ทำไม รูปลักษณ์ชาวซิกข์ โดดเด่น สดุดตา?
5 'ก' ที่กลายมาเป็น ศาสนอัตลักษณ์ คือ อะไร?
หลักๆ ที่ทำให้รูปลักษณ์ชาวซิกข์ โดดเด่น สดุดตาในปัจจุบัน คือการโพกศีรษะ กับหนวดเคราบนใบหน้าของชาย ซึ่ง เดิมแล้ว มิได้โดดเด่น สดุดตาสักเท่าไหร่ เนื่องจากสังคมในสมัยก่อน ในนามวัฒนธรรม หรือ ศาสนา ก็ดี ยังนิยมโพกหรือคลุมศีรษะกันอยู่บ้าง และไม่ตัดโกนหนวดเครากันอยู่บ้าง เช่น ชาวตะวันออกกลาง ชาวอนุทวีปอินเดีย และ ชาวจีนในสมัยก่อน
แต่เมื่อธรรม(เนียม)นี้เริ่มถูกละวางไป โดยบุคคล สังคม และ สถาบันส่วนใหญ่ แล้วกลายมาเป็นรสนิยมแทน รูปลักษณ์ของชาวซิกข์ ซึ่งเป็นศาสนวินัย จึงเริ่มโดดเด่นขึ้นโดยปริยาย
เป็นข้อสังเกตเพิ่ม คือการสวมใส่กำไลข้อมือโลหะแบบไร้ข้อต่อ แม้ชายชาวฮินดู (โดยเฉพาะในรัฐปัญจาบหรืภาคเหนือ) ก็นิยมสวมใส่กัน และ การสวมพกอาวุธ เช่น กริช ดาบ หรือ ดาบสั้นบนตัว ในกรณีที่สวมทับ หรือ โผล่ออกมาจากเสื้อผ้า อย่างชัดเจน ย่อมสะดุดตา ซึ้งเป็นสิ่งที่เหล่ากษัตริย์ ชนชั้นวรรณะสูง และ โยธินพกกันสมัยหนึ่ง
วิถีแห่งซิกข์ เป็นวิถีแห่งการจำนน การเอกภักดิ์ การแสดงความกตัญญู และ การถวายตน ต่อเอกพระผู้เป็นเจ้า ด้วยกายและใจที่เป็นหนึ่งเดียว เริ่มชัดเจนมากขึ้นใน สองศตวรรษ ของสมัยเหล่าคุรุศาสดา ในรูปบุคคลทั้ง 10 พระองค์ ตั้งแต่องค์ปฐมบรมศาสดา 'ศรี คุรุ นานัก ซาฮิบ' [Sri Guru Nanak Sahib] จนถึงทศมองค์ศาสดา 'ศรี คุรุ โคพินท์ สิงห์' [Sri Guru Gobind Singh] และภายหลัง เช่นกัน
ภายหลังมีการขนานนามย่อ สำหรับบางประการเหล่านี้ เป็น '5 ก' [ในภาษาปัญจาบี: ปัญจ กักการฺ, ในภาษาอังกฤษ: 5 K's] เนื่องจากแต่ละ ประการ เริ่มด้วยอักษร 'ก' ในภาษา 'ปัญจาบี' [Punjabi] เช่น เกศา (เส้นผม) กังฆะ (หวี) กะระห์ (กำไลเหล็ก แบบไร้ข้อ) กัจแฉระ (กางเกงขาสั้นระดับเข่า) และ กิรปาน (ดาบ ดาบสั้น และ/หรือ กริช)
~~~~~~~~~~
เกศา หรือ เกศ (เส้นผม ขน คิ้ว เครา หนวด)
ตั้งแต่สมัยซึ่งองค์ปฐมบรมศาสดา ศรี คุรุ นานัก ถูกถามโดยท่านรุก่น อัดดีน [Rukan Ud Din] ผู้เป็นกอฎีอวุโส [Qadi / Qazi] หรือ ผู้พิพากษาในเรื่องศาสนาอิสลามสูงสุด แห่งเมืองมักกะห์ [Mecca] เมื่อองค์ปฐมสิกขศาสดา (ปลอมตัวเป็นชาวมุสลิม) ไปแสดงธรรมที่ กะอ์บะห์ [Kaaba] ในแดนอาหรับ [Arabia] ราวทศวรรษใน ค.ศ. 1510 [พ.ศ. 2053] (ตามเรื่องเล่าของท่าน ตาจุ๊ดดีน [Taajudin] ประจักษ์พยานชาวมุสลิมในเหตุการณ์) ว่า 'ทำไมท่าน (นานัก) ไม่ตัดผม?' แล้วท่านตอบ (โดยสังเขป ประมาณ) ว่า "'เพราะเป็นกฎของเอกพระผู้เป็นเจ้า' ส่วนการตัดนั้น 'เป็นกฎของมนุษย์'" จนถึงสมัยทศมองค์ศาสดา ศรี คุรุ โคพินท์ สิงห์ ใน ค.ศ. 1699 [พ.ศ. 2242] เมื่อทรงสืบทอดและสถาปนา คณะองค์ศาสดา 'ปัญจปิยะ' [Panj Pyare] แห่ง 'คุรุ คาลซา' [Guru Khalsa] ต่อจากพระองค์ และได้บัญญัติแก่ชาวซิกข์ ให้เลิกโกนศีรษะสำหรับงานศพในบ้านของตนที่อาจมิได้นับถือซิกข์ เช่นกัน เนื่องจากชาวซิกข์เลิกตัดเกศา (ดัดแปลงร่างกาย) ในวิถีฯ มานานแล้ว แต่ยังมีบางศาสนิกซึ่ง ทางบ้านยังนับถือพราหมณ์อยู่ และเข้าใจผิดว่าวิถีซิกข์เป็นเพียงสาย (วรรณะ) นักรบ จึงย่อมให้ลูกชายคนโตเป็นซิกข์ โดยเข้าใจผิดว่าซิกข์ก็เป็นส่วนของฮินดู จึงเข้าใจว่าโกนศีรษะสำหรับพิธีฯ ของพราหมณ์ได้
