วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) จังหวัดกรุงเทพมหานคร

เป็นเรื่องของเมื่อวานครับ (ใกล้กันไหมครับ)
กลับมาชมวัดที่ขึ้นชื่อว่า มีพระพุทธรูปเก่าแก่เป็นจำนวนมาก และถือเป็นวัดที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ แวะเข้ามาเยี่ยมชมเป็นจำนวนมาก วัดนี้คือ “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร หรือวัดโพธิ์” ถือเป็นวัดที่มีพระนอนขนาดใหญ่ที่สวยงามและเป็นเอกลักษณ์ที่สุดในประเทศไทย




ประวัติ
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร หรือวัดโพธิ์ เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยา เป็นวัดประจำของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) ราชวงศ์จักรี และที่ฐานชุกชีประดิษฐานพระพุทธเทวปฏิมากร พระประธานในพระอุโบสถเป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของพระองค์ท่านไว้ด้วยครับ

หลังรัชกาลที่ 1 ทรงสถาปนาพระบรมมหาราชวัง ก็มีการสถาปนาวัดโพธิ์ ซึ่งเป็นวัดเก่าที่ขนาบกับพระบรมมหาราชวังในปี พ.ศ. 2331 โดยทรงสร้างพระอุโบสถ พระระเบียง พระวิหาร ตลอดจนบูรณะของเดิม เมื่อแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2344 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาศ" ต่อมารัชกาลที่ 4 ได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยน ท้ายนามวัดเป็น “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม”

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่นานถึง 16 ปี 7 เดือน และขยายเขตพระอารามด้านเหนือและตะวันตกคือ ส่วนที่เป็นพระวิหารพระพุทธไสยาส สวนมิสกวัน สถาปนาขึ้นใหม่ เป็นโบราณสถานในพระอารามหลวงที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้

ภายในวัดยังมีสิ่งก่อสร้างและพุทธรูปเก่าเเก่ปางต่างๆ และอื่นๆอีกมากมากครับ เช่น พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณ, พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกรกนิธาน,พระมหาเจดีย์มุนีบัตบริขาร, พระมหาเจดีย์ทรงพระศรีสุริโยทัย, รูปปั้นฤๅษีดัดตน, ยักษ์วัดโพธิ์ และที่สำคัญองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational Scientific and Cultural Organization) หรือ ยูเนสโก (UNESCO) ได้มีมติรับรองให้ "จารึกวัดโพธิ์" ขึ้นทะเบียนเป็นเอกสารมรดกความทรงจำแห่งโลกในส่วนภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอีกด้วยครับ

พระพุทธรูปสำคัญภายในวัด

- พระพุทธเทวปฏิมากร พระประธานในพระอุโบสถ เดิมประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ที่วัดศาลาสี่หน้าหรือวัดคูหาสวรรค์ โดยรัชกาลที่ 1 ให้อัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถที่สร้างขึ้นใหม่ ทรงถวายนามใหม่ว่า "พระพุทธเทวปฏิมากร"




- พระพุทธโลกนาถ หรือพระโลกนาถ มีพระนามเดิมว่า "พระโลกนาถสาศดาจารย์" เดิมเคยประดิษฐานอยู่ภายในวัดพระศรีสรรเพชญ วัดในพระราชวังหลวงของกรุงศรีอยุธยา  และได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดพระเชตุพนในสมัยรัชกาลที่ 1 พร้อมกับพระพุทธรูปพระศรีสรรเพชญ์ในราวปี พ.ศ.2332




- พระพุทธไสยาส หรือที่เรียกกันว่า พระนอนวัดโพธิ์ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 ในคราวปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนครั้งใหญ่เมื่อ พ.ศ.2375 ประดิษฐานในพระวิหารพระพุทธไสยาสภายในเขตพุทธาวาส บริเวณมุมกำแพงทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัด เป็นพระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์ ก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทอง ขนาดองค์พระยาว 46 เมตร สูงจากพื้นถึงยอดพระเกตุมาลา 15 เมตร พระพุทธบาท ยาว 5 เมตร สูง 3 เมตร โดยมีการการประดับมุกที่ฝ่าพระบาท และจัดว่าเป็นพระนอนที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานคร และใหญ่เป็นอันดับต้นๆของประเทศ




- พระพุทธชินราช หรือ พระพุทธเจ้าเทศนาพระธรรมจักร พระประธานพระวิหารทิศใต้เป็นพระพุทธรูปหน้าตักสี่ศอกห้านิ้ว รัชกาลที่ 1 ให้อัญเชิญมาจากกรุงเก่า




- พระพุทธชินศรี หรือ พระนาคปรก เดิมเป็นพระพุทธรูปขนาดหน้าตักสามศอกคืบสิบนิ้ว อัญเชิญมาจากเมืองลพบุรี ครั้นบูรณปฏิสังขรณ์แล้ว ได้สร้างพญานาคแผลงฤทธิ์และต้นจิกไว้ด้านหลัง จึงเรียกว่า "พระนาคปรก"




- พระป่าเลไลย หรือพระพุทธปาลิไลย รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้หล่อขึ้นใหม่ สูงแปดศอกคืบห้านิ้ว นอกจากนี้ยังสร้างรูปช้างถวายคนทีน้ำ และรูปลิงถวายรวงผึ้งอีกด้วย




พิกัด: วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร Wat Phra Chetuphon (Wat Pho)
https://goo.gl/maps/1judfHMArto23s3TA

บันทึกความทรงจำ

วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ.2567
4 August 2024

ตรงกับวันอาทิตย์ แรม ๑๕ ค่ำ เดือนแปด(๘) ปีมะโรง
อาทิจวาร(อ) อาสาธมาส ฉศก จ.ศ. 1386 , ค.ศ. 2024 , ม.ศ. 1946 , ร.ศ. 243
สุริยคติ เป็น อธิกสุรทิน , จันทรคติ เป็น ปกติมาส ปกติวาร

TeawWatThai / เที่ยววัดไทย
เที่ยววัดไทย เที่ยวชมวัด และสักการะบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองไทย

#วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
#วัดโพธิ์
#จังหวัดกรุงเทพมหานคร
#TeawWatThai / เที่ยววัดไทย
https://www.facebook.com/teawwatthai.travel
https://www.instagram.com/teawwatthai.travel
https://pantip.com/profile/878726#topics
https://www.youtube.com/@teawwatthai
https://www.tiktok.com/@teawwatthai































แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่