ศาสนาพุทธ (บาลี: พุทฺธสาสนา, สันสกฤต: बुद्धशासना พุทฺธศาสนา) เป็นศาสนาอเทวนิยมที่มีอายุกว่า 2,500 ปี มีผู้นับถือเป็นอันดับ 4 ของโลก ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ใน ทวีปเอเชีย โดยมีพระโคตมพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4
สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา เรียกว่า ธรรมจักร
สัญลักษณ์กงล้อ/จักรเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ที่เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์อินเดีย นักวิชาการ Madhavan และ Parpola ระบุว่าสัญลักษณ์กงล้อปรากฏมากในโบราณวัตถุจากอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ โดยเฉพาะบนตราประทับหลาย ๆ ตรา ตัวอย่างชิ้นสำคัญคือเป็นหนึ่งในสิบสัญลักษณ์บนป้ายโธลาวีรา ปรากฏเป็นสัญลักษณ์แทนดวงอาทิตย์ตั้งแต่ราว 2500 ปีก่อน
นักประวัติศาสตร์บางส่วนเชื่อมโยงจักรโบราณเข้ากับลัทธิสัญลักษณ์ดวงอาทิตย์ ในพระเวท พระสุริยะอวตารในปางพระมิตรมีการบรรยายว่าเป็น "ดวงตาของโลก" ในแง่นี้พระอาทิตย์จึงอาจมองเป็นดวงตา (จักษุ) ซึ่งให้ความสว่างและการมองเห็นแก่โลก ฉะนั้นจึงมีการเชื่อมโยงแนวคิดจักรเข้ากับแสงสว่างหรือปัญญา
ในศาสนาพุทธ ธรรมจักรปรากฏใช้ทั่วไปเพื่อสื่อถึงธรรมของพระพุทธเจ้า บ้างใช้เป็นสัญลักษณ์แทนพระโคตมพุทธเจ้า และใช้แทนหนทางสู่การตรัสรู้ ปรากฏใช้เช่นนี้นับตั้งแต่ศาสนาพุทธยุคแรก บางครั้งปรากฏเชื่อมโยงธรรมจักรเข้ากับอริยสัจสี่ อริยมรรคแปด และ ปฏิจจสมุปบาท
ปัจจุบันศาสนาพุทธในประเทศไทยยังเป็นศาสนาที่ได้รับความนิยมเป็นจำนวนมาก โดยแบ่งอัตราส่วนศาสนาภายในประเทศได้ดังนี้
รัฐบาลสหรัฐฯ ประมาณไว้ (เมื่อกลางปี 2565) ว่า ประชากรทั้งหมดในประเทศไทยมีจำนวน 69.6 ล้านคน และในเดือนธันวาคม 2564 กรมการศาสนารายงานว่า ร้อยละ 92.5 ของประชากรนับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 5.4 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 1.2 นับถือศาสนาคริสต์ ประชากรที่เหลือเป็นกลุ่มที่นับถือภูตผี ลัทธิขงจื๊อ ศาสนาฮินดู ศาสนายูดาห์ ศาสนาซิกข์ และลัทธิเต๋า
แม้ว่าตามรายงานจะระบุไว้อย่างชัดเจนว่าคนไทยนับถือศาสนาพุทธมากกว่าร้อยละ 90 ของประชากรในประเทศ แต่หากได้สังเกตุดูแล้วจะพบว่าคนไทยไม่ได้เข้าถึงความเป็นพุทธศาสนาที่แท้จริงเลยสักนิด ชาวพุทธในประเทศไทยส่วนใหญ่นำพิธีกรรมของศาสนาฮินดูและการนับถือภูตผีมาประกอบศาสนพิธีของตนด้วย จนกลายเป็นการปลูกฝังวัฒนธรรมทางศาสนาที่ผิด ๆ ให้กับลูกหลาน โดยการนำพิธีกรรมทางศาสนาฮินดูมาปะปนกับศาสนาพุทธ ตัวอย่างเช่น
พิธีบูชายัญ
เป็นพิธีกรรมที่กระทำเพื่อบูชาเทพเจ้า ซึ่งพิธีบูชายัญมีหลายรูปแบบ เช่น พิธีบูชายัญด้วยสัตว์ พิธีบูชายัญด้วยพืชผักผลไม้ และพิธีบูชายัญด้วยคำสวดภาวนา พิธีบูชายัญมีจุดประสงค์เพื่อขอพรจากเทพเจ้าเพื่อความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต
พิธีศพ
เป็นพิธีกรรมที่กระทำต่อผู้ตายเพื่อส่งดวงวิญญาณของผู้ตายไปสู่ปรโลก พิธีศพในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูมีขั้นตอนที่ซับซ้อนและแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น และในประเทศไทยเองการจัดพิธีศพของแต่ละภูมิภาคของประเทศไทยต่างก็มีขั้นตอนที่แตกต่างเช่นกัน โดยแบ่งออกเป็น
