กับอริยสาวกผู้มีการสดับแล้ว,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับแล้ว ย่อมเสวยซึ่งเวทนา อันเป็นสุขบ้าง อันเป็นทุกข์บ้าง อันมิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! แม้อริยสาวกผู้มีการสดับแล้ว ก็ย่อมเสวยซึ่งเวทนา อันเป็นสุขบ้าง. อันเป็นทุกข์บ้าง อันมิใช่ทุกข์ มิใช่สุขบ้าง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเป็นเช่นนั้น ในระหว่าง อริยสาวกผู้มีการสดับกับปุถุชนผู้ไม่มีการสดับดังที่กล่าวมานี้ อะไรเป็นความผิดแผกแตกต่างกัน
อะไรเป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน
อะไรเป็นเหตุที่แตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้มีการสดับจากปุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ?
....
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับแล้ว อันทุกขเวทนาถูกต้องอยู่ย่อมเศร้าโศก
ย่อมกระวนกระวาย ย่อมร่ำไรรำพัน เป็นผู้ทุบอกร่ำไห้ ถึงความมีสติฟั่นเฟือน เขาย่อมเสวยซึ่งเวทนาทั้ง 2 ฝ่าย คือ เวทนาทั้งทางกาย และทางจิต.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนบุรุษพึงยิงบุรุษด้วยลูกศร แล้วพึงยิงซ้ำซึ่งบุรุษนั้นด้วยลูกศรที่ 2 อีก
บุรุษผู้ถูกยิงด้วยลูกศร 2 ลูกอย่างนี้ ย่อมเสวยเวทนาทางกายด้วย ทางจิตด้วย, แม้ฉันใด;
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับแล้วก็เป็นฉันนั้น คือ เมื่อทุกขเวทนาถูกต้องอยู่, ย่อมเศร้าโศก ย่อมกระวนกระวาย ย่อมร่ำไรรำพัน เป็นผู้ทุบอกร่ำไห้ ถึงความมีสติฟั่นเฟือนอยู่;
ชื่อว่าเขาย่อมเสวยซึ่งเวทนาทั้ง 2 อย่าง คือทั้งทางกายและทางจิต.
เขาเป็นผู้มีปฏิฆะเพราะทุกขเวทนานั้นนั่นเอง. ปฏิฆานุสัย อันใด อันเกิดจากทุกขเวทนา, ปฏิฆานุสัยอันนั้น ก็ย่อมนอนตามซึ่งบุคคลนั้นผู้มีปฏิฆะด้วยทุกขเวทนา. บุคคลนั้นอันทุกขเวทนาถูกต้องอยู่ย่อมจะ(นึก)พอใจซึ่งกามสุข.
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้นเพราะ เหตุว่า ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับแล้ว ย่อมไม่รู้ชัดอุบายเครื่องปลดเปลื้องซึ่งทุกขเวทนาเว้นแต่กามสุขเท่านั้น (ที่เขาคิดว่าจะระงับทุกขเวทนานั้นได้).
เมื่อปุถุชนนั้นพอใจยิ่งอยู่ซึ่งกามสุข, ราคานุสัยอันใด อันเกิดจากสุขเวทนา, ราคานุสัยอันนั้น ย่อมนอนตามซึ่งปุถุชนนั้น.
ปุถุชนนั้น ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งเวทนา ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษอันต่ำทราม และซึ่งอุบายเป็นเครื่องออกไปพ้น แห่งเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น ตามที่เป็นจริง.
เมื่อปุถุชนนั้น ไม่รู้ชัดอยู่ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้น ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษอันต่ำทราม และซึ่งอุบายเป็นเครื่องออกไปพ้น แห่งเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น ตามที่เป็นจริงดังนี้แล้ว,
อวิชชานุสัยอันใด อันเกิดจากอทุกขมสุขเวทนา, อวิชชานุสัยอันนั้น ย่อมนอนตามซึ่งปุถุชนนั้น.
ปุถุชนนั้น ถ้าเสวยสุขเวทนาย่อมเป็นผู้ติดพัน (ในเวทนา) เสวยเวทนานั้น ;
ถ้าเสวยทุกขเวทนา ก็เป็นผู้ติดพันเสวยเวทนานั้น ;
ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็ยังเป็นผู้ติดพันเสวยเวทนานั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับนี้ เรากล่าวว่า เป็นผู้ติดพันแล้วด้วยชาติชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย;
เรากล่าวว่า เป็นผู้ติดพันแล้วด้วยทุกข์ ดังนี้.
ป.ล.ผู้ที่มิได้เป็นพระอริยบุคคล ซึ่งเรียกว่า บุถุชน
ว่าด้วยทุกข์ของบุถุชนผู้ไม่มีการสดับ....
