ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Nattharavut Kunishe Muangsuk (
https://www.facebook.com/nattharavutm ) โพสต์เรื่องราวเกี่ยวกับหนังเกี่ยวกับเรื่องราวในภาคใต้ไว้น่าสนใจ (
https://www.facebook.com/nattharavutm/posts/10161345475958582 ) ว่า ทำไมไม่เป็นที่นิยมเหมือนดังจากภาคอื่นๆ ของประเทศไทย โดยเฉพาะจากภาคอีสาน ที่ขณะนี้กำลังเป็นกระแสอย่าง "สัปเหร่อ" ที่อยู่ในจักรวาลไทบ้าน
เขาเริ่มต้นบทความจากการตั้งคำถามว่า
"ทำไมหนังปักษ์ใต้ไม่แมสเหมือนไทบ้าน?"
จากนั้น ก็บอกเล่าเรื่องราวจากทั้งข้อมูลและประสบการณ์ว่า
"ภาคใต้นี่ทำหนังให้แมสยากกว่าอีสานหรือภาคอื่นๆ ไม่ใช่แค่เรื่องตลาดหรือจำนวนประชากร เพราะเราไม่มีวัฒนธรรมแสดงวิถีอัตลักษณ์แบบที่เรียกว่า "ไทบ้าน" ของอีสาน หรือ "คนเมือง" แบบภาคเหนือ เพราะความเป็นปักษ์ใต้มันหลากหลายเกินไป สำเนียงภาษาก็ต่างกัน ฝั่งอันดามันกับอ่าวไทย นครศรีฯ พัทลุง สงขลา ตรัง สุราษฎร์ธานี ฯลฯ ศัพท์แสงแต่ละจังหวัดต่างกัน แต่ละสำเนียงใช้เพียง 1-2 จังหวัด"
"ขนาดหนังตะลุงต้องสร้างตัวละครที่มีสำเนียงต่างกันหลายสิบตัวละคร ผู้คนในภูมิศาสตร์ควน(เขา) ป่า นา เล ต่างกันสิ้นเชิง วัฒนธรรมท้องถิ่นแต่ละจังหวัดก็ไม่เหมือนกัน ไม่นับคนเมือง(เด็กหลาด)กับพวกโตในสวนยางกลางหุบเขา(ในหม็อง) ไหนจะคนไทยพันถิ่น คนเชื้อสายจีน มลายู มุสลิม(พุทธกับมุสลิมใครมากกว่าในภาคใต้ยังไม่มีผลสำรวจเป็นทางการ แต่จากสัมผัสเองเดาว่ามุสลิมน้อยกว่าไม่เยอะ) อินเดีย ชาวเล คนลุ่มทะเลสาบ ฯลฯ คนในแผ่นดินใหญ่ก็ไม่เหมือนกับคนเกาะ ประเพณีบางอย่างต่างกันเพราะอยู่ในบริบทสังคมและเศรษฐกิจคนละแบบ"
"ครั้งหนึ่งไปนั่งในวงเหล้าของวัยรุ่นนครศรีธรรมราชกับพัทลุง มันขอเพลง "ลัง" ของไข่ มาลีฮวนน่ากับวงดนตรีในร้านแล้วคุยประสบการณ์เก่ากันน้ำตารื้น คนกระบี่กับเด็กระนองมองหน้ากันแล้วยิ้มแห้งๆ เพราะบ้านเราไม่มีรถไฟ ไม่มีประสบการณ์ขนลังขึ้นรถไฟมาแสวงหาอนาคตที่กรุงเทพฯ เราเติบโตมากับรถทัวร์ที่หลับข้ามคืนก็ถึงบ้าน"
"ไม่แปลกใจว่าทำไมหนังภาคใต้ของ
เอกชัย ศรีวิชัย ที่พยายามอย่างหนักมาตลอดแต่ละเรื่องถึงไม่ทำเงิน ทำทีไรก็เจ็บตัว ไม่ว่าเทริด (อ่านควบเสียง ทร ไม่ใช่ เท-ริด) หรือมนต์รักดอกผักบุ้ง หรือสะพานรักสารสิน"
"เอกชัยมีไอเดียและมีเงิน แต่ภาคใต้มันหลากหลายเกินไปในพื้นที่แคบๆ มันจึงจับตลาดได้ยาก"
โนราห์ไม่ได้มีทุกจังหวัดภาคใต้ หนังของแขกถึงไปยากในภูมิภาคตัวเอง(น่าจะไปได้ไปฝั่งมาเลย์) พอทำให้คนกรุงเทพฯหรือคนภูมิภาคอื่นดู รายละเอียดในหนังมันต้องปรับคนภาคอื่นเข้าใจ เช่นให้ตัวละครพูดภาษาใต้สำเนียงแบบภาคกลาง คนปัตตานีพูดไทยกลางไปเลย ซึ่งคนใต้ก็ไม่อินด้วยอีก พอคนท้องถิ่นไม่อือออด้วยมันไปตลาดใหญ่ยาก"
