
.
จริงๆ ก็เสียดายเหมือนกันที่ไม่สามารถไปในวันที่กรมศิลป์ จัดงานแสง สี เสียงได้ ซึ่งเกิดขึ้นก่อนหน้าที่เราจะไปประมาณ 1 สัปดาห์ ช่วงนี้มีคลิปรีวิวมากมายในโลกออนไลน์เกี่ยวกับเมืองโบราณศรีเทพ สำหรับเราที่ถนัดสร้างและเสพตัวหนังสือกับภาพมากกว่า จึงขออนุญาติมารีวิวให้อ่านกันครับ
.
เราออกจากกรุงเทพฯ ช่วงสายของวันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน 2566 นัดรวมตัวกันที่สถานีหลักสอง รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน แล้วขับรถไปตามวงแหวนกาญจนาภิเษกหมายเลข 9 มุ่งหน้าจังหวัดลพบุรี ไปเส้นทางนี้ไม่มีการเสียค่าผ่านทางครับ หลักๆ ก็ตาม google ไป ปักหมุดไว้ที่พระนารายณ์ราชนิเวศน์ ซึ่งอยู่ในส่วนของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี ... ใช่ครับ ทริปนี้เราแวะเที่ยวลพบุรีก่อน
.
เสพประวัติศาสตร์ที่พระราชวังสมเด็จพระนายณ์ฯ ชมพิพิธภัณฑ์ฯ ซึ่งคราวก่อนที่เราไปลพบุรีดันเป็นวันที่พิพิธภัณฑ์ปิด เลยต้องเดือดร้อนกลับมาอีกรอบ (คราวก่อนไปวัน ไม่จันทร์ ก็อังคาร) และบ้านเจ้าพระยาวิชเยนทร์ เสร็จสรรพพร้อมทานก๋วยเตี๋ยวที่ลพบุรีแล้ว เราก็มุ่งหน้าสู่ศรีเทพ
.
รูปล่างนี้คือเทวสถานปรางค์แขกที่ตั้งอยู่ในเมืองลพบุรีเช่นกัน อายุรุ่นราวคราวเดียวกับปราสาทหินพิมายหรืออาจจะก่อนกว่า มีลายปูนปั้นให้ชมเล็กน้อยแต่ตัวปรางค์ค่อนข้างสมบูรณ์ ประวัติว่าเคยถูกบูรณะ 1 ครั้งใหญ่ช่วงปลายกรุงศรีอยุธยาและกรมศิลปากรมาเทคอนกรีตเสริมรากฐานเมื่อไม่นานมานี้อีกครั้ง

.
ทริปนี้เราวางแผนพักที่อำเภอชัยบาดาลซึ่งเป็นตัวอำเภอขนาดใหญ่ มีที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวกที่จะทำให้ผู้ร่วมทริปที่ต้องการที่พักสะอาด ไม่น่ากลัว ร้านอาหารที่พอทานได้ประกอบกับตลาดเช้าที่ทำให้ทริปนี้ไม่น่าเบื่อเกินไป รวมถึงระยะทางไม่ห่างจากตัวเมืองโบราณศรีเทพมากนัก คืนนั้นเราจึงใช้เวลาที่ลำนารายณ์ และทำไมไม่พักในตัวอำเภอศรีเทพ
.
1) หลายรีวิวให้ความเห็นว่าที่พักย่านอำเภอศรีเทพ ไม่ค่อยน่าประทับใจนัก
2) การเดินทางจากลำนารายณ์ไปเมืองโบราณศรีเทพ เส้นทางที่เข้าอำเภอศรีเทพเป็นเส้นทางอ้อม เราสามารถร่นระยะทางได้มากพอควรถ้าเราเลี้ยวขวาก่อนเข้าตัวอำเภอศรีเทพประมาณ 10 กม. โดยเส้นทางนี้เป็นเส้นทางแนะนำทั้งจาก google map และป้ายของกรมศิลปากร ซ฿่งจากการที่เราเดินทางไปและกลับเส้นทางนี้ จัดว่าถนนค่อนข้างดี ถึงแม้จะไม่ใช้เส้น 4 เลน แต่ก็ไม่ได้เป็นหลุมบ่อจนน่าหงุดหงิด
.
The Garden Resort คือที่พักคืนนั้น อยู่ห่างจากตลาดลำนารายณ์ประมาณ 3 กม. ห้องพักเป็นลักษณะบ้านแถวสีขาว สะอาดและร่มรื่น มีอาหารเช้าให้บริการ เราติดต่อเข้าพักโดยการโทรฯ จองและ walk in เข้าไป ราคาคืนละ 800 บาท พักได้ห้องละ 2 คน

