มุสลิมเรียนรู้ถึงแก่นของพระพุทธศาสนา

การเรียน รู้หลักแท้ของพุทธศาสนา เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับมุสลิมที่ควรจะเรียนรู้ เพราะมุสลิมเป็นประชาชนชาวไทยที่อยู่ในสังคมไทยซึ่งประชาชนส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา การเรียนรู้หลักการของพุทธศาสนาที่ถูกต้องจะช่วยให้มุสลิมและพุทธศาสนิกชนอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ เพราะเข้าใจซึ่งกันและกันอย่างถูกต้อง ถ้าหากไม่เข้าใจหลักศรัทธาของกันและกันแล้วจะเกิดการลบหลู่และดูหมิ่นหลักศรัทธาของกันและกัน

กระทู้นี้เป็นกระทู้สรุปของกระทู้ แก่นของพระพุทธศาสนา มีอะไรบ้าง?  https://pantip.com/topic/41890135

ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณพุทธสมาชิกที่ร่วมสนทนาในกระทู้ดังกล่าวทุกๆท่าน พุทธสมาชิกทุกๆท่านต่างให้ความคิดเห็นทางพุทธศาสนาที่ต่างกัน  สำหรับ จขกท. ต้องการความเข้าใจของท่านสมาชิกบางท่านที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นต่อหลักการของศาสนาอิสลาม ว่าเขาเหล่านั้นเข้าใจศาสนาพุทธมากน้อยเพียงไร จะเข้าใจอย่างที่ จขกท. เข้าใจหรือไม่?  จากหนังสือเรื่อง "แก่นพุทธศาสน์" ของท่านพุทธทาสภิกขุ ซึ่งใช้เป็นเอกสารอ้างอิงในการสนทนานี้  

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

จุดมุ่งหมายของพุทธศาสนา คือ มุ่งเฉพาะไปยังความดับทุกข์ เท่านั้น ถ้าเป็นเรื่องที่ไม่เป็นไปเพื่อความดับทุกข์ พระพุทธเจ้าท่านทรงปฏิเสธไม่เกี่ยวข้องด้วย เช่น เรื่องตายแล้วเกิดหรือไม่ อะไรไปเกิด ฯลฯ เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่ได้มุ่งไปสู่การดับทุกข์ หลักพุทธศาสนาขั้นมูลฐาน มีส่วนที่เป็นหลักอยู่ไม่มาก โดยพระพุทธเจ้าได้เปรียบเทียบระหว่างใบไม้ทั้งป่ากับใบไม้ในกำมือของพระองค์ว่า สิ่งที่พระองค์ตรัสรู้นั้นมีมาก เปรียบได้กับใบไม้ทั้งป่า แต่เรื่องที่จำเป็นที่ควรรู้ ควรนำมาสอน และนำมาปฏิบัติเพื่อดับทุกข์นั้น มีไม่มาก เปรียบได้เท่ากับใบไม้กำมือเดียว ส่วนเหตุผลของพุทธศาสนา คือ คำสอนในพุทธศาสนาเพื่อมุ่งไปสู่การดับทุกข์นั้น ล้วนมีเหตุผลอยู่ในตัวเอง ซึ่งทุกคนสามารถเห็นและเข้าใจได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องเชื่อตามใครอื่น

หัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนาคือ ความว่าง วิธีปฏิบัติเพื่อเป็นอยู่ด้วยความว่าง หรือ สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น มาจากคำที่พระพุทธเจ้าตอบแก่ผู้ทูลถามว่าหากจะสรุปพระพุทธวจนะทั้งหมดที่ตรัสไว้ เป็นประโยคสั้นเพียงประโยคเดียวได้หรือไม่? พระพุทธองค์ตรัสว่า "สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย" ซึ่งแปลว่า "สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น" (ปรากฏอยู่ในพระบาลี มัชฌิมนิกาย)“สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น” ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน ท่านพุทธทาสจึงบัญญัติคำใหม่ที่ใช้เฉพาะสำหรับศาสนาพุทธเท่านั้น จากคำ โรคทางจิต เป็น โรคทางวิญญาณ เพื่อแบ่งแยกคำให้แตกต่างกัน และตรงกับความหมายที่แท้จริง โดยขอใช้คำภาษาอังกฤษกำกับแยกไว้ให้ชัดเจนด้วยว่า spiritual disease ทั้งนี้ ท่านได้ให้ความหมายของคำที่ท่านบัญญัติใหม่ ว่า โรคทางวิญญาณ ในที่นี้  หมายถึง วิญญาณหรือจิตในส่วนลึก ที่ถือได้ว่าเป็นโรคด้วยอำนาจของกิเลส โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ อวิชชา (ความไม่รู้) และ มิจฉาทิฎฐิ (ความเห็นผิด)