"เอาง่ายๆ ในหนัง
The Irishman นักแสดงชาวอเมริกันที่อยู่ในแก๊งไอริชต้องไปฝึกภาษาอังกฤษสำเนียงไอริช แม้แต่
โรเบิร์ต เดอนีโร คนเชื้อสายอิตาเลียนก็ต้องฝึก แต่ในสะพานรักสารสิน โกดำกับอิ๋วต้องพูดแบบภูเก็ตหรืออันดามันตอนบน(พังงา-ภูเก็ต-ระนอง)นางเอกในเรื่องดันพูดภาษาไทยกลาง ส่วนพระเอกพูดใต้แบบดัดสำเนียงให้คนภาคกลางฟังเข้าใจ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ไม่เกิดปัญหากับหนังในจักรวาลไทบ้าน (แม้ว่าอีสานก็มีหลายสำเนียงเช่นกัน) ความเรียลทำให้คนเชื่อหนังนี่คือปัญหาหลัก"
"มันเลยยากมากที่จะทำให้หนังภาคใต้แมส เพราะหนังไทยที่ขายกลิ่นอายท้องถิ่น(ที่รัฐเรียกว่าซอฟพาวเวอร์? )การตอบรับจากท้องถิ่นคือโจทย์ใหญ่ มันต้องเกิดกระแสตอบรับจากท้องถิ่น เว้นเป็นหนังแนวแฟนตาซี หรือเล่าแบบแตะๆ ท้องถิ่นเน้นขายประเด็น หรือขายตัวละครที่เชื่อมโยงกับส่วนกลาง เช่น ขุนพันธ์ ก็ไม่ต้องสนความสมจริงยึดโยงกับท้องถิ่นจริงๆ"
"นี่ไม่พูดเรื่องสายหนัง หรือพวกตัวแทนหนังในท้องถิ่น ว่าด้วยบริบทสังคมล้วนๆ ใครฝันเรื่องจะทำหนังขายความเป็นท้องถิ่นปักษ์ใต้บอกตรงๆ ว่ายากมาก โคตรท้าทาย"
"หรือถ้าใครมีไอเดียลองเสนอดูครับ"
"ป.ล.หนังมหาลัยวัวชน เป็นหนังปักษ์ใต้ที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่งโดย ผกก.ที่ไม่ได้เป็นคนใต้ แต่เข้าใจศาสตร์ภาพยนต์ลึกซึ้งอย่างคุณสืบ บุญส่ง นาคภู่ แต่หนังมีจุดบอดเรื่องการตลาดพอสมควรเลยไม่ไปในวงกว้าง"
หนังปักษ์ใต้ ทำไมไม่แมสเหมือน 'สัปเหร่อ' ในจักรวาลไทบ้าน
เขาเริ่มต้นบทความจากการตั้งคำถามว่า
"ทำไมหนังปักษ์ใต้ไม่แมสเหมือนไทบ้าน?"
จากนั้น ก็บอกเล่าเรื่องราวจากทั้งข้อมูลและประสบการณ์ว่า
"ภาคใต้นี่ทำหนังให้แมสยากกว่าอีสานหรือภาคอื่นๆ ไม่ใช่แค่เรื่องตลาดหรือจำนวนประชากร เพราะเราไม่มีวัฒนธรรมแสดงวิถีอัตลักษณ์แบบที่เรียกว่า "ไทบ้าน" ของอีสาน หรือ "คนเมือง" แบบภาคเหนือ เพราะความเป็นปักษ์ใต้มันหลากหลายเกินไป สำเนียงภาษาก็ต่างกัน ฝั่งอันดามันกับอ่าวไทย นครศรีฯ พัทลุง สงขลา ตรัง สุราษฎร์ธานี ฯลฯ ศัพท์แสงแต่ละจังหวัดต่างกัน แต่ละสำเนียงใช้เพียง 1-2 จังหวัด"
"ขนาดหนังตะลุงต้องสร้างตัวละครที่มีสำเนียงต่างกันหลายสิบตัวละคร ผู้คนในภูมิศาสตร์ควน(เขา) ป่า นา เล ต่างกันสิ้นเชิง วัฒนธรรมท้องถิ่นแต่ละจังหวัดก็ไม่เหมือนกัน ไม่นับคนเมือง(เด็กหลาด)กับพวกโตในสวนยางกลางหุบเขา(ในหม็อง) ไหนจะคนไทยพันถิ่น คนเชื้อสายจีน มลายู มุสลิม(พุทธกับมุสลิมใครมากกว่าในภาคใต้ยังไม่มีผลสำรวจเป็นทางการ แต่จากสัมผัสเองเดาว่ามุสลิมน้อยกว่าไม่เยอะ) อินเดีย ชาวเล คนลุ่มทะเลสาบ ฯลฯ คนในแผ่นดินใหญ่ก็ไม่เหมือนกับคนเกาะ ประเพณีบางอย่างต่างกันเพราะอยู่ในบริบทสังคมและเศรษฐกิจคนละแบบ"
