ในบรรดา ‘วรรคทอง’ (quote) ของอัจฉริยะระดับที่เป็นไอคออนของอัจฉริยะด้วยกันเองอย่าง อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) นั้น วรรคทองประโยคหนึ่งที่ถูกส่งต่อให้กันอยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะในหมู่คนไทย ที่นับถือพุทธศาสนาก็คือประโยคที่ว่า
“บรรดาศาสนาในโลกนี้ พุทธศาสนาน่าจะเป็นศาสนาที่ยอดเยี่ยมที่สุด และเหมาะสมแก่คนทุกยุคทุกสมัย เพราะทนต่อการพิสูจน์ได้ทุกเวลา”
แน่นอนนะครับว่า ที่ถูกแชร์ และส่งต่อนั้นเป็นเพราะว่าบุคคลสำคัญของโลก แถมยังเป็นบุคคลที่เป็นสัญลักษณ์ของปัญญาอย่างไอน์สไตน์ อุตส่าห์อวยไส้แตกศาสนาพุทธเสียขนาดนี้ ทำไมผู้รักที่รักและศรัทธาในพุทธศาสนาจะไม่แชร์?
ข้อความภาษาไทยประโยคนี้แปลมาจากประโยคในภาษาอังกฤษ (แน่นอนว่าไอน์สไตน์ต้องไม่พูด หรือเขียนด้วยภาษาไทย) ที่ว่า
“Buddhism contains a much stronger element of [the cosmic religious feeling, by which] the religious geniuses of all ages have been distinguished.”
อย่างไรก็ตาม ไอน์สไตน์ไม่เคยทั้งพูด และเขียนคุณเจ้าประโยคข้างต้นนี้ออกมาหรอกนะครับ เรียกได้ว่าเป็นเหลวไหลทั้งเพ เพราะเป็นประโยคตัดแปะแบบไม่ตรงพลความเดิมเอาเสียเลย
ข้อความที่เห็นเอามาจากข้อเขียนของไอน์สไตน์ที่ชื่อ Religion and Science (ศาสนาและวิทยาศาสตร์) ใน New York Times Magazine ฉบับวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1930 หน้าที่ 1-4 ซึ่งถูกอ้างอิง และนำมาตีพิมพ์ใหม่ในหนังสือเล่มนู้นเล่มนี้ อีกหลายครั้งเลยทีเดียว และก็ถือว่าเป็นข้อเขียนที่ดังเอามากๆ ชิ้นหนึ่งของอัจฉริยะผู้พิสูจน์ให้เห็นว่าแสงไม่ได้เดินทางเป็นเส้นตรงผู้นี้เลยทีเดียว โดยที่วรรคทองเจ้าปัญหานี่ ถูกตัดแปะมาจากสามประโยคที่ไม่ได้เกี่ยวกันเลย ดังต่อไปนี้
1) ข้อความส่วนข้างหน้าวงเล็บ (Buddhism contains a much stronger element of) มาจากประโยคสุดท้ายในย่อหน้าที่ 6 ของข้อเขียนชิ้นดังกล่าวคือ
“The beginnings of cosmic religious feeling already appear in earlier stages of development—e.g., in many of the Psalms of David and in some of the Prophets. Buddhism, as we have learnt from the wonderful writings of Schopenhauer especially, contains a much stronger element of it.”