การที่จะหายจาก โรคทางวิญญาณ ได้โดยเด็ดขาด คือ การว่างจากการยึดถือในเรา และ ของเรา และมุ่งไปสู่ “ความว่างที่สุด” (นิพพาน) ท่านพุทธทาสเห็นว่า อำนาจต้านทานโรค (Immunity) อย่างสูงสุด หรือ หัวใจของพุทธศาสนา ที่จะทำลายพิษร้าย และ นำจิตเราไปสู่ความว่างที่สุด หรือ "นิพพาน" นั้น คือประโยคสั้นๆว่า “สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น” (สัพเพ ธรรมา นาลัง อภินิวาสายะ) จุดมุ่งหมายและเหตุผลของพุทธศาสนา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

วิมุตติ คือการออกจากสมมุติแห่งการยึดถือได้ สู่ความเป็นจริงแท้ จึงแจ่มแจ้งสัจธรรม เมื่อวิมุตติถาวรแน่นอน เรียกว่าบรรลุธรรม หรือบรรลุความเป็นจริงแท้ เมื่อบรรลุอมตธาตุ นั่นคือความเป็นจริงแท้แห่งความว่างสัมบูรณ์ ก็ถึงพระนิพพาน

จากข้อมูลเหล่านี้จะเห็นได้ว่าแก่นแท้ของพุทธศาสนานั้นคือการปฏิบัติตนให้พ้นจากความทุกข์ คือทำให้จิตว่าง ถ้าจิตว่างได้อย่างสมบูรณ์จะถึงนิพพานซึ่งจะอยู่ในสภาวะอยู่นอกจักวาล  พระพุทธองค์ทรงเรียกความว่างว่า เป็นธาตุที่ไร้การปรุงแต่งไม่เกิดไม่ดับ

ท่านพุทธทาสภิขุ กล่าวว่า คนปัจจุบันธรรมดาในโลกนี้สามารถที่จะถึง "นิพพาน" ได้ อาจจะชั่วขณะหรือ อย่างสมบูรณ์ ถ้าสามารที่จะทำจิต ให้อยู่ในขั้นวิมุตติ คือการออกจากสมมุติแห่งการยึดถือได้ สู่ความเป็นจริงแท้ จึงแจ่มแจ้งสัจธรรม เมื่อวิมุตติถาวรแน่นอน เรียกว่าบรรลุธรรม หรือบรรลุความเป็นจริงแท้ เมื่อบรรลุอมตธาตุ นั่นคือความเป็นจริงแท้แห่งความว่างสัมบูรณ์ ก็ถึง "พระนิพพาน" 