การจัดงานศพในภาคเหนือ
การจัดพิธีศพในภาคเหนือนั้นเราจะขออิงจากยุคสมัยของวัฒนธรรมล้านนา โดยในสมัยนั้นเมื่อมีการเสียชีวิตทุกคนก็จะต้องทำการบรรตุร่างของผู้เสียชีวิตเอาไว้ในโลงก่อนจะยกโลงนั้นตั้งเอาไว้บนที่ตั้งซึ่งที่มีลักษณะคล้ายปราสาท(จะทำการยกโลงเพื่อตั้งไว้บนปราสาทก่อนวันเผา) และประดับด้วยดอกไม้สดหรือดอกไม้แห้งนานาชนิดให้สวยงาม เพื่อแสดงถึงความอาลัยและยังเป็นการให้เกียรติกับผู้ที่ล่วงลับไปแล้วด้วยนั่นเอง โดยเมื่อมีการบรรจุร่างของผู้เสียชีวิตลงในโลงศพแล้วก็จะมีการจัดงาน ซึ่งมักจะนิยมจัดหาวงดนตรีมาทำการบรรเลงเพลง โดยนิยมจัดงานโดยรวมเป็นเวลา 3 -5 วัน ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละบุคคล การเผาศพจะนิยมทำกันที่เมรุของวัดในพื้นที่ หากแต่พื้นที่ไหนไม่มีเมรุที่สามารถเผาได้ก็จะนิยมทำพิธีนี้กันที่ป่าช้า
การจัดงานศพในภาคอีสาน
สำหรับในภาคอีสานความเชื่อในเรื่องของการจัดงานศพนั้นในปัจจุบันและอดีตก็คงจะมีในหลายส่วนที่แตกต่างออกไปบ้างแล้ว แต่ถ้าย้อนกลับไปเมื่อครั้งหนึ่งในอดีต ชาวภาคอีสานก็มักจะมีความเชื่อกันว่าหากผู้เสียชีวิต ‘ตายโหง’ หรือก็คือการตายอย่างไม่ปกติ เช่น ประสบอุบัติเหตุ ถูกฆาตกรรม ฆ่าตัวตาย เป็นต้น มักจะไม่นิยมอาบน้ำศพด้วยน้ำอบหรือน้ำหอม แต่จะนำไปฝังเอาไว้ที่ป่าช้าแทน
การจัดงานศพในภาคกลาง
ขั้นตอนการจัดงานศพในภาคกลางก็จะมีธรรมเนียมบางอย่างคล้ายคลึงกับหลาย ๆ ภาคในประเทศไทย โดยเมื่อมีการเสียชีวิตเกิดขึ้นแล้วก็จะต้องมีการเลือกสถานที่ว่าจะจัดงานที่ไหน หากใครสะดวกจัดงานที่บ้านก็จำเป็นจะต้องมีการนิมนต์พระเข้าบ้าน แต่สำหรับใครที่มีพื้นที่ไม่เพียงพอก็มักจะนิยมเคลื่อนย้ายร่างผู้เสียชีวิตไปจัดงานกันที่วัดเลย
การจัดงานศพในภาคใต้
สำหรับการจัดงานศพในภาคใต้นั้น จะมีความเชื่อในเรื่องของการจัดงานศพที่ว่า หากถ้าผู้ที่เสียชีวิตยังเป็นเด็ก หรือเป็นทารกที่เพิ่งคลอดจะไม่นิยมจัดงานหรือเผาศพในทันที แต่จะต้องมีการนำเอาร่างนั้นไปฝังเอาไว้เสียก่อน โดยจะต้องทำการฝังภายในวันนั้นทันที และนิมนต์พระสงฆ์มาสวดมนต์ทําพิธีในบริเวณนั้นแทน แต่ถ้าหากผู้เสียชีวิตเป็นเด็กที่มีอายุหรือเป็นผู้เสียชีวิตทั่วไปไม่ใช่เด็กทารก ก็จะมีการทำพิธีหนึ่งที่เรียกว่า ‘พิธีดอย’ ซึ่งพิธีนี้เป็นพิธีทางความเชื่อพื้นบ้านของชาวบ้านในบางพื้นที่ โดยมีการเสียชีวิตเกิดขึ้น เจ้าบ้านหรือครอบครัวจะเชิญผู้ที่มีความรู้ในทางเวทย์มนต์ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ ‘หมอผี’ มาทำพิธีต่าง ๆ เช่น การนำน้ำมนต์มาปะพรมเพื่อความเป็นสิริมงคล หรือพรมน้ำมนต์ที่ร่างของผู้เสียชีวิตเพื่อป้องกันไม่ให้ดวงวิญญาณมาก้าวก่าย หรือสร้างความเดือดร้อนให้คนในบริเวณนั้นนั่นเอง