เกศา เป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกาย ซึ่งมีบางวัฒนธรรม วิถี สำนักคิด นิกาย ลัทธิ และ/หรือ ศาสนา ของโลก ที่ไม่ตัด โกน หรือ เล็ม เกศา โดยธรรม ในหนทางของการปล่อยวาง ในหนทางแห่งการจำนนและกตัญญูต่อเอกพระผู้เป็นเจ้า วิถีแห่งสิกข์ก็น้อมรับหนทางนี้ เช่นเดียวกัน และมองการล่วงเกินทำลายเกศา เป็นการปลีกออกจาก ธรรม(ชาติ) ดั้งเดิม
การไม่ตัด หรือล่วงเกินต่อเกศา จึงเป็นหนทางของการละกิเลสในการหลงรูปลักษณ์ภายนอกของตน แบบธรรมชาติ โดยไม่ต้องดัดแปลงร่างกายตนเป็นประจำ เป็นการละทิฐิในความคิด เช่นกัน ว่า ตนรู้ดีกว่าพระองค์ หรือ 5 ธาติ ธรรมชาติ ของพระองค์ ว่าร่างกายมนุษย์เราควรเป็นเช่นใดใน (แต่ละภูมิภาคของ) โลกนี้ เป็นการน้อมรับวิถีของพระองค์อย่างสมัครใจ ในการเป็นบ่าวของพระองค์ผู้รอบรู้ ด้วยกายและใจที่เป็นหนึ่งเดียว ด้วยการโพกศีรษะ (นอกเหนือจากเพื่อเก็บคลุม รักษาเกศาให้เรียบร้อยแล้ว) สังเกตได้จากการโพกศีรษะในทรง ดุมาลา (Dumalla) ซึ่ง เริ่มการโพกด้วยการม้วนผืนผ้ากับเกศาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แยกออกจากกันไม่ได้ เสมือนกับวิถีแห่งธรรม กับ วิถีของตน ได้มาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
มีบางความเข้าใจอยู่ด้วยว้า แท้แล้ว 'ก' แรกใน ศาสนอัตลักษณ์ ของซิกข์นั้น ไม่ใช่ 'เกศา' ด้วยซ้ำ เนื่องจากคนเราทุกคนเกิดมาพร้อมเกศา เป็นหนึ่งในอวัยวะและส่วนของร่างกายโดยธรรมชาติอยู่แล้ว และการล่วงเกินใดต่อพระบัญญัตินี้ของเอกพระเป็นเจ้า ถือว่าเป็นการปลีกออกจากหนทางของพรพองค์และขัดต่อศีลใหญ่ในวิถีแห่ง คาลซา Khalsa (วิถีธรรมศาสนาบริสุทธิ์) อยู่แล้ว ซึ่งมี 4 ข้อห้ามหลัก [2.ห้ามนอกประเวณี, 3.ห้ามสูบบุหรี่/เสพของมึนเมา, 4.ห้ามกินเนื้อสัตว์เซ่นไหว้และที่ถูกฆ่าอย่างทารุณผ่านวิธีและพิธีการถวายและการเชือดพลี] การขัดต่อข้อใดซึ่งถือว่าหลุดออกจาก คาลซา.. ซึ่งมิได้รวมอีก 4 'ก' อื่น โดยข้อแรกระบุว่า "1.ห้ามตัดหรือกระทำล่วงเกินต่อเกศา"
ฉะนั้น สิกขวิถี จึงมิได้เกี่ยวกับการ "ไว้" ผม หรือ การ 'ไม่ไว้" ผม แต่เกี่ยวกับการ ไม่ล่วงเกินต่อร่างกายที่มาพร้อมเกศา นั่นเอง โดย "ไม่ไปตัดมัน"
บางความเข้าใจนั้น จึงเข้าใจว่า แท้แล้ว 'ก' แรกในศาสนอัตลักษณ์ คือ "เกศฺกี" (Keski) หรือผ้าโพกศีรษะ นั่นเอง ซึ่งไม่เชื่อในการเปลือยศีรษะพร้อมเกศา เช่นเดียวกับในการไม่เปลือยกาย ริเริ่มโดยองค์ปฐมบรมศาสดาท่านเอง
หมายเหตุ
ข้อมูลเพิ่มเติมช่วงท้าย
~~~~~~~~~~~~~~~~
กังฆา หรือ กังฆะ (หวีไม้)
เป็นหวีไม้ประจำกาย ใช้สำหรับการดูแลรักษาเกศา และความสะอาด หวีผมวันละสองครั้ง ห้ามปล่อยให้ผมรุงรัง หรือพันกันเป็นทรง 'เดรดล็อค'