ซึ่งก็อาจจะแปลเป็นไทยได้ในว่า
“ในช่วงเริ่มแรกของทัศนคติแบบศาสนาจักรวาล ก็ปรากฏขึ้นมาก่อนแล้วในช่วงหน้าหลายขั้นตอนของพัฒนาการนี้ เช่นในบทสวดของดาวิด หรือในคำสอนของศาสดาบางท่าน พุทธศาสนา แบบที่พวกเราได้เรียนรู้เป็นพิเศษจากข้อเขียนอันยอดเยี่ยมของโชเปนเฮาเออร์ ก็มีองค์ประกอบ (ของความเป็นศาสนาจักรวาล) อย่างเข้มข้น”
(ผมขออนุญาตแปลอะไรที่ไอน์สไตน์เรียกว่า ‘cosmic religion’ แบบตามตรงตัวตามรูปศัพท์ว่า ‘ศาสนาจักรวาล’ เพราะเอาเข้าจริงแล้วถ้าจะคำนี้ให้กินความหมายอย่างที่ไอน์สไตน์ต้องการจะหมายความถึง ก็คงจะต้องเขียนอธิบายความกันอีกจนสามารถจะเอาไปเขียนเป็นบทความได้อีกสักชิ้น แต่โดยรวมๆ แล้วก็ประมาณว่าคือ ศาสนาที่มีความเป็นวิทยาศาสตร์)
ควรสังเกตว่า ไอน์สไตน์ก็บอกเอาไว้ชัดๆ นะครับว่า ‘พุทธศาสนา’ ที่เขาหมายถึง เป็นพุทธศาสนาแบบที่ อาเธอร์ โชเปนเฮาเออร์ (Arthur Schopenhauer, พ.ศ. 2331-2403) นักปรัชญา และนักจริยศาสตร์ชาวเยอรมนี ซึ่งสนใจในปรัชญาของโลกตะวันออก พูดถึงเอาไว้
2) ข้อความในวงเล็บ [the cosmic religious feeling, by which] ก็เอามาจากประโยคในย่อหน้าที่ 6 เหมือนกันนั่นแหละ ซึ่งก็คือประโยคข้างต้นที่ผมคัดมาไว้ข้างต้น
โดยไอน์สไตน์ได้อธิบายว่า “ทัศนคติแบบศาสนาจักรวาล ก็ปรากฏขึ้นมาก่อนแล้วในช่วงหน้าหลายขั้นตอนของพัฒนาการนี้ เช่นในบทสวดของดาวิด หรือในคำสอนของศาสดาบางท่าน” จากนั้นเฮียแกค่อยพูดว่า ศาสนาพุทธแบบที่โชเปนเฮาเออร์แปลความ มีคุณลักษณะที่เป็น ‘ศาสนาจักรวาล’ อยู่มาก
แปลง่ายๆ ว่า ถ้าเป็นศาสนาพุทธแบบคนอื่น ไม่ว่าจะเป็น ธรรมกาย ธรรมยุติ มหานิกาย พุทธทาส ว.วชิรเมธี ไปจนกระทั่งพุทธอิสระ ไอน์สไตน์อาจจะไม่ได้คิดแบบนี้อีกด้วย
และก็แน่นอนว่า โชเปนเฮาเออร์ก็เป็นเช่นเดียวกับชาวตะวันตกอีกหลายๆ คน ที่เข้าใจศาสนาพุทธโดยพื้นฐานวิธีคิดแบบโลกตะวันตก โดยเฉพาะโลกตะวันตกในช่วงที่โชเปนเฮาเออร์มีชีวิตอยู่ ซึ่งก็อยู่ในช่วงระหว่าง รัชกาลที่ 1-4 ของไทย ไม่ใช่ศาสนาพุทธแบบที่เราเข้าใจกันในทุกวันนี้หรอกนะครับ
ดังนั้นจึงอาจจะแปลง่ายๆ อีกทีได้ด้วยว่า ไอน์สไตน์ไม่ได้บอกว่า ศาสนาพุทธเป็นศาสนาจักรวาล แค่บอกว่าถ้าเชื่อโชเปนเฮาเออร์ ศาสนาพุทธก็ใกล้เคียงกับศาสนาจักรวาลที่ว่านี่อยู่ (ซึ่งถ้าอ่านจากบทความชิ้นนี้เต็มๆ ก็จะเห็นได้ว่า ไอน์สไตน์คิดอย่างนั้นด้วยการเปรียบเทียบกับศาสนาคริสต์อีกทอดหนึ่งอีกต่างหาก)
ส่วนคำว่า ‘by which’ นี่ไม่ต้องพูดเลย เติมมาเองเพื่อลากความโยงเข้ากับประโยคข้างหลังมันดื้อๆ เสียอย่างนั้น
3) ส่วนหลังวงเล็บ (the religious geniuses of all ages have been distinguished) ประโยคนี้เอามาจากประโยคเปิดตัวย่อหน้าที่ 7 ซึ่งเป็นความต่อจากประโยคข้างบนก็จริง แต่ว่าไม่ได้หมายถึงศาสนาพุทธเลยสักนิด เพราะประโยคเต็มๆ มีดังนี้
“The religious geniuses of all ages have been distinguished by this kind of religious feeling, which knows no dogma and no God conceived in man's image; so that there can be no Church whose central teachings are based on it.”
