เที่ยวฉะเชิงเทราตามใจฉัน

ฉะเชิงเทรา สันนิษฐานว่า เพี้ยนมาจากภาษาเขมร ว่าฉทึงเตรา ;ฉทึง แปลว่าแม่น้ำ เตรา แปลว่า ลึก
บอกว่าบริเวณนี้มีแม่น้ำลึก แม่น้ำนั้นคือแม่น้ำบางปะกง

คลองพระสะทึงไหลลงเขาสอยดาวทางทิศตะวันออกที่อำเภอสอยดาว
วกขึ้นไปทางทิศเหนือผ่านจังหวัดสระแก้ว ลงคลองพระปรงที่ไหลมาจากเทือกเขาสันกำแพง
รวมกับคลองหนุมาน ที่กบินทร์บุรี
ไหลมารวมกับแม่น้ำนครนายกที่ตำบลโยทกา บางน้ำเปรี้ยว ฉะเชิงเทรา
เป็นแม่น้ำบางปะกง

ทางตะวันตกของเขาสอยดาวมีสายน้ำสองสาย
คือคลองระบม จาก ตำบลท่ากระดาน อำเภอสนามชัยเขต
และคลองสียัด จาก อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา
ไหลมารวมกันเป็นคลองท่าลาด

- อ่างเก็บน้ำคลองสียัด -

คลองท่าลาดไหลมาลงแม่น้ำบางปะกงที่ปากน้ำท่าลาด หรือปากน้ำโจ้โล้
โจ้โล้ เพี้ยนมาจาก จ่อโล้ อันแปลว่าปลากะพงขาว ในภาษาแต้จิ๋ว ซึ่งพบใด้ชุกชุมในบริเวณนั้น
ปากแม่คลองท่าลาดเป็นแหล่งชุ่มชนที่มีการค้าขายมาแต่โบราณ
นำสินค้าจากแผ่นดิน มาแลกเปลี่ยนกับสินค้าจากต่างถิ่นทางทะเล
จึงเป็นชุมชนที่เป็นศูนย์กลางการค้าขายมาแต่โบราณ เป็นที่ตั้งเมืองฉะเชิงเทราแห่งแรก 
ดังปรากฎในจารึก ลานเงินที่วัดเจดีย์หรือวัดพยัคฆอินทาราม ว่า ฉะเชิงเทรา ได้ย้ายที่ตั้งมา 3 ครั้ง คือ
บริเวณปากน้ำโจ้โล้  >  อำเภอบางคล้า หรือแปดริ้ว  >  ท่าไข่ ตัวจังหวัดฉะเชิงเทราปัจจุบัน

- วัดปากน้ำโจ้โล้ -
เป็นวัดที่สร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย
เคยเป็นที่ตั้งของทัพพม่าเพื่อดักโจมตีทัพของพระเจ้าตากที่หนีออกมาจากกรุงศรีอยุธยา
อุโบสถสีทอง
หน้าบันพระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากโปรดพระมารดา
ซ้าย คลองท่าลาด
กลาง อนุสรณ์สถานพระสถูปเจดีย์ พระเจ้าตากสินมหาราช ที่ปากน้ำ
ขวา แม่น้ำบางปะกง
ท่านปู่ทวดภู่ ต้นตระกูลวนะภูติ และปู่ทวดเพชร ต้นตระกูลเพชรรัตน์ สองพี่น้องนำไม้ตะเคียนมาจากป่าดงน้อย อำเภอราชสาส์น 2 ต้น
ขุดเป็นเรือยาว 2 ลำคู่กัน คือ เรือม้าเทศและเรือม้าน้ำ

เรือม้าเทศ 28 ฝีพาย เดิมหัวเรือเป็นรูปหัวม้า และมีการประกอบพิธีฝังผมผีตายโหงไว้
เล่ากันว่าเรือม้าเทศเป็นเรือตีนปลาย คือแข่งขันระยะสั้นจะไม่ค่อยชนะ แต่ถ้าแข่งระยะไกลจะไม่เคยแพ้ใคร ตลอดคุ้งน้ำบางปะกง

เรือม้าน้ำเชื่อว่ามีอาถรรพ์หลังการแข่งจะต้องมีคนเจ็บหรือตาย
ชาวบ้านจึงได้ช่วยกันจมเรือบริเวณปากคลองท่าลาดเพื่อล้างอาถรรพ์