"ครั้งหนึ่งไปนั่งในวงเหล้าของวัยรุ่นนครศรีธรรมราชกับพัทลุง มันขอเพลง "ลัง" ของไข่ มาลีฮวนน่ากับวงดนตรีในร้านแล้วคุยประสบการณ์เก่ากันน้ำตารื้น คนกระบี่กับเด็กระนองมองหน้ากันแล้วยิ้มแห้งๆ เพราะบ้านเราไม่มีรถไฟ ไม่มีประสบการณ์ขนลังขึ้นรถไฟมาแสวงหาอนาคตที่กรุงเทพฯ เราเติบโตมากับรถทัวร์ที่หลับข้ามคืนก็ถึงบ้าน"
"ไม่แปลกใจว่าทำไมหนังภาคใต้ของเอกชัย ศรีวิชัย ที่พยายามอย่างหนักมาตลอดแต่ละเรื่องถึงไม่ทำเงิน ทำทีไรก็เจ็บตัว ไม่ว่าเทริด (อ่านควบเสียง ทร ไม่ใช่ เท-ริด) หรือมนต์รักดอกผักบุ้ง หรือสะพานรักสารสิน"
"เอกชัยมีไอเดียและมีเงิน แต่ภาคใต้มันหลากหลายเกินไปในพื้นที่แคบๆ มันจึงจับตลาดได้ยาก"
โนราห์ไม่ได้มีทุกจังหวัดภาคใต้ หนังของแขกถึงไปยากในภูมิภาคตัวเอง(น่าจะไปได้ไปฝั่งมาเลย์) พอทำให้คนกรุงเทพฯหรือคนภูมิภาคอื่นดู รายละเอียดในหนังมันต้องปรับคนภาคอื่นเข้าใจ เช่นให้ตัวละครพูดภาษาใต้สำเนียงแบบภาคกลาง คนปัตตานีพูดไทยกลางไปเลย ซึ่งคนใต้ก็ไม่อินด้วยอีก พอคนท้องถิ่นไม่อือออด้วยมันไปตลาดใหญ่ยาก"
"เอาง่ายๆ ในหนัง The Irishman นักแสดงชาวอเมริกันที่อยู่ในแก๊งไอริชต้องไปฝึกภาษาอังกฤษสำเนียงไอริช แม้แต่โรเบิร์ต เดอนีโร คนเชื้อสายอิตาเลียนก็ต้องฝึก แต่ในสะพานรักสารสิน โกดำกับอิ๋วต้องพูดแบบภูเก็ตหรืออันดามันตอนบน(พังงา-ภูเก็ต-ระนอง)นางเอกในเรื่องดันพูดภาษาไทยกลาง ส่วนพระเอกพูดใต้แบบดัดสำเนียงให้คนภาคกลางฟังเข้าใจ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ไม่เกิดปัญหากับหนังในจักรวาลไทบ้าน (แม้ว่าอีสานก็มีหลายสำเนียงเช่นกัน) ความเรียลทำให้คนเชื่อหนังนี่คือปัญหาหลัก"
"มันเลยยากมากที่จะทำให้หนังภาคใต้แมส เพราะหนังไทยที่ขายกลิ่นอายท้องถิ่น(ที่รัฐเรียกว่าซอฟพาวเวอร์? )การตอบรับจากท้องถิ่นคือโจทย์ใหญ่ มันต้องเกิดกระแสตอบรับจากท้องถิ่น เว้นเป็นหนังแนวแฟนตาซี หรือเล่าแบบแตะๆ ท้องถิ่นเน้นขายประเด็น หรือขายตัวละครที่เชื่อมโยงกับส่วนกลาง เช่น ขุนพันธ์ ก็ไม่ต้องสนความสมจริงยึดโยงกับท้องถิ่นจริงๆ"
"นี่ไม่พูดเรื่องสายหนัง หรือพวกตัวแทนหนังในท้องถิ่น ว่าด้วยบริบทสังคมล้วนๆ ใครฝันเรื่องจะทำหนังขายความเป็นท้องถิ่นปักษ์ใต้บอกตรงๆ ว่ายากมาก โคตรท้าทาย"
"หรือถ้าใครมีไอเดียลองเสนอดูครับ"
"ป.ล.หนังมหาลัยวัวชน เป็นหนังปักษ์ใต้ที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่งโดย ผกก.ที่ไม่ได้เป็นคนใต้ แต่เข้าใจศาสตร์ภาพยนต์ลึกซึ้งอย่างคุณสืบ บุญส่ง นาคภู่ แต่หนังมีจุดบอดเรื่องการตลาดพอสมควรเลยไม่ไปในวงกว้าง"