ซึ่งอาจจะแปลความได้ว่า
“บรรดาอัจฉริยะที่เกี่ยวกับศาสนาในทุกยุคสมัย โดดเด่นได้ด้วยทัศนคติทางศาสนาแบบนี้เอง แบบที่ตระหนักว่าไม่มีความเชื่อ ไม่มีพระเจ้าที่อยู่ในรูปของมนุษย์ ดังนั้นศาสนาจึงสามารถที่จะไม่มีสังฆมณฑล ที่รวบเอาคำสอนไว้ตรงกลาง และใช้เป็นมาตรฐานในการอ้างอิง”
จะเห็นได้ชัดๆ เลยว่า ข้อความตรงนี้ไอน์สไตน์กล่าวถึง ‘ศาสนาจักรวาล’ ไม่ใช่ ‘ศาสนาพุทธ’ เขากำลังกล่าวถึงอัจฉริยะเกี่ยวกับศาสนาว่าจะต้องไม่มีความเชื่อ (dogma คำนี้ที่จริงคือความเชื่อแบบที่ไร้ข้อพิสูจน์) ไม่มีพระเจ้าที่อยู่ในรูปมนุษย์ และก็ไม่มีโบสถ์ หรือสังฆมณฑล (Church) ด้วยซ้ำไป ซึ่งนี่ไม่ใช่ศาสนาพุทธแน่
และก็แน่นอนด้วยว่า การแปลวรรคทองประโยคนี้ออกมาในภาษาไทยด้วยการบิดเบือนความหมาย เช่น การแปลคำว่า ‘The religious geniuses’ เป็น ‘ศาสนาที่ยอดเยี่ยมที่สุด’ ทั้งที่มันควรจะแปลว่า ‘เหล่าอัจฉริยะเกี่ยวกับศาสนา’ ก็ยิ่งทำให้ความหมายผิดเพี้ยน และห่างไกลจากความหมายเดิมออกไปทุกที
วรรคทองประโยคที่เห็นกันอยู่บ่อยๆ ประโยคนี้ จึงเป็นอีกประโยคที่ไอน์สไตน์ไม่เคยแม้แต่จะคิด และยิ่งไม่เคยเขียนถึงอะไรอย่างนั้น แต่เป็นการตัดแปะข้อความของเขาให้มีความหมายผิดเพี้ยนไปจากเดิม ไม่ว่าจะด้วยความเข้าใจผิด หรือต้องการผลประโยชน์อะไรก็ตาม
การแชร์วรรคทองที่ไม่มีการตรวจสอบที่มา จึงยิ่งเป็นการผลิตซ้ำ ‘ความเชื่อ’ ไม่ใช่ ‘ความรู้’ แถมความเชื่อที่ไม่ได้รับการตรวจสอบมักจะนำมาซึ่งข้อผิดพลาด และเป็นอันตรายต่อสังคมเสมอ
เลิกเอาไอสไตน์มาอ้างสนับสนุนศาสนาพุทธได้แล้ว
ไอนสไตน์ "ไม่นับถือศาสนา" ครับ เค้าแค่บอกว่า "หากจะนับถือศาสนา เค้าจะเลือกนับถือพุทธ" (แต่นั่นไม่ได้แปลว่า "เค้านับถือแล้ว)
การอ้างไอนสไตน์ในกรณีนี้ถือว่า "ผิดอย่างน่ารำคาญ" (เพราะบ่อยมาก) แต่หากจะอ้างได้ก็คือ "ไอนสไตน์เชื่อว่าศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่มีหลักการทางความคิดในลักษณะ scientific method มากที่สุด" ครับ นั่นคือสิ่งที่ไอนสไตน์เชื่อ
อันนี้ Einstein เขียนเองครับ อ่านเองแล้วกันว่าเขาเชื่อในพระเจ้าหรือเปล่า
เพียงแต่พระเจ้าของ Einstein มันไม่ใช่อย่างที่หลายๆคนเชื่อเท่านั้นเอง (Personal God)
1. ประกาศว่าเชื่อใน Spinoza's God
"I believe in Spinoza's God, who reveals Himself in the lawful harmony of the world, not in a God Who concerns Himself with the fate and the doings of mankind."
