ถ้าจุดเด่นหลักๆ หนูจะคิดว่าเป็นราคาค่ะ มันเป็นราคาที่ค่อนข้างถูกค่ะ แล้วก็อีกอย่างก็คือจะเป็นรสชาติค่ะ อย่างบางคนเขาอาจจะมองว่า 5 บาท ในเมื่อมันราคาถูก รสชาติมันอาจจะไม่โอเคอย่างนี้ แต่ว่าจริงๆ แล้วเราใช้วัตถุดิบที่โอเค วัตถุดิบที่ดีแล้วก็เหมาะสม ก็เลยทำให้มีลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำค่ะ
หนูจะมีทั้งของหวานและของคาว ก็จะมีราคา 5 บาท 6 บาท ก็คือจะทำให้คนเข้าถึงได้ง่ายค่ะ ถ้าตอนแรกที่ตั้งไว้คือหนูอยากตั้งให้เป็นวัยนักเรียน แต่ว่าพอขายมาส่วนมากก็มีทุกวัยเลยค่ะ มีทั้งเด็ก มีทั้งผู้ใหญ่ อย่างช่วงวัยทำงานก็อาจจะซื้อไปจัดเบรก ทำโรงทาน หรือว่าซื้อไปรับประทานทั่วไปค่ะ
ตรงหน้าร้านจะเลยแยกโรงเรียนอาชีวะมาค่ะ ก็จะมีโรงเรียนอยู่แล้วด้วย แล้วก็เหมือนเส้นนั้นตรงอยุธยาก็จะมีชาวต่างชาติเดินผ่านเยอะค่ะ ตอนนั้นหนูวางขายหน้าร้านค่ะ แล้วก็จะมีไปออกขายตามตลาดนัดด้วย ให้คนเริ่มรู้จักค่ะ
เป็นโชคดีของ คุณนาย เบเกอรี่ ที่ใช้เวลาเพียงแค่ช่วงเดือนแรกที่เปิดร้าน ก็กลายเป็นที่รู้จักใน จ.พระนครศรีอยุธยา ความฮอตยังไม่หยุดแค่นั้นเพราะได้รับเชิญไปออกรายการมามากมาย แถมยังกระแสดีไม่มีแผ่วมาจนถึงปัจจุบัน
ขายไม่นานค่ะ ประมาณช่วงเดือนแรกที่ขาย อย่างหนูลงเพจในอยุธยาก่อน ก็คือให้กลุ่มเป้าหมายเป็นในโซนอยุธยา แล้วหลังจากนั้นก็เหมือนมีรายการต่างๆ ผ่านมาเห็นค่ะ ก็เลยได้เชิญติดต่อไปออก เลยทำให้มีคนรู้จักมากขึ้นค่ะ
ก็ทำให้นอกจากจะมีลูกค้าในอยุธยาอยู่แล้ว จะมีลูกค้าต่างจังหวัดด้วย เขาบอกว่าเขาดูจากรายการนี้นะ เขาก็มาเพื่อซื้อขนมเลย มาจากหลายจังหวัดเลยค่ะ หลายๆ ภาคอย่างนี้ค่ะ
เหมือนที่ร้านตั้งแต่ตอนแรกที่เราเริ่มร้านมา ตอนนั้นหนูอายุ 13 เขาก็จะมองว่าเด็ก 13 ทำขนม เลยทำให้หลายๆ สื่อที่สนใจ ทำให้ทุกคนจะมีความสนใจมากขึ้น เขาอาจจะมองว่าเราอายุน้อย แล้วเราก็ได้ทำธุรกิจที่ปัจจุบันมันเติบโตค่อนข้างเยอะ อย่างนี้ค่ะ