วิถีแห่งซิกข์ เน้นในการดูแลความสะอาด (สระผม) ความเรียบร้อย (หวีผม) อย่างเหมาะสม เพื่อสุขภาพ เช่นกัน
~~~~~~~~~~~~~~~~
กะร่าห์ หรือ กะระ (กำไลเหล็กไร้ข้อ)
กำไลเหล็ก แบบสวม ในเชิงสัญญะ เปรียบเสมือนแหวนหมั้นระหว่างศิษย์ (ซิกข์) กับพระครู(คุรุศาสดา) ว่าจะเอาธรรมนำหน้าในการประพฤติ จะคำนึงถึงพระองค์ (พระเจ้า) ก่อนลงมือทำสิ่งใด ความ 'กลม' ของกำไล สะท้อนถึงความสมบูรณ์ และ ความสมดุล ของ อมตภาวะของพระองค์ ผู้ซึ่งไร้จุดเริ่มและจุดจบ ส่วนเนื้อเหล็ก ซึ่งควรทำจากธาตุเหล็กธรรมดา และไม่ควรเป็นโลหะชนิดอื่น ช่วยเตือนจิตเตือนใจ ในการนอบน้อมถ่อมตน ในความรัก ไม่อคติต่อผู้ใด และเข้มแข็งอดทน ไม่ท้อ ในหนทางของพระองค์ กะระเคยเป็นอาวุธมีลักษณะคมเป็นวงจักร (quoit) มาก่อน ในสมัยศึกสงคราม เช่นกัน
~~~~~~~~~~~~~~~~
กัจฉา หรือ กัจแฉระ (กางเกงขาสั้น)
กัจฉา เป็นกางเกงขาสั้นประจำกาย ไว้สวมใส่ (ชั้นในหรือชั้นนอก) ทำจากผ้าฝ้าย ยาวประมาณเข่า หรือสั้นกว่า (หากชั้นใน) มีเชือกเป็นหูรูดเพื่อรัดรอบเอว เนื่องจากในอนุทวีปอินเดียสมัยก่อน การแต่งกายย่อมเป็นการนุ่งห่ม แบบไร้ชั้นใน โดยเฉพาะบริเวรของเอว อิทธิพลของการเย็บผ้าสองผืนเป็นชิ้นเดียวกัน ได้เข้ามาในอนุทวีป จึงเย็บสวมใส่เป็น กัจฉา เพื่อความทะมัดทะแมง กระฉับกระเฉง สำหรับชีวิตประจำวัน ในวิถีซิกข์ ที่ต้องคล่องแคล่ว ความสะดวกสบาย ซึ่งดีต่อสุขภาพ โดยเฉพาะของชาย และเพื่อเตือนใจไม่ให้ประพฤติผิดในกาม
~~~~~~~~~~~~~~~~
กีรปาน หรือ กิรปาน (ดาบ ดาบสั้น หรือ กริช)
'ก' นี้ ริเริ่มขึ้นตั้งแต่สมัย ศรี คุรุ หัรโคพินท์ ซาฮิบ (องค์ศาสดาที่ 6) ราว 100+ ปี หลังศาสนาซิกข์ถูกสถาปนาโดยองค์ปฐมศาสดา แล้วเริ่มมีการรวบรวม โองการขแงพระเจ้า เป็นพระคัมภีร์ฉบับแรกประกาศอย่างชัดเจน การคัดค้านเบียดเบียนชาวซิกข์ โดยบางกลุ่ม ซึ่งมีมาตลอด ก็เริ่มยกระดับในการโจมตีมากขึ้น ถึงขั้นจับกุมกล่วหา และ ประหารชีวิตองค์ศาสดาที่ 5 ศรี คุรุ อรชน ซาฮิบ (Sri Guru Arjan Sahib) ผู้ซึ่งต้องสละชีพเพื่อพิทักษ์ธรรม ท่านเป็นผู้สร้าง ศรี เดอร์บารฺ ซาฮิบ Sri Darbar Sahib เสร็จ (ปัจจุบันที่รู้จักเป็น สุวรรณวิหาร หรือ วิหารทองคำ หรือ Golden Temple) ซึ่งได้ทำให้สถาบันของสิกขศาสนาประจักษ์อย่างชัดเจนมากขึ้น หลังเกือบ หนึ่งศตวรรษ เพราะไม่ได้เป็นศาสนาที่นิยมโหยหาผู้นับถือเพื่อเพิ่มศาสนิกชนของตน
ชาวซิกข์จึงเริ่มมีความพร้อมในการรับมือต่อสถานการณ์ความรุนแรง โดยฝึกการทหาร เช่นกัน เพื่อป้องกันตัวอย่างเหมาะสม อย่างมีศักดิ์ศรี เมื่อถูกข่มเหงคะเนงร้าย เสร็จแล้วถอยโดยไม่เชื่อในการกบฏเพื่อชิงยึดอำนาจฝ่ายปกครอง และเพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งและการล้างแค้นเพิ่มเติม
เมื่อการถูกเบียดเบียนโจมตี จากภาคใดก็ตาม ลดระดับลงในสมัยองค์ศาสดาต่อไป (ในรูปที่ 7, 8 และ 9) บรรดาคุรุศาสดาก็ได้ลดกำลังกองทัพลง เช่นเดียวกัน จนยกเลิกกองทัพไป แล้วมาฝึกการทหารเต็มรูปแบบ อีกครั้ง ในสมัยขององค์ศาสดาที่ 10 เพื่อพร้อมรับมือการถูกโจมตีที่ถี่ขึ้นและรุนแรงขึ้น
