สวัสดีค่ะ นี่เป็นกระทู้แรกที่เราเขียน เล่าก่อนว่า
เราเป็นข้าราชการที่หน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง ก่อนหน้านี้เคยทำงานในบริษัทเอกชน ทำตั้งแต่จบใหม่ ทำได้ประมาณ 3 ปี และอยากลองสอบบรรจุราชการ เนื่องจากเหตุผลความมั่นคงในอาชีพ และความภูมิใจของพ่อแม่ เราจึงลาออกจากบริษัทเอกชน และมาสอบบรรจุราชการ ตอนนี้บรรจุมาได้ประมาณ 3 ปี ตัวงานที่เราทำอยู่ต้องบอกก่อนว่าตรงกับสายที่เรียนมา ทำให้เรื่องงานไม่มีอะไรต้องกังวล เราแฮปปี้กับตัวงานมาก แต่เรากลับต้องมารู้สึกกังวลใจ และอึดอัดใจกับนิสัยของหัวหน้างาน ที่เรารู้สึกว่าแปลกจากหัวหน้างานคนอื่นที่เราเคยเจอมาในหลายๆ เรื่อง
ต้องบอกก่อนว่าหัวหน้างานคนนี้อายุประมาณ 40 ต้นๆ ก่อนหน้านี้ก็ทำงานอยู่บริษัทเอกชน แต่ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในงานเฉพาะด้าน ทำให้หัวหน้างานใหญ่ทาบทามให้มาทำงานในหน่วยงานราชการนี้ในตำแหน่งของหัวหน้าหน่วยงาน และได้รับความช่วยเหลือให้ได้บรรจุรับราชการตามระบบเส้นสาย จนถึงปัจจุบัน
นิสัยที่เรามองว่าแปลกคือ
1. หัวหน้าคนนี้มักจะบริหารลูกน้องแบบแบ่งฝักแบ่งฝ่าย คือ ในหลายครั้งที่เมื่อหัวหน้าไม่ถูกใจใครในแผนก จะสร้างไลน์กลุ่มย่อยขึ้นมานอกเหนือจากไลน์กลุ่มหลักของแผนก ลักษณะคือไลน์กลุ่มย่อยนี้จะมีเฉพาะลูกน้องคนที่หัวหน้าชอบใจ จะไม่ดึงเอาลูกน้องคนที่ตัวเองไม่ชอบ และจะเปิดประเด็นแนวซุบซิบนินทาคนที่ไม่ถูกดึงเข้ากลุ่ม โดยเรื่องที่ถูกพูดถึงส่วนมากจะเป็นการวิจารณ์นิสัยส่วนตัว ครอบครัว น้อยมากที่จะเป็นเรื่องงาน และไม่ใช่เพียงครั้งเดียว แต่จะเป็นแบบนี้ในหลายๆ ครั้ง
2. เมื่อมีเหตุการณ์ขัดแย้งหรือผิดใจกันของลูกน้องในแผนก หัวหน้าจะรับบทไกล่เกลี่ยเรื่องราว แต่ในการมาไกล่เกลี่ยนั้น กลับพูดจาให้ลูกน้องทั้งสองยิ่งเกิดความเข้าใจผิดกันมากขึ้น ในลักษณะคือ จะเรียกเข้าไปพูดคุยตักเตือนเป็นรายบุคคล และจะพูดใส่ความอีกคน คือพูดไม่ตรงกันในแต่ละคน สิ่งที่ทำให้ความจริงปรากฏคือ เมื่อลูกน้องสองคนเกิดความเอะใจและมาเปิดใจเคลียร์กันอีกครั้ง โดยครั้งนี้ไม่มีหัวหน้างาน จึงได้พบความจริงว่าสิ่งที่หัวหน้าพูดกับทั้งสองคนนั้นไม่ตรงกัน มีการบิดเบือนทำให้ทั้งสองคนเกิดความเข้าใจผิด และบาดหมางกันมากขึ้น