Brian, Dennis (1996), Einstein: A Life, New York: John Wiley & Sons, p. 127, ISBN 0-471-11459-6
2. ย้ำว่าเป็น agnostic
"My position concerning God is that of an agnostic. I am convinced that a vivid consciousness of the primary importance of moral principles for the betterment and ennoblement of life does not need the idea of a law-giver, especially a law-giver who works on the basis of reward and punishment."
Albert Einstein in a letter to M. Berkowitz, October 25, 1950; Einstein Archive 59-215; from Alice Calaprice, ed., The Expanded Quotable Einstein, Princeton, New Jersey: Princeton University Press, 2000, p. 216.
3. อันนี้เขาประกาศชัดว่าเขาไม่ใช่พวก Atheist
"I have repeatedly said that in my opinion the idea of a personal God is a childlike one. You may call me an agnostic, but I do not share the crusading spirit of the professional atheist whose fervor is mostly due to a painful act of liberation from the fetters of religious indoctrination received in youth."
Albert Einstein in a letter to M. Berkowitz, October 25, 1950; Einstein Archive 59-215; from Alice Calaprice, ed., The Expanded Quotable Einstein, Princeton, New Jersey: Princeton University Press, 2000, p. 216.
4. ไม่เห็นด้วยกับคนที่อ้างคำพูดของเขาไปสนับสนุนว่าพระเจ้าไม่มีอยู่จริง
"In view of such harmony in the cosmos which I, with my limited human mind, am able to recognize, there are yet people who say there is no God. But what really makes me angry is that they quote me for the support of such views."
Albert Einstein (1879-1955). Retrieved on 2007-05-21.
5. เรื่องพระเจ้าไม่ทอยลูกเต๋านั้นคุณ fallingangels น่าจะเข้าใจผิด อันนี้เป็นการถกเถียงที่คลาสสิกที่สุดครั้งหนึ่ง คือ Niels Bohr กับ Werner Heisenberg ตีความควอนตัมว่ามันเป็นเรื่องของความน่าจะเป็น Einstein ไม่เห็นด้วยกับความคิดนี้เขาจึงเุถียงกลับไปว่าพระเจ้าน่ะไม่เล่นทอดลูกเต๋าหรอก
Niels Bohr กับ Werner Heisenberg บอกว่า Quantum เป็นเรื่องความน่าจะเป็นที่เราหาความแน่นอนไม่ได้ ตัวอย่างเช่นกฎความไม่แน่นอนของ Heisenberg ที่บอกว่าเราไม่สามารถรู้ตำแหน่ง และความเร็วที่แน่นอนของสัตถุใดๆได้
แต่ Einstein เถียงกลับว่ามันต้องหาได้สิ(พระเจ้าไม่ทอยเต๋า - กฎธรรมชาติมีความแน่นอน ไม่ใช่เป็นความน่าจะเป็น) เพียงแต่เรายังไม่รู้เท่านั้นเองว่ากฎมันเป็นอย่างไร
และสิ่งนี้เองที่น่าจะทำให้ในช่วงครึ่งหลีงในชีวิตของ Einstein ไม่ค่อยจะมีผลงานทางวิทยาศาสตร์ที่น่าตื่นตาตื่นใจเท่ากับช่วงครึ่งชีวิตแรกของเขา เพราะทฤษฎี Quantum ในแบบของ Niels Bohr กับ Werner Heisenberg นั้นได้รับการพัฒนาขึ้นมาอย่างมากมายบนพื้นฐานของความน่าจะเป็น แต่ Einstein ไม่ยอมรับแนวทางนี้และตั้งหน้าตั้งตาพัฒนา GUT (Grand Unified Theory) ตามวิถีทางของเขา
ผมอยากรู้เหมือนกันว่าถ้า Einstein ยอมรับความไม่แน่นอน ไม่แน่ว่าด้วยมันสมองของเขา GUT อาจจะสำเร็จในช่วงชีวิตของเขาก็ได้
======================================
สรุปไอสไตน์ไม่ได้นับถือพุทธ แค่ยอมรับว่ามีวิธีการคิดที่ใกล้เคียงกับScientific Menthod ดังนั้นการอ้างไอสไตน์จึงเป็นการอ้างผิด
https://youtu.be/l3xmXZ-YQME?si=BaWx1o085xiSMyHT
ไอน์สไตน์ ไม่เคยบอกว่าพุทธศาสนายอดเยี่ยมที่สุด
* กระทู้นี้สามารถใช้งานได้เฉพาะผู้ที่มี Link นี้เท่านั้นค่ะ“บรรดาศาสนาในโลกนี้ พุทธศาสนาน่าจะเป็นศาสนาที่ยอดเยี่ยมที่สุด และเหมาะสมแก่คนทุกยุคทุกสมัย เพราะทนต่อการพิสูจน์ได้ทุกเวลา”
แน่นอนนะครับว่า ที่ถูกแชร์ และส่งต่อนั้นเป็นเพราะว่าบุคคลสำคัญของโลก แถมยังเป็นบุคคลที่เป็นสัญลักษณ์ของปัญญาอย่างไอน์สไตน์ อุตส่าห์อวยไส้แตกศาสนาพุทธเสียขนาดนี้ ทำไมผู้รักที่รักและศรัทธาในพุทธศาสนาจะไม่แชร์?