สิทธิในการป้องกันตัว หากถูกทำร้ายถึงชีวิต เป็นสิทธิพื้นฐานของทุกชีวิต เป็นการดำรงชีพอย่างมีศักดิ์ศรีในสายกลางที่ไม่ทำให้ใครกลัว (ไม่ข่มเหงคะเนงร้ายต่อใคร) และไม่เกรงกลัวใคร เช่นเดียวกัน สำหรับสิกข์สาวก ของเอกพระผู้เป็นเจ้า ย่อมเข้าใจว่า ไม่มีใครเป็นผู้แปลกหน้า ไม่มีใครเป็นศัตรู ในหนทางแห่งธรรม เพราะทุกคนเป็นของพระองค์ และพระองค์เป็นของทุกคน เช่นกัน
กีรปาน หมายถึง 'การดำรงอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี ด้วยพระเมตตาของพระองค์' ซึ่ง เป็นดาบ ดาบสั้น หรือ กริช สวมประจำกาย ใช้ในการป้องกันตัว หรือ ป้องกันผู้อื่นที่ขอความช่วยเหลือ และเป็นสัญญะในสิทธิพื้นฐานนี้ เป็นดาบแห่งมีรี
วิถีแห่งซิกข์ คือ วิถีแห่ง มีรี-ปีรี เป็นดาบโค้ง 2 เล่ม สังเกตได้บนซิกข์ศาสนสัญลักษณ์ ซึ่งบ่งถึง 'ทางโลก กับ ทางธรรม ในหนทางของพระองค์'
'มีรี' มาจากคำศัพท์ ในภาษาเปอร์เซีย ซึ่งมีรากศัพท์มาจาก 'อามีร' ในภาษาอาหรับอีกที หมายความว่า ผู้สั่งการ เจ้าเมือง หรือ ขุนนาง เป็นต้น ซึ่งบ่งถึง อิทธิพล และ อำนาจทางโลก
'ปีรี' มาจากรากศัพท์ 'ปีร' หรือ 'พีร' ในภาษาเปอร์เซีย หมายถึง ผู้นำทางธรรม เช่น เป็น นักบุญ สัตบุรุษ หรือ สาธุชน โดยเฉพาะในสาย 'ซูฟี' ของอิสลาม
วิถีแห่งสิกข์ ได้นำสองศัพท์นี้ มาตีความใช้ในวิถีและอุดมการณ์ของตน
ดาบแห่งมีรี เป็นดาบรูปธรรม เพื่อพิทักษ์รักษาสิทธิพื้นฐานในการมีชีวิต จากการถูกโจมตีทำร้ายถึงชีวิตอย่างไม่เป็นธรรม ทั้งในระดับบุคคล สังคม และชาติบ้านเมือง เพื่อคุ้มครองจากผู้กดขี่ ที่อาจลืมในความเสมอภาคของความเป็นคน สำหรับผู้อ่อนแอและผู้บริสุทธิ์ เช่นเดียวกัน หากขอพึ่งอาศัยหรือช่วยเหลือได้
ส่วนดาบแห่งปีรี เป็นดาบนามธรรม หรือ ในเชิงสัญญะ นั่นเอง ซึ่งยืนยันอธิปไตยทางจิต เสรีภาพทางธรรมศาสนา (ในสิ่งที่ตนอยากนับถือ) และในการบรรลุเอกพระผู้เป็นเจ้าโดยตรง ด้วยพระเมตตาของพระองค์ โดยไม่ต้องวิงวอนต่อบุคคลที่สาม นำมาเป็นภาคีต่อเอกพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งย่อมเคลมเอกสิกทธิ์บนหนทางแห่งการหลุดพ้น
~~~~~~~~~~~~~~~~
~~~~~~~~~~~~~~~~
สำหรับผู้ใดซึ่ง ใจอยู่ถูกที่ เป็นสัจจะ เป็นหนึ่งเดียวกับเอกพระเป็นเจ้า ในวิถีของคุรุศาสดา ในหนทางของ คุรบานี (พระคัมภีร์) และในแบบอย่างการประพฤติของเหล่าท่านศาสดาในประวัติศาสตร์ และน้อมรับหน้าที่ ความรับผิดชอบต่อจากพระองค์ในกรณีย์ของสิกขวิถีและธรรมศาสนา '5 ก' ก็เปรียบเสมือนเป็น ยูนีฟอร์ม เป็นร่มธง โดยปริยาย ไม่งั้นแล้ว หากขาดพระเมตตาของพระองค์ แล้วเกิดโอหังในเครื่องแบบการแต่งกายภายนอก ก็ถือว่าหลงใหลในอัตลักษณ์แทน
********************
********************
หมายเหตุ
รายละเอียดเพิ่มเติม เกี่ยวกับเกศา
(ดนิ่องจากยาวไป จึงต่อในช่องแสดงความคิดเห็น 🙏🏼)
ทำไม รูปลักษณ์ชาวซิกข์ โดดเด่น สดุดตา? 5 'ก' ที่กลายมาเป็น ศาสนอัตลักษณ์ คือ อะไร?
