‘เครือข่ายภาคปชช.’ ยื่นหนังสือถึง ส.ว. เคารพผลการเลือกตั้ง ยึดหลักเสียงข้างมาก เลี่ยงงดออกเสียง รับฟังประชาชน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4085677
‘เครือข่ายภาคปชช.’ ยื่นหนังสือถึง ส.ว. เคารพผลการเลือกตั้ง ยึดหลักเสียงข้างมาก เลี่ยงงดออกเสียง รับฟังประชาชน
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 18 กรกฎาคม ที่รัฐสภา เครือข่ายภาคประชาชน ยื่นหนังสือถึงสมาชิกรัฐสภา เคารพผลการเลือกตั้ง รับฟังเสียงประชาชน จากกรณีเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 66 มติของรัฐสภาไม่ได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชนที่แสดงออกในการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 14 ก.ค. 66 ใจความดังนี้ เรียนประธานสภาผู้แทนราษฎรและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร เนื่องจาก รัฐธรรมนูญ ปี 2560 มาตรา 114 ได้บัญญัติไว้ว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภายอมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย ไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมาย หรือความครอบงำใดๆ และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม โดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์ แต่จากการพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีของรัฐสภา เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 พบว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาในฐานะสมาชิกรัฐสภาบางส่วนมิได้ถือปฏิบัติหน้าที่ตามที่รัฐกำหนด อันจะเห็นได้จากกรลมติสวนทางกับเจตนารมณ์ของประชาชนที่แสดงออกผ่านการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566
โดยผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า ประชาชนไทยต้องการความเปลี่ยนแปลง และพรรคการเมืองที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนมากที่สุด คือพรรคร่วมฝ่ายค้าน ซึ่งต่อมาได้จับมือกันจัดตั้งรัฐบาลร่วมกันจนมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ หรือ 312 เสียง จาก 500 เสียง ในสภาวะปกติการที่พรรคการเมืองใดสามารถรวมเสียงได้เกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคการเมืองนั้นยอมมีเสียงที่เพียงพอต่อการจัดตั้งรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยปกติ แต่เนื่องจากบทเฉพาะกาลในมาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญ 2560 ที่กำหนดให้ สมาชิกวุฒิสภาสามารถร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีร่วมกับสมาซิกสภาผู้แทนราษฎรได้ทำให้บรรยากาศทางการเมืองที่ควรจะมีความแน่นอนกลับกลายเป็นความไม่แน่นอน
ในการนี้ เครือข่ายภาคประชาชนที่ประกอบไปด้วย เครือข่ายสมัชชาคน เครือข่ายรณรงค์รัฐธรรมนูญ คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย กลุ่มจับตาการเลือกตั้ง (We Watch) โครงการอินเทอร์เนตเอกฎหมายประชาชน Activist Laboratory Thailand และอื่นๆ ในนามตัวแทนเครือข่ายคณะรณรงค์ Respect My Vote จึงมีข้อเรียกร้องต่อประธานวุฒิสภาในฐานะรองประธานรัฐสภาผ่านไปยังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ดังนี้