ข้อความภาษาไทยประโยคนี้แปลมาจากประโยคในภาษาอังกฤษ (แน่นอนว่าไอน์สไตน์ต้องไม่พูด หรือเขียนด้วยภาษาไทย) ที่ว่า
“Buddhism contains a much stronger element of [the cosmic religious feeling, by which] the religious geniuses of all ages have been distinguished.”
อย่างไรก็ตาม ไอน์สไตน์ไม่เคยทั้งพูด และเขียนคุณเจ้าประโยคข้างต้นนี้ออกมาหรอกนะครับ เรียกได้ว่าเป็นเหลวไหลทั้งเพ เพราะเป็นประโยคตัดแปะแบบไม่ตรงพลความเดิมเอาเสียเลย
ข้อความที่เห็นเอามาจากข้อเขียนของไอน์สไตน์ที่ชื่อ Religion and Science (ศาสนาและวิทยาศาสตร์) ใน New York Times Magazine ฉบับวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1930 หน้าที่ 1-4 ซึ่งถูกอ้างอิง และนำมาตีพิมพ์ใหม่ในหนังสือเล่มนู้นเล่มนี้ อีกหลายครั้งเลยทีเดียว และก็ถือว่าเป็นข้อเขียนที่ดังเอามากๆ ชิ้นหนึ่งของอัจฉริยะผู้พิสูจน์ให้เห็นว่าแสงไม่ได้เดินทางเป็นเส้นตรงผู้นี้เลยทีเดียว โดยที่วรรคทองเจ้าปัญหานี่ ถูกตัดแปะมาจากสามประโยคที่ไม่ได้เกี่ยวกันเลย ดังต่อไปนี้
1) ข้อความส่วนข้างหน้าวงเล็บ (Buddhism contains a much stronger element of) มาจากประโยคสุดท้ายในย่อหน้าที่ 6 ของข้อเขียนชิ้นดังกล่าวคือ
“The beginnings of cosmic religious feeling already appear in earlier stages of development—e.g., in many of the Psalms of David and in some of the Prophets. Buddhism, as we have learnt from the wonderful writings of Schopenhauer especially, contains a much stronger element of it.”