5 'ก' ที่กลายมาเป็น ศาสนอัตลักษณ์ คือ อะไร?
หลักๆ ที่ทำให้รูปลักษณ์ชาวซิกข์ โดดเด่น สดุดตาในปัจจุบัน คือการโพกศีรษะ กับหนวดเคราบนใบหน้าของชาย ซึ่ง เดิมแล้ว มิได้โดดเด่น สดุดตาสักเท่าไหร่ เนื่องจากสังคมในสมัยก่อน ในนามวัฒนธรรม หรือ ศาสนา ก็ดี ยังนิยมโพกหรือคลุมศีรษะกันอยู่บ้าง และไม่ตัดโกนหนวดเครากันอยู่บ้าง เช่น ชาวตะวันออกกลาง ชาวอนุทวีปอินเดีย และ ชาวจีนในสมัยก่อน
แต่เมื่อธรรม(เนียม)นี้เริ่มถูกละวางไป โดยบุคคล สังคม และ สถาบันส่วนใหญ่ แล้วกลายมาเป็นรสนิยมแทน รูปลักษณ์ของชาวซิกข์ ซึ่งเป็นศาสนวินัย จึงเริ่มโดดเด่นขึ้นโดยปริยาย
เป็นข้อสังเกตเพิ่ม คือการสวมใส่กำไลข้อมือโลหะแบบไร้ข้อต่อ แม้ชายชาวฮินดู (โดยเฉพาะในรัฐปัญจาบหรืภาคเหนือ) ก็นิยมสวมใส่กัน และ การสวมพกอาวุธ เช่น กริช ดาบ หรือ ดาบสั้นบนตัว ในกรณีที่สวมทับ หรือ โผล่ออกมาจากเสื้อผ้า อย่างชัดเจน ย่อมสะดุดตา ซึ้งเป็นสิ่งที่เหล่ากษัตริย์ ชนชั้นวรรณะสูง และ โยธินพกกันสมัยหนึ่ง
วิถีแห่งซิกข์ เป็นวิถีแห่งการจำนน การเอกภักดิ์ การแสดงความกตัญญู และ การถวายตน ต่อเอกพระผู้เป็นเจ้า ด้วยกายและใจที่เป็นหนึ่งเดียว เริ่มชัดเจนมากขึ้นใน สองศตวรรษ ของสมัยเหล่าคุรุศาสดา ในรูปบุคคลทั้ง 10 พระองค์ ตั้งแต่องค์ปฐมบรมศาสดา 'ศรี คุรุ นานัก ซาฮิบ' [Sri Guru Nanak Sahib] จนถึงทศมองค์ศาสดา 'ศรี คุรุ โคพินท์ สิงห์' [Sri Guru Gobind Singh] และภายหลัง เช่นกัน
ภายหลังมีการขนานนามย่อ สำหรับบางประการเหล่านี้ เป็น '5 ก' [ในภาษาปัญจาบี: ปัญจ กักการฺ, ในภาษาอังกฤษ: 5 K's] เนื่องจากแต่ละ ประการ เริ่มด้วยอักษร 'ก' ในภาษา 'ปัญจาบี' [Punjabi] เช่น เกศา (เส้นผม) กังฆะ (หวี) กะระห์ (กำไลเหล็ก แบบไร้ข้อ) กัจแฉระ (กางเกงขาสั้นระดับเข่า) และ กิรปาน (ดาบ ดาบสั้น และ/หรือ กริช)
~~~~~~~~~~
เกศา หรือ เกศ (เส้นผม ขน คิ้ว เครา หนวด)
ตั้งแต่สมัยซึ่งองค์ปฐมบรมศาสดา ศรี คุรุ นานัก ถูกถามโดยท่านรุก่น อัดดีน [Rukan Ud Din] ผู้เป็นกอฎีอวุโส [Qadi / Qazi] หรือ ผู้พิพากษาในเรื่องศาสนาอิสลามสูงสุด แห่งเมืองมักกะห์ [Mecca] เมื่อองค์ปฐมสิกขศาสดา (ปลอมตัวเป็นชาวมุสลิม) ไปแสดงธรรมที่ กะอ์บะห์ [Kaaba] ในแดนอาหรับ [Arabia] ราวทศวรรษใน ค.ศ. 1510 [พ.ศ. 2053] (ตามเรื่องเล่าของท่าน ตาจุ๊ดดีน [Taajudin] ประจักษ์พยานชาวมุสลิมในเหตุการณ์) ว่า 'ทำไมท่าน (นานัก) ไม่ตัดผม?' แล้วท่านตอบ (โดยสังเขป ประมาณ) ว่า "'เพราะเป็นกฎของเอกพระผู้เป็นเจ้า' ส่วนการตัดนั้น 'เป็นกฎของมนุษย์'" จนถึงสมัยทศมองค์ศาสดา ศรี คุรุ โคพินท์ สิงห์ ใน ค.ศ. 1699 [พ.ศ. 2242] เมื่อทรงสืบทอดและสถาปนา คณะองค์ศาสดา 'ปัญจปิยะ' [Panj Pyare] แห่ง 'คุรุ คาลซา' [Guru Khalsa] ต่อจากพระองค์ และได้บัญญัติแก่ชาวซิกข์ ให้เลิกโกนศีรษะสำหรับงานศพในบ้านของตนที่อาจมิได้นับถือซิกข์ เช่นกัน เนื่องจากชาวซิกข์เลิกตัดเกศา (ดัดแปลงร่างกาย) ในวิถีฯ มานานแล้ว แต่ยังมีบางศาสนิกซึ่ง ทางบ้านยังนับถือพราหมณ์อยู่ และเข้าใจผิดว่าวิถีซิกข์เป็นเพียงสาย (วรรณะ) นักรบ จึงย่อมให้ลูกชายคนโตเป็นซิกข์ โดยเข้าใจผิดว่าซิกข์ก็เป็นส่วนของฮินดู จึงเข้าใจว่าโกนศีรษะสำหรับพิธีฯ ของพราหมณ์ได้