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับแล้ว ย่อมเสวยซึ่งเวทนา อันเป็นสุขบ้าง อันเป็นทุกข์บ้าง อันมิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! แม้อริยสาวกผู้มีการสดับแล้ว ก็ย่อมเสวยซึ่งเวทนา อันเป็นสุขบ้าง. อันเป็นทุกข์บ้าง อันมิใช่ทุกข์ มิใช่สุขบ้าง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเป็นเช่นนั้น ในระหว่าง อริยสาวกผู้มีการสดับกับปุถุชนผู้ไม่มีการสดับดังที่กล่าวมานี้ อะไรเป็นความผิดแผกแตกต่างกัน
อะไรเป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน
อะไรเป็นเหตุที่แตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้มีการสดับจากปุถุชนผู้ไม่มีการสดับ ?
....
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับแล้ว อันทุกขเวทนาถูกต้องอยู่ย่อมเศร้าโศก
ย่อมกระวนกระวาย ย่อมร่ำไรรำพัน เป็นผู้ทุบอกร่ำไห้ ถึงความมีสติฟั่นเฟือน เขาย่อมเสวยซึ่งเวทนาทั้ง 2 ฝ่าย คือ เวทนาทั้งทางกาย และทางจิต.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนบุรุษพึงยิงบุรุษด้วยลูกศร แล้วพึงยิงซ้ำซึ่งบุรุษนั้นด้วยลูกศรที่ 2 อีก
บุรุษผู้ถูกยิงด้วยลูกศร 2 ลูกอย่างนี้ ย่อมเสวยเวทนาทางกายด้วย ทางจิตด้วย, แม้ฉันใด;
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับแล้วก็เป็นฉันนั้น คือ เมื่อทุกขเวทนาถูกต้องอยู่, ย่อมเศร้าโศก ย่อมกระวนกระวาย ย่อมร่ำไรรำพัน เป็นผู้ทุบอกร่ำไห้ ถึงความมีสติฟั่นเฟือนอยู่;
ชื่อว่าเขาย่อมเสวยซึ่งเวทนาทั้ง 2 อย่าง คือทั้งทางกายและทางจิต.
เขาเป็นผู้มีปฏิฆะเพราะทุกขเวทนานั้นนั่นเอง. ปฏิฆานุสัย อันใด อันเกิดจากทุกขเวทนา, ปฏิฆานุสัยอันนั้น ก็ย่อมนอนตามซึ่งบุคคลนั้นผู้มีปฏิฆะด้วยทุกขเวทนา. บุคคลนั้นอันทุกขเวทนาถูกต้องอยู่ย่อมจะ(นึก)พอใจซึ่งกามสุข.
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้นเพราะ เหตุว่า ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับแล้ว ย่อมไม่รู้ชัดอุบายเครื่องปลดเปลื้องซึ่งทุกขเวทนาเว้นแต่กามสุขเท่านั้น (ที่เขาคิดว่าจะระงับทุกขเวทนานั้นได้).
เมื่อปุถุชนนั้นพอใจยิ่งอยู่ซึ่งกามสุข, ราคานุสัยอันใด อันเกิดจากสุขเวทนา, ราคานุสัยอันนั้น ย่อมนอนตามซึ่งปุถุชนนั้น.
ปุถุชนนั้น ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งเวทนา ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษอันต่ำทราม และซึ่งอุบายเป็นเครื่องออกไปพ้น แห่งเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น ตามที่เป็นจริง.
เมื่อปุถุชนนั้น ไม่รู้ชัดอยู่ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้น ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษอันต่ำทราม และซึ่งอุบายเป็นเครื่องออกไปพ้น แห่งเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น ตามที่เป็นจริงดังนี้แล้ว,
อวิชชานุสัยอันใด อันเกิดจากอทุกขมสุขเวทนา, อวิชชานุสัยอันนั้น ย่อมนอนตามซึ่งปุถุชนนั้น.
ปุถุชนนั้น ถ้าเสวยสุขเวทนาย่อมเป็นผู้ติดพัน (ในเวทนา) เสวยเวทนานั้น ;
ถ้าเสวยทุกขเวทนา ก็เป็นผู้ติดพันเสวยเวทนานั้น ;
ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็ยังเป็นผู้ติดพันเสวยเวทนานั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ปุถุชนผู้ไม่มีการสดับนี้ เรากล่าวว่า เป็นผู้ติดพันแล้วด้วยชาติชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย;
เรากล่าวว่า เป็นผู้ติดพันแล้วด้วยทุกข์ ดังนี้.
ป.ล.ผู้ที่มิได้เป็นพระอริยบุคคล ซึ่งเรียกว่า บุถุชน