1. ให้สมาชิกรัฐสภาดำเนินการลงคะแนนเสียงเลือกนายกรัฐมนตรีให้กับผู้ที่ถูกเสนอชื่อโดยพรรคการเมืองที่สามารถรวบรวมเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร เพื่อยืนยันหลักการเสียงข้างมากตามระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
2. ให้สมาชิกรัฐสภาหลีกเลี่ยงการลงมติด้วยการ “
งดออกเสียง” เนื่องจาก การลงมติดังกล่าวจะเป็นผลให้เสียงข้างมากของสภาผู้แทนราษฎรถูกขัดขวาง และถือเป็นการปฏิเสธผลการเลือกตั้ง มีแต่จะทำให้เกิดทางตันทางการเมือง และทำให้ประเทศไทยอยู่ในสภาวะที่ไม่มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
3. เสียงของสมาชิกวุฒิสภาจะต้องไม่ถูกนำใช้เป็นข้อต่อรองทางการเมืองให้มีนายกรัฐมนตรีคนที่ผู้มีอำนาจอยากได้ แต่ประเทศไทยต้องมีนายกรัฐมนตรี ตามที่ประชาชนแสดงออกผ่านไปคูหาเลือกตั้ง
4. ขอสมาชิกรัฐสภาทุกท่านช่วยรับฟังความต้องการหรือความคิดเห็นที่แตกต่างของประชาชนด้วยความอดทนอดกลั้น ไม่แสดงท่าทีข่มขู่ คุกคาม หรือแสดงท่าทีเป็นศัตรูกับประชาชน
สุดท้ายนี้ ทางเครือข่ายขอย้ำว่า การยืนยันตามหลักการประซาธิปไตยเสียงข้างมากในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ ด้วยการลงคะแนนให้กับผู้ที่ได้เสียงข้างมากให้จัดตั้งรัฐบาลได้ ก็เป็นเรื่องที่ควรทำ แม้ว่า จะมีข้อที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายบางประการ แต่นั่นก็เป็นเรื่องที่จะต้องผลักดันกันหลังรัฐบาลใหม่แล้ว การจะผ่านกฎหมายไม่ว่าอย่างไรก็จำเป็นจะต้องได้รับเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร แต่ประเด็นที่เร่งด่วนกับประเทศมากที่สุดในขณะนี้คือ การมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง การลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรีให้อีกฝ่ายไม่ได้หมายความว่าสนับสนุนอีกฝ่าย แต่หมายถึงการสนับสนุนให้ประเทศกลับสู่แนวทางประชาธิปไตย
‘วันนอร์’ ถกวิป3ฝ่าย หารือโหวตนายกฯรอบ 2 ก่อนประชุม แกนนำพท.-ส.ว. คุยกันชื่นมื่น
https://www.matichon.co.th/politics/news_4085643
‘วันนอร์’ ถกวิป3ฝ่ายหารือ โหวตนายกฯรอบ 2 ก่อนประชุม แกนนำพท.-ส.ว. คุยกันชื่นมื่น
เมื่อเวลา 10.15 น. วันที่ 18 กรกฎาคม ที่รัฐสภา นาย
วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ได้เรียกประชุม คณะกรรรมการประสานงาน 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายวุฒิสภา, ฝ่าย 8 พรรค และฝ่าย 10 พรรค เพื่อหารือถึงกรอบการประชุมรัฐสภา เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 เป็นครั้งที่สอง ในวันที่ 19 กรกฏาคม
โดยมีนาย
วันมูหะมัดนอร์ เป็นประธานการประชุม และมีตัวแทนจากแต่ละฝ่ายเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง ทั้งนี้ก่อนการประชุมจะเริ่มขึ้น พบว่า ทีมของพรรคเพื่อไทย (พท.) นำโดย นพ.
ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่านและหัวหน้าพรรค, นาย
ประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อและเลขาธิการพรรคฯ ได้เดินเข้าห้องประชุม พร้อมกับนาย
สมชาย แสวงการ และนาย
มหรรณพ เดชวิทักษ์ ส.ว. ที่เป็นตัวแทนกรรมการประสานงานจากวุฒิสภา โดยเป็นที่น่าสังเกตว่าทีมเพื่อไทยและส.ว. ต่างมีสีหน้ายิ้มแย้มและเป็นมิตรต่อกัน
ทั้งนี้ นพ.