ที่บ้านเวลาออกสื่อก็เลยจะให้หนูเป็นหลัก แต่จริงๆ ก็คือที่บ้านจะปรึกษากันตลอดในเรื่องของการทำขนมค่ะ ทุกอย่างก็จะมาจากไอเดียของที่บ้านทุกคนเลย”
ค่าวัตถุดิบขึ้น แต่ไม่ขึ้นราคา รับ 7 หลักเหนาะๆ ต่อเดือน
ด้วยเพราะเป็นธุรกิจครอบครัว ทำให้สมาชิกทุกคนในบ้าน มีส่วนร่วมด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งหน้าที่ของน้องโฟกัสหลังว่างจากการเรียน ก็จะมาเป็นลูกมือคุณแม่คอยช่วยทำ ช่วยชิม และช่วยคิดเมนูใหม่ๆ เพื่อวางขาย
จะมีคุณพ่อคุณแม่ค่ะ หนูจะมีพี่น้องทั้งหมด 4 คนค่ะ หนูเป็นคนที่ 2 ค่ะ ก็ประมาณ 6 คน ถ้าอย่างขายหน้าร้าน คุณแม่เขาจะเป็นคนคิดสูตรขนมใช่ไหมคะ อย่างหนูกับพี่ชายก็อาจจะเป็นคนคอยทำเกี่ยวกับเรื่องการตลาดอย่างนี้ค่ะ เป็นคนคอยขาย ส่วนคุณพ่อจะเป็นคนคอย Support ตรงนี้ค่ะ
ถ้าตอนนี้หนูก็จะเรียนเป็นหลักค่ะ หนูจะเรียนจันทร์ - ศุกร์ แล้วก็เสาร์ - อาทิตย์ ถ้าหนูเคลียร์งานเรียบร้อย หนูก็จะเข้าไปช่วยคุณแม่ทำขนมเพิ่ม ก็คือเหมือนช่วยกันหาขนมใหม่ๆ คิดสูตรใหม่ๆ ไปลองกันชิมค่ะ
ตอนนี้หนูทั้งมีโดนัทที่ขายสำเร็จหน้าร้าน แล้วก็มีพวกแป้งแช่แข็ง อย่างโดนัทหนูก็จะมีหลายหน้า มีพวกทั้งของหวาน - ของคาว อย่างตอนนี้ก็จะมีพวกของสำเร็จ ที่พร้อมส่งทั่วประเทศด้วยค่ะ หรือว่าเป็นพวกเค้กต่างๆ ก็มีค่ะ
ถ้าอย่างที่ขายดีของที่ร้าน หน้าร้านนะคะ ก็จะเป็นพวกโดนัทไอซิ่งค่ะ เหมือนลูกค้าจะชอบมาซื้อเพราะว่าเราให้ไส้เยอะ ถ้าเป็นเด็กก็จะชอบพวกโดนัท ซื้อหน้าต่างๆ ถ้าเป็นผู้ใหญ่ส่วนมากเขาจะชอบซื้อของคาว ก็จะเป็นเบอร์เกอร์ค่ะ
คาว - หวานมีครบ เริ่มต้นที่ 5 บาท
แม้วัตถุดิบในการทำขนมจะขึ้นราคา แต่ร้านนี้เลือกที่จะตรึงราคาโดนัทชิ้นละ 5 บาทไว้เหมือนวันแรก
ไม่ได้ขึ้นเลยค่ะ ก็จะอยู่ที่ 5 บาท 6 บาทเหมือนเดิมค่ะ ตอนที่หนูตั้งราคาตั้งแต่ตอนแรก หนูก็ได้มีการเผื่อไว้แล้ว คือกำไรหนูจะได้ประมาณบาทสองบาท อย่างปัจจุบันที่ค่าวัตถุดิบเพิ่มขึ้น ถ้าหนูยังขายราคาเดิมได้ ก็คือหนูยังได้กำไรอยู่ค่ะ อาจจะน้อยลงมานิดนึง แต่หนูจะไปอาศัยที่ปริมาณขายค่ะ