3. ไม่อยากใช้คำว่า อิจฉาริษยา แต่หัวหน้างานคนนี้จะไม่ยินดีนักหากลูกน้องมีเรื่องราวดีๆ หรือมีความสุขในชีวิต เช่น ลูกน้องแต่งงาน ลับหลังก็จะปล่อยข่าวลือกับแผนกอื่นว่าลูกน้องในแผนกท้องก่อนแต่ง ซึ่งไม่ใช่ความจริง หรือเลือกไปร่วมแสดงความยินดีเฉพาะลูกน้องคนที่ตนเองชอบ ทั้งๆที่ทุกคนล้วนเป็นลูกน้องในแผนกเท่ากัน หรือถ้ากรณีลูกน้องขึ้นบ้านใหม่ ถอยรถใหม่ป้ายแดง ซื้อโทรศัพท์รุ่นใหม่ ก็จะพูดจาเหน็บแหนม แต่สักพักตนเองก็จะไปถอยรถใหม่ป้ายแดงคันที่เหมือนกัน หรือโทรศัพท์รุ่นที่เหมือนกัน รุ่นเดียวกัน หรือบางทีก็รุ่นใหม่กว่ามาใช้ตาม
4. ในเรื่องงาน กรณีมีประชุมหัวหน้าจะพยายามหลีกเลี่ยงการเข้าประชุม แต่จะมอบหมายให้ลูกน้องเข้าประชุมแทนในนามหัวหน้า โดยหัวหน้าเองก็ไม่ได้ติดภาระกิจใดๆ แต่อ้างว่ามีงานต้องจัดการ ซึ่งความเป็นจริงคือทำธุระส่วนตัว ยกเว้นการประชุมนอกสถานที่ หรือต่างจังหวัด คือ ได้ประชุม + เที่ยว กรณีนั้นหัวหน้าจะจัดรายชื่อส่งตัวเองเข้าประชุม พร้อมลูกน้องคนสนิท ยิ่งการประชุมหรือสัมนาต่างประเทศจะยิ่งถูกใจเป็นกรณีพิเศษ
5. ในเรื่องการประเมินงาน ลูกน้องคนที่หัวหน้าเลือกแล้วว่าเป็นคนของตน ก็จะได้รับการประเมินในระดับดี-ดีมาก แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะได้แค่ระดับต่ำ-ปานกลาง ซึ่งในมุมมองของเราและคนอื่นที่มอง คือ คนที่ได้คะแนนน้อยนั้นกลับทำงานเก่ง ละเอียด และรอบคอบกับงานมาก และมีความรับผิดชอบในหน้าที่ และเมื่อสอบถามหัวหน้าจะให้เหตุผลเกณฑ์เรื่องสุขภาพมาอ้าง และหักคะแนนในการประเมิน เช่น BMI เกินกว่าค่ามาตรฐานเป็นต้น
6. ในการพิจารณาวันหยุดและวันลา หลายครั้งที่มีความไม่สมเหตุสมผล และสองมาตรฐาน ยกตัวอย่างเช่น ลูกน้องสองคนลูกไม่สบาย คนหนึ่งเป็นลูกน้องคนสนิท สามารถลาได้โดยง่ายโทรลาวันนี้พรุ่งนี้ลาได้เลย แต่ลูกน้องอีกคนต้องมีหลักฐาน มีใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลรัฐบาลเท่านั้น ว่าลูกป่วยจริงจึงจะสามารถลาได้ ไม่สามารถใช้ใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลเอกชนได้ ซึ่งอันนี้ตัว จขกท สงสัยมากว่ามีกฏข้อนี้อยู่ในระเบียบราชการด้วย? บางครั้งการติดต่อหัวหน้าก็ไม่สามารถติดต่อได้ หรือติดต่อได้ยาก ส่งข้อความไปไม่อ่าน ไม่ตอบกลับ หรือโทรแล้วไม่รับสาย ซึ่งมีผลทำให้ไม่ได้ลา เป็นต้น