.
1. ปรางค์ฤาษี
.
การไปท่องเที่ยวที่เมืองโบราณศรีเทพ เราสามารถยึดตามป้ายแนะนำการท่องเที่ยวนี้ได้เลย ซึ่งจะประกอบด้วย 2 ส่วนหลักๆ คือ 1. โบราณสถานนอกเมือง คือเขาคลังนอก, ปรางค์ฤาษี และสระแก้ว 2. โบราณสถานในเมือง ในส่วนของเมืองใน = ปรางค์ศรีเทพ, ปรางค์สองพี่น้อง, เขาคลังใน และเมืองนอกมีเฉพาะสระขวัญ ส่วนสิ่งก่อสร้างอื่นในเมืองนอกส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก อีกทั้งยังไม่ได้รับการขุดแต่งจนสมบูรณ์พร้อมเข้าชม

.
ปรางค์ฤาษีตั้งอยู่ในบริเวณวัดป่าสระแก้ว โดยถ้าเปิด google map แล้วปักหมุดที่ "โบราณสถานปรางค์ฤาษี" ระบบจะนำทางให้ไปเข้าประตูหลังของวัด เราสามารถลงจากรถแล้วเปิดประตูรั้วของวัดซึ่งปิดไว้เฉยๆ แบบไม่ได้ล็อก แต่ก็ขอให้ปิดให้เรียบร้อยด้วยทุกครั้ง เราไปปรางค์ฤาษีก่อนเนื่องจากอยู่นอกเขตเมืองครับ
.
ปราสาทหลังนี้สร้างจากอิฐ เรียงชิดกันตามแบบสถาปัตยกรรมเขมรโบราณแบบไม่สอปูน ไม่มีรูปสลักหรือลายปูนปั้นใดหลงเหลืออยู่แล้ว แบบแปลนการสร้างเหมือนปราสาทขอมหลังอื่นๆ โดยตั้งอยู่ในผังสี่เหลี่ยม มีปราสาทประธานหลังเดียว มีสระน้ำขนาดใหญ่อยู่ด้านหน้าซึ่งอาจจะเรียกว่าบารายก็ได้ แต่ที่เป็นไฮไลท์ของปราสาทหลังนี้คือความ "เอียง" ของตัวปราสาทประธานนั่นเอง
.


^ รูปนี้ต้องขอบคุณนายแบบ แบกแบบทวารวดี
.
ที่เราไปปรางค์ฤาษีเป็นที่แรกเนื่องจากกลัวตัวเองจะเบื่อและเหนื่อยเสียก่อน กรณีถ้าไปเมืองในและเขาคลังนอกซึ่งเป็นไฮไลท์ที่อินในกระแสปัจจุบันก่อน และสุดท้ายจะไม่ได้มาปรางค์หลังนี้
.
2. เขาคลังนอก
.