แฟรนไชส์ไม่ได้ทำค่ะ หนูจะขายเป็นหลักๆ คือของที่ร้านเลย มีส่งทั้งแป้งแช่แข็งและตัวสำเร็จค่ะ ตัวแป้งแช่แข็งก็คือเหมือนอย่างแป้งที่ร้านหนูจะมี 4 แบบใช่ไหมคะ แต่ว่าลูกค้าสามารถเอาไปทำได้หลากหลายหน้า
ก็คือเราจะสอนวิธีทำ วิธีทอด หรือว่าแนะนำวัตถุดิบต่างๆ แต่ว่าเรื่องราคา ลูกค้าสามารถเอาไปกำหนดได้เอง แล้วก็ตั้งชื่อร้านเองค่ะ เขาสามารถเอาไปทำเป็นแบรนด์เขาเองได้เลยค่ะ
แป้งแช่แข็งหนูจะเป็นถุงละ 50 ชิ้น มีทั้งหมด 4 แบบ หนูจะเปิดบิลที่ 300 ชิ้น ก็จะเป็นชิ้นละ 3.50 บาท การลงทุนก็จะลงทุนประมาณหลักพันกว่าบาท ก็สามารถสร้างอาชีพได้แล้วค่ะ

ถามถึงรายได้ที่ได้รับต่อเดือนก็ไม่ธรรมดา เพราะโดนัท 5 บาทนี้ สามารถทำเงินได้ถึงหลักล้านต่อเดือน แถมช่วงเทศกาลก็ขายดีนับหมื่นชิ้นต่อวันเลยทีเดียว
ถ้าหน้าร้านก็จะวันละ 200 - 300 ชิ้นค่ะ แต่ว่าถ้าเป็นช่วงพีคๆ หรือว่าช่วงเทศกาลอะไรอย่างนี้ หนูจะมีขายทั้งตัวแป้งสำเร็จ ตัวแป้งแช่แข็งด้วย ก็อาจจะขายได้เยอะหน่อยค่ะ ถ้าเป็นช่วงเทศกาล ทั้งรวมแป้งสำเร็จ แป้งแช่แข็งด้วย ก็อาจจะได้วันละหมื่นชิ้นก็มีค่ะ
ยอดขายค่อยๆ พัฒนาขึ้นค่ะ เหมือนอย่างมันพัฒนาจากการที่เราหารูปแบบการขายใหม่ด้วยค่ะ อย่างเมื่อก่อนหนูอาจจะขายแค่หน้าร้านเป็นหลัก แต่ว่าปัจจุบันก็จะมีทำแป้งแช่แข็งด้วย หรือว่ารับผลิตแป้งด้วยก็จะมียอดขายที่เพิ่มขึ้นค่ะ
ที่บ้านจะเน้นออนไลน์เป็นหลักเลยค่ะ แต่ว่าเราก็จะมีขายหน้าร้านด้วยค่ะ ถ้ารายได้ต่อเดือนนี่ประมาณ 7 หลักค่ะ เป็นยอดกลมๆ ค่ะ
คุณนาย เบเกอรี่ เศรษฐี ม.ต้น เริ่มชิ้นละ 5 บาท ปั้น 7 หลักต่อเดือน
เปิดใจ “น้องโฟกัส” สาวน้อยเจ้าของ “คุณนาย เบเกอรี่” พลิกวิกฤตเป็นโอกาส ขายโดนัท 5 บาทจนดังเปรี้ยง ช่วงพีคขายกว่าหมื่นชิ้นต่อวัน รับทรัพย์ 7 หลักต่อเดือน
วิกฤตโควิด ทำชีวิตพลิกเพราะโดนัท
ตอนอายุ 13 ปี ตัวเรากำลังทำอะไรกันอยู่...?