7. เมื่อหัวหน้าเกิดความโกรธ บ่อยครั้งจะขาดความยับยั้ง และการจัดการวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่เหมาะสมยกตัวอย่างเช่น จะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวที่แสดงออกรุนแรง เช่น พูดตะโกนเสียงดังด้วยคำพูดที่ไม่สุภาพ ใช้ความรุนแรงกับสิ่งของเช่น วางของกระแทกกับพื้นแรงๆ หรือ ปิดประตูกระแทกให้เกิดเสียงดัง ที่แสดงให้ผู้ร่วมงานคนอื่นรับรู้ถึงความโกรธและไม่พอใจของตน เป็นต้น
ทั้งนี้ทั้งนั้น สิ่งที่ จขกท ยกมาเป็นแค่เรื่องราวบางส่วนถือเป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ที่ทำให้สภาพแวดล้อมการทำงานเกิดความอึดอัด สะสมเป็นความเครียดที่ไม่ได้เกิดจากตัวงาน จึงอยากขอคำแนะนำ และสอบถามความคิดเห็นจากเพื่อนๆ และพี่ๆ ในพันทิปว่าเคยมีใครเคยเจอหัวหน้างานลักษณะแบบนี้ไหม และคุณมีวิธีรับมือหรือจัดการความคิดของตนเองอย่างไร ให้สามารถทำงานต่อได้อย่างมีความสุข
จขกท มองว่า เพราะจริงๆ แล้ว สุขภาพจิตใจเอง ก็สำคัญไม่แพ้สุขภาพกาย จขกท รักในงานนี้มาก และด้วยโอกาสที่ได้มานั้นไม่ง่าย จึงไม่อยากละทิ้งความพยายามไป ทำให้พ่อแม่ผิดหวัง แต่ก็ยอมรับตามตรงว่าท้อใจมาก กับสภาวะแวดล้อมในสถานที่ทำงาน ที่ต้องเจอในแต่ละวัน ได้แต่บอกให้ตัวเองอดทน อดทน และอดทน แบบนี้ต่อไปค่ะ
เจอหัวหน้างานประเภทนี้ คุณมีวิธีรับมืออย่างไร
เราเป็นข้าราชการที่หน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง ก่อนหน้านี้เคยทำงานในบริษัทเอกชน ทำตั้งแต่จบใหม่ ทำได้ประมาณ 3 ปี และอยากลองสอบบรรจุราชการ เนื่องจากเหตุผลความมั่นคงในอาชีพ และความภูมิใจของพ่อแม่ เราจึงลาออกจากบริษัทเอกชน และมาสอบบรรจุราชการ ตอนนี้บรรจุมาได้ประมาณ 3 ปี ตัวงานที่เราทำอยู่ต้องบอกก่อนว่าตรงกับสายที่เรียนมา ทำให้เรื่องงานไม่มีอะไรต้องกังวล เราแฮปปี้กับตัวงานมาก แต่เรากลับต้องมารู้สึกกังวลใจ และอึดอัดใจกับนิสัยของหัวหน้างาน ที่เรารู้สึกว่าแปลกจากหัวหน้างานคนอื่นที่เราเคยเจอมาในหลายๆ เรื่อง
ต้องบอกก่อนว่าหัวหน้างานคนนี้อายุประมาณ 40 ต้นๆ ก่อนหน้านี้ก็ทำงานอยู่บริษัทเอกชน แต่ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในงานเฉพาะด้าน ทำให้หัวหน้างานใหญ่ทาบทามให้มาทำงานในหน่วยงานราชการนี้ในตำแหน่งของหัวหน้าหน่วยงาน และได้รับความช่วยเหลือให้ได้บรรจุรับราชการตามระบบเส้นสาย จนถึงปัจจุบัน
นิสัยที่เรามองว่าแปลกคือ