.
ทริปนี้เราวางแผนเดินทางตามนี้ครับ
.
(1)= คือเส้นทางที่แนะนำจาก google map เริ่มจากลำนารายณ์ที่เราพัก จะเห็นว่าเส้นที่เข้า อ.ศรีเทพ จะไกลว่าเส้นลัดที่แนะนำโดยกรมศิลปากรราว 6 กม. เราเข้าไปที่ปรางค์ฤาษีก่อน แล้วขับรถตามถนน (2) ซึ่งวันที่เราไปกำลังปรับปรุงเทลูกรังและเตรียมจะลาดยาง โดยเส้นทางที่สะดวกและถนนดีกว่าคือหมายเลข (3) ในการทั้งเข้าไปที่เขาคลังนอกและออกจากที่นั่น ที่เขาคลังนอกมีจุดจอดรถไว้ค่อนข้างดีและไม่มีการเก็บค่าจอดรถ
.
หลังจากเขาคลังนอกเราแวะที่ศาลเจ้าพอศรีเทพ โดยต้องเข้าทางประตูทิศตะวันตกของเมืองใน องค์ของเจ้าพ่อศรีเทพว่ากันว่าเป็นองค์ที่สร้างขึ้นใหม่เมื่อหลายสิบปีก่อน หลังจากที่องค์ดั้งเดิมซึ่งเป็นรูปสลักจากเมืองโบราณที่ชาวบ้านนำมาบูชาตามความเชื่อได้ถูกโจรกรรมไป
.

.
เราขับรถออกจากศาลเจ้าพ่อฯ วนตามถนน (4) เพื่อเข้าสู่สำนักงานเมืองโบราณฯ ซึ่งอยู่ทางด้านประตูเมืองในทิศเหนือ และเริ่มเยี่ยมชมเมืองโบราณศรีเทพและโบราณสถานสำคัญที่นั่น
.
เขาคลังนอกครับ
.

.
รูปนี้จะเห็นเจดีย์ราย

.


.
เขาคลังนอกจะหันหน้าสู่เขาถมอรัตน์ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตก ในรูปล่างนี้จะเห็นเขาถมอรัตน์ทางด้านขวาของภาพ


.
โมเดลเขาคลังนอกของกรมศิลปากรที่จัดแสดงไว้ในบริเวณจัดแสดง



.
3. โบราณสถานที่ตั้งอยู่ในเมืองใน ของเมืองโบราณศรีเทพ
.
หลังจากซื้อบัตรผ่านเข้าชมโบราณสถาน (คนละ 20 บาท สำหรับคนไทย .. ตรงปรางค์ฤาษีและเขาคลังนอกยังไม่มีการเก็บค่าเข้าชม) เจ้าหน้าที่จะแนะนำให้เราเข้าชมนิทรรศการในอาคารจัดแสดงก่อน และให้เราขึ้นรถบริการของทางอุทยานโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม พอดีคืนก่อนที่เราจะไปฝนตกหนัก ทำให้วันนั้นถึงแม้จะตั้งใจไปเดินชมก็ตาม ก็ดูว่าจะไม่เหมาะกับการเดินมากนักเนื่องจากพื้นที่ยังเป็นพื้นดินและหญ้าธรรมชาติอยู่ทั้งหมด แต่กรมศิลปากรได้ตัดแต่งไว้อย่างเป็นระเบียบแล้ว
.
ห้องน้ำที่เราสามารถใช้บริการได้จะอยู่บริเวณเขาคลังนอก 1 แห่ง อาคารจัดแสดง และบริเวณโบราณสถานหลักในเมืองใน
.

.
3.1 เขาคลังใน
.
หลังจากที่รถบริการนำเราไปชมหลุมขุดค้นทางโบราณคดีแล้ว จุดถัดมาคือกลุ่มโบราณสถานที่ประกอบไปด้วย เขาคลังใน, ปรางค์ศรีเทพ, และปรางค์สองพี่น้อง ในส่วนของเขาคลังใน สิ่งที่เป็นจุดสำคัญคือธรรมจักรและลายปูนปั้นที่แสดงความเป็นทวาราวดีไว้อย่างชัดเจน ตัวเขาคลังในนักโบราณคดีเปรียบที่นี่ว่าลักษณะทางสถาปัตยกรรมเหมือนกับโบราณสถานเมืองคูบัวที่จังหวัดราชบุรี
.
ธรรมจักรชิ้นนี้ (รูปด้านล่าง) เป็นของจริงแต่แรกสร้างเพียงบริเวณสีเข้มด้านล่างเท่านั้น ส่วนที่เหลือเป็นการสร้างใหม่โดยกรมศิลปากร



