ทำไมไทยถึงรอจนถึงหลังสงครามโลกครั้งที่สองจึงสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนอย่างเป็นทางการ

อยากทราบครับว่า ทำไมไทยถึงรอจนถึงหลังสงครามโลกครั้งที่สองจึงสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนอย่างเป็นทางการครับ ก่อนยุครัฐชาติสมัยใหม่ สยามมีความสัมพันธ์กับจีนยุคจักรวรรดิหลายราชวงศ์ผ่านระบบบรรณาการหรือจิ้มก้อง ซึ่งดำเนินเรื่อยมาจนยุติลงในสมัยรัชกาลที่สี่ หลังความตกต่ำของต้าชิงและการที่สยามเริ่มมีปฏิสัมพันธ์มากขึ้นกับโลกตะวันตก แม้ในยุครัฐชาติสมัยใหม่ การติดต่อค้าขายกับจีนจะยังดำเนินอยู่ ชาวจีนจำนวนมากอพยพเข้าสู่สยาม ทว่าทั้งสองประเทศก็ไม่ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันอย่างเป็นทางการ ตัวแทนทางการทูตที่ใกล้จีนที่สุดน่าจะเป็นสถานกงสุลสยาม ณ ดินแดนฮ่องกงของอังกฤษ โดยราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐจีนได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันอย่างเป็นทางการในปี 1946 มีสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำ ณ กรุงนานกิง มีเอกอัครราชทูตประจำกรุงนานกิง 2 ท่าน ทว่าภายหลังรัฐบาลจีนคณะชาติของพรรคก๊กมินตั๋งพ่ายแพ้พรรคคอมมิวนิสต์จีนในปี 1949 ไทยต้องปิดสถานเอกอัครราชทูตในจีน โดยยังรับรองรัฐบาลสาธารณรัฐจีนที่กรุงไทเปตลอดทศวรรษที่ 1950 - 1970 หลังจากสหรัฐอเมริกาปรับท่าทีต่อจีนแผ่นดินใหญ่ในช่วงทศวรรษที่ 1970 ไทยจึงปรับตาม โดยราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันอย่างเป็นทางการในปี 1975 คือกับจีนใหม่นี่เข้าใจว่าเป็นเพราะรอดูการเมืองโลกก่อน ตอนปี 1946 นี่เพราะจีนเป็นสมาชิกถาวรของสหประชาชาติ ไทยต้องมีความสัมพันธ์ด้วยเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเข้าเป็นสมาชิก แต่ทำไมตั้งแต่ยุครัฐชาติสมัยใหม่ สยามจึงไม่สถาปนาความสัมพันธ์กับจีนทันทีครับ ทำไมต้องรอหลังสงครามโลกครั้งที่สองเลย

รบกวนช่วยตอบด้วยครับ ขอบคุณครับ หากมีส่วนใดที่เข้าใจผิดหรือผิดพลาดไปก็ขออภัยด้วยครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่