1. หัวหน้าคนนี้มักจะบริหารลูกน้องแบบแบ่งฝักแบ่งฝ่าย คือ ในหลายครั้งที่เมื่อหัวหน้าไม่ถูกใจใครในแผนก จะสร้างไลน์กลุ่มย่อยขึ้นมานอกเหนือจากไลน์กลุ่มหลักของแผนก ลักษณะคือไลน์กลุ่มย่อยนี้จะมีเฉพาะลูกน้องคนที่หัวหน้าชอบใจ จะไม่ดึงเอาลูกน้องคนที่ตัวเองไม่ชอบ และจะเปิดประเด็นแนวซุบซิบนินทาคนที่ไม่ถูกดึงเข้ากลุ่ม โดยเรื่องที่ถูกพูดถึงส่วนมากจะเป็นการวิจารณ์นิสัยส่วนตัว ครอบครัว น้อยมากที่จะเป็นเรื่องงาน และไม่ใช่เพียงครั้งเดียว แต่จะเป็นแบบนี้ในหลายๆ ครั้ง
2. เมื่อมีเหตุการณ์ขัดแย้งหรือผิดใจกันของลูกน้องในแผนก หัวหน้าจะรับบทไกล่เกลี่ยเรื่องราว แต่ในการมาไกล่เกลี่ยนั้น กลับพูดจาให้ลูกน้องทั้งสองยิ่งเกิดความเข้าใจผิดกันมากขึ้น ในลักษณะคือ จะเรียกเข้าไปพูดคุยตักเตือนเป็นรายบุคคล และจะพูดใส่ความอีกคน คือพูดไม่ตรงกันในแต่ละคน สิ่งที่ทำให้ความจริงปรากฏคือ เมื่อลูกน้องสองคนเกิดความเอะใจและมาเปิดใจเคลียร์กันอีกครั้ง โดยครั้งนี้ไม่มีหัวหน้างาน จึงได้พบความจริงว่าสิ่งที่หัวหน้าพูดกับทั้งสองคนนั้นไม่ตรงกัน มีการบิดเบือนทำให้ทั้งสองคนเกิดความเข้าใจผิด และบาดหมางกันมากขึ้น
3. ไม่อยากใช้คำว่า อิจฉาริษยา แต่หัวหน้างานคนนี้จะไม่ยินดีนักหากลูกน้องมีเรื่องราวดีๆ หรือมีความสุขในชีวิต เช่น ลูกน้องแต่งงาน ลับหลังก็จะปล่อยข่าวลือกับแผนกอื่นว่าลูกน้องในแผนกท้องก่อนแต่ง ซึ่งไม่ใช่ความจริง หรือเลือกไปร่วมแสดงความยินดีเฉพาะลูกน้องคนที่ตนเองชอบ ทั้งๆที่ทุกคนล้วนเป็นลูกน้องในแผนกเท่ากัน หรือถ้ากรณีลูกน้องขึ้นบ้านใหม่ ถอยรถใหม่ป้ายแดง ซื้อโทรศัพท์รุ่นใหม่ ก็จะพูดจาเหน็บแหนม แต่สักพักตนเองก็จะไปถอยรถใหม่ป้ายแดงคันที่เหมือนกัน หรือโทรศัพท์รุ่นที่เหมือนกัน รุ่นเดียวกัน หรือบางทีก็รุ่นใหม่กว่ามาใช้ตาม
4. ในเรื่องงาน กรณีมีประชุมหัวหน้าจะพยายามหลีกเลี่ยงการเข้าประชุม แต่จะมอบหมายให้ลูกน้องเข้าประชุมแทนในนามหัวหน้า โดยหัวหน้าเองก็ไม่ได้ติดภาระกิจใดๆ แต่อ้างว่ามีงานต้องจัดการ ซึ่งความเป็นจริงคือทำธุระส่วนตัว ยกเว้นการประชุมนอกสถานที่ หรือต่างจังหวัด คือ ได้ประชุม + เที่ยว กรณีนั้นหัวหน้าจะจัดรายชื่อส่งตัวเองเข้าประชุม พร้อมลูกน้องคนสนิท ยิ่งการประชุมหรือสัมนาต่างประเทศจะยิ่งถูกใจเป็นกรณีพิเศษ