.
ล่าสุดมีไอศกรีมศรีเทพแล้วครับ

.
โบราณสถานคูบัวที่ราชบุรี (ภาพจาก google map)

.
3.2 ปรางค์สองพี่น้อง
.
ชื่อนี้ได้มาจากที่ชาวบ้านเรียกมาแต่เดิม เพราะตัวปรางค์ประธานมีปราสาท 2 องค์ สร้างไว้คู่กัน นักโบราณคดีเชื่อว่าอาจสร้างในช่วงเวลาที่ต่างกันเล็กน้อย ตรงนี้มีไฮไลท์ที่สำคัญคือทับหลังสลักรูปอุมามเหศวร (พระศิวะประคองอุ้มพระอุมาไว้บนพระเพลา โดยทั้งสองนั่งอยู่บนโคนนทิพาหนะของพระศิวะ) และถือเป็นอุมามเหศวรที่สวยงามมากที่สุดชิ้นหนึ่งโดยพิจารณาได้จากลวดลายซึ่งอ่อนช้อย โดยเฉพาะใบไม้ม้วนซึ่งสลักให้ดูเหมือนยกสูงขึ้นจากตัวแผ่นหินเหมือนดั่งทำต่างหากมาประดับไว้ ศิลปะบาปวน (พุทธศตวรรษที่ 16)
.


.
ชิ้นนี้เป็นของจริงอายุประมาณเกือบ 1,000 ปี ส่วนตัวเจ้าของกระทู้แล้ว ชิ้นนี้ถือว่าสวยและดูน่าตื่นเต้นไม่แพ้อีก 2 ชิ้นคือที่ปราสาทเมืองต่ำและปราสาทสระกำแพงใหญ่ทีเดียว (รูปล่างครับ ซ้ายที่ปราสาทเมืองต่ำ - บุรีรัมย์ ขวาปราสาทสระกำแพงใหญ่ - ศรีสะเกษ)

.
3.3 ปรางค์ศรีเทพ
.
อยู่ไม่ห่างจากปรางค์สองพี่น้อง ถือเป็นปราสาทองค์ที่ใหญ่ที่สุดในเมืองในของเมืองโบราณศรีเทพ ตัวปราสาทสร้างจากอิฐ โดยส่วนยอดพังทลายลงมาหมดแล้ว บริเวณด้านข้างมีการจัดแสดงชิ้นส่วนบางชิ้นที่คาดว่าเคยประดิษฐานอยู่บนตัวปราสาท บางชิ้นของจริงบางชิ้นคือชิ้นที่ถูกทำขึ้นใหม่เพื่อการจัดแสดง