เกศา เป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกาย ซึ่งมีบางวัฒนธรรม วิถี สำนักคิด นิกาย ลัทธิ และ/หรือ ศาสนา ของโลก ที่ไม่ตัด โกน หรือ เล็ม เกศา โดยธรรม ในหนทางของการปล่อยวาง ในหนทางแห่งการจำนนและกตัญญูต่อเอกพระผู้เป็นเจ้า วิถีแห่งสิกข์ก็น้อมรับหนทางนี้ เช่นเดียวกัน และมองการล่วงเกินทำลายเกศา เป็นการปลีกออกจาก ธรรม(ชาติ) ดั้งเดิม
การไม่ตัด หรือล่วงเกินต่อเกศา จึงเป็นหนทางของการละกิเลสในการหลงรูปลักษณ์ภายนอกของตน แบบธรรมชาติ โดยไม่ต้องดัดแปลงร่างกายตนเป็นประจำ เป็นการละทิฐิในความคิด เช่นกัน ว่า ตนรู้ดีกว่าพระองค์ หรือ 5 ธาติ ธรรมชาติ ของพระองค์ ว่าร่างกายมนุษย์เราควรเป็นเช่นใดใน (แต่ละภูมิภาคของ) โลกนี้ เป็นการน้อมรับวิถีของพระองค์อย่างสมัครใจ ในการเป็นบ่าวของพระองค์ผู้รอบรู้ ด้วยกายและใจที่เป็นหนึ่งเดียว ด้วยการโพกศีรษะ (นอกเหนือจากเพื่อเก็บคลุม รักษาเกศาให้เรียบร้อยแล้ว) สังเกตได้จากการโพกศีรษะในทรง ดุมาลา (Dumalla) ซึ่ง เริ่มการโพกด้วยการม้วนผืนผ้ากับเกศาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แยกออกจากกันไม่ได้ เสมือนกับวิถีแห่งธรรม กับ วิถีของตน ได้มาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
มีบางความเข้าใจอยู่ด้วยว้า แท้แล้ว 'ก' แรกใน ศาสนอัตลักษณ์ ของซิกข์นั้น ไม่ใช่ 'เกศา' ด้วยซ้ำ เนื่องจากคนเราทุกคนเกิดมาพร้อมเกศา เป็นหนึ่งในอวัยวะและส่วนของร่างกายโดยธรรมชาติอยู่แล้ว และการล่วงเกินใดต่อพระบัญญัตินี้ของเอกพระเป็นเจ้า ถือว่าเป็นการปลีกออกจากหนทางของพรพองค์และขัดต่อศีลใหญ่ในวิถีแห่ง คาลซา Khalsa (วิถีธรรมศาสนาบริสุทธิ์) อยู่แล้ว ซึ่งมี 4 ข้อห้ามหลัก [2.ห้ามนอกประเวณี, 3.ห้ามสูบบุหรี่/เสพของมึนเมา, 4.ห้ามกินเนื้อสัตว์เซ่นไหว้และที่ถูกฆ่าอย่างทารุณผ่านวิธีและพิธีการถวายและการเชือดพลี] การขัดต่อข้อใดซึ่งถือว่าหลุดออกจาก คาลซา.. ซึ่งมิได้รวมอีก 4 'ก' อื่น โดยข้อแรกระบุว่า "1.ห้ามตัดหรือกระทำล่วงเกินต่อเกศา"
ฉะนั้น สิกขวิถี จึงมิได้เกี่ยวกับการ "ไว้" ผม หรือ การ 'ไม่ไว้" ผม แต่เกี่ยวกับการ ไม่ล่วงเกินต่อร่างกายที่มาพร้อมเกศา นั่นเอง โดย "ไม่ไปตัดมัน"
บางความเข้าใจนั้น จึงเข้าใจว่า แท้แล้ว 'ก' แรกในศาสนอัตลักษณ์ คือ "เกศฺกี" (Keski) หรือผ้าโพกศีรษะ นั่นเอง ซึ่งไม่เชื่อในการเปลือยศีรษะพร้อมเกศา เช่นเดียวกับในการไม่เปลือยกาย ริเริ่มโดยองค์ปฐมบรมศาสดาท่านเอง
หมายเหตุ
ข้อมูลเพิ่มเติมช่วงท้าย
~~~~~~~~~~~~~~~~
กังฆา หรือ กังฆะ (หวีไม้)
เป็นหวีไม้ประจำกาย ใช้สำหรับการดูแลรักษาเกศา และความสะอาด หวีผมวันละสองครั้ง ห้ามปล่อยให้ผมรุงรัง หรือพันกันเป็นทรง 'เดรดล็อค'
