.
.
© Marina Hurley
.
.
.
Dr Marina Hurley
and her stinging tree research
.
.

.
.
.
Marina Hurley นักกีฏวิทยา นักนิเวศวิทยา
อุทิศตัวให้กับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์
จากผลการทดลองในช่วง 3 ปี
ที่ Atherton Tableland รัฐควีนส์แลนด์
เพื่อศึกษา Gympie-Gympie ที่กัดต่อยคนได้
ศึกษาว่ามีสัตว์/แมลงชนิดใดที่กินมันได้
พืชที่มีเหล็กในที่ใบ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า
Dendrocnide Moroides
Gympie-Gympie ส่วนใหญ่จะพบ
ในป่าฝนเขตร้อนทางภาคอีศานออสเตรเลีย
และพื้นที่ป่าดงดิบของมาเลเซีย
ไม้พุ่มนี้เรียกอีกอย่างว่า
ตัวกัดข้อเท้า
ต้นไม้ชนิดนี้สูงได้ถึง 15 ฟุต
แต่ส่วนมากมักจะพบราว 3 ฟุต
นักวิจัยหลายคนไม่กล้าศึกษาต้นไม้ชนิดนี้
เพราะกลัวพิษภัยต้นกัดต่อย/ตำแยเติบ(ใหญ่)
อาการที่ Marina Hurley เจอคือ
เกิดอาการจาม อักเสบที่ดวงตาและจมูก
เป็นเวลานานหลายชั่วโมงในวันแรก
แม้ว่าจะใส่หน้ากากป้องกันอนุภาค/ถุงมือยาว
ก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงจากการสัมผัส
ละอองเกสร เรณู เหล็กในพืชชนิดนี้ได้
ทำให้ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล
แต่นั่นก็เทียบไม่ได้กับอาการแพ้รุนแรงของเธอ
“ การถูกกัดต่อยเป็นความเจ็บปวดที่แย่ที่สุด
เกินกว่าที่คุณจะจินตนาการได้
เพราะมันเหมือนถูกสาดด้วยกรดร้อน
และถูกไฟฟ้าชอร์ทไปพร้อม ๆ กัน
อาการแพ้ที่เกิดขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป
ทำให้เกิดอาการคันอย่างรุนแรง
แล้วเกิดเป็นลมพิษตามมามากขึ้น
จนต้องได้รับการรักษาด้วยสเตียรอยด์ในที่สุด
เมื่อถึงจุดนั้นแล้ว
แพทย์ของฉันก็แนะนำว่า
ฉันไม่ควรสัมผัสกับพืชชนิดนี้อีกต่อไป
และฉันก็ไม่ได้คัดค้านเรื่องนี้ ”
Marina Hurley ตอนนั้นเป็นนักศึกษา
ระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเจมส์คุก
ศึกษาเรื่องสัตว์/แมลงที่กินพืชชนิดนี้ได้
.
.
Dendrocnide Moroides
.

.
.
.
Gympie-Gympie ต้นกล้าอ่อน
.
.
.
Gympie-Gympie ที่ Crystal Cascades
ใกล้กับ Cairns รัฐ Queensland
มิถุนายน 2021 (ต้นกล้าอ่อน)
.
.
.
Inflorescence ช่อดอก
.
.
.
Foliage ใบไม้ Gympie-Gympie
.
.
.
ใบ Gympie-Gympie
.
.
.
ผลและใบ Gympie-Gympie
.
.
.
ผล Gympie-Gympie
.
.
.
Gympie-Gympie สูงราว 3 เมตร
.
.
.
ภาพจำลองตัดขวาง
Trichome ขน/หนาม/เหล็กในของ
ต้น
Urtica dioica มีโครงสร้างพื้นฐาน
ใกล้เคียงกับต้น
Dendrocnide moroides
.
.
.
