[CR] No.22 Drive My Car : ทริปค้นใจ สานสัมพันธไมติ๊ด


บทประพันธ์ดั้งเดิมมาจากนิยายเรื่องสั้นของนักเขียนชื่อดังของญี่ปุ่น Haruki Murakami ที่มีความยาวแค่ 40 หน้า แต่ผู้กำกับชาวญี่ปุ่นอย่าง Ryusuke Hamaguchi จาก Happy Hour (2015) , Asako I & II (2018) ได้หยิบยกเอา Keywords หลักทั้ง 5 เรื่องราวมา Adapt รวมเป็นเรื่องเดียวกันอีกที ซึ่งจะมีการปรับเปลี่ยนจากเดิมไปบ้าง ไม่ว่าจะเป็น ตัวรถยนต์ จากเดิมที่เป็นรถเปิดประทุนสีเหลืองก็เปลี่ยนมาเป็นรถเก๋งสีแดง เป็นต้น แล้วขยายความแต่ละตอนออกไปเหมือนเป็นจิ๊กซอว์หลาย Layer มาประกอบต่อกันเป็นรูปหนึ่ง โดยแต่ละชิ้นมี Details ย่อยออกไปตามแต่ละ Story ในตัวมันอีกที เพื่อสอดคล้องให้เรื่องเข้ายุคสมัยมากขึ้น ซึ่งตลอดเวลาที่ดูเราจะเห็น Details มากมายซ้อนทับกันไปมาชวนสับสน ขณะเดียวกันก็ยังคงกลิ่นไอจากนิยายต้นฉบับไว้อยู่

แม้ว่าเนื้อเรื่องจะดูธรรมดาสามัญถึงขึ้นเรียบง่ายไปหน่อย แต่ระหว่างทางกลับมี Impression บางอย่างชวนให้คิดให้ติดตามไปตลอด เนื่องด้วยความที่บทดั้งเดิมดีด้วย ทำให้การเล่าเรื่องดูทรงพลังอย่างเหลือเชื่อ  คนดูทั่วไปก็สามารถสัมผัสเข้าใจกับมันได้ง่าย เพราะ การเดินเรื่องมี Style ที่โดดเด่นช่วยยกระดับคุณภาพไปสู่สากลได้อย่างภาคภูมิใจ ช่วงแรกยอมรับว่าน่าเบื่อไปหน่อยกับการเกริ่นนำชีวิตของพระเอกกับภรรยาพระเอก (ซึ่งนานมาก ๆ) ผมยังประติดประต่ออะไรไม่ได้เลยว่าใครเป็นใคร แต่รู้มาว่าทั้งคู่มี Something อะไรบางอย่างแค่นั้น บวกกับความเหนือยของการเล่าที่เรื่อย ๆ นิ่ง ๆ กับภาพก็ดันมืด ๆ มองไม่เห็นอะไรอีก จึงเป็นส่วนที่ช่วยเร่งให้เกิดวูบหลับเป็นระยะ แต่พอเข้าช่วงกลางเรื่องขึ้นมากลับน่าสนใจขึ้นทันที ไม่ใช่แค่การเปลี่ยนโทนที่พลิกหน้ามือเป็นหลังมือเท่านั้น สิ่งที่ประหลาดใจมากนั่นคือ การเพิ่งขึ้น Title แนะนำตัวเรื่องช่วงกลางเรื่อง ที่ไม่เคยมีเรื่องไหนทำได้แบบนี้มาก่อนนั่นเอง