วิถีแห่งซิกข์ เน้นในการดูแลความสะอาด (สระผม) ความเรียบร้อย (หวีผม) อย่างเหมาะสม เพื่อสุขภาพ เช่นกัน
~~~~~~~~~~~~~~~~
กะร่าห์ หรือ กะระ (กำไลเหล็กไร้ข้อ)
กำไลเหล็ก แบบสวม ในเชิงสัญญะ เปรียบเสมือนแหวนหมั้นระหว่างศิษย์ (ซิกข์) กับพระครู(คุรุศาสดา) ว่าจะเอาธรรมนำหน้าในการประพฤติ จะคำนึงถึงพระองค์ (พระเจ้า) ก่อนลงมือทำสิ่งใด ความ 'กลม' ของกำไล สะท้อนถึงความสมบูรณ์ และ ความสมดุล ของ อมตภาวะของพระองค์ ผู้ซึ่งไร้จุดเริ่มและจุดจบ ส่วนเนื้อเหล็ก ซึ่งควรทำจากธาตุเหล็กธรรมดา และไม่ควรเป็นโลหะชนิดอื่น ช่วยเตือนจิตเตือนใจ ในการนอบน้อมถ่อมตน ในความรัก ไม่อคติต่อผู้ใด และเข้มแข็งอดทน ไม่ท้อ ในหนทางของพระองค์ กะระเคยเป็นอาวุธมีลักษณะคมเป็นวงจักร (quoit) มาก่อน ในสมัยศึกสงคราม เช่นกัน
~~~~~~~~~~~~~~~~
กัจฉา หรือ กัจแฉระ (กางเกงขาสั้น)
กัจฉา เป็นกางเกงขาสั้นประจำกาย ไว้สวมใส่ (ชั้นในหรือชั้นนอก) ทำจากผ้าฝ้าย ยาวประมาณเข่า หรือสั้นกว่า (หากชั้นใน) มีเชือกเป็นหูรูดเพื่อรัดรอบเอว เนื่องจากในอนุทวีปอินเดียสมัยก่อน การแต่งกายย่อมเป็นการนุ่งห่ม แบบไร้ชั้นใน โดยเฉพาะบริเวรของเอว อิทธิพลของการเย็บผ้าสองผืนเป็นชิ้นเดียวกัน ได้เข้ามาในอนุทวีป จึงเย็บสวมใส่เป็น กัจฉา เพื่อความทะมัดทะแมง กระฉับกระเฉง สำหรับชีวิตประจำวัน ในวิถีซิกข์ ที่ต้องคล่องแคล่ว ความสะดวกสบาย ซึ่งดีต่อสุขภาพ โดยเฉพาะของชาย และเพื่อเตือนใจไม่ให้ประพฤติผิดในกาม
~~~~~~~~~~~~~~~~
กีรปาน หรือ กิรปาน (ดาบ ดาบสั้น หรือ กริช)
'ก' นี้ ริเริ่มขึ้นตั้งแต่สมัย ศรี คุรุ หัรโคพินท์ ซาฮิบ (องค์ศาสดาที่ 6) ราว 100+ ปี หลังศาสนาซิกข์ถูกสถาปนาโดยองค์ปฐมศาสดา แล้วเริ่มมีการรวบรวม โองการขแงพระเจ้า เป็นพระคัมภีร์ฉบับแรกประกาศอย่างชัดเจน การคัดค้านเบียดเบียนชาวซิกข์ โดยบางกลุ่ม ซึ่งมีมาตลอด ก็เริ่มยกระดับในการโจมตีมากขึ้น ถึงขั้นจับกุมกล่วหา และ ประหารชีวิตองค์ศาสดาที่ 5 ศรี คุรุ อรชน ซาฮิบ (Sri Guru Arjan Sahib) ผู้ซึ่งต้องสละชีพเพื่อพิทักษ์ธรรม ท่านเป็นผู้สร้าง ศรี เดอร์บารฺ ซาฮิบ Sri Darbar Sahib เสร็จ (ปัจจุบันที่รู้จักเป็น สุวรรณวิหาร หรือ วิหารทองคำ หรือ Golden Temple) ซึ่งได้ทำให้สถาบันของสิกขศาสนาประจักษ์อย่างชัดเจนมากขึ้น หลังเกือบ หนึ่งศตวรรษ เพราะไม่ได้เป็นศาสนาที่นิยมโหยหาผู้นับถือเพื่อเพิ่มศาสนิกชนของตน
ชาวซิกข์จึงเริ่มมีความพร้อมในการรับมือต่อสถานการณ์ความรุนแรง โดยฝึกการทหาร เช่นกัน เพื่อป้องกันตัวอย่างเหมาะสม อย่างมีศักดิ์ศรี เมื่อถูกข่มเหงคะเนงร้าย เสร็จแล้วถอยโดยไม่เชื่อในการกบฏเพื่อชิงยึดอำนาจฝ่ายปกครอง และเพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งและการล้างแค้นเพิ่มเติม
เมื่อการถูกเบียดเบียนโจมตี จากภาคใดก็ตาม ลดระดับลงในสมัยองค์ศาสดาต่อไป (ในรูปที่ 7, 8 และ 9) บรรดาคุรุศาสดาก็ได้ลดกำลังกองทัพลง เช่นเดียวกัน จนยกเลิกกองทัพไป แล้วมาฝึกการทหารเต็มรูปแบบ อีกครั้ง ในสมัยขององค์ศาสดาที่ 10 เพื่อพร้อมรับมือการถูกโจมตีที่ถี่ขึ้นและรุนแรงขึ้น