สิ่งต่อไปนี้ไม่ใช่หลักคำสอนของพระพุทธองค์
1. โลกหลังความตายไม่มีสอนในพุทธศาสนา
2. การรำลึกชาติ หรือ การเกิด ชาติโน้นชาตินี้ไม่ใช่หลักคำสอนของพระพุทธองค์
3. โชคดีหรือโชคร้ายไมได้เป็นผลแห่งกรรมมาจากชาติก่อนหรือกรรมเก่า
4. ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิด การรำลึกชาติ  เมื่อใดก็ตามเมื่อจิตเราเกิดความยะโส "ตัวกู....ของกู"  ขึ้นมาพระพุทธองค์ทรงเรียกว่าเป็นการเกิดชาติหนึ่ง การเกิดและดับของอารมณ์เช่นนี้ ก็เป็นวัฏฏสง สาร คือเป็นกริยาลูกโซ่ต่อๆกันไปเรื่อยๆ เป็นเรื่องของการเกิดและการตายของโรคแห่งจิตวิญญาณซึ่งทำให้เกิดกรรมและผลกรรม เช่นเมื่อเกิดอารมรมณ์อยากได้ก็เป็น การเกิดชาติหนึ่ง แล้วกลายไปเกิดเป็นจำเลย ไปเกิดเป็นนักโทษรับผลกรรม แล้วอารมณ์นี้ก็จะหมดไปหรือเรียกว่าตายไปซึ่งไม่ใช่การตายของร่างกาย แต่เป็นการตายของอารมณ์ที่หมดไป เมื่อไรก็ตามที่เราสามารถทำให้อารมณ์เกิดความว่างได้อย่างสมบูรณ์ เปรียบได้กับการหลุดพ้นจาก วัฏฏสงสาร ก็เข้าถึงนิพพาน คือพ้นทุกข์อย่างสมบูรณ์  
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
5. ไม่มีการดูโชคชะตา ผูกดวง วัดดวง ไม่รับรองไสยศาสตร์
6. การมียศในหมู่สงค์ (พัดยศ) เป็นเครื่องกีดขวางการบรรลุถึง วิมุตติ คือการออกจากสมมุติแห่งการยึดถือได้ 
7. การสังคยานาคัมภีร์ทางศาสนานั้นย่อมมีอะไรๆ เพิ่มขึ้นได้ ทุกโอกาศที่คนชั้นหลังเขาจะเพิ่มเติมลงไป พระไตรปิฏกก็ตกอยู่ในฐานะอย่างเดียวกัน คนชั้นหลังๆเพิ่มเติมข้อความเข้าไปตามที่เห็นว่าจำเป็นสำหรับยุคนั้นๆ เพื่อจะช่วยให้คนมีศรัทธามากขึ้นๆ หรือกลัวบาป รักบุญมากขึ้น ซึ่งอาจจะมากเกินขอบเขตจนกระทั่งเกิดการเมาบุญกันใหญ่บรรจุเรื่องราวที่ไม่ใช่คำสอนของพุทธองค์
8. พิธีกรรมทาง พุธศาสนาที่เห็นในทุกๆวันนี้ เป็นส่วนต่อเติมคำสอนของพระพุทธองค์ รวมทั้ง พระเครื่องลาง และรูปเคารพบูชา เป็นเครื่องกีดขวางการบรรลุถึง "วิมุตติ" คือการออกจากสมมุติแห่งการยึดถือ 
จุดมุ่งหมายของพุทธศาสนาคือการพ้นความทุกข์เพื่อให้หลุดจากวัฏฏสงสารและบรรลุถึงนิพพาน ดังนั้นพระพุทธองค์ทรงสอนถึงการทำให้มนุษย์พ้นทุกข์ ซึ่งเป็นแก่นคำสอนของพุทธศาสนา พุทธศาสนาสอนเกี่ยวกับการปฏิบัติเฉพาะต้วของมนุษย์เฉพาะตน สอนเฉพาะผลที่เกิดขึ้นของธรรมชาติ และหาเหตุผลให้สอดคล้องกับปรากฏการณ์ ตามธรรมชาติ สอนวิธีการให้มนุษย์ควบคุมจิตของตนเองและเอาทางรอดเฉพาะต้วไปสู่ความสุขเฉพาะต้วโดยการพิจารณาสาเหตุของทุกข์และทำจิตของตนเองให้ว่าง โดยไม่ยึดติดกับต้วเองหรือสิ่งใด เมื่อใดก็ตามที่จิตเราไปยึดอยู่กับ รัก โกรธ โลภ หลง  แล้วจิตจะไม่ว่าง เมื่อจิตไม่ว่างก็จะไม่มีทางที่จะพ้นทุกข์ได้  ถ้าสามารถที่จะทำให้จิตว่างได้อย่างสมบูรณ์ ก็เรัยกว่า ถึงนิพพาน

เรื่องนี้อาจจะมีพุทธสมาชิกไม่เห็นด้วยกับการสรุป  แต่อย่างไรก็ตามเมื่ออ่านคำสอนคำอธิบายของท่านพุทธทาสภิขุ แล้วจขกท. เข้าใจเช่นนี้ ถ้าท่านมีทางที่จะอธิบายเป็นอย่างอื่นผมยินดีจะรับฟัง
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่