ชลน่าน ให้สัมภาษณ์ว่าบังเอิญเจอกันในลิฟท์โดยสารเท่านั้นและทักทายกันตามปกติ ไม่มีอะไร
นอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวได้สอบถามนาย
เอกนัฏ ว่า ตัวแทนพรรค ก.ก. หรือ 8 พรรคร่วมรัฐบาล ติดต่อขอคะแนนเสียงมาบ้างหรือไม่ ซึ่งนาย
เอกนัฐ ตอบทีเล่นทีจริงว่า ขอดูสายที่โทรมาแล้วไม่ได้รับก่อน แล้วจึงบอกว่า “
ยังไม่มี บอกให้เขาติดต่อมาหน่อยสิ”
ทั้งนี้ก่อนการประชุมวิป 3 ฝ่ายจะหารือกันเป็นการภายใน นาย
วันมูหะมัดนอร์ กล่าวกับที่ประชุมว่า ในการประชุมรัฐสภา เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ได้รับความร่วมมือ ทำให้การประชุมเรียบร้อย การอภิปรายและการนับคะแนนได้แล้วเสร็จก่อนเวลา ถึง 2 ชั่วโมง เป็นเรื่องที่ดีของการเริ่มประชุมรัฐสภาสมัยนี้ ทั้งนี้การประชุมไม่เสร็จสิ้นเพราะไม่ได้ผู้ที่จะเป็นนายกฯ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเลือกนายกฯ ทำให้เสร็จสิ้น เพื่อให้มีนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญ บริหารประเทศต่อไป จึงนัดประชุมอีกครั้งวันที่ 19 กรกฎาคมนี้
อย่างไรก็ตามในประเด็นข้อหารือของวิป 3 ฝ่ายวันนี้ ต้องจับตาการยกข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อ 41 หารือถึงทางออกว่าจะดำเนินการอย่างไร กรณีที่ญัตติใดที่เสนอต่อที่ประชุมและถูกโหวตไม่เห็นชอบแล้ว จะนำกลับมาเสนอซ้ำอีกได้หรือไม่ ซึ่งส.ว. มองว่าการเสนอชื่อนาย
พิธา เป็นนายกฯ นั้นคือญัตติที่ถูกตีตกไปแล้ว ดังนั้นหากจะเสนอญัตติโหวตนายกฯ โดยมีชื่อนาย
พิธาอีก อาจจะเป็นปัญหาได้ อย่างไรก็ดีแนวทางออกของเรื่องนี้คือ การเว้นใช้ข้อบังคับการประชุม ที่ต้องให้ที่ประชุมลงมติชี้ขาดอีกครั้ง
ชัดเจน อิ๊งค์ ลั่นเพื่อไทยดัน ‘เศรษฐา’ นั่งนายกฯ หาก ‘พิธา’ ปิ๋ว โวดีที่สุด ย้ำไร้งูเห่า
https://www.khaosod.co.th/election-2023/news_7771287
อิ๊งค์ ลั่น เพื่อไทยดัน ‘เศรษฐา’ นั่งนายกฯ หาก ‘พิธา’ปิ๋ว โวดีที่สุด ยัน 19 ก.ค.ทำเต็มที่แน่นอน โยนให้ กก.บห.ตัดสินใจหากตั้งรัฐบาลไม่มีก้าวไกล ย้ำไร้งูเห่า
เมื่อเวลา 10.45 น. วันที่ 18 ก.ค.2566 ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) น.ส.
แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย และแคนดิเดตนายกฯ พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงนาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกฯ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) ระบุว่าหากโหวตนายกฯรอบ 2 คะแนนไม่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญก็เป็นหน้าที่พรรคเพื่อไทยว่า นาย
พิธา คงพูดไปตามระบบ แต่ขอให้ทำให้เต็มที่ก่อนในวันที่ 19 ก.ค. ยืนยันพรรคสนับสนุน แต่ที่สุดแล้วผลจะเป็นอย่างไรคงต้องรอดู
เมื่อถามว่าหากที่ประชุมวิป 3 ฝ่าย มองว่าการเสนอชื่อนาย
พิธา เป็นญัตติซ้ำขัดกับข้อบังคับการประชุมรัฐสภาที่ 41 อาจทำให้ต้องเสนอชื่ออื่น น.ส.
แพทองธาร กล่าวว่า สิ่งที่เราเตรียมการ คือการโหวตให้นาย
พิธา แต่หากมีการเปลี่ยนแปลงในวันที่ 19 ก.ค. กรรมการบริหารพรรค (กก.บห.) ต้องคุยกันก่อน
เมื่อถามว่าแคนดิเดตนายกฯพรรคเพื่อไทยทั้ง 3 คน ได้พูดคุยกันบ้างหรือไม่ หากถึงเวลาพรรค ต้องเสนอชื่แคนดิเดตจะเป็นใคร น.ส.