สิทธิในการป้องกันตัว หากถูกทำร้ายถึงชีวิต เป็นสิทธิพื้นฐานของทุกชีวิต เป็นการดำรงชีพอย่างมีศักดิ์ศรีในสายกลางที่ไม่ทำให้ใครกลัว (ไม่ข่มเหงคะเนงร้ายต่อใคร) และไม่เกรงกลัวใคร เช่นเดียวกัน สำหรับสิกข์สาวก ของเอกพระผู้เป็นเจ้า ย่อมเข้าใจว่า ไม่มีใครเป็นผู้แปลกหน้า ไม่มีใครเป็นศัตรู ในหนทางแห่งธรรม เพราะทุกคนเป็นของพระองค์ และพระองค์เป็นของทุกคน เช่นกัน
กีรปาน หมายถึง 'การดำรงอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี ด้วยพระเมตตาของพระองค์' ซึ่ง เป็นดาบ ดาบสั้น หรือ กริช สวมประจำกาย ใช้ในการป้องกันตัว หรือ ป้องกันผู้อื่นที่ขอความช่วยเหลือ และเป็นสัญญะในสิทธิพื้นฐานนี้ เป็นดาบแห่งมีรี
วิถีแห่งซิกข์ คือ วิถีแห่ง มีรี-ปีรี เป็นดาบโค้ง 2 เล่ม สังเกตได้บนซิกข์ศาสนสัญลักษณ์ ซึ่งบ่งถึง 'ทางโลก กับ ทางธรรม ในหนทางของพระองค์'
'มีรี' มาจากคำศัพท์ ในภาษาเปอร์เซีย ซึ่งมีรากศัพท์มาจาก 'อามีร' ในภาษาอาหรับอีกที หมายความว่า ผู้สั่งการ เจ้าเมือง หรือ ขุนนาง เป็นต้น ซึ่งบ่งถึง อิทธิพล และ อำนาจทางโลก
'ปีรี' มาจากรากศัพท์ 'ปีร' หรือ 'พีร' ในภาษาเปอร์เซีย หมายถึง ผู้นำทางธรรม เช่น เป็น นักบุญ สัตบุรุษ หรือ สาธุชน โดยเฉพาะในสาย 'ซูฟี' ของอิสลาม
วิถีแห่งสิกข์ ได้นำสองศัพท์นี้ มาตีความใช้ในวิถีและอุดมการณ์ของตน
ดาบแห่งมีรี เป็นดาบรูปธรรม เพื่อพิทักษ์รักษาสิทธิพื้นฐานในการมีชีวิต จากการถูกโจมตีทำร้ายถึงชีวิตอย่างไม่เป็นธรรม ทั้งในระดับบุคคล สังคม และชาติบ้านเมือง เพื่อคุ้มครองจากผู้กดขี่ ที่อาจลืมในความเสมอภาคของความเป็นคน สำหรับผู้อ่อนแอและผู้บริสุทธิ์ เช่นเดียวกัน หากขอพึ่งอาศัยหรือช่วยเหลือได้
ส่วนดาบแห่งปีรี เป็นดาบนามธรรม หรือ ในเชิงสัญญะ นั่นเอง ซึ่งยืนยันอธิปไตยทางจิต เสรีภาพทางธรรมศาสนา (ในสิ่งที่ตนอยากนับถือ) และในการบรรลุเอกพระผู้เป็นเจ้าโดยตรง ด้วยพระเมตตาของพระองค์ โดยไม่ต้องวิงวอนต่อบุคคลที่สาม นำมาเป็นภาคีต่อเอกพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งย่อมเคลมเอกสิกทธิ์บนหนทางแห่งการหลุดพ้น
~~~~~~~~~~~~~~~~
~~~~~~~~~~~~~~~~
สำหรับผู้ใดซึ่ง ใจอยู่ถูกที่ เป็นสัจจะ เป็นหนึ่งเดียวกับเอกพระเป็นเจ้า ในวิถีของคุรุศาสดา ในหนทางของ คุรบานี (พระคัมภีร์) และในแบบอย่างการประพฤติของเหล่าท่านศาสดาในประวัติศาสตร์ และน้อมรับหน้าที่ ความรับผิดชอบต่อจากพระองค์ในกรณีย์ของสิกขวิถีและธรรมศาสนา '5 ก' ก็เปรียบเสมือนเป็น ยูนีฟอร์ม เป็นร่มธง โดยปริยาย ไม่งั้นแล้ว หากขาดพระเมตตาของพระองค์ แล้วเกิดโอหังในเครื่องแบบการแต่งกายภายนอก ก็ถือว่าหลงใหลในอัตลักษณ์แทน
********************
********************
หมายเหตุ
รายละเอียดเพิ่มเติม เกี่ยวกับเกศา
(ดนิ่องจากยาวไป จึงต่อในช่องแสดงความคิดเห็น 🙏🏼)