.
พอดีกับที่วันและเวลาที่เราไปถึงปรางค์ศรีเทพ มีการถ่ายทำ น่าจะเป็นสารคดีบางอย่างทำให้ไม่ค่อยสะดวกในการเข้าเยี่ยมชมใกล้ๆ ตัวปราสาทครับ ก็เลยถ่ายรูปได้แค่ระยะห่าง
.
เมืองศรีเทพยังเดินทางลำบากอยู่ คงต้องอาศัยขับรถไปเอง ไม่ก็เหมารถตู้ไป การเดินทางโดยขนส่งสาธารณะในอนาคตน่าจะมีมากขึ้น ... จริงๆ ถ้ามีรถไฟไม่ว่าจะเป็นทางคู่หรือความเร็วสูงก็ตาม มาถึง จะเป็นการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ได้อย่างดีมากๆ
------------------------------
คุณหมูยอ
เดินทาง 7-8 กันยายน 2566
บันทึก 21 กันยายน 2566
------------------------------
[CR] ศรีเทพดั่งเทพสร้าง ... เมืองโบราณศรีเทพ 7-8 กันยายน 2566 ก่อนจะเป็นมรดกโลกอย่างเป็นทางการ
.
จริงๆ ก็เสียดายเหมือนกันที่ไม่สามารถไปในวันที่กรมศิลป์ จัดงานแสง สี เสียงได้ ซึ่งเกิดขึ้นก่อนหน้าที่เราจะไปประมาณ 1 สัปดาห์ ช่วงนี้มีคลิปรีวิวมากมายในโลกออนไลน์เกี่ยวกับเมืองโบราณศรีเทพ สำหรับเราที่ถนัดสร้างและเสพตัวหนังสือกับภาพมากกว่า จึงขออนุญาติมารีวิวให้อ่านกันครับ
.
เราออกจากกรุงเทพฯ ช่วงสายของวันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน 2566 นัดรวมตัวกันที่สถานีหลักสอง รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน แล้วขับรถไปตามวงแหวนกาญจนาภิเษกหมายเลข 9 มุ่งหน้าจังหวัดลพบุรี ไปเส้นทางนี้ไม่มีการเสียค่าผ่านทางครับ หลักๆ ก็ตาม google ไป ปักหมุดไว้ที่พระนารายณ์ราชนิเวศน์ ซึ่งอยู่ในส่วนของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี ... ใช่ครับ ทริปนี้เราแวะเที่ยวลพบุรีก่อน
.
เสพประวัติศาสตร์ที่พระราชวังสมเด็จพระนายณ์ฯ ชมพิพิธภัณฑ์ฯ ซึ่งคราวก่อนที่เราไปลพบุรีดันเป็นวันที่พิพิธภัณฑ์ปิด เลยต้องเดือดร้อนกลับมาอีกรอบ (คราวก่อนไปวัน ไม่จันทร์ ก็อังคาร) และบ้านเจ้าพระยาวิชเยนทร์ เสร็จสรรพพร้อมทานก๋วยเตี๋ยวที่ลพบุรีแล้ว เราก็มุ่งหน้าสู่ศรีเทพ
.
รูปล่างนี้คือเทวสถานปรางค์แขกที่ตั้งอยู่ในเมืองลพบุรีเช่นกัน อายุรุ่นราวคราวเดียวกับปราสาทหินพิมายหรืออาจจะก่อนกว่า มีลายปูนปั้นให้ชมเล็กน้อยแต่ตัวปรางค์ค่อนข้างสมบูรณ์ ประวัติว่าเคยถูกบูรณะ 1 ครั้งใหญ่ช่วงปลายกรุงศรีอยุธยาและกรมศิลปากรมาเทคอนกรีตเสริมรากฐานเมื่อไม่นานมานี้อีกครั้ง
.