เธอไม่ได้เป็นเพียงคนเดียว
ที่มีปฏิกิริยาแพ้ต่อพืชชนิดนี้
ซึ่งเป็นหนึ่งในหกสายพันธุ์
ของพืชกัดต่อยที่มีพิษที่พบในออสเตรเลีย
และเป็นหนึ่งในพืชที่มีพิษมากที่สุดที่นี่
ต้นไม้ที่กัดต่อย Gympie-Gympie
เติบโตในบริเวณที่โล่งของป่าฝน
ตามแนวลำห้วลำรางเล็ก ๆ มาเป็นเวลานาน
ขนที่ปกคลุมลำต้น ใบ และผลของพืช
เป็นอันตรายต่อคน คนป่าไม้ นักสำรวจ
คนงาน นักวิทยาศาสตร์และนักเดินป่า
ซึ่งทุกวันนี้จะมีการปัองกันเบื้องต้นด้วย
เครื่องช่วยหายใจ ถุงมือหนา
และยาป้องกันประเภท
Antihistamine
A.C. Macmillan นักสำรวจถนน
ในนอร์ทควีนส์แลนด์ ออสเตรเลีย
เป็นหนึ่งในคนกลุ่มแรก ๆ ที่บันทึก
เรื่องผลกระทบของต้นไม้ที่กัดต่อย
โดยรายงานต่อหัวหน้างานในปี 1866
ม้าบรรทุกสัมภาระถูกพืชชนิดนี้กัดต่อย
มันโมโห/เจ็บปวดมากและตายภายใน 2 ชั่วโมง
นิทานพื้นบ้านที่คล้ายคลึงกันก็มีมากมาย
เกี่ยวกับม้ากระโดดจากหน้าผาให้ตาย
คนงานป่าไม้กัดกินเนื้อตนเองอย่างบ้าคลั่ง
เพื่อขจัดความเจ็บปวดรวดร้าวที่ยากจะรักษา
ในปี 1994
Cyril Bromley อดีตนายทหารชาวออสเตรเลีย
ได้เขียนจดหมายถึง Marina Hurley เล่าว่า
" ผมตกลงไปบนต้นไม้ที่กัดต่อยได้
ระหว่างการฝึกทหารบนพื้นที่ราบ
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ทั้งตัวผมมีเหล็กในเยอะเกินกว่าจะนับได้
ผมถูกมัดไว้บนเตียงของโรงพยาบาล
กินเวลานานสามสัปดาห์เพื่อให้การรักษา
ที่ไม่ประสบความสำเร็จทุกรูปแบบ
ผมถูกส่งตัวไปที่โรงพยาบาลอีกแห่ง
เพราะมีอาการบ้าเหมือนคนถูกงูกัด
ผมเต็มไปด้วยความเจ็บปวด
และมีเจ้าหน้าที่คนหนึ่งยิงตัวตาย
หลังจากใช้ใบต้นไม้ที่กัดต่อยนี้
ทำเป็นกระดาษชำระโดยไม่รัถึงพิษภัย"
.
.
.
.
ในปี 1963
Ernie Rider เจ้าหน้าที่อนุรักษ์อาวุโส
Queensland Parks and Wildlife Service
ยังจำได้ไม่มีวันลืมถึงวันที่ถูกต้นไม้กัดต่อย
เข้าที่บริเวณใบหน้า แขน และหน้าอก
“ ผมจำได้ว่ารู้สึกเหมือนมีมือยักษ์
พยายามบีบหน้าอกของผม
เจ็บปวดแทบจะทนไม่ไหวยาวนาน 2-3 วัน
ผมไม่สามารถทำงานหรือนอนหลับได้เลย
ความเจ็บปวดนั้นค่อนข้างแย่มาก
ยาวนานไปอีก 2 สัปดาห์หรือราว ๆ นั้น
อาการคันยังคงอยู่เป็นเวลา 2 ปี
และเกิดขึ้นอีกทุกครั้ง ที่ผมอาบน้ำเย็น
ตลอดระยะเวลาที่ทำงานมา 44 ปี
ในการทำงานบริเวณพุ่มไม้ต่าง ๆ
ไม่มีต้นไม้ชนิดไหนที่สร้างความเจ็บปวด
เท่ากับต้น Gympie-Gympie ได้เลย
ไม่มีอะไรจะสู้กับมันได้ หรือเหนือกว่ามัน
มันแย่กว่าอย่างอื่น ๅ ถึง 10 เท่า
เหนือกว่าเห็บกัด ต่อต่อย หรือพุ่มไม้ค้นอื่น ๆ
Gympie-Gympie ต้นไม้กัดต่อยนี้
เป็นอันตรายร้ายแรงอย่างแท้จริงจนทุกวันนี้ ”
.
.
.

.
.
.
Giant Cassowaries are Modern-day Dinosaurs
| Seven Worlds, One Planet | BBC Earth
.
.
.
.
.
.
.
.
.