ซึ่งก็อาจจะแปลเป็นไทยได้ในว่า
“ในช่วงเริ่มแรกของทัศนคติแบบศาสนาจักรวาล ก็ปรากฏขึ้นมาก่อนแล้วในช่วงหน้าหลายขั้นตอนของพัฒนาการนี้ เช่นในบทสวดของดาวิด หรือในคำสอนของศาสดาบางท่าน พุทธศาสนา แบบที่พวกเราได้เรียนรู้เป็นพิเศษจากข้อเขียนอันยอดเยี่ยมของโชเปนเฮาเออร์ ก็มีองค์ประกอบ (ของความเป็นศาสนาจักรวาล) อย่างเข้มข้น”
(ผมขออนุญาตแปลอะไรที่ไอน์สไตน์เรียกว่า ‘cosmic religion’ แบบตามตรงตัวตามรูปศัพท์ว่า ‘ศาสนาจักรวาล’ เพราะเอาเข้าจริงแล้วถ้าจะคำนี้ให้กินความหมายอย่างที่ไอน์สไตน์ต้องการจะหมายความถึง ก็คงจะต้องเขียนอธิบายความกันอีกจนสามารถจะเอาไปเขียนเป็นบทความได้อีกสักชิ้น แต่โดยรวมๆ แล้วก็ประมาณว่าคือ ศาสนาที่มีความเป็นวิทยาศาสตร์)
ควรสังเกตว่า ไอน์สไตน์ก็บอกเอาไว้ชัดๆ นะครับว่า ‘พุทธศาสนา’ ที่เขาหมายถึง เป็นพุทธศาสนาแบบที่ อาเธอร์ โชเปนเฮาเออร์ (Arthur Schopenhauer, พ.ศ. 2331-2403) นักปรัชญา และนักจริยศาสตร์ชาวเยอรมนี ซึ่งสนใจในปรัชญาของโลกตะวันออก พูดถึงเอาไว้
2) ข้อความในวงเล็บ [the cosmic religious feeling, by which] ก็เอามาจากประโยคในย่อหน้าที่ 6 เหมือนกันนั่นแหละ ซึ่งก็คือประโยคข้างต้นที่ผมคัดมาไว้ข้างต้น
โดยไอน์สไตน์ได้อธิบายว่า “ทัศนคติแบบศาสนาจักรวาล ก็ปรากฏขึ้นมาก่อนแล้วในช่วงหน้าหลายขั้นตอนของพัฒนาการนี้ เช่นในบทสวดของดาวิด หรือในคำสอนของศาสดาบางท่าน” จากนั้นเฮียแกค่อยพูดว่า ศาสนาพุทธแบบที่โชเปนเฮาเออร์แปลความ มีคุณลักษณะที่เป็น ‘ศาสนาจักรวาล’ อยู่มาก
แปลง่ายๆ ว่า ถ้าเป็นศาสนาพุทธแบบคนอื่น ไม่ว่าจะเป็น ธรรมกาย ธรรมยุติ มหานิกาย พุทธทาส ว.วชิรเมธี ไปจนกระทั่งพุทธอิสระ ไอน์สไตน์อาจจะไม่ได้คิดแบบนี้อีกด้วย
และก็แน่นอนว่า โชเปนเฮาเออร์ก็เป็นเช่นเดียวกับชาวตะวันตกอีกหลายๆ คน ที่เข้าใจศาสนาพุทธโดยพื้นฐานวิธีคิดแบบโลกตะวันตก โดยเฉพาะโลกตะวันตกในช่วงที่โชเปนเฮาเออร์มีชีวิตอยู่ ซึ่งก็อยู่ในช่วงระหว่าง รัชกาลที่ 1-4 ของไทย ไม่ใช่ศาสนาพุทธแบบที่เราเข้าใจกันในทุกวันนี้หรอกนะครับ
ดังนั้นจึงอาจจะแปลง่ายๆ อีกทีได้ด้วยว่า ไอน์สไตน์ไม่ได้บอกว่า ศาสนาพุทธเป็นศาสนาจักรวาล แค่บอกว่าถ้าเชื่อโชเปนเฮาเออร์ ศาสนาพุทธก็ใกล้เคียงกับศาสนาจักรวาลที่ว่านี่อยู่ (ซึ่งถ้าอ่านจากบทความชิ้นนี้เต็มๆ ก็จะเห็นได้ว่า ไอน์สไตน์คิดอย่างนั้นด้วยการเปรียบเทียบกับศาสนาคริสต์อีกทอดหนึ่งอีกต่างหาก)
ส่วนคำว่า ‘by which’ นี่ไม่ต้องพูดเลย เติมมาเองเพื่อลากความโยงเข้ากับประโยคข้างหลังมันดื้อๆ เสียอย่างนั้น
3) ส่วนหลังวงเล็บ (the religious geniuses of all ages have been distinguished) ประโยคนี้เอามาจากประโยคเปิดตัวย่อหน้าที่ 7 ซึ่งเป็นความต่อจากประโยคข้างบนก็จริง แต่ว่าไม่ได้หมายถึงศาสนาพุทธเลยสักนิด เพราะประโยคเต็มๆ มีดังนี้
“The religious geniuses of all ages have been distinguished by this kind of religious feeling, which knows no dogma and no God conceived in man's image; so that there can be no Church whose central teachings are based on it.”
