การเมืองเหมือนเปลี่ยนแปลง แต่เอาเข้าจริง เกือบร้อยละ 80 มาจากม.ธรรมศาสตร์และตระกูลและสังคมเดิม ๆ.

ผมเริ่มสังเกตการเมืองมาสักพัก มีคนบอกว่า การเมืองไทยมันเปลี่ยนแปลง ตัวละครมาใหม่มีเยอะแยะ
แต่จากการสังเกต ย้อนดูประวัติแต่ละคน เท่าที่สังเกต ส่วนใหญ่เกือบร้อยละ 80 มาจาก ม.ธรรมศาสตร์
(ดูพวกผู้พิพากษา, นักการเมืองและคนในวงวิชาการต่าง ๆ ก็ได้ พอเช็คประวัติมา แนว ๆ นี้หมดเลย) อาจมี
ผสมจุฬาฯ รามฯ เยอะหน่อย บางครั้งก็รู้สึกว่า เหมือนเด็ก ธรรมศาสตร์ Gen B, Gen X, Gen Y, Gen Z กำลังสู้กันเอง
อยู่เลย (ไม่รู้เมื่อก่อนเขาเป็นมหาวิทยาลัยที่สอนแต่กฎหมายหรือการเมืองหรือเปล่า) คนแก่คณะอื่น ๆ ไม่ค่อยมีเลย
อาจจะเห็นมีบัญชีบ้าง (ช่วงหลัง ๆ อาจจะมี ม.อื่น ๆ บ้าง แต่ก็มาแบบไม่เยอะ และก็ไม่ดูการเมืองจ๋าเท่า)
เรื่องตระกูลและสังคมก็ใช่ แรก ๆ ก็เห็นว่า เป็นคนใหม่ แต่ก็รู้สึกแปลก ๆ เพราะคนอายุน้อย ๆ จะเข้าสู่วงการมันต้องมีเหตุผล
มีเงิน มีสังคม พอไปดูนามสกุลและตระกูล ส่วนใหญ่มีประวัติเกี่ยวพันทางสายเลือดกับนักการเมืองกันเยอะ มันเหมือนไม่ได้ใหม่จริง
คนใหม่จริงก็มีแต่ออกแนว Technocrat มากกว่า ประเภทอาจารย์ (แต่มาสายนั้นอีก) หรือว่าพวก New Entrepreneur

คิดไปคิดมา มันเหมือนดูละครน้ำเน่า เราก็บอกว่า ตอนนี้ละครทันสมัยแล้ว ไม่ใช่ลิเก ไม่ใช่ Soap Opera แต่เป็น Series
เด็กยุคนี้ไม่ดูละคร ดูซีรีส์แล้ว ตัดภาพไวมาก แต่พอเราดู Content มันก็เหมือนเดิมน่ะ ตัวนักแสดงก็เหมือนกัน แต่แค่วิธีการเล่า
เรื่องมันเปลี่ยน เนื้อหาละครก็แย่งชิงตบตีกันเหมือนเดิม...
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่