หลายคนก็คงปรับตัวกับการเรียนที่ก้าวจากชั้นประถม มาสู่ชั้นมัธยมต้น บ้างอาจจะทำกิจกรรมสนุกสนานตามวัย
แต่สำหรับ “น้องโฟกัส - ธันย์สิตา อริยะรุ่งรัตน์” เธอกลายเป็นเจ้าของร้าน “คุณนาย เบเกอรี่” ร้านขนมใน จ.พระนครศรีอยุธยา ที่โด่งดังไปทั่วประเทศ กับการขายเบเกอรี่ราคาเริ่มต้นเพียงชิ้นละ 5 บาท แต่สร้างรายได้ถึง 7 หลักต่อเดือน
ย้อนไปถึงจุดเริ่มต้นเมื่อราว 4 ปีที่แล้ว การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบไปทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ครอบครัว “อริยะรุ่งรัตน์” ทำให้เสาหลักของบ้านอย่างคุณแม่ ต้องออกจากงานประจำที่ทำอยู่ มาหาอาชีพใหม่
น้องโฟกัสในวัยเพียง 13 ปี ได้รับรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และพยายามหาทางออก เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของครอบครัว
“ถ้าเป็นเมื่อก่อนนะคะ คุณแม่จะทำงานประจำค่ะ ก็คือเป็นพวกร้านถ่ายรูป ก็จะกระทบทั้งเรื่องรายได้ด้วยค่ะ แล้วก็เหมือนที่บ้านหนูรายได้จะมาจากคุณแม่เป็นหลัก ก็เลยกระทบกันทั้งบ้าน พอเกิดโควิดก็เลยทำให้ทั้งบ้านต้องมาช่วยกันแก้ปัญหาค่ะ
คุณแม่เขาจะชอบทำพวกขนมเป็นเหมือนงานอดิเรกค่ะ ตอนนั้นก่อนที่จะมีโควิด คุณแม่เขาก็จะทำขนมอยู่แล้ว แล้วหนูก็จะเอาไปขายที่โรงเรียนด้วย (เพื่อนๆ) เขาก็ชอบค่ะ สมัยที่หนูเอาไปขาย ส่วนมากหนูจะชอบเอาพวกทาร์ตไข่อะไรอย่างนี้ไปขายค่ะ เขาก็จะชอบอุดหนุนกัน
แต่ว่าพอมีโควิดเข้ามา แม่ออกจากงานประจำ ก็เลยกลายเป็นว่าเราต้องมาหางานใหม่ ทีนี้ก็เลยคิดว่าตอนนี้สิ่งที่เราทำเป็นก็อาจจะเป็นขนม ก็เลยให้คุณแม่ลองเอาขนมมาทำเป็นอาชีพหลักค่ะ ตอนนั้นยังไม่ได้ทำหน้าร้านค่ะ เราก็ต้องหาหน้าร้านเป็นหลักเป็นแหล่ง
ตอนนั้นหนูอยู่ประมาณช่วง ม.ต้นค่ะ ก็คือมันเป็นช่วงโควิดพอดี ก็เลยทำให้ที่โรงเรียนเขาจะเรียนเป็นออนไลน์กัน ก็ทำให้จะมีเวลาอยู่ที่บ้านเยอะขึ้นค่ะ ก็คือช่วยคุณแม่ชิมขนมแต่ละวัน ว่ารสชาตินี้พอจะขายได้หรือยัง ถูกปากเราหรือยัง
เหมือนคุณแม่เขาจะหาเรียนนู่น หาเรียนนี่ ค่อยๆ ปรับสูตรเป็นของตัวเองไปเรื่อยๆ ให้ถูกปากลูกๆ มากที่สุด เพราะคิดว่าถ้าถูกปากเรา ก็อาจจะถูกปากลูกค้า อย่างนี้ค่ะ”
“ตอนแรกหนูเคยขายเป็นแพนเค้กญี่ปุ่น แต่ว่าเหมือนราคามันจะสูงไปนิดนึง พอเป็นช่วงโควิดเนี่ย จะทำให้คนเลือกใช้จ่ายกันมากขึ้น ตอนนั้นหนูขายเป็นกล่องค่ะ ชิ้นละประมาณ 70 กว่าบาทถึง 100 กว่าบาทค่ะ