ซึ่งอาจจะแปลความได้ว่า
“บรรดาอัจฉริยะที่เกี่ยวกับศาสนาในทุกยุคสมัย โดดเด่นได้ด้วยทัศนคติทางศาสนาแบบนี้เอง แบบที่ตระหนักว่าไม่มีความเชื่อ ไม่มีพระเจ้าที่อยู่ในรูปของมนุษย์ ดังนั้นศาสนาจึงสามารถที่จะไม่มีสังฆมณฑล ที่รวบเอาคำสอนไว้ตรงกลาง และใช้เป็นมาตรฐานในการอ้างอิง”
จะเห็นได้ชัดๆ เลยว่า ข้อความตรงนี้ไอน์สไตน์กล่าวถึง ‘ศาสนาจักรวาล’ ไม่ใช่ ‘ศาสนาพุทธ’ เขากำลังกล่าวถึงอัจฉริยะเกี่ยวกับศาสนาว่าจะต้องไม่มีความเชื่อ (dogma คำนี้ที่จริงคือความเชื่อแบบที่ไร้ข้อพิสูจน์) ไม่มีพระเจ้าที่อยู่ในรูปมนุษย์ และก็ไม่มีโบสถ์ หรือสังฆมณฑล (Church) ด้วยซ้ำไป ซึ่งนี่ไม่ใช่ศาสนาพุทธแน่
และก็แน่นอนด้วยว่า การแปลวรรคทองประโยคนี้ออกมาในภาษาไทยด้วยการบิดเบือนความหมาย เช่น การแปลคำว่า ‘The religious geniuses’ เป็น ‘ศาสนาที่ยอดเยี่ยมที่สุด’ ทั้งที่มันควรจะแปลว่า ‘เหล่าอัจฉริยะเกี่ยวกับศาสนา’ ก็ยิ่งทำให้ความหมายผิดเพี้ยน และห่างไกลจากความหมายเดิมออกไปทุกที
วรรคทองประโยคที่เห็นกันอยู่บ่อยๆ ประโยคนี้ จึงเป็นอีกประโยคที่ไอน์สไตน์ไม่เคยแม้แต่จะคิด และยิ่งไม่เคยเขียนถึงอะไรอย่างนั้น แต่เป็นการตัดแปะข้อความของเขาให้มีความหมายผิดเพี้ยนไปจากเดิม ไม่ว่าจะด้วยความเข้าใจผิด หรือต้องการผลประโยชน์อะไรก็ตาม
การแชร์วรรคทองที่ไม่มีการตรวจสอบที่มา จึงยิ่งเป็นการผลิตซ้ำ ‘ความเชื่อ’ ไม่ใช่ ‘ความรู้’ แถมความเชื่อที่ไม่ได้รับการตรวจสอบมักจะนำมาซึ่งข้อผิดพลาด และเป็นอันตรายต่อสังคมเสมอ
เลิกเอาไอสไตน์มาอ้างสนับสนุนศาสนาพุทธได้แล้ว
ไอนสไตน์ "ไม่นับถือศาสนา" ครับ เค้าแค่บอกว่า "หากจะนับถือศาสนา เค้าจะเลือกนับถือพุทธ" (แต่นั่นไม่ได้แปลว่า "เค้านับถือแล้ว)
การอ้างไอนสไตน์ในกรณีนี้ถือว่า "ผิดอย่างน่ารำคาญ" (เพราะบ่อยมาก) แต่หากจะอ้างได้ก็คือ "ไอนสไตน์เชื่อว่าศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่มีหลักการทางความคิดในลักษณะ scientific method มากที่สุด" ครับ นั่นคือสิ่งที่ไอนสไตน์เชื่อ
อันนี้ Einstein เขียนเองครับ อ่านเองแล้วกันว่าเขาเชื่อในพระเจ้าหรือเปล่า
เพียงแต่พระเจ้าของ Einstein มันไม่ใช่อย่างที่หลายๆคนเชื่อเท่านั้นเอง (Personal God)
1. ประกาศว่าเชื่อใน Spinoza's God
"I believe in Spinoza's God, who reveals Himself in the lawful harmony of the world, not in a God Who concerns Himself with the fate and the doings of mankind."