Les Moore เจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์
CSIRO Division of Wildlife and Ecology
ในรัฐควีนส์แลนด์ ซึ่งอยู่ใกล้กับ
Bartle Frere (North Peak)
ที่ศึกษาเรื่อง
Cassowaries กล่าวว่า
" ผมเคยถูกต้นไม้ชนิดนี้กัดต่อย
ที่ใบหน้าเมื่อหลายปีก่อน
ทำให้คล้ายกับ
Mr Potato Head
ผมคิดว่า ผมมีอาการช็อก
และต้องใช้เวลาหลายวันกว่าจะมองเห็นได้
ภายในไม่กี่นาทีแรก อาการปวดแสบร้อน
และแสบร้อนมากในครั้งแรกก็รุนแรงขึ้น
และดวงตามผมเเจ็บปวดมาก
เหมือนกับว่ามีคนราดกรดลงบนดวงตา
ปากและลิ้นของผมบวมมาก จนหายใจลำบาก
มันทำให้ร่างกายผมอ่อนแอลงไปมาก
และผมคลานออกจากพุ่มไม้นัไม่ได้เลย ”
.
.
.
.
.
ต้นไม้กัดต่อยที่มีปฏิกิริยาที่รวดเร็วและดุร้ายนี้
ได้จุดประกายความสนใจของกองทัพอังกฤษ
ในการใช้งานต้นไม้กัดต่อย Gympie-Gympie
ในปี 1968
สถาบันป้องกันสารเคมี Porton Down
(ห้องปฏิบัติการลับสุดยอดที่พัฒนาอาวุธเคมี)
ได้ว่าจ้าง
Alan Seawright
ศาสตราจารย์ด้านพยาธิวิทยา
มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์
เพื่อส่งตัวอย่างต้นไม้ที่กัดต่อยให้อังกฤษ
“ การทำสงครามเคมีเป็นงานของพวกเขา
ดังนั้นผมจึงคิดว่า ที่พวกเขาขอตัวอย่างไป
พวกเขากำลังตรวจสอบศักยภาพ
ของต้น Gympie-Gympie
ไปทดสอบฐานะอาวุธเคมีชีวภาพ
และผมไม่ได้ยินอะไรเรื่องนี้อีกแล้ว
ดังนั้น ผมคิดว่าเราไม่มีทางรู้เลยว่า
พวกเขาทำเสร็จแล้วหรือยัง ”
Alan Seawright
ที่ปรึกษาด้านการวิจัยกิตติมศักดิ์
ศูนย์วิจัยพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม
มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ สรุป
.
.
Gympie-Gympie พืชมีพิษอันตรายที่สุดในโลก
.
© Marina Hurley
.
.
.
Dr Marina Hurley
and her stinging tree research
.
.
.
Marina Hurley นักกีฏวิทยา นักนิเวศวิทยา
อุทิศตัวให้กับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์
จากผลการทดลองในช่วง 3 ปี
ที่ Atherton Tableland รัฐควีนส์แลนด์
เพื่อศึกษา Gympie-Gympie ที่กัดต่อยคนได้
ศึกษาว่ามีสัตว์/แมลงชนิดใดที่กินมันได้
พืชที่มีเหล็กในที่ใบ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า
Dendrocnide Moroides
Gympie-Gympie ส่วนใหญ่จะพบ
ในป่าฝนเขตร้อนทางภาคอีศานออสเตรเลีย
และพื้นที่ป่าดงดิบของมาเลเซีย
ไม้พุ่มนี้เรียกอีกอย่างว่า ตัวกัดข้อเท้า
ต้นไม้ชนิดนี้สูงได้ถึง 15 ฟุต
แต่ส่วนมากมักจะพบราว 3 ฟุต
นักวิจัยหลายคนไม่กล้าศึกษาต้นไม้ชนิดนี้
เพราะกลัวพิษภัยต้นกัดต่อย/ตำแยเติบ(ใหญ่)
อาการที่ Marina Hurley เจอคือ
เกิดอาการจาม อักเสบที่ดวงตาและจมูก
เป็นเวลานานหลายชั่วโมงในวันแรก
แม้ว่าจะใส่หน้ากากป้องกันอนุภาค/ถุงมือยาว
ก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงจากการสัมผัส
ละอองเกสร เรณู เหล็กในพืชชนิดนี้ได้
ทำให้ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล
แต่นั่นก็เทียบไม่ได้กับอาการแพ้รุนแรงของเธอ
“ การถูกกัดต่อยเป็นความเจ็บปวดที่แย่ที่สุด
เกินกว่าที่คุณจะจินตนาการได้
เพราะมันเหมือนถูกสาดด้วยกรดร้อน
และถูกไฟฟ้าชอร์ทไปพร้อม ๆ กัน
อาการแพ้ที่เกิดขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป
ทำให้เกิดอาการคันอย่างรุนแรง
แล้วเกิดเป็นลมพิษตามมามากขึ้น
จนต้องได้รับการรักษาด้วยสเตียรอยด์ในที่สุด
เมื่อถึงจุดนั้นแล้ว
แพทย์ของฉันก็แนะนำว่า
ฉันไม่ควรสัมผัสกับพืชชนิดนี้อีกต่อไป
และฉันก็ไม่ได้คัดค้านเรื่องนี้ ”
Marina Hurley ตอนนั้นเป็นนักศึกษา
ระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเจมส์คุก
ศึกษาเรื่องสัตว์/แมลงที่กินพืชชนิดนี้ได้
.