แพทองธาร กล่าวว่า “
พรรคจะเสนอ นายเศรษฐา ทวีสิน อันนี้เป็นที่ชัดเจน แต่เราทำไปทีละขั้น”
เมื่อถามว่าหากนายกฯ เป็นนาย
เศรษฐา แล้ว น.ส.
แพทองธารจะรับตำแหน่งรัฐมนตรีหรือไม่ น.ส.
แพทองธาร กล่าวว่า ยังไม่ได้คิดในส่วนของตัวเองไว้ แต่ไม่ว่าจะอย่างไรแคนดิเดตทั้ง 3 คนจะช่วยกันทำงาน ตอนนี้ที่กำลังเสนอชื่อนายพิธา เราก็ทำงานด้วยกันทั้ง 3 คน และทุกคนในพรรคยืนยันไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งอะไร ก็ช่วยกันได้แน่นอน
เมื่อถามถึงกระแสข่าวส.ส.อีสานพรรคเพื่อไทยไม่สนับสนุนนายเศรษฐา น.ส.แพทองธาร กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องตกลงกันในพรรค ตนไม่ทราบว่าข่าวมาจากไหน แต่ตนสนับสนุนนายเศรษฐา
“
ตอนนี้ประเทศชาติไม่ง่าย ฉะนั้นเราคิดว่าตัวเลือกที่สุดกับประเทศ ตอนนี้ คือนายเศรษฐา ที่จะช่วยในเรื่องของเศรษฐกิจ ถ้าพรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาล แต่ถ้าไม่ได้ เราก็ทำงานร่วมกันในการช่วยประเทศชาติ หากเป็นหัวหน้ารัฐบาลและต้องเลือกจากเรา เราก็มองว่าคือนายเศรษฐา” น.ส.แพทองธาร กล่าว
เมื่อถามย้ำว่าหากเป็นชื่อนาย
เศรษฐา จะพูดคุยกับ ส.ส.ได้ทั้งหมดหรือไม่ น.ส.
แพทองธาร กล่าวว่า ได้แน่นอน เพราะตนสนับสนุนอยู่เต็มที่ และตนก็มองตัวเองด้วยว่าเราพร้อมแค่ไหน หากถึงเวลาต้องลุย ตนมีทีมที่ดี แต่ตอนนี้หากเป็นไปได้ก็มองว่านาย
เศรษฐา เป็นคนที่สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้ทันท่วงที และตนจะเรียนรู้ไปเรื่อยๆ ว่ามีตรงไหนที่พัฒนาตัวเองได้ก็เป็นเรื่องดี
เมื่อถามว่าท่าที ส.ว.หากยกมือสนับสนุนพรรคเพื่อไทย ต้องไม่มีพรรคก้าวไกล น.ส.
แพทองธาร กล่าวว่า ขอให้เป็นเรื่องที่ 8 พรรคร่วมและกก.บห.คุยกันอีกครั้ง ตนไม่มีหน้าที่ตอบ เราจะทำไปทีละขั้นตอน ไม่เช่นนั้นจะเกิดความวุ่นวายและความไม่สบายใจของประชาชนด้วย
เมื่อถามย้ำว่าหาก ส.ว.ไม่เอาพรรคก้าวไกล เป็นไปได้หรือไม่รัฐบาลพรรคเพื่อไทย จะไม่มีพรรคก้าวไกล น.ส.แพทองธาร กล่าวว่า ขอให้กก.บห.พูดคุยกันก่อน เรื่องนี้มันอ่อนไหวมาก หากพูดอะไรออกไป ตอนนี้ยังไม่มีคำตอบแบบนั้น และยังไม่ได้วางฉากทัศน์แบบนั้น
ส่วนที่นาย
วราวุธ ศิลปอาชา หัวหน้าชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) ยอมรับมีการพูดกับพรรคเพื่อไทย แต่ไม่ได้มีการเทียบเชิญร่วมรัฐบาล น.ส.