ทริปนี้เราวางแผนพักที่อำเภอชัยบาดาลซึ่งเป็นตัวอำเภอขนาดใหญ่ มีที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวกที่จะทำให้ผู้ร่วมทริปที่ต้องการที่พักสะอาด ไม่น่ากลัว ร้านอาหารที่พอทานได้ประกอบกับตลาดเช้าที่ทำให้ทริปนี้ไม่น่าเบื่อเกินไป รวมถึงระยะทางไม่ห่างจากตัวเมืองโบราณศรีเทพมากนัก คืนนั้นเราจึงใช้เวลาที่ลำนารายณ์ และทำไมไม่พักในตัวอำเภอศรีเทพ
.
1) หลายรีวิวให้ความเห็นว่าที่พักย่านอำเภอศรีเทพ ไม่ค่อยน่าประทับใจนัก
2) การเดินทางจากลำนารายณ์ไปเมืองโบราณศรีเทพ เส้นทางที่เข้าอำเภอศรีเทพเป็นเส้นทางอ้อม เราสามารถร่นระยะทางได้มากพอควรถ้าเราเลี้ยวขวาก่อนเข้าตัวอำเภอศรีเทพประมาณ 10 กม. โดยเส้นทางนี้เป็นเส้นทางแนะนำทั้งจาก google map และป้ายของกรมศิลปากร ซ฿่งจากการที่เราเดินทางไปและกลับเส้นทางนี้ จัดว่าถนนค่อนข้างดี ถึงแม้จะไม่ใช้เส้น 4 เลน แต่ก็ไม่ได้เป็นหลุมบ่อจนน่าหงุดหงิด
.
The Garden Resort คือที่พักคืนนั้น อยู่ห่างจากตลาดลำนารายณ์ประมาณ 3 กม. ห้องพักเป็นลักษณะบ้านแถวสีขาว สะอาดและร่มรื่น มีอาหารเช้าให้บริการ เราติดต่อเข้าพักโดยการโทรฯ จองและ walk in เข้าไป ราคาคืนละ 800 บาท พักได้ห้องละ 2 คน
.
1. ปรางค์ฤาษี
.
การไปท่องเที่ยวที่เมืองโบราณศรีเทพ เราสามารถยึดตามป้ายแนะนำการท่องเที่ยวนี้ได้เลย ซึ่งจะประกอบด้วย 2 ส่วนหลักๆ คือ 1. โบราณสถานนอกเมือง คือเขาคลังนอก, ปรางค์ฤาษี และสระแก้ว 2. โบราณสถานในเมือง ในส่วนของเมืองใน = ปรางค์ศรีเทพ, ปรางค์สองพี่น้อง, เขาคลังใน และเมืองนอกมีเฉพาะสระขวัญ ส่วนสิ่งก่อสร้างอื่นในเมืองนอกส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก อีกทั้งยังไม่ได้รับการขุดแต่งจนสมบูรณ์พร้อมเข้าชม
.
ปรางค์ฤาษีตั้งอยู่ในบริเวณวัดป่าสระแก้ว โดยถ้าเปิด google map แล้วปักหมุดที่ "โบราณสถานปรางค์ฤาษี" ระบบจะนำทางให้ไปเข้าประตูหลังของวัด เราสามารถลงจากรถแล้วเปิดประตูรั้วของวัดซึ่งปิดไว้เฉยๆ แบบไม่ได้ล็อก แต่ก็ขอให้ปิดให้เรียบร้อยด้วยทุกครั้ง เราไปปรางค์ฤาษีก่อนเนื่องจากอยู่นอกเขตเมืองครับ
.
ปราสาทหลังนี้สร้างจากอิฐ เรียงชิดกันตามแบบสถาปัตยกรรมเขมรโบราณแบบไม่สอปูน ไม่มีรูปสลักหรือลายปูนปั้นใดหลงเหลืออยู่แล้ว แบบแปลนการสร้างเหมือนปราสาทขอมหลังอื่นๆ โดยตั้งอยู่ในผังสี่เหลี่ยม มีปราสาทประธานหลังเดียว มีสระน้ำขนาดใหญ่อยู่ด้านหน้าซึ่งอาจจะเรียกว่าบารายก็ได้ แต่ที่เป็นไฮไลท์ของปราสาทหลังนี้คือความ "เอียง" ของตัวปราสาทประธานนั่นเอง
.
^ รูปนี้ต้องขอบคุณนายแบบ แบกแบบทวารวดี
.