ส่วนตัวผมไม่เคยทราบอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้มาก่อน แม้กระทั่งดู Trailer ก็ตาม สิ่งที่ดึงความสนใจของผมได้ คือ ค่าย Documentary Club เป็นผู้จัดซื้อภาพยนตร์มาฉาย รวมถึงเป็นค่ายหนังที่ผมชอบมากเช่นกัน แต่พอหลังจากดูจบผมรู้สึกประทับใจมากกว่าเดิม  แม้ว่าตัวหนังใช้เวลาถึง 2 ชั่วโมง 59 นาที เกือบจะ 3 ชั่วโมง ซึ่งนานมากสำหรับหนังประเภทนี้ ตอนที่ดูมีความรู้สึกว่าบางมุมมีความคล้ายกับหนัง 2 เรื่องที่เคยดูมาอย่าง Paris,Texas (1984) กับ Burning (2018) อย่างชัดเจน โดยเฉพาะในแง่ของการปะทะคารมของตัวละครอย่าง พระเอก Hidetoshi Nishijima จาก Creepy (2016) , ภรรยาพระเอก Reika Kirishima จาก Norwegian Wood (2010) , ผู้สาวขับรถ Toko Miura จาก The girl in the sun (2013) หรือ ดาราหนุ่ม Masaki Okada จาก Confessions (2010) ที่ต่างคนต่างขิงกันไปขิงกันมาแทบจะทั้งเรื่องภายนอกที่ดูสุขุมเฉยชาแต่ภายในกลับเร้าร้อนพร้อมแผดเผาในใจต่อกัน ซึ่งทุกคนแสดงดี มีปมความหลังมีความลับแต่ละคนให้ถ่ายทอดใน  Scene ของตนเองโดยไม่โดนกลบ หรือ ถูกแย่ง Scene กันแม้แต่น้อย ภาพรวมจะดูคนละโทน สัมผัสถึงความไม่ Smooth กันเหมือนถ่าย 2 เรื่องแล้วมาประกบเป็นเรื่องเดียวกันแต่กลับลงตัวกว่าหนัง 2 เรื่องที่ผมได้ยกตัวอย่างไปเสียอีก

บางช่วงนอกจากองค์ 1 แล้วก็ยังมีจุด Drop ไปบ้างเป็นระยะ แต่พอถึงกลางเรื่องกลับเร็วแถมลื่นไหลขึ้นผิดหูผิดตา ซึ่งผู้กำกับแกมีเทคนิคที่ดีที่สามารถดึงศักยภาพของนักแสดงออกมาประคับประคองการเดินเรื่องให้มีชีวิตชีวายิ่งขึ้น รวมถึงสามารถผูกปมเดิมซ้อนทับด้วยปมใหม่ทับอีกทีให้ซับซ้อนขึ้นให้เข้าใจง่ายขึ้นกว่าเดิมใน Part หลัง แล้วยังสามารถเปลี่ยนทิศทางนำเสนอ Story ไปมาให้น่าติดตามต่อไปได้เรื่อย ๆ เช่นกัน อีกทั้ง Timeline ของหนังที่มีประเด็นเสริมระยิบระย่อยแต่ไม่ทิ้ง Keywords หลักไปนั่นคือการเข้าไปสำรวจใน Mindset ของตัวละครด้วยสุนทรียศาสตร์ของความเป็นละครเวทีแทรกผ่านการสนทนาจากการซ้อมการแสดง หรือ การเดินทางของคน 2 คนในรถยนต์คันเดียวกัน มันจึงกลายเป็นการเพิ่มเสน่ห์ยกระดับให้เล่นท่ายากขึ้นไปด้วย ขณะเดียวกันเราจะตีความจากรูปธรรมจากสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ชัดเจนมากขึ้น ทั้ง Sex = การบำบัด / Famous = เหนือการควบคุม / Murder = การฆาตกรรม หรือ Forgive = ละอายใจ เช่นกัน ซึ่งเป็นแรงผลักดันที่เกิดบาดแผลในใจจากสภาวะทางสังคมที่โดน Effect จากการเปลี่ยนแปลงของระบบทุนนิยมในสังคมปัจจุบันอีกที