ลำใหญ่ เรือม้าเทศ
ลำเล็ก เรือเพรียวเป็นเรือที่พระใช้บิณฑบาตร

- อนุสรณ์สถานพระสถูปเจดีย์สมเด็จพระเจ้าตากสิน -
แม่น้ำบางปะกงและวัดปากน้ำ
คลองท่าลาด
- ตลาดน้ำบางคล้า -
ตั้งอยู่หน้าที่ว่าการอำเภอบางคล้า หรือ บริเวณท่าทองหลางที่เคยเป็นเมืองฉะเชิงเทราแห่งที่สองที่ย้ายมาจากปากน้ำโจ้โล้
ชลบุรี ฉะเชิงเทรา เคยมีชื่อเรียกคู่กันว่า บางปลาสร้อย ร้อยริ้ว
บางปลาสร้อย หมายถึง ที่ที่มาปลาสร้อยเยอะ
ส่วนร้อยริ้ว มีผู้สันนิษฐานว่า เป็นธงของเรือที่จอดเรียงรายของเรือสินค้าที่ปากน้ำท่าลาด อาจเพี้ยนไปเป็นภาษาจีนว่า แปะ = ร้อย ก่อน
เมื่อคนลาวถูกกวาดต้อนให้มาอยู่ในบริเวณนี้ ได้เรียกเมืองนี้ว่าแปดริ้ว
และได้นำเอานิทานพื้นบ้านจากถิ่นที่มา เรื่องพระรถ-เมรี มาประกอบเรื่องปลาช่อนบั้งได้แปดริ้ว

ขนมจาก,ผัดไทย,หอย ปลาหมึกย่าง,ทองๆ,หมูเต๊ะ ทอดมัน,ก๋วยเตี๋ยวปากหม้อ,ผลกลมๆ บ้านฉันเรียกว่าบ่ะปิน

- วัดแจ้งบางคล้า -
เล่าว่าในสมัยรัชกาลที่ 1 พระองค์เสด็จนำทัพไปตีเมืองเขมร
กองทัพของพระองค์มาถึงวัดนี้ตอนรุ่งสางพอดี จึงใช้เป็นชื่อวัด
มีคลองวัดแจ้ง ไหลลงแม่น้ำบางปะกง
ศาลาการเปรียญ
หน้าบันพระนารายณ์ถือตรี สังข์ จักร คฑา ทรงครุฑยุดนาค
ช่อฟ้านกหัสดีลิงค์
อุโบสถ
หน้าบันพระพรหมทรงหงส์ เหนือพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ

- วัดโพธิบางคล้า -
เมื่อพระเจ้าตาก ขึ้นครองราชย์ ทรงโปรดให้สร้างวัดขึ้นบริเวณใต้ต้นโพธิ์ ที่พระองค์ได้หยุดพักทัพหุงหาอาหาร
ปัจจุบันเหลือเพียงวิหารจตุรมุข ก่ออิฐฉาบปูน หลังคาจั่วมุงด้วยกระเบื้องดินเผา
ประตูสองทางคือทิศเหนือและตะวันตก เหนือประตูประดับเครื่องถ้วยจีนเป็นรูปกลม
หน้าต่างหนึ่งช่องทางทิศตะวันออก
ประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์ 1 องค์

บนต้นไม้ ล้วนเต็มไปด้วยค้างคาวแม่ไก่

- โบสถ์สแตนเลส วัดหัวสวน -
เพราะโบสถ์ หลังเก่ามีความชำรุดทรุดโทรม ท่านเจ้าอาวาสตัดสินใจออกแบบโบสถ์สแตนเลส เพราะสามารถอยู่ได้เป็นพันปี
ข้างเสมาโดยรอบ ประดิษฐานรูปหล่อพระอรหันต์
หน้าโบสถ์ประดิษฐาน พระสีวลี
ภาพภายนอกใช้เทคนิคใช้กรดกัดลงสีเหลือง
หน้าบัน รูปพระพุทธเจ้าประทับ แสดงธรรม ใต้ต้นโพธิ์ มีกวาง สื่อถึง ป่าอิสิปตนมฤคทาย วัน แปลว่า ป่าอันยกให้แก่หมู่กวาง และเป็นที่ชุมนุมฤๅษี
เหนือกรอบหน้าต่างรูปพระพุทธโสธร ผนังเป็นรูปพระอรหันต์ บานหน้าต่างเป็นรูปเทพพนม
จิตรกรรมภายในฝาผนังวาดโดยการใช้สีพ่น air brush
พระประธาน พระพุทธมหาลาภ

ปีพ.ศ.2377 เพราะเพื่อป้องกันทัพญวน
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงโปรดเกล้าฯให้ "กรมหลวงรักษ์รณเรศ" พระปิตุลา (อา)
เป็นแม่กองมาควบคุมการสร้างกำแพงเมืองและประตูเมืองฉะเชิงเทรา ที่ท่าไข่
โดยมีแม่น้ำบางปะกงเป็นกำแพงธรรมชาติอีกชั้นหนึ่ง
ฉะเชิงเทราจึงย้ายเมืองจากบางคล้ามาด้วย