ตอนที่ขายแพนเค้กยอดขายน้อยค่ะ ส่วนมากเขาอาจจะไม่ใช้เงิน 100 บาท กับการซื้อขนมมื้อนึงอะไรอย่างนี้ค่ะ ก็อาจจะขายไม่ค่อยได้ค่ะ
ก็คิดว่างั้นเราอาจจะต้องหาขนมที่ตอบโจทย์คนมากกว่านี้ เลยเลือกเป็นพวกโดนัท เพราะว่าคุณแม่เขาจะชอบทำขนมให้กินหลายตัวใช่ไหมคะ แต่ว่าตัวที่จะชอบกินกันมากที่สุดก็คือพวกโดนัท
เราคุยกันว่าโดนัท หนูคิดว่ามันสามารถเล่นได้มากที่สุด คือเราสามารถแต่งหน้าทำรูปแบบได้มากค่ะ ก็เลยเลือกเป็นโดนัท ที่บ้านไม่เคยทำธุรกิจอาหารค่ะ อันนี้เป็นครั้งแรกเลย ตอนนั้นมีหน้าร้านที่อยุธยาเลยค่ะ”
โดนัท 5 บาท คนซื้อได้กำไร คนขายไม่ขาดทุน
หลังจากที่ตัดสินใจแล้วว่าจะลุยในเส้นทางเบเกอรี่ เมนูแจ้งเกิดของที่ร้านก็คือ “โดนัท” ในราคาชิ้นละ 5 บาท ที่บวกลบคูณหารแล้วว่าราคานี้ไม่ขาดทุน
“
ประมาณหนู 13 ค่ะ ก็ประมาณ 3 - 4 ปีที่แล้วค่ะ ช่วงที่โควิดเข้ามา ตัดสินใจไม่นานค่ะ เพราะว่าเหมือนตอนนั้นเราไม่ได้มีงานเป็นหลักอยู่แล้วด้วย การเริ่มต้นอันนี้เราสามารถเริ่มได้เลย ก็คือถ้าสมมติว่ามันไม่เวิร์ก ก็อาจจะเริ่มตัวอื่นค่ะ
ตอนที่หน้าร้านเริ่มเป็นโดนัทค่ะ ก็คือเป็นตัวแป้งโดนัท แต่ว่าเราอาจจะทำให้รูปแบบแตกต่างค่ะ เริ่มต้นที่ 5 บาทเลยค่ะ แต่ว่าวันแรกที่ขายเนี่ย เหมือนพี่ที่ร้านก็กลัวเราจะไม่ได้กำไร เขาก็เลยเคยลองขาย 10 บาทให้
แต่ว่าก็คือ 10 บาทลูกค้าไม่ซื้อเลย เพราะว่ามันไม่ได้มีความแตกต่างกับขนมทั่วไปค่ะ เขาก็เลยขาย 5 บาทแบบที่เราตั้งใจไว้ เลยทำให้ลูกค้าซื้อเยอะขึ้น เราก็เลยคิดว่างั้น 5 บาท ควรจะเป็นราคาที่เราตั้งไว้เป็นมาตรฐานค่ะ
ไม่ขาดทุนค่ะ ก็คือเหมือนอย่างถ้าเราจะขายใช่ไหมคะ อย่างแรกเราก็ต้องได้กำไร แต่ว่ากำไรที่หนูได้อาจจะน้อยค่ะ อาจจะเป็นบาทนึงอะไรอย่างนี้ แต่หนูจะไปอาศัยที่ปริมาณมากกว่าค่ะ
เด็กแถวหน้าร้าน เขาก็รู้แล้วว่าร้านนี้ขายขนม 5 บาท เขาก็จะถือเหรียญมา 5 บาท ขอคุณแม่มาแล้วก็มาเคาะประตู จะไม่ค่อยได้คุยค่ะ แล้วก็ส่วนมากเขาจะซื้อเป็นพวกโดนัทอย่างนี้ค่ะ เขาจะชอบมาซื้อทุกวันค่ะ”
แน่นอนว่านี่ไม่ใช่ร้านขนมเจ้าเดียวที่มีในท้องตลาด แล้วเพราะอะไรล่ะ ที่ทำให้ลูกค้าติดใจกลับมาอุดหนุนกัน