บาง Scene จงใจปล่อยภาพแบบ Cinematique ให้เป็นตัวเดินเรื่องแทน Dialogue จากการสนทนาไปจนรู้สึกว่ามันยัดเยียดจนดูออกว่าประดิษฐ์เกินไปหน่อย ไม่รู้ว่าใส่เข้ามามีนัยยะอะไรหรือเปล่า หรือ เพื่อเพิ่มพื้นที่ให้เรื่องดูยืดยาวออกไปแค่นั้น หรือแม้แต่ตัวภรรยาพระเอกที่มีบทบาทแค่ช่วงแรกจริง ๆ แล้วที่เหลือก็ค่อย ๆ เลือนหายไปตามเวลา เหลือไว้แค่คำบอกเล่าจากปากแค่นั้น เทคนิคอีกอย่างที่ชอบก็คือ การใช้ตัวละคร 2 คน แต่มี 3 เสียง ในรถยนต์สีแดงที่วิ่งอยู่บนถนนคันเดียว เป็นตัวกลางสื่อสารซึ่งกัน ซึ่งเป็นวิธีที่ฉลาดมากในการใช้ Situation จำกัดในการเชื่อมโยงระหว่างบทที่ถูกบรีฟไว่ก่อนแล้วกับการเล่นสด One Man Show ของนักแสดง ผลที่เห็นจึงดูเป็น Scene ที่ดูออกได้เลยว่าไร้การปรุงแต่งแต่อย่างใด

สรุป รักและประทับใจมาก นอกจากตัวหนังจะได้รับรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์ต่างประเทศไปครอบเมื่อปี 2022 ที่ผ่านมาอย่างสมศักดิ์ศรีแล้ว ส่วนตัวผมชอบพาร์ทหลังที่สุด โดยเฉพาะใน Part ของละครเวที นอกจากฉีกแนวทางเดิมจากต้นเรื่องที่เกริ่นได้น่าเบื่อไปหน่อยแล้ว ยังนำเสนอประเด็นที่หลากหลายทางสังคมทางวัฒนธรรมมากมายอีกด้วย อาทิเช่น การ casting ของนักแสดงสาวชาวเกาหลีแต่พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ รวมถึงพื้นหลังอย่างตัวเมืองฮอกไกโด หรือ ฮิโรชิม่าที่ไม่ได้พูดถึงแค่ความแตกต่างของสถานที่เพียงอย่างเดียว หรือแม้แต่นักแสดงหญิงเอเชียที่เป็นนักแสดงใบ้หรือผู้พิการทางการสื่อสารเช่นกัน คือ เธอแสดงเก่งมาก แม้เธอจะไม่ใช่ตัวหลัก แต่หนังให้ความสำคัญในส่วนนี้มากแถมเป็นส่วนสำคัญที่ดีที่สุดในบทสรุปที่ทรงพลังและเป็นที่พูดถึงเป็นอย่างมากจนได้ใจผมไปเต็ม ๆ  ผมไม่รู้ว่าแกจงใจนำเสนอภาพสวย ๆ ตามสถานที่ชื่อดังทั้งหลายในประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีล่อตาล่อใจเราเล่นให้เกิดความเป็นนานาชาติหรือมีปมขัดแย้งอะไรกันหรือเปล่า แต่สิ่งที่ได้เห็น texture ต่าง ๆ ได้ชัดคือการแสดงวิสัยทัศน์ที่เรียบง่ายต่อจิตวิญญาณที่แน่วแน่และซื่อตรงของผู้กำกับชาวญี่ปุ่นคนนี้ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนใครนั่นเอง

ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านครับ เมื่อได้อ่านแล้ว สามารถกด Like กด Share รีวิวของผม EMCONCEPT เพื่อเป็นกำลังใจในการรีวิวครั้งต่อไปกันด้วยครับ ขอบคุณครับ
ชื่อสินค้า:   Review By EMCONCEPT
คะแนน:     

CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้

  • - จ่ายเงินซื้อเอง หรือได้รับจากคนรู้จักที่ไม่ใช่เจ้าของสินค้า เช่น เพื่อนซื้อให้
  • - ไม่ได้รับค่าจ้างและผลประโยชน์ใดๆ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่