ที่เราไปปรางค์ฤาษีเป็นที่แรกเนื่องจากกลัวตัวเองจะเบื่อและเหนื่อยเสียก่อน กรณีถ้าไปเมืองในและเขาคลังนอกซึ่งเป็นไฮไลท์ที่อินในกระแสปัจจุบันก่อน และสุดท้ายจะไม่ได้มาปรางค์หลังนี้
.
2. เขาคลังนอก
.
.
ทริปนี้เราวางแผนเดินทางตามนี้ครับ
.
(1)= คือเส้นทางที่แนะนำจาก google map เริ่มจากลำนารายณ์ที่เราพัก จะเห็นว่าเส้นที่เข้า อ.ศรีเทพ จะไกลว่าเส้นลัดที่แนะนำโดยกรมศิลปากรราว 6 กม. เราเข้าไปที่ปรางค์ฤาษีก่อน แล้วขับรถตามถนน (2) ซึ่งวันที่เราไปกำลังปรับปรุงเทลูกรังและเตรียมจะลาดยาง โดยเส้นทางที่สะดวกและถนนดีกว่าคือหมายเลข (3) ในการทั้งเข้าไปที่เขาคลังนอกและออกจากที่นั่น ที่เขาคลังนอกมีจุดจอดรถไว้ค่อนข้างดีและไม่มีการเก็บค่าจอดรถ
.
หลังจากเขาคลังนอกเราแวะที่ศาลเจ้าพอศรีเทพ โดยต้องเข้าทางประตูทิศตะวันตกของเมืองใน องค์ของเจ้าพ่อศรีเทพว่ากันว่าเป็นองค์ที่สร้างขึ้นใหม่เมื่อหลายสิบปีก่อน หลังจากที่องค์ดั้งเดิมซึ่งเป็นรูปสลักจากเมืองโบราณที่ชาวบ้านนำมาบูชาตามความเชื่อได้ถูกโจรกรรมไป
.
.
เราขับรถออกจากศาลเจ้าพ่อฯ วนตามถนน (4) เพื่อเข้าสู่สำนักงานเมืองโบราณฯ ซึ่งอยู่ทางด้านประตูเมืองในทิศเหนือ และเริ่มเยี่ยมชมเมืองโบราณศรีเทพและโบราณสถานสำคัญที่นั่น
.
เขาคลังนอกครับ
.
.
รูปนี้จะเห็นเจดีย์ราย
.
.
เขาคลังนอกจะหันหน้าสู่เขาถมอรัตน์ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตก ในรูปล่างนี้จะเห็นเขาถมอรัตน์ทางด้านขวาของภาพ
.
โมเดลเขาคลังนอกของกรมศิลปากรที่จัดแสดงไว้ในบริเวณจัดแสดง
.
3. โบราณสถานที่ตั้งอยู่ในเมืองใน ของเมืองโบราณศรีเทพ
.
หลังจากซื้อบัตรผ่านเข้าชมโบราณสถาน (คนละ 20 บาท สำหรับคนไทย .. ตรงปรางค์ฤาษีและเขาคลังนอกยังไม่มีการเก็บค่าเข้าชม) เจ้าหน้าที่จะแนะนำให้เราเข้าชมนิทรรศการในอาคารจัดแสดงก่อน และให้เราขึ้นรถบริการของทางอุทยานโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม พอดีคืนก่อนที่เราจะไปฝนตกหนัก ทำให้วันนั้นถึงแม้จะตั้งใจไปเดินชมก็ตาม ก็ดูว่าจะไม่เหมาะกับการเดินมากนักเนื่องจากพื้นที่ยังเป็นพื้นดินและหญ้าธรรมชาติอยู่ทั้งหมด แต่กรมศิลปากรได้ตัดแต่งไว้อย่างเป็นระเบียบแล้ว
.
ห้องน้ำที่เราสามารถใช้บริการได้จะอยู่บริเวณเขาคลังนอก 1 แห่ง อาคารจัดแสดง และบริเวณโบราณสถานหลักในเมืองใน
.
.
3.1 เขาคลังใน
.