Dendrocnide Moroides
.
.
.
Gympie-Gympie ต้นกล้าอ่อน
.
.
.
Gympie-Gympie ที่ Crystal Cascades
ใกล้กับ Cairns รัฐ Queensland
มิถุนายน 2021 (ต้นกล้าอ่อน)
.
.
.
Inflorescence ช่อดอก
.
.
.
Foliage ใบไม้ Gympie-Gympie
.
.
.
ใบ Gympie-Gympie
.
.
.
ผลและใบ Gympie-Gympie
.
.
.
ผล Gympie-Gympie
.
.
.
Gympie-Gympie สูงราว 3 เมตร
.
.
.
ภาพจำลองตัดขวาง
Trichome ขน/หนาม/เหล็กในของ
ต้น Urtica dioica มีโครงสร้างพื้นฐาน
ใกล้เคียงกับต้น Dendrocnide moroides
.
.
เธอไม่ได้เป็นเพียงคนเดียว
ที่มีปฏิกิริยาแพ้ต่อพืชชนิดนี้
ซึ่งเป็นหนึ่งในหกสายพันธุ์
ของพืชกัดต่อยที่มีพิษที่พบในออสเตรเลีย
และเป็นหนึ่งในพืชที่มีพิษมากที่สุดที่นี่
ต้นไม้ที่กัดต่อย Gympie-Gympie
เติบโตในบริเวณที่โล่งของป่าฝน
ตามแนวลำห้วลำรางเล็ก ๆ มาเป็นเวลานาน
ขนที่ปกคลุมลำต้น ใบ และผลของพืช
เป็นอันตรายต่อคน คนป่าไม้ นักสำรวจ
คนงาน นักวิทยาศาสตร์และนักเดินป่า
ซึ่งทุกวันนี้จะมีการปัองกันเบื้องต้นด้วย
เครื่องช่วยหายใจ ถุงมือหนา
และยาป้องกันประเภท Antihistamine
A.C. Macmillan นักสำรวจถนน
ในนอร์ทควีนส์แลนด์ ออสเตรเลีย
เป็นหนึ่งในคนกลุ่มแรก ๆ ที่บันทึก
เรื่องผลกระทบของต้นไม้ที่กัดต่อย
โดยรายงานต่อหัวหน้างานในปี 1866
ม้าบรรทุกสัมภาระถูกพืชชนิดนี้กัดต่อย
มันโมโห/เจ็บปวดมากและตายภายใน 2 ชั่วโมง
นิทานพื้นบ้านที่คล้ายคลึงกันก็มีมากมาย
เกี่ยวกับม้ากระโดดจากหน้าผาให้ตาย
คนงานป่าไม้กัดกินเนื้อตนเองอย่างบ้าคลั่ง
เพื่อขจัดความเจ็บปวดรวดร้าวที่ยากจะรักษา
ในปี 1994
Cyril Bromley อดีตนายทหารชาวออสเตรเลีย
ได้เขียนจดหมายถึง Marina Hurley เล่าว่า
" ผมตกลงไปบนต้นไม้ที่กัดต่อยได้
ระหว่างการฝึกทหารบนพื้นที่ราบ
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ทั้งตัวผมมีเหล็กในเยอะเกินกว่าจะนับได้
ผมถูกมัดไว้บนเตียงของโรงพยาบาล
กินเวลานานสามสัปดาห์เพื่อให้การรักษา
ที่ไม่ประสบความสำเร็จทุกรูปแบบ
ผมถูกส่งตัวไปที่โรงพยาบาลอีกแห่ง
เพราะมีอาการบ้าเหมือนคนถูกงูกัด
ผมเต็มไปด้วยความเจ็บปวด
และมีเจ้าหน้าที่คนหนึ่งยิงตัวตาย
หลังจากใช้ใบต้นไม้ที่กัดต่อยนี้
ทำเป็นกระดาษชำระโดยไม่รัถึงพิษภัย"
.