แพทองธาร กล่าวว่า ตนไม่ทราบ เพราะไม่ได้พูดคุยกับตน
JJNY : ‘เครือข่ายภาคปชช.’ยื่นหนังสือถึงส.ว.│‘วันนอร์’ ถกวิป3ฝ่าย│อิ๊งค์ลั่นพท.ดัน ‘เศรษฐา’│น้ำมันดิบร่วง ลุ้นขายปลีกไทย
https://www.matichon.co.th/politics/news_4085677
‘เครือข่ายภาคปชช.’ ยื่นหนังสือถึง ส.ว. เคารพผลการเลือกตั้ง ยึดหลักเสียงข้างมาก เลี่ยงงดออกเสียง รับฟังประชาชน
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 18 กรกฎาคม ที่รัฐสภา เครือข่ายภาคประชาชน ยื่นหนังสือถึงสมาชิกรัฐสภา เคารพผลการเลือกตั้ง รับฟังเสียงประชาชน จากกรณีเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 66 มติของรัฐสภาไม่ได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชนที่แสดงออกในการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 14 ก.ค. 66 ใจความดังนี้ เรียนประธานสภาผู้แทนราษฎรและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร เนื่องจาก รัฐธรรมนูญ ปี 2560 มาตรา 114 ได้บัญญัติไว้ว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภายอมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย ไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมาย หรือความครอบงำใดๆ และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม โดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์ แต่จากการพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีของรัฐสภา เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 พบว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาในฐานะสมาชิกรัฐสภาบางส่วนมิได้ถือปฏิบัติหน้าที่ตามที่รัฐกำหนด อันจะเห็นได้จากกรลมติสวนทางกับเจตนารมณ์ของประชาชนที่แสดงออกผ่านการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566
โดยผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า ประชาชนไทยต้องการความเปลี่ยนแปลง และพรรคการเมืองที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนมากที่สุด คือพรรคร่วมฝ่ายค้าน ซึ่งต่อมาได้จับมือกันจัดตั้งรัฐบาลร่วมกันจนมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ หรือ 312 เสียง จาก 500 เสียง ในสภาวะปกติการที่พรรคการเมืองใดสามารถรวมเสียงได้เกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคการเมืองนั้นยอมมีเสียงที่เพียงพอต่อการจัดตั้งรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยปกติ แต่เนื่องจากบทเฉพาะกาลในมาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญ 2560 ที่กำหนดให้ สมาชิกวุฒิสภาสามารถร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีร่วมกับสมาซิกสภาผู้แทนราษฎรได้ทำให้บรรยากาศทางการเมืองที่ควรจะมีความแน่นอนกลับกลายเป็นความไม่แน่นอน