เนื่องจากว่าศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้างและเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธสอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเองด้วยผลแห่งการกระทำของตนตามกฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกาย คือ ให้พึ่งตนเอง เพื่อพาตัวเองออกจากกองทุกข์ มีจุดมุ่งหมายคือการสอนให้มนุษย์หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงในโลกด้วยวิธีการสร้าง ปัญญา ในการอยู่กับความทุกข์อย่างรู้เท่าทันตามความเป็นจริง วัตถุประสงค์สูงสุดของศาสนาคือการหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงและวัฏจักรการเวียนว่ายตายเกิด เช่นเดียวกับที่พระศาสดาทรงหลุดพ้นได้ด้วยกำลังสติปัญญาและความเพียรของพระองค์เอง ในฐานะที่พระองค์ก็ทรงเป็นมนุษย์ มิใช่เทพเจ้าหรือทูตของพระเจ้าองค์ใด
ทั้งนี้ จุดประสงค์ในการจัดทำบทความนี้ไม่ได้ต้องการที่จะลบหลู่ความเชื่อของผู้ใด เพียงแต่ต้องการนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในเรื่องของวัฒนธรรมของแต่ละศาสนาเท่านั้น
หากให้ข้อมูลผิดพลาดประการใด ก็ต้องกราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
อ้างอิง
ศาสนาพุทธในประเทศไทยมีจริงหรือไม่
แม้ว่าตามรายงานจะระบุไว้อย่างชัดเจนว่าคนไทยนับถือศาสนาพุทธมากกว่าร้อยละ 90 ของประชากรในประเทศ แต่หากได้สังเกตุดูแล้วจะพบว่าคนไทยไม่ได้เข้าถึงความเป็นพุทธศาสนาที่แท้จริงเลยสักนิด ชาวพุทธในประเทศไทยส่วนใหญ่นำพิธีกรรมของศาสนาฮินดูและการนับถือภูตผีมาประกอบศาสนพิธีของตนด้วย จนกลายเป็นการปลูกฝังวัฒนธรรมทางศาสนาที่ผิด ๆ ให้กับลูกหลาน โดยการนำพิธีกรรมทางศาสนาฮินดูมาปะปนกับศาสนาพุทธ ตัวอย่างเช่น
การจัดพิธีศพในภาคเหนือนั้นเราจะขออิงจากยุคสมัยของวัฒนธรรมล้านนา โดยในสมัยนั้นเมื่อมีการเสียชีวิตทุกคนก็จะต้องทำการบรรตุร่างของผู้เสียชีวิตเอาไว้ในโลงก่อนจะยกโลงนั้นตั้งเอาไว้บนที่ตั้งซึ่งที่มีลักษณะคล้ายปราสาท(จะทำการยกโลงเพื่อตั้งไว้บนปราสาทก่อนวันเผา) และประดับด้วยดอกไม้สดหรือดอกไม้แห้งนานาชนิดให้สวยงาม เพื่อแสดงถึงความอาลัยและยังเป็นการให้เกียรติกับผู้ที่ล่วงลับไปแล้วด้วยนั่นเอง โดยเมื่อมีการบรรจุร่างของผู้เสียชีวิตลงในโลงศพแล้วก็จะมีการจัดงาน ซึ่งมักจะนิยมจัดหาวงดนตรีมาทำการบรรเลงเพลง โดยนิยมจัดงานโดยรวมเป็นเวลา 3 -5 วัน ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละบุคคล การเผาศพจะนิยมทำกันที่เมรุของวัดในพื้นที่ หากแต่พื้นที่ไหนไม่มีเมรุที่สามารถเผาได้ก็จะนิยมทำพิธีนี้กันที่ป่าช้า
สำหรับการจัดงานศพในภาคใต้นั้น จะมีความเชื่อในเรื่องของการจัดงานศพที่ว่า หากถ้าผู้ที่เสียชีวิตยังเป็นเด็ก หรือเป็นทารกที่เพิ่งคลอดจะไม่นิยมจัดงานหรือเผาศพในทันที แต่จะต้องมีการนำเอาร่างนั้นไปฝังเอาไว้เสียก่อน โดยจะต้องทำการฝังภายในวันนั้นทันที และนิมนต์พระสงฆ์มาสวดมนต์ทําพิธีในบริเวณนั้นแทน แต่ถ้าหากผู้เสียชีวิตเป็นเด็กที่มีอายุหรือเป็นผู้เสียชีวิตทั่วไปไม่ใช่เด็กทารก ก็จะมีการทำพิธีหนึ่งที่เรียกว่า ‘พิธีดอย’ ซึ่งพิธีนี้เป็นพิธีทางความเชื่อพื้นบ้านของชาวบ้านในบางพื้นที่ โดยมีการเสียชีวิตเกิดขึ้น เจ้าบ้านหรือครอบครัวจะเชิญผู้ที่มีความรู้ในทางเวทย์มนต์ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ ‘หมอผี’ มาทำพิธีต่าง ๆ เช่น การนำน้ำมนต์มาปะพรมเพื่อความเป็นสิริมงคล หรือพรมน้ำมนต์ที่ร่างของผู้เสียชีวิตเพื่อป้องกันไม่ให้ดวงวิญญาณมาก้าวก่าย หรือสร้างความเดือดร้อนให้คนในบริเวณนั้นนั่นเอง