.
.
ในปี 1963
Ernie Rider เจ้าหน้าที่อนุรักษ์อาวุโส
Queensland Parks and Wildlife Service
ยังจำได้ไม่มีวันลืมถึงวันที่ถูกต้นไม้กัดต่อย
เข้าที่บริเวณใบหน้า แขน และหน้าอก
“ ผมจำได้ว่ารู้สึกเหมือนมีมือยักษ์
พยายามบีบหน้าอกของผม
เจ็บปวดแทบจะทนไม่ไหวยาวนาน 2-3 วัน
ผมไม่สามารถทำงานหรือนอนหลับได้เลย
ความเจ็บปวดนั้นค่อนข้างแย่มาก
ยาวนานไปอีก 2 สัปดาห์หรือราว ๆ นั้น
อาการคันยังคงอยู่เป็นเวลา 2 ปี
และเกิดขึ้นอีกทุกครั้ง ที่ผมอาบน้ำเย็น
ตลอดระยะเวลาที่ทำงานมา 44 ปี
ในการทำงานบริเวณพุ่มไม้ต่าง ๆ
ไม่มีต้นไม้ชนิดไหนที่สร้างความเจ็บปวด
เท่ากับต้น Gympie-Gympie ได้เลย
ไม่มีอะไรจะสู้กับมันได้ หรือเหนือกว่ามัน
มันแย่กว่าอย่างอื่น ๅ ถึง 10 เท่า
เหนือกว่าเห็บกัด ต่อต่อย หรือพุ่มไม้ค้นอื่น ๆ
Gympie-Gympie ต้นไม้กัดต่อยนี้
เป็นอันตรายร้ายแรงอย่างแท้จริงจนทุกวันนี้ ”
.
.
.
.
Giant Cassowaries are Modern-day Dinosaurs
| Seven Worlds, One Planet | BBC Earth
.
.
.
.
.
.
.
.
Les Moore เจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์
CSIRO Division of Wildlife and Ecology
ในรัฐควีนส์แลนด์ ซึ่งอยู่ใกล้กับ
Bartle Frere (North Peak)
ที่ศึกษาเรื่อง Cassowaries กล่าวว่า
" ผมเคยถูกต้นไม้ชนิดนี้กัดต่อย
ที่ใบหน้าเมื่อหลายปีก่อน
ทำให้คล้ายกับ Mr Potato Head
ผมคิดว่า ผมมีอาการช็อก
และต้องใช้เวลาหลายวันกว่าจะมองเห็นได้
ภายในไม่กี่นาทีแรก อาการปวดแสบร้อน
และแสบร้อนมากในครั้งแรกก็รุนแรงขึ้น
และดวงตามผมเเจ็บปวดมาก
เหมือนกับว่ามีคนราดกรดลงบนดวงตา
ปากและลิ้นของผมบวมมาก จนหายใจลำบาก
มันทำให้ร่างกายผมอ่อนแอลงไปมาก
และผมคลานออกจากพุ่มไม้นัไม่ได้เลย ”
.
.
.
ต้นไม้กัดต่อยที่มีปฏิกิริยาที่รวดเร็วและดุร้ายนี้
ได้จุดประกายความสนใจของกองทัพอังกฤษ
ในการใช้งานต้นไม้กัดต่อย Gympie-Gympie
ในปี 1968
สถาบันป้องกันสารเคมี Porton Down
(ห้องปฏิบัติการลับสุดยอดที่พัฒนาอาวุธเคมี)
ได้ว่าจ้าง Alan Seawright
ศาสตราจารย์ด้านพยาธิวิทยา
มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์
เพื่อส่งตัวอย่างต้นไม้ที่กัดต่อยให้อังกฤษ
“ การทำสงครามเคมีเป็นงานของพวกเขา
ดังนั้นผมจึงคิดว่า ที่พวกเขาขอตัวอย่างไป
พวกเขากำลังตรวจสอบศักยภาพ
ของต้น Gympie-Gympie
ไปทดสอบฐานะอาวุธเคมีชีวภาพ
และผมไม่ได้ยินอะไรเรื่องนี้อีกแล้ว
ดังนั้น ผมคิดว่าเราไม่มีทางรู้เลยว่า
พวกเขาทำเสร็จแล้วหรือยัง ”
Alan Seawright
ที่ปรึกษาด้านการวิจัยกิตติมศักดิ์
ศูนย์วิจัยพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม
มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ สรุป
.
.