ในการนี้ เครือข่ายภาคประชาชนที่ประกอบไปด้วย เครือข่ายสมัชชาคน เครือข่ายรณรงค์รัฐธรรมนูญ คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย กลุ่มจับตาการเลือกตั้ง (We Watch) โครงการอินเทอร์เนตเอกฎหมายประชาชน Activist Laboratory Thailand และอื่นๆ ในนามตัวแทนเครือข่ายคณะรณรงค์ Respect My Vote จึงมีข้อเรียกร้องต่อประธานวุฒิสภาในฐานะรองประธานรัฐสภาผ่านไปยังสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ดังนี้
1. ให้สมาชิกรัฐสภาดำเนินการลงคะแนนเสียงเลือกนายกรัฐมนตรีให้กับผู้ที่ถูกเสนอชื่อโดยพรรคการเมืองที่สามารถรวบรวมเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร เพื่อยืนยันหลักการเสียงข้างมากตามระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
2. ให้สมาชิกรัฐสภาหลีกเลี่ยงการลงมติด้วยการ “งดออกเสียง” เนื่องจาก การลงมติดังกล่าวจะเป็นผลให้เสียงข้างมากของสภาผู้แทนราษฎรถูกขัดขวาง และถือเป็นการปฏิเสธผลการเลือกตั้ง มีแต่จะทำให้เกิดทางตันทางการเมือง และทำให้ประเทศไทยอยู่ในสภาวะที่ไม่มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
3. เสียงของสมาชิกวุฒิสภาจะต้องไม่ถูกนำใช้เป็นข้อต่อรองทางการเมืองให้มีนายกรัฐมนตรีคนที่ผู้มีอำนาจอยากได้ แต่ประเทศไทยต้องมีนายกรัฐมนตรี ตามที่ประชาชนแสดงออกผ่านไปคูหาเลือกตั้ง
4. ขอสมาชิกรัฐสภาทุกท่านช่วยรับฟังความต้องการหรือความคิดเห็นที่แตกต่างของประชาชนด้วยความอดทนอดกลั้น ไม่แสดงท่าทีข่มขู่ คุกคาม หรือแสดงท่าทีเป็นศัตรูกับประชาชน
สุดท้ายนี้ ทางเครือข่ายขอย้ำว่า การยืนยันตามหลักการประซาธิปไตยเสียงข้างมากในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ ด้วยการลงคะแนนให้กับผู้ที่ได้เสียงข้างมากให้จัดตั้งรัฐบาลได้ ก็เป็นเรื่องที่ควรทำ แม้ว่า จะมีข้อที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายบางประการ แต่นั่นก็เป็นเรื่องที่จะต้องผลักดันกันหลังรัฐบาลใหม่แล้ว การจะผ่านกฎหมายไม่ว่าอย่างไรก็จำเป็นจะต้องได้รับเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร แต่ประเด็นที่เร่งด่วนกับประเทศมากที่สุดในขณะนี้คือ การมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง การลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรีให้อีกฝ่ายไม่ได้หมายความว่าสนับสนุนอีกฝ่าย แต่หมายถึงการสนับสนุนให้ประเทศกลับสู่แนวทางประชาธิปไตย
‘วันนอร์’ ถกวิป3ฝ่าย หารือโหวตนายกฯรอบ 2 ก่อนประชุม แกนนำพท.-ส.ว. คุยกันชื่นมื่น
https://www.matichon.co.th/politics/news_4085643
‘วันนอร์’ ถกวิป3ฝ่ายหารือ โหวตนายกฯรอบ 2 ก่อนประชุม แกนนำพท.-ส.ว. คุยกันชื่นมื่น
เมื่อเวลา 10.15 น. วันที่ 18 กรกฎาคม ที่รัฐสภา นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ได้เรียกประชุม คณะกรรรมการประสานงาน 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายวุฒิสภา, ฝ่าย 8 พรรค และฝ่าย 10 พรรค เพื่อหารือถึงกรอบการประชุมรัฐสภา เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 เป็นครั้งที่สอง ในวันที่ 19 กรกฏาคม