น้องโฟกัสบอกว่า ที่ร้านนอกจากจะทำราคาไว้ถูกแล้ว ขนมทุกชิ้นยังใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ บวกกับรสชาติเกินคุ้ม จึงทำให้มีลูกค้าติดใจวนเวียนกลับมาซ้ำอีก
“ถ้าจุดเด่นหลักๆ หนูจะคิดว่าเป็นราคาค่ะ มันเป็นราคาที่ค่อนข้างถูกค่ะ แล้วก็อีกอย่างก็คือจะเป็นรสชาติค่ะ อย่างบางคนเขาอาจจะมองว่า 5 บาท ในเมื่อมันราคาถูก รสชาติมันอาจจะไม่โอเคอย่างนี้ แต่ว่าจริงๆ แล้วเราใช้วัตถุดิบที่โอเค วัตถุดิบที่ดีแล้วก็เหมาะสม ก็เลยทำให้มีลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำค่ะ
หนูจะมีทั้งของหวานและของคาว ก็จะมีราคา 5 บาท 6 บาท ก็คือจะทำให้คนเข้าถึงได้ง่ายค่ะ ถ้าตอนแรกที่ตั้งไว้คือหนูอยากตั้งให้เป็นวัยนักเรียน แต่ว่าพอขายมาส่วนมากก็มีทุกวัยเลยค่ะ มีทั้งเด็ก มีทั้งผู้ใหญ่ อย่างช่วงวัยทำงานก็อาจจะซื้อไปจัดเบรก ทำโรงทาน หรือว่าซื้อไปรับประทานทั่วไปค่ะ
ตรงหน้าร้านจะเลยแยกโรงเรียนอาชีวะมาค่ะ ก็จะมีโรงเรียนอยู่แล้วด้วย แล้วก็เหมือนเส้นนั้นตรงอยุธยาก็จะมีชาวต่างชาติเดินผ่านเยอะค่ะ ตอนนั้นหนูวางขายหน้าร้านค่ะ แล้วก็จะมีไปออกขายตามตลาดนัดด้วย ให้คนเริ่มรู้จักค่ะ
ขายไม่นานค่ะ ประมาณช่วงเดือนแรกที่ขาย อย่างหนูลงเพจในอยุธยาก่อน ก็คือให้กลุ่มเป้าหมายเป็นในโซนอยุธยา แล้วหลังจากนั้นก็เหมือนมีรายการต่างๆ ผ่านมาเห็นค่ะ ก็เลยได้เชิญติดต่อไปออก เลยทำให้มีคนรู้จักมากขึ้นค่ะ
ก็ทำให้นอกจากจะมีลูกค้าในอยุธยาอยู่แล้ว จะมีลูกค้าต่างจังหวัดด้วย เขาบอกว่าเขาดูจากรายการนี้นะ เขาก็มาเพื่อซื้อขนมเลย มาจากหลายจังหวัดเลยค่ะ หลายๆ ภาคอย่างนี้ค่ะ
เหมือนที่ร้านตั้งแต่ตอนแรกที่เราเริ่มร้านมา ตอนนั้นหนูอายุ 13 เขาก็จะมองว่าเด็ก 13 ทำขนม เลยทำให้หลายๆ สื่อที่สนใจ ทำให้ทุกคนจะมีความสนใจมากขึ้น เขาอาจจะมองว่าเราอายุน้อย แล้วเราก็ได้ทำธุรกิจที่ปัจจุบันมันเติบโตค่อนข้างเยอะ อย่างนี้ค่ะ
ที่บ้านเวลาออกสื่อก็เลยจะให้หนูเป็นหลัก แต่จริงๆ ก็คือที่บ้านจะปรึกษากันตลอดในเรื่องของการทำขนมค่ะ ทุกอย่างก็จะมาจากไอเดียของที่บ้านทุกคนเลย”
ค่าวัตถุดิบขึ้น แต่ไม่ขึ้นราคา รับ 7 หลักเหนาะๆ ต่อเดือน
ด้วยเพราะเป็นธุรกิจครอบครัว ทำให้สมาชิกทุกคนในบ้าน มีส่วนร่วมด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งหน้าที่ของน้องโฟกัสหลังว่างจากการเรียน ก็จะมาเป็นลูกมือคุณแม่คอยช่วยทำ ช่วยชิม และช่วยคิดเมนูใหม่ๆ เพื่อวางขาย