5. ในเรื่องการประเมินงาน ลูกน้องคนที่หัวหน้าเลือกแล้วว่าเป็นคนของตน ก็จะได้รับการประเมินในระดับดี-ดีมาก แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะได้แค่ระดับต่ำ-ปานกลาง ซึ่งในมุมมองของเราและคนอื่นที่มอง คือ คนที่ได้คะแนนน้อยนั้นกลับทำงานเก่ง ละเอียด และรอบคอบกับงานมาก และมีความรับผิดชอบในหน้าที่ และเมื่อสอบถามหัวหน้าจะให้เหตุผลเกณฑ์เรื่องสุขภาพมาอ้าง และหักคะแนนในการประเมิน เช่น BMI เกินกว่าค่ามาตรฐานเป็นต้น
6. ในการพิจารณาวันหยุดและวันลา หลายครั้งที่มีความไม่สมเหตุสมผล และสองมาตรฐาน ยกตัวอย่างเช่น ลูกน้องสองคนลูกไม่สบาย คนหนึ่งเป็นลูกน้องคนสนิท สามารถลาได้โดยง่ายโทรลาวันนี้พรุ่งนี้ลาได้เลย แต่ลูกน้องอีกคนต้องมีหลักฐาน มีใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลรัฐบาลเท่านั้น ว่าลูกป่วยจริงจึงจะสามารถลาได้ ไม่สามารถใช้ใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลเอกชนได้ ซึ่งอันนี้ตัว จขกท สงสัยมากว่ามีกฏข้อนี้อยู่ในระเบียบราชการด้วย? บางครั้งการติดต่อหัวหน้าก็ไม่สามารถติดต่อได้ หรือติดต่อได้ยาก ส่งข้อความไปไม่อ่าน ไม่ตอบกลับ หรือโทรแล้วไม่รับสาย ซึ่งมีผลทำให้ไม่ได้ลา เป็นต้น
7. เมื่อหัวหน้าเกิดความโกรธ บ่อยครั้งจะขาดความยับยั้ง และการจัดการวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่เหมาะสมยกตัวอย่างเช่น จะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวที่แสดงออกรุนแรง เช่น พูดตะโกนเสียงดังด้วยคำพูดที่ไม่สุภาพ ใช้ความรุนแรงกับสิ่งของเช่น วางของกระแทกกับพื้นแรงๆ หรือ ปิดประตูกระแทกให้เกิดเสียงดัง ที่แสดงให้ผู้ร่วมงานคนอื่นรับรู้ถึงความโกรธและไม่พอใจของตน เป็นต้น
ทั้งนี้ทั้งนั้น สิ่งที่ จขกท ยกมาเป็นแค่เรื่องราวบางส่วนถือเป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ที่ทำให้สภาพแวดล้อมการทำงานเกิดความอึดอัด สะสมเป็นความเครียดที่ไม่ได้เกิดจากตัวงาน จึงอยากขอคำแนะนำ และสอบถามความคิดเห็นจากเพื่อนๆ และพี่ๆ ในพันทิปว่าเคยมีใครเคยเจอหัวหน้างานลักษณะแบบนี้ไหม และคุณมีวิธีรับมือหรือจัดการความคิดของตนเองอย่างไร ให้สามารถทำงานต่อได้อย่างมีความสุข
จขกท มองว่า เพราะจริงๆ แล้ว สุขภาพจิตใจเอง ก็สำคัญไม่แพ้สุขภาพกาย จขกท รักในงานนี้มาก และด้วยโอกาสที่ได้มานั้นไม่ง่าย จึงไม่อยากละทิ้งความพยายามไป ทำให้พ่อแม่ผิดหวัง แต่ก็ยอมรับตามตรงว่าท้อใจมาก กับสภาวะแวดล้อมในสถานที่ทำงาน ที่ต้องเจอในแต่ละวัน ได้แต่บอกให้ตัวเองอดทน อดทน และอดทน แบบนี้ต่อไปค่ะ