เที่ยวชัยภูมิตามใจฉัน

เมืองชัยภูมิเป็นจังหวัดที่ไม่ค่อยนึกถึงถ้าอยากไปเที่ยว คงเพราะใกล้โคราชเกิน
สำหรับสายประวัติศาสตร์และโบราณคดี
*อนุสาวรีย์เจ้าพ่อพระยาแล*
ท้าวแล เคยรับราชการเป็นพระพี่เลี้ยงเจ้าราชบุตร (โย้) พระโอรสเจ้าอนุวงศ์
อพยพครอบครัวและบริวารมาตั้งบ้านเรือนทำกินอยู่ที่บ้าน อีจาน บ้านน้ำขุ่น 
- น่าจะเป็นบ้านหนองขุ่น และบ้านอีจาน ตำบลขามทะเลสอ อำเภอขามทะเลสอ -
ย้ายไปตั้งถิ่นฐานใหม่ที่โนนน้ำล้อมชีลอง ตำบลชีลอง เมืองชัยภูมิ 
ส่งส่วยแก่เจ้าอนุวงศ์ ได้เป็น ขุนภักดีชุมพล นายกองนอก หัวหน้าคุมหมู่บ้านขึ้นกับเวียงจันทน์
ย้ายไปหนองปลาเฒ่าและหนองหลอด พบบ่อทองที่ลำห้วยชาด 
ได้นำทองส่งส่วยแก่เจ้าอนุวงศ์ และขอตั้ังเป็นเมือง เจ้าอนุวงศ์ยกขึ้นเป็นเมืองตั้งชื่อว่าไชยภูมิ์ และให้เป็นพระภักดีชุมพล

ต่อมาเวียงจันทน์ก็เป็นประเทศราชขึ้นต่อกรุงเทพ พระภักดีชุมพลส่งส่วยให้กรุงเทพ
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกเป็น เมืองชัยภูมิ
แต่งตั้งพระภักดีชุมพล (แล) เป็นพระยาภักดีชุมพล (แล) เจ้าเมืองชัยภูมิคนแรก

หลังจากทัพเจ้าอนุวงศ์แตกที่ทุงสัมฤทธิ์
เจ้าอนุวงศ์ได้เจ้าสุทธิสาร (โย้) ยกทัพมาถึงเมืองชัยภูมิ เกลี้ยกล่อมพระยาภักดีชุมพล (แล) ให้เข้าร่วมก่อการกบฏด้วย 
แต่ท่านไม่ยอมเข้าร่วมด้วย จึงถูกประหารชีวิต ที่บริเวณใต้ต้นมะขามริมหนองปลาเฒ่า

เมืองในวัฒนธรรมทวารวดี
เป็นเมืองที่มีคูน้ำคันดินเป็นวงกลม ที่เห็นในแผนที่ได้แก่
เมืองโบราณหามหอก - อำเภอบ้านเขว้า
เมืองโบราณคอนสวรรค์ - อำเภอคอนสวรรค์
เมืองโบราณวัดกุดโง้ง - อำเภอเมือง
นับถือศาสนาพุทธ
นิกายเถรวาทคือ นับถือพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ในภัทรกัลป์ ; อดีตพระพุทธเจ้า, ปัจจุบันพระพุทธเจ้า, และอนาคตพระพุทธเจ้า
นิกายมหายานคือ เชื่อว่าพระพุทธเจ้าสูงสุดคือพระอาธิพุทธะ คือพระพุทธเจ้าองค์แรกที่เกิดมาพร้อมกับโลก อยู่เป็นนิรันดร์กาล
สร้างตัวแทนเป็นมนุษยพุทธะคือพระอมิตาภะ ต่อมาจะปรินิพพาน มีบริวารคือพระโพธิสัตว์ที่จะช่วยพามนุษย์ไปสู่ความหลุดพ้นได้คราวละมาก ๆ
เชื่อในผลกรรม
เชื่อโชคลาง และมีพิธีปลงศพ