จะมีคุณพ่อคุณแม่ค่ะ หนูจะมีพี่น้องทั้งหมด 4 คนค่ะ หนูเป็นคนที่ 2 ค่ะ ก็ประมาณ 6 คน ถ้าอย่างขายหน้าร้าน คุณแม่เขาจะเป็นคนคิดสูตรขนมใช่ไหมคะ อย่างหนูกับพี่ชายก็อาจจะเป็นคนคอยทำเกี่ยวกับเรื่องการตลาดอย่างนี้ค่ะ เป็นคนคอยขาย ส่วนคุณพ่อจะเป็นคนคอย Support ตรงนี้ค่ะ
ถ้าตอนนี้หนูก็จะเรียนเป็นหลักค่ะ หนูจะเรียนจันทร์ - ศุกร์ แล้วก็เสาร์ - อาทิตย์ ถ้าหนูเคลียร์งานเรียบร้อย หนูก็จะเข้าไปช่วยคุณแม่ทำขนมเพิ่ม ก็คือเหมือนช่วยกันหาขนมใหม่ๆ คิดสูตรใหม่ๆ ไปลองกันชิมค่ะ
ตอนนี้หนูทั้งมีโดนัทที่ขายสำเร็จหน้าร้าน แล้วก็มีพวกแป้งแช่แข็ง อย่างโดนัทหนูก็จะมีหลายหน้า มีพวกทั้งของหวาน - ของคาว อย่างตอนนี้ก็จะมีพวกของสำเร็จ ที่พร้อมส่งทั่วประเทศด้วยค่ะ หรือว่าเป็นพวกเค้กต่างๆ ก็มีค่ะ
ถ้าอย่างที่ขายดีของที่ร้าน หน้าร้านนะคะ ก็จะเป็นพวกโดนัทไอซิ่งค่ะ เหมือนลูกค้าจะชอบมาซื้อเพราะว่าเราให้ไส้เยอะ ถ้าเป็นเด็กก็จะชอบพวกโดนัท ซื้อหน้าต่างๆ ถ้าเป็นผู้ใหญ่ส่วนมากเขาจะชอบซื้อของคาว ก็จะเป็นเบอร์เกอร์ค่ะ
ก็คือเราจะสอนวิธีทำ วิธีทอด หรือว่าแนะนำวัตถุดิบต่างๆ แต่ว่าเรื่องราคา ลูกค้าสามารถเอาไปกำหนดได้เอง แล้วก็ตั้งชื่อร้านเองค่ะ เขาสามารถเอาไปทำเป็นแบรนด์เขาเองได้เลยค่ะ
แป้งแช่แข็งหนูจะเป็นถุงละ 50 ชิ้น มีทั้งหมด 4 แบบ หนูจะเปิดบิลที่ 300 ชิ้น ก็จะเป็นชิ้นละ 3.50 บาท การลงทุนก็จะลงทุนประมาณหลักพันกว่าบาท ก็สามารถสร้างอาชีพได้แล้วค่ะ
ถามถึงรายได้ที่ได้รับต่อเดือนก็ไม่ธรรมดา เพราะโดนัท 5 บาทนี้ สามารถทำเงินได้ถึงหลักล้านต่อเดือน แถมช่วงเทศกาลก็ขายดีนับหมื่นชิ้นต่อวันเลยทีเดียว
ถ้าหน้าร้านก็จะวันละ 200 - 300 ชิ้นค่ะ แต่ว่าถ้าเป็นช่วงพีคๆ หรือว่าช่วงเทศกาลอะไรอย่างนี้ หนูจะมีขายทั้งตัวแป้งสำเร็จ ตัวแป้งแช่แข็งด้วย ก็อาจจะขายได้เยอะหน่อยค่ะ ถ้าเป็นช่วงเทศกาล ทั้งรวมแป้งสำเร็จ แป้งแช่แข็งด้วย ก็อาจจะได้วันละหมื่นชิ้นก็มีค่ะ
ยอดขายค่อยๆ พัฒนาขึ้นค่ะ เหมือนอย่างมันพัฒนาจากการที่เราหารูปแบบการขายใหม่ด้วยค่ะ อย่างเมื่อก่อนหนูอาจจะขายแค่หน้าร้านเป็นหลัก แต่ว่าปัจจุบันก็จะมีทำแป้งแช่แข็งด้วย หรือว่ารับผลิตแป้งด้วยก็จะมียอดขายที่เพิ่มขึ้นค่ะ
ที่บ้านจะเน้นออนไลน์เป็นหลักเลยค่ะ แต่ว่าเราก็จะมีขายหน้าร้านด้วยค่ะ ถ้ารายได้ต่อเดือนนี่ประมาณ 7 หลักค่ะ เป็นยอดกลมๆ ค่ะ