โดยมีนายวันมูหะมัดนอร์ เป็นประธานการประชุม และมีตัวแทนจากแต่ละฝ่ายเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง ทั้งนี้ก่อนการประชุมจะเริ่มขึ้น พบว่า ทีมของพรรคเพื่อไทย (พท.) นำโดย นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่านและหัวหน้าพรรค, นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อและเลขาธิการพรรคฯ ได้เดินเข้าห้องประชุม พร้อมกับนายสมชาย แสวงการ และนายมหรรณพ เดชวิทักษ์ ส.ว. ที่เป็นตัวแทนกรรมการประสานงานจากวุฒิสภา โดยเป็นที่น่าสังเกตว่าทีมเพื่อไทยและส.ว. ต่างมีสีหน้ายิ้มแย้มและเป็นมิตรต่อกัน
ทั้งนี้ นพ.ชลน่าน ให้สัมภาษณ์ว่าบังเอิญเจอกันในลิฟท์โดยสารเท่านั้นและทักทายกันตามปกติ ไม่มีอะไร
นอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวได้สอบถามนายเอกนัฏ ว่า ตัวแทนพรรค ก.ก. หรือ 8 พรรคร่วมรัฐบาล ติดต่อขอคะแนนเสียงมาบ้างหรือไม่ ซึ่งนายเอกนัฐ ตอบทีเล่นทีจริงว่า ขอดูสายที่โทรมาแล้วไม่ได้รับก่อน แล้วจึงบอกว่า “ยังไม่มี บอกให้เขาติดต่อมาหน่อยสิ”
ทั้งนี้ก่อนการประชุมวิป 3 ฝ่ายจะหารือกันเป็นการภายใน นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวกับที่ประชุมว่า ในการประชุมรัฐสภา เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ได้รับความร่วมมือ ทำให้การประชุมเรียบร้อย การอภิปรายและการนับคะแนนได้แล้วเสร็จก่อนเวลา ถึง 2 ชั่วโมง เป็นเรื่องที่ดีของการเริ่มประชุมรัฐสภาสมัยนี้ ทั้งนี้การประชุมไม่เสร็จสิ้นเพราะไม่ได้ผู้ที่จะเป็นนายกฯ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเลือกนายกฯ ทำให้เสร็จสิ้น เพื่อให้มีนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญ บริหารประเทศต่อไป จึงนัดประชุมอีกครั้งวันที่ 19 กรกฎาคมนี้
อย่างไรก็ตามในประเด็นข้อหารือของวิป 3 ฝ่ายวันนี้ ต้องจับตาการยกข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อ 41 หารือถึงทางออกว่าจะดำเนินการอย่างไร กรณีที่ญัตติใดที่เสนอต่อที่ประชุมและถูกโหวตไม่เห็นชอบแล้ว จะนำกลับมาเสนอซ้ำอีกได้หรือไม่ ซึ่งส.ว. มองว่าการเสนอชื่อนายพิธา เป็นนายกฯ นั้นคือญัตติที่ถูกตีตกไปแล้ว ดังนั้นหากจะเสนอญัตติโหวตนายกฯ โดยมีชื่อนายพิธาอีก อาจจะเป็นปัญหาได้ อย่างไรก็ดีแนวทางออกของเรื่องนี้คือ การเว้นใช้ข้อบังคับการประชุม ที่ต้องให้ที่ประชุมลงมติชี้ขาดอีกครั้ง
ชัดเจน อิ๊งค์ ลั่นเพื่อไทยดัน ‘เศรษฐา’ นั่งนายกฯ หาก ‘พิธา’ ปิ๋ว โวดีที่สุด ย้ำไร้งูเห่า
https://www.khaosod.co.th/election-2023/news_7771287
อิ๊งค์ ลั่น เพื่อไทยดัน ‘เศรษฐา’ นั่งนายกฯ หาก ‘พิธา’ปิ๋ว โวดีที่สุด ยัน 19 ก.ค.ทำเต็มที่แน่นอน โยนให้ กก.บห.ตัดสินใจหากตั้งรัฐบาลไม่มีก้าวไกล ย้ำไร้งูเห่า
เมื่อเวลา 10.45 น. วันที่ 18 ก.ค.2566 ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย และแคนดิเดตนายกฯ พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกฯ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) ระบุว่าหากโหวตนายกฯรอบ 2 คะแนนไม่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญก็เป็นหน้าที่พรรคเพื่อไทยว่า นายพิธา คงพูดไปตามระบบ แต่ขอให้ทำให้เต็มที่ก่อนในวันที่ 19 ก.ค. ยืนยันพรรคสนับสนุน แต่ที่สุดแล้วผลจะเป็นอย่างไรคงต้องรอดู