เมื่อสร้างเสร็จกรมหลวงรักษ์รณเรศได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต สร้างวัดขึ้นใกล้กับกำแพงและประตูเมือง
โดยฝีมือช่างปั้นจากเมืองหลวง วัดพระศรีรัตนศาสดารามในกรุงเทพมหานคร เรียกว่า "วัดเมือง"
พ.ศ. 2450 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5ได้เสด็จประพาสเมืองฉะเชิงเทราเพื่อเปิดทางรถไฟสายกรุงเทพ - ฉะเชิงเทรา
ได้ทรงบูรณะวัดนี้และพระราชทานนามว่า "วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์" แปลว่าวัดที่อาของพระเจ้าแผ่นดินทรงสร้าง
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงรักษ์รณเรศ หรือหม่อมไกรสร มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าไกรสร
เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและเจ้าจอมมารดาน้อยแก้ว
ทรงมีฐานะพระปิตุลาหรือ "อา" ของ สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้ทรงงานเคียงคู่กับกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2
และกับพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเกือบตลอดรัชกาล
โปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น กรมหลวงรักษ์รณเรศ และโปรดให้กำกับกรมวัง
ภายหลังมีความผิดจึงถูกลดยศลงเป็นหม่อมไกรสร
ท่านเป็นพระราชวงศ์องค์สุดท้ายถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ที่วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร
ศาลกรมหลวงรักษ์รณเรศ
พระอุโบสถ
หันหน้าไปทางทิศตะวันออกที่ติดกับแม่น้ำบางปะกง
มีกำแพงแก้ว 3 ด้าน ไม่มีกำแพงแก้วด้านที่เชื่อมกับวิหาร
มุมด้านหน้าของกำแพงแก้วสร้างวิหารเล็กๆไว้ทั้งสองข้างตัวพระอุโบสถ
หลังคาลดชั้น หน้าบันซ้อนสองชั้น แยกจากหลังคาตัวอุโบสถ ประดับลายดอกเบญจมาศ
บานประตู หน้าต่าง ลายดอกเบญจมาศปูนปั้น
พระวิหาร
หลังคาลด 2 ชั้น มีมุขเด็จด้านหน้าและด้านหลัง
ในสมัยรัชกาลที่ 3 มีคนจีนขยายอิทธิพลจากเมืองชลบุรี เข้ามายังฉะเชิงเทรา เรียกเก็บค่าคุ้มครองหรือภาษีเถื่อนแข่งกับทางการ
เจ้าเมืองฉะเชิงเทราขณะนั้นนำกำลังไปปราบปรามจนแตกไปคนละทิศทาง
แต่ได้หวนกลับมาทำร้ายเจ้าเมืองและทหารคนสนิทในจวน กระทั่งเสียชีวิต
ตัดศีรษะเจ้าเมืองนำมาประจานเพื่อข่มขวัญผู้คนให้เกรงกลัว
และได้ประกาศให้เมืองฉะเชิงเทราเป็นอาณาจักรของพวกตัว

ความได้ทราบไปถึงพระกรรณของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3
พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้กองทัพหลวงยกมาทั้งทางน้ำและทางบกไปรวมกันในเมืองฉะเชิงเทรา
ฝ่ายคนจีนได้ยึดวัดเมือง เป็นฐานที่ตั้งสุมกำลังเพื่อต่อสู้ แต่สุดท้ายก็ต้องพ่ายแพ้

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้ทรงมีพระบรมราชโองการให้ประกาศว่า
"อันการกระทำของอั้งยี่คราวนี้เป็นขบถต่อแผ่นดิน
และยังกระทำการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพด้วยการตัดศีรษะเจ้าเมือง
อันเป็นตัวแทนต่างพระเนตรพระกรรณให้มาปกครองเมืองเอาศีรษะมาเสียบประจาน
ให้ลงโทษประหารเชลยทุกคนและผู้ให้ความร่วมมือทั้งหมด
และให้ไล่ตามจับกุมอั้งยี่ที่หนีตายจากฉะเชิงเทราไปอยู่บางปลาสร้อย
กลับมาประหารชีวิตทั้งหมด"

สถานที่ประหารหลายร้อยชีวิตของพวกอั้งยี่ ณ เวลานั้น
ก็คือ บริเวณโคน "ต้นจันทน์" ใหญ่ ที่อยู่ระหว่างพระอุโบสถและพระวิหารนี้ ยังมีลูกจันท์ร่วง ๆ อยู่ - ต้นจันท์แน่นอน
- วัดโสธรวรารามวรวิหาร -
วัดโสธรวรารามวรวิหาร เดิมชื่อว่า วัดหงษ์ เป็นที่ประดิษฐาน หลวงพ่อพุทธโสธร
เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น แกะสลักจากหินทรายแยกเป็นชิ้นรวมจำนวน 6 ชิ้น นำมาประกอบเข้าด้วยกันและลงรักปิดทอง
โสธร เพี้ยนมาจากโสทร แปลว่าพี่น้องร่วมท้อง
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่