🇹🇭💛มาลาริน💛🇹🇭8ส.ค.ไทยไม่ติดTop10โลก/ป่วย1,842คน หายป่วย2,015คน เสียชีวิต34คน/1ต.ค.ปลดโควิดโรคอันตรายเหลือเฝ้าระวัง


https://www.bangkokbiznews.com/social/1019616


https://www.bangkokbiznews.com/social/public_health/1019672

เพี้ยนแคปเจอร์เริ่ม 1 ต.ค.ปลด "โควิด" โรคอันตรายเหลือเฝ้าระวัง ดีเดย์ 1 ก.ย. รพ.ทุกแห่งซื้อยาต้านฯ เอง เชื่อราคาถูกลง



คกก.โรคติดต่อฯ เห็นชอบปลดล็อก "โควิด" จากโรคติดต่ออันตรายเหลือ โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง เริ่ม 1 ต.ค.นี้ พร้อมเปิดช่องให้ รพ.ทุกสังกัดจัดซื้อยาต้านไวรัสรักษาโควิดได้เอง ตั้งแต่ 1 ก.ย. เชื่อราคาถูกลง หลังมีหลายบริษัทขึ้นทะเบียน เพื่อให้ต่ำกว่าราคากลาง สปสช. ด้าน สธ.ชี้เป็นไปตามสเต็ปเหมือนช่วง "หวัดใหญ่ 2009" ส่วนร้านขายยาต้องรอถัดไป

เมื่อวันที่ 8 ส.ค. นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ครั้งที่ 6/2565 ว่า การประชุมวันนี้มีสาระสำคัญ 4 เรื่อง คือ....👇

1.เห็นชอบกรอบนโยบายและแนวทางปฏิบัติในการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 เพื่อขับเคลื่อนการบริหารจัดการหลังกรระบาดใหญ่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งประเทศไทยควบคุมการระบาดได้ ลดความรุนแรงของการเจ็บป่วย และมีระบบสาธารณสุขรองรับได้ ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกาปรรับเรื่องบริหารยา ซึ่งประสานไปยัง รพ.ต่างๆ ทุกสังกัด จะอนุญาตให้ รพ.ต่างๆ สามารถจัดหายาต้านไวรัสเองตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.นี้เป็นต้นไป ส่วนค่าใช้จ่ายรักษาผู้ป่วยยังเบิกจากกองทุน สปสช. เหมือนโรคติดเชื้ออื่น ประชาชนยังรักษาได้ตามสิทธิ

2.เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องยกเลิกชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย พ.ศ. ... และร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง พ.ศ. ... เนื่องจากปรับโควิด จากโรคติดต่ออันตรายเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์โรคในปัจจุบัน แต่ไม่ใช่โรคประจำถิ่น ซึ่งจะเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.เป็นต้นไป ทั้งนี้ เมื่อเป็นโรคติดต่ออันตรายมีขั้นตอน ใช้ทรัพยากรต่างๆ ที่มีมูลค่ามาก ตอนนี้เราประคองสถานการณ์ได้ แม้มีผู้ติดเชื้อแต่อาการป่วยไม่รุนแรง จำนวนการใช้สถานพยาบาล เครื่องมือแพทย์ เครื่องช่วยหายใจ อยู่ในระดับควบคุมได้ ระบบสาธารณสุขรองรับได้ ก็ถึงเวลาสมควรลดระดับลงมา ซึ่งไม่ส่งผลกระทบประชาชน ยังเข้าถึงบริการรับการรักษาได้ วัคซีนเข็มกระตุ้นก็ยังฉีดฟรีว่ากันปีต่อปี



3.รับทราบสถานการณ์โรคโควิดและการเฝ้าระวังสายพันธุ์ ซึ่งสถานการณ์ในไทยมีแนวโน้มผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น แต่ประชาชนเริ่มเข้าใจว่า ถ้าโรคไม่รุนแรงสามารถรักษาตัวที่บ้านได้ รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง ทุกวันนี้ยังคงสามารถให้การรักษาพยาบาลประชาชนได้ตามดุลยพินิจแพทย์ เรามีการเตรียมยารักษาโรค วัคซีน และการใช้ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (LAAB) เวชภัณฑ์ต่างๆ มีเพียงพอดูแลประชาชน ดังนั้น ดรามาเกี่ยวกับเรื่องยาคงเคลียร์แล้ว เราไม่ได้ขาดยา ไม่ว่าใครบอกว่าขาดยา ต้องดูว่าแพทย์ที่สั่งจ่ายมีดุลยพินิจเช่นไร ไม่ใช่ว่าผู้ป่วยโควิดทุกคนจะได้รับการแจกยาโมลนูพิราเวียร์หรือยาฟาวิพิราเวียร์

"การประชุมวิชาการกรมการแพทย์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว จ.ภูเก็ต ปลัด สธ. อธิบดีกรมควบคุมโรค และองค์การเภสัชกรรม ยืนยันว่าเราไม่เคยมีสถานการณ์ขาดยา และมีการจัดส่งยาไปตามเขตสุขภาพ และเขตส่งไปตามจังหวัด ถ้ามีปัญหาที่ใด รพ.ใด ขอให้แจ้งมาเป็น รพ.ไป จะได้ติดตามถูก เพราะแต่ละเขตสุขภาพจะได้รับการจัดสรรยาไปสต๊อกไว้ตามเขตตามปกติอยู่แล้ว คงไม่ได้มีเรื่องอะไร อาจเป็นเรื่องไม่เข้าใจกัน สื่อสารผิดพลาด แต่เราไม่เคยมีสถานการณ์ขาดยา เวชภัณฑ์ใดๆ ส่วนยาฟาวิพิราเวียร์ก็เช่นกัน ทำไมไม่เลิกใช้เพราะยาโมลนูพิราเวียร์ถูกกว่า ย้ำว่าโมลนูพิราเวียร์ให้ผู้ป่วยอายุ 18 ปีขึ้นไป ส่วนต่ำกว่านั้น ยาโมลนูพิราเวียร์ไม่ได้ขึ้นทะเบียน ให้ไม่ได้ มีแต่ฟาวิพิราเวียร์ที่นำมารักษาได้ ซึ่งสรรพคุณยาทั้งคู่ใช้รักษาโควิดได้" นายอนุทินกล่า

และ 4.โรคฝีดาษลิง ไทยยังควบคุมสถานการณ์ได้ มีการสั่งซื้อวัคซีนเพื่อมารองรับบุคลากรในกลุ่มเสี่ยง ลำดับแรก คือ แพทย์พยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยในพื้นที่เสี่ยง ตลอดจนผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง หรือสัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูง วัคซีนจะนำไปให้คนเหล่านี้ ขณะนี้วัคซีนฝีดาษเรายังไม่ได้ให้แพร่หลายเหมือนโควิดหรือไข้หวัดใหญ่ ผู้ป่วยทั้ง 4 รายที่มีประวัติความเสี่ยงชัดเจน มีพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงสูงชัดเจน ผู้สัมผัสใกล้ชิดต่างๆ ยังมีผลเป็นลบอยู่ รายล่าสุดชาวฝรั่งเศสอาการคล้าย ก็นำเชื้อไปตรวจแล้วก็เป็นโรคอื่นไม่ใช่ฝีดาษลิง

เมื่อถามถึงการให้ รพ.จัดหาซื้อยาต้านไวรัสเอง นายอนุทินกล่าวว่า รพ.ทุกสังกัดทั้งรัฐและเอกชน สมัยก่อน สธ.