เมื่อถามว่าหากที่ประชุมวิป 3 ฝ่าย มองว่าการเสนอชื่อนายพิธา เป็นญัตติซ้ำขัดกับข้อบังคับการประชุมรัฐสภาที่ 41 อาจทำให้ต้องเสนอชื่ออื่น น.ส.แพทองธาร กล่าวว่า สิ่งที่เราเตรียมการ คือการโหวตให้นายพิธา แต่หากมีการเปลี่ยนแปลงในวันที่ 19 ก.ค. กรรมการบริหารพรรค (กก.บห.) ต้องคุยกันก่อน
เมื่อถามว่าแคนดิเดตนายกฯพรรคเพื่อไทยทั้ง 3 คน ได้พูดคุยกันบ้างหรือไม่ หากถึงเวลาพรรค ต้องเสนอชื่แคนดิเดตจะเป็นใคร น.ส.แพทองธาร กล่าวว่า “พรรคจะเสนอ นายเศรษฐา ทวีสิน อันนี้เป็นที่ชัดเจน แต่เราทำไปทีละขั้น”
เมื่อถามว่าหากนายกฯ เป็นนายเศรษฐา แล้ว น.ส.แพทองธารจะรับตำแหน่งรัฐมนตรีหรือไม่ น.ส.แพทองธาร กล่าวว่า ยังไม่ได้คิดในส่วนของตัวเองไว้ แต่ไม่ว่าจะอย่างไรแคนดิเดตทั้ง 3 คนจะช่วยกันทำงาน ตอนนี้ที่กำลังเสนอชื่อนายพิธา เราก็ทำงานด้วยกันทั้ง 3 คน และทุกคนในพรรคยืนยันไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งอะไร ก็ช่วยกันได้แน่นอน
เมื่อถามถึงกระแสข่าวส.ส.อีสานพรรคเพื่อไทยไม่สนับสนุนนายเศรษฐา น.ส.แพทองธาร กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องตกลงกันในพรรค ตนไม่ทราบว่าข่าวมาจากไหน แต่ตนสนับสนุนนายเศรษฐา
“ตอนนี้ประเทศชาติไม่ง่าย ฉะนั้นเราคิดว่าตัวเลือกที่สุดกับประเทศ ตอนนี้ คือนายเศรษฐา ที่จะช่วยในเรื่องของเศรษฐกิจ ถ้าพรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาล แต่ถ้าไม่ได้ เราก็ทำงานร่วมกันในการช่วยประเทศชาติ หากเป็นหัวหน้ารัฐบาลและต้องเลือกจากเรา เราก็มองว่าคือนายเศรษฐา” น.ส.แพทองธาร กล่าว
เมื่อถามย้ำว่าหากเป็นชื่อนายเศรษฐา จะพูดคุยกับ ส.ส.ได้ทั้งหมดหรือไม่ น.ส.แพทองธาร กล่าวว่า ได้แน่นอน เพราะตนสนับสนุนอยู่เต็มที่ และตนก็มองตัวเองด้วยว่าเราพร้อมแค่ไหน หากถึงเวลาต้องลุย ตนมีทีมที่ดี แต่ตอนนี้หากเป็นไปได้ก็มองว่านายเศรษฐา เป็นคนที่สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้ทันท่วงที และตนจะเรียนรู้ไปเรื่อยๆ ว่ามีตรงไหนที่พัฒนาตัวเองได้ก็เป็นเรื่องดี
เมื่อถามว่าท่าที ส.ว.หากยกมือสนับสนุนพรรคเพื่อไทย ต้องไม่มีพรรคก้าวไกล น.ส.แพทองธาร กล่าวว่า ขอให้เป็นเรื่องที่ 8 พรรคร่วมและกก.บห.คุยกันอีกครั้ง ตนไม่มีหน้าที่ตอบ เราจะทำไปทีละขั้นตอน ไม่เช่นนั้นจะเกิดความวุ่นวายและความไม่สบายใจของประชาชนด้วย
เมื่อถามย้ำว่าหาก ส.ว.ไม่เอาพรรคก้าวไกล เป็นไปได้หรือไม่รัฐบาลพรรคเพื่อไทย จะไม่มีพรรคก้าวไกล น.ส.แพทองธาร กล่าวว่า ขอให้กก.บห.พูดคุยกันก่อน เรื่องนี้มันอ่อนไหวมาก หากพูดอะไรออกไป ตอนนี้ยังไม่มีคำตอบแบบนั้น และยังไม่ได้วางฉากทัศน์แบบนั้น
ส่วนที่นายวราวุธ ศิลปอาชา หัวหน้าชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) ยอมรับมีการพูดกับพรรคเพื่อไทย แต่ไม่ได้มีการเทียบเชิญร่วมรัฐบาล น.ส.แพทองธาร กล่าวว่า ตนไม่ทราบ เพราะไม่ได้พูดคุยกับตน