ทวารวดีในอิสานมีลักษณะเฉพาะคือมี เสมา หรือ หินตั้งสันนิษฐานว่า
1. แสดงเขตศักดิ์สิทธิ์ของพุทธศาสนา ... ตั้งล้อมบริเวณใดบริเวณหนึ่งไว้
2. ปักไว้เหนือหลุมศพเพื่อเป็นเครืองเซ่นหลุมศพ
สันนิษฐานจากที่พบเสมาสลักเป็นรูปหม้อและเครื่องบายศรีเป็นชั้น ๆ
หรือเสมาที่ไม่มีรูปสลักใด ๆ อาจเป็นป้ายสุสานก็ได้
3. เป็นการสร้างบุญกุศลอันเทียบเท่ากับการสร้างพระพุทธรูป หรือเจดีย์
อาจสลักเป็นรูปสถูป รูปธรรมจักร รูปชาดก รูปพระพุทธประวัติ เรียกแผ่นหินพุทธบูชาเล่าเรื่องชาดก

*วัดคอนสวรรค์*
เป็นเมืองโบรานทวารวดีตั้งอยู่ในอำเภอคอนสวรรค์
พบมีอารยธรรมหลายสมัยย้อนไปคือ สิมอิสาน - ล้านช้าง
อารยธรรมเขมรตอนปลายหรือก่อนอยุธยาหรือทวารวดีที่ได้รับอิทธิพลเขมร
หลวงพ่อใหญ่ทวารวดี - ศิลปะก่อนอยุธยาหรือเขมรตอนปลาย
อุษณีษะทรงกรวย, มีไรพระศกเป็นแถบเล็กๆ - เขมร
พระขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา, พระเนตรหลุบต่ำ,
พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์หนา พระกรรณยาว
ทวารวดี - เสมา
*วัดกุดโง้ง*
บริเวณใกล้ ๆ ได้พบโบราณวัตถุในวัฒนธรรมทวารวดี - เสมา
รายละเอียดเรื่องเสมาที่นี่ https://pantip.com/topic/39212518

*ปรางค์กู่*
เป็นวัดในพุทธศาสนามหายาน ที่ใช้เป็นอโรคยศาลา
มีพระพุทธเจ้าที่เป็นหมอยา คือ พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา พระประธานในปราสาท ทรงประธานน้ำศักดิ์ศิทธิ์เพื่อใช้ผสมยาสมุนไพร
สร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ประมาณ พ.ศ. 1724-1761 จากจารึกตาพรหมได้สร้างอโรคยศาลา 102 แห่ง และมากกว่า 30 แห่งอยู่ในไทย
ศาสนสถานล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว มีซุ้มประตูทางเข้าที่เรียกว่า โคปุระ ทางด้านทิศตะวันออกทางเดียว
บริเวณด้านนอกกำแพงแก้ว ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีบาราย หรือสระน้ำศักดิ์สิทธิ์กรุด้วยศิลาแลง
ปรางค์ประธาน เหนือประตูทางเข้าทิศตะวันออก
ทับหลังเป็นรูปพระพุทธเจ้าประทับสมาธิ บนหน้ากาล คือพระอมิตาภะ พระพุทธเจ้าประจำทิศตะวันตก ประทับอยู่ที่แดนสุขาวดี
หน้าบันเป็นรูปพระอวโลกิเตศวร และหมู่เทพ
ถ้าคนที่กำลังตายท่องนโมอมิตาภะ พระอมิตาภะขี่ลำแสง(หน้ากาล) เสด็จลงมาพร้อมกับพระอวโลกิเตศวร (บนหน้าบัน) มารับวิญญาณไปสุขาวดี
บรรณาลัย สร้างด้วยศิลาแลง หันหน้าเข้าสู่ตัวปราสาทประธาน
หน้าบัน - พระราหู เทวดา ถัดมาเป็นคนกำลังขี่ม้า คนเกาะหางม้า คนเชยเท้าม้า - มหาภิเนกษกรม แปลว่า เพื่อการเสด็จออกเพื่อบุญที่ยิ่งใหญ่
ภาพนี้ดูเองไม่ออก พอดีได้ชมคลิปที่อาจารย์เผ่าทอง พาไปปรางค์กู่พอดี
ทับหลังกวนเกษียรสมุทร มีทศกัณฐ์ ยักษ์ และเทวดา คนละข้าง
พระนารายณ์ใช้อนันตนาคราชนาคที่เป็นที่นอน พันเขามันทร (ที่ประทับของพระอิศวร) คว่ำลงใช้เป็นแกนหมุน
พระนารายณ์แบ่งภาคอวตาร กูรมาวตาร เป็นเต่ายักษ์ เอากระดองไปรองรับยอดเขาพระสุเมรุไว้ไม่ให้โลกทะลุ
เป็นคติของฮินดู - จึงอาจนำทับหลังจากปราสาทอื่นใกล้เคียงมาใช้
อโรคยาศาลา ยังทำการอยู่จนอยุธยายกไปตียโศธรปุระแตก ก็หยุดไปจึงไม่มีผู้อุดหนุน

