ไทยหรืออินโดนีเซียใครมีโอกาสที่teslaจะมาลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้ามากกว่ากันครับ

ไทยกับอินโดนีเซียต่างก็ต้องการเป็นHub Evด้วยกันทั้งนั้นต่างพยายามดึงการลงทุนทั้งผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้า. ประกอบ หรือผลิตรถเลย. มีอยู่แบรนด์นึงคือteslaมหาอำนาจด้านยานยนต์ไฟฟ้าของโลกที่ทั้งไทยและอินโดนีเซียต่างต้องการดึงมาลงทุนในประเทศตัวเองคิดว่าteslaจะมาลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่ไทยหรืออินโดนีเซียครับแล้วใครมีข้อได้เปรียบหรือโอกาสมากกว่ากัน

สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 12
ไทยมีโอกาสมากกว่าชนิดเทียบกันไม่ได้ แต่ทั้งนี้ในช่วงเวลา 5 ปีถัดจากนี้โอกาสของทั้ง 2 ประเทศคือ 0% ถ้าเป็น 10 ปีไทยอาจจะมีโอกาสซัก 25% ส่วนอินโดก็ 0% เหมือนเดิม

ที่รถจีนแห่มาลงทุนผลิต BEV ในไทยนี่ด้วยเหตุผลอะไรล่ะครับ ค่ายรถจีนโง่จนไม่รู้เหรอไทยไม่มีแร่จะทำแบตเตอรี่ ค่ายรถจีนโง่จนไม่รู้เหรอไทยมีประชากรน้อยกว่าอินโดนีเซีย ค่ายรถจีนเห็นอะไรในสิ่งที่คนในอุตสาหกรรมยานยนต์รู้แต่คนนอกไม่รู้อีกเยอะครับ และเมื่อค่ายจีนเห็น TESLA ก็ต้องต้องเห็นเช่นกัน

แต่อุปสรรคที่ขวางกั้นการตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของ TESLA ใน ASEAN คือ ราคา, Demand และต้นทุนที่ยังไม่สามารถตอบโจทย์ความคุ้มทุนได้ ก่อน GM จะม้วนเสื่อลาประเทศไทยไป โรงงาน GM ที่ระยองมียอดผลิตเฉลี่ยประมาณ 5-6 หมื่นคันต่อปี เพราะฉะนั้นโรงงานไซส์ขนาด Giagafactory มันต้องมียอดผลิตอย่างน้อยๆ 1.5 แสนคันต่อปีจึงจะรอด แล้วมันจะเอา Demand ขนาดนั้นจากไหนใน ASEAN+ANZ ในตอนนี้กับรถราคาเกิน 2 ล้านบาท ทุกวันนี้ Camry กับ Accord ซึ่งมีราคารุ่นท็อปเกือบ 2 ล้านบาท ยังมียอดผลิตเพื่อขายในไทยและส่งออกรวมกันทั้ง 2 รุ่นต่อปียังไม่ถึงครึ่งของ 1.5 แสนคันเลย เอาจริงๆทั้ง Camry กับ Accord ที่ผลิตในไทยส่งขายทั่ว ASEAN, ANZ แลประเทศอื่นๆนอกเหนือจากนี้อีก เคยมียอดผลิตต่อปีรวมกันสูงสุดเพียงไม่เกิน 3.5 หมื่นคันต่อปีเท่านั้นเอง ห่างจากยอดผลิตที่คุ้มทุนถึง 4 เท่า

เมื่อหันไปดูด้านต้นทุนยิ่งไปกันใหญ่เพราะปัจจุบันโรงงานของ TESLA ตั้งอยู่ในอเมริกา จีน และเยอรมัน ซึ่งเป็นแหล่งผลิตรถยนต์ชั้นนำของโลก มีเทคโนโลยีครบครัน สามารถผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้าได้เองภายในประเทศหรือภายในกลุ่มประเทศ EU ได้ 100% หรือเกือบ 100% ทำให้มีต้นทุนที่ต่ำ ในขณะที่ ASEAN ซึ่งง่อยมากเรื่องเทคโนโลยีทุกวันนี้ยังผลิตชิ้นส่วน Core ของรถยนต์สันดาปไม่ได้เลย ชิ้นส่วน BEV ที่สำคัญๆยิ่งไม่ต้องพูดถึงแทบจะ 0% ต้องนำเข้าล้วนๆ เมื่อนำเข้าแม้จะได้รับการยกเว้นอากรจากการส่งเสริมการลงทุนแต่ด้วย Volume ที่ต่ำ ค่าขนส่ง และการจัดตั้งระบบการรับประกันและสนับสนุนการขายโพ้นทะเลของ Supplier ต่างๆจะทำให้ราคามันโดน Mark up ขึ้นกระจุยกระจาย ผลก็คือต้นทุนของ TESLA ที่ผลิตใน ASEAN จะสูงกว่า TESLA ที่ผลิตในอเมริกา จีน หรือเยอรมัน ซึ่งราคาปัจจุบันแม้จะคิดแบบตัดอากรนำเข้าออกไปคน ASEAN ส่วนใหญ่ก็ยังไม่มีปัญญาซื้อ แล้วเมื่อต้นทุนมันสูงขึ้นไปอีกราคาขายก็ต้องเพิ่มขึ้นแล้วยอดขายมันจะเหลือเท่าไหร่ และเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วไทยที่มี Supplier ในประเทศมากกว่า บวกกับ Supplier Development ของรถยนต์ไฟฟ้าค่ายจีนแล้วมันก็ยังไม่พอเลย แล้วอินโดที่ตอนนี้กระจอกงอกง่อยกว่าไทยเสียอีกมันจะเหลืออะไรให้น่าสนใจ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่