หลังจากที่รถบริการนำเราไปชมหลุมขุดค้นทางโบราณคดีแล้ว จุดถัดมาคือกลุ่มโบราณสถานที่ประกอบไปด้วย เขาคลังใน, ปรางค์ศรีเทพ, และปรางค์สองพี่น้อง ในส่วนของเขาคลังใน สิ่งที่เป็นจุดสำคัญคือธรรมจักรและลายปูนปั้นที่แสดงความเป็นทวาราวดีไว้อย่างชัดเจน ตัวเขาคลังในนักโบราณคดีเปรียบที่นี่ว่าลักษณะทางสถาปัตยกรรมเหมือนกับโบราณสถานเมืองคูบัวที่จังหวัดราชบุรี
.
ธรรมจักรชิ้นนี้ (รูปด้านล่าง) เป็นของจริงแต่แรกสร้างเพียงบริเวณสีเข้มด้านล่างเท่านั้น ส่วนที่เหลือเป็นการสร้างใหม่โดยกรมศิลปากร
.
ล่าสุดมีไอศกรีมศรีเทพแล้วครับ
.
โบราณสถานคูบัวที่ราชบุรี (ภาพจาก google map)
.
3.2 ปรางค์สองพี่น้อง
.
ชื่อนี้ได้มาจากที่ชาวบ้านเรียกมาแต่เดิม เพราะตัวปรางค์ประธานมีปราสาท 2 องค์ สร้างไว้คู่กัน นักโบราณคดีเชื่อว่าอาจสร้างในช่วงเวลาที่ต่างกันเล็กน้อย ตรงนี้มีไฮไลท์ที่สำคัญคือทับหลังสลักรูปอุมามเหศวร (พระศิวะประคองอุ้มพระอุมาไว้บนพระเพลา โดยทั้งสองนั่งอยู่บนโคนนทิพาหนะของพระศิวะ) และถือเป็นอุมามเหศวรที่สวยงามมากที่สุดชิ้นหนึ่งโดยพิจารณาได้จากลวดลายซึ่งอ่อนช้อย โดยเฉพาะใบไม้ม้วนซึ่งสลักให้ดูเหมือนยกสูงขึ้นจากตัวแผ่นหินเหมือนดั่งทำต่างหากมาประดับไว้ ศิลปะบาปวน (พุทธศตวรรษที่ 16)
.
.
ชิ้นนี้เป็นของจริงอายุประมาณเกือบ 1,000 ปี ส่วนตัวเจ้าของกระทู้แล้ว ชิ้นนี้ถือว่าสวยและดูน่าตื่นเต้นไม่แพ้อีก 2 ชิ้นคือที่ปราสาทเมืองต่ำและปราสาทสระกำแพงใหญ่ทีเดียว (รูปล่างครับ ซ้ายที่ปราสาทเมืองต่ำ - บุรีรัมย์ ขวาปราสาทสระกำแพงใหญ่ - ศรีสะเกษ)
.
3.3 ปรางค์ศรีเทพ
.
อยู่ไม่ห่างจากปรางค์สองพี่น้อง ถือเป็นปราสาทองค์ที่ใหญ่ที่สุดในเมืองในของเมืองโบราณศรีเทพ ตัวปราสาทสร้างจากอิฐ โดยส่วนยอดพังทลายลงมาหมดแล้ว บริเวณด้านข้างมีการจัดแสดงชิ้นส่วนบางชิ้นที่คาดว่าเคยประดิษฐานอยู่บนตัวปราสาท บางชิ้นของจริงบางชิ้นคือชิ้นที่ถูกทำขึ้นใหม่เพื่อการจัดแสดง
.
พอดีกับที่วันและเวลาที่เราไปถึงปรางค์ศรีเทพ มีการถ่ายทำ น่าจะเป็นสารคดีบางอย่างทำให้ไม่ค่อยสะดวกในการเข้าเยี่ยมชมใกล้ๆ ตัวปราสาทครับ ก็เลยถ่ายรูปได้แค่ระยะห่าง
.
เมืองศรีเทพยังเดินทางลำบากอยู่ คงต้องอาศัยขับรถไปเอง ไม่ก็เหมารถตู้ไป การเดินทางโดยขนส่งสาธารณะในอนาคตน่าจะมีมากขึ้น ... จริงๆ ถ้ามีรถไฟไม่ว่าจะเป็นทางคู่หรือความเร็วสูงก็ตาม มาถึง จะเป็นการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ได้อย่างดีมากๆ
------------------------------
คุณหมูยอ
เดินทาง 7-8 กันยายน 2566
บันทึก 21 กันยายน 2566
------------------------------
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้