*กู่แดง*
ตั้งอยู่ในวัดกุดยาง ตำบลตลาดแร้ง อำเภอบ้านเขว้า ชัยภูมิ เป็นศาสนสถานฮินดู
ทางตะวันออกของโบราณสถานมีหลุมอาจเป็นที่ตั้งของเสาของอาคารไม้
กู่มีฐานแลงสี่เหลี่ยมย่อมุม ผนังก่ออิฐ ร่องรอยเดิมมีบันไดทางขึ้นทั้ง 4 ด้าน
พระวิษณุ วิษณุ สวมหมวกทรงกระบอก (กิรีฏมงกุฎ) ถือ บัว จักร สังข์ คฑา
กำหนดอายุจากทรงผม การนุ่งผ้า การชักชายผ้า อยู่ในศิลปะแบบนครวัด พุทธศตวรรษที่ 17-18
ภาพทับหลังพระกฤษณะต่อสู้กับสิงห์ ทั้งสองภาพ เมื่อเทียบกับภาพที่ปราสาทหินพิมาย
ภาพการกวนเกษียรสมุทร (กูรมาวตาร) พระพรหมประทับสมาธิด้านบน เทวดาชักหางอนันตนาคราชกับอสูรชักเศียรอนันตนาคราชกำลังต่างเชือก
รัดเขามันทร (แกน) ต่างไม้กวนเอาน้ำอมฤต ใต้แนวเขามันทรเป็นรูปเต่า - กูรมาวตาร จาการอวตารของพระนารายณ์อวตารกันโลกทะลุ
เทวีนั่งคุกเข่าอยู่ด้านหลังของเต่า ซึ่งหมายถึงพระลักษมี เบื้องหน้าเต่าควรมีหัวม้าอุจไฉศรพัส เป็น 2 ใน 14 สิ่งมงคลที่เกิดจากการกวนเกษียรสมุทร
ภาพวิษณุอนันตศายินปัทมนาภะ
*ภูพระ*
ตั้งอยู่ที่ วัดศิลาอาสน์ บ้านนาไก่เซา ต.นาเสียว อ.เมือง
เป็นกลุ่มพระพุทธรูปสลักจากหิน ทำให้เชื่อได้ว่าที่นี่อาจเคยเป็นวัดที่สร้างใต้เพิงหิน
พระประธานชาวบ้านเรียกว่าพระเจ้าองค์ตื้อ หนัก องค์ใหญ่ พระพักตร์สี่เหลี่ยม คิ้ววงโค้งต่อกันเหนือจมูก พระเนตรมองตรง จมูกใหญ่ ปากหนา หูเป็นใหญ่ยาว เส้นผมรวบตรง มีแถบไรพระศกที่หน้าผาก เกตุมาลาทรงกรวย ครองจีวรห่มคลุม สังฆาฏิยาวจรดพระนาภี
เป็นศิลปะผสมระหว่างพื้นบ้านที่มาจากวัฒนธรรมทวาราวดีและได้รับอิทธิพลจากเขมร กำหนดอายุประมาณพ.ศ. 1800-1900
เรียกศิลปะก่อนอยุธยาหรือยุคเขมรตอนปลาย
พระพุทธรูปบางองค์ ประทับสมาธิเพ็ชร (เขมร สมาธิราบ)
นิ้วเท้าเท่ากันหมด ฝ่าเท้าตัดตรงเต็มตามลักษณะของมหาบุรุษ
บางองค์เป็นปางมารวิชัยกลับซ้ายขวา อิทธิพลชวาตอนปลาย
กลุ่มพระ ทางขวา 2 องค์ - พระพุทธรูปทรงเครื่องน้อย - มีกระบังหน้าและมงกุฏครอบมวยผม ไม่ใส่ตุ้มหู จีวรห่มคลุม
ลงพุง - เขมรตอนปลาย
อีก 5 องค์ ปางสมาธิ ห่มคลุม สบงโค้งสูง ตามองต่ำ - หินยาน
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่