Brian, Dennis (1996), Einstein: A Life, New York: John Wiley & Sons, p. 127, ISBN 0-471-11459-6
2. ย้ำว่าเป็น agnostic
"My position concerning God is that of an agnostic. I am convinced that a vivid consciousness of the primary importance of moral principles for the betterment and ennoblement of life does not need the idea of a law-giver, especially a law-giver who works on the basis of reward and punishment."
Albert Einstein in a letter to M. Berkowitz, October 25, 1950; Einstein Archive 59-215; from Alice Calaprice, ed., The Expanded Quotable Einstein, Princeton, New Jersey: Princeton University Press, 2000, p. 216.
3. อันนี้เขาประกาศชัดว่าเขาไม่ใช่พวก Atheist
"I have repeatedly said that in my opinion the idea of a personal God is a childlike one. You may call me an agnostic, but I do not share the crusading spirit of the professional atheist whose fervor is mostly due to a painful act of liberation from the fetters of religious indoctrination received in youth."
Albert Einstein in a letter to M. Berkowitz, October 25, 1950; Einstein Archive 59-215; from Alice Calaprice, ed., The Expanded Quotable Einstein, Princeton, New Jersey: Princeton University Press, 2000, p. 216.
4. ไม่เห็นด้วยกับคนที่อ้างคำพูดของเขาไปสนับสนุนว่าพระเจ้าไม่มีอยู่จริง
"In view of such harmony in the cosmos which I, with my limited human mind, am able to recognize, there are yet people who say there is no God. But what really makes me angry is that they quote me for the support of such views."
Albert Einstein (1879-1955). Retrieved on 2007-05-21.
5. เรื่องพระเจ้าไม่ทอยลูกเต๋านั้นคุณ fallingangels น่าจะเข้าใจผิด อันนี้เป็นการถกเถียงที่คลาสสิกที่สุดครั้งหนึ่ง คือ Niels Bohr กับ Werner Heisenberg ตีความควอนตัมว่ามันเป็นเรื่องของความน่าจะเป็น Einstein ไม่เห็นด้วยกับความคิดนี้เขาจึงเุถียงกลับไปว่าพระเจ้าน่ะไม่เล่นทอดลูกเต๋าหรอก
Niels Bohr กับ Werner Heisenberg บอกว่า Quantum เป็นเรื่องความน่าจะเป็นที่เราหาความแน่นอนไม่ได้ ตัวอย่างเช่นกฎความไม่แน่นอนของ Heisenberg ที่บอกว่าเราไม่สามารถรู้ตำแหน่ง และความเร็วที่แน่นอนของสัตถุใดๆได้
แต่ Einstein เถียงกลับว่ามันต้องหาได้สิ(พระเจ้าไม่ทอยเต๋า - กฎธรรมชาติมีความแน่นอน ไม่ใช่เป็นความน่าจะเป็น) เพียงแต่เรายังไม่รู้เท่านั้นเองว่ากฎมันเป็นอย่างไร
และสิ่งนี้เองที่น่าจะทำให้ในช่วงครึ่งหลีงในชีวิตของ Einstein ไม่ค่อยจะมีผลงานทางวิทยาศาสตร์ที่น่าตื่นตาตื่นใจเท่ากับช่วงครึ่งชีวิตแรกของเขา เพราะทฤษฎี Quantum ในแบบของ Niels Bohr กับ Werner Heisenberg นั้นได้รับการพัฒนาขึ้นมาอย่างมากมายบนพื้นฐานของความน่าจะเป็น แต่ Einstein ไม่ยอมรับแนวทางนี้และตั้งหน้าตั้งตาพัฒนา GUT (Grand Unified Theory) ตามวิถีทางของเขา
ผมอยากรู้เหมือนกันว่าถ้า Einstein ยอมรับความไม่แน่นอน ไม่แน่ว่าด้วยมันสมองของเขา GUT อาจจะสำเร็จในช่วงชีวิตของเขาก็ได้
======================================
สรุปไอสไตน์ไม่ได้นับถือพุทธ แค่ยอมรับว่ามีวิธีการคิดที่ใกล้เคียงกับScientific Menthod ดังนั้นการอ้างไอสไตน์จึงเป็นการอ้างผิด
https://youtu.be/l3xmXZ-YQME?si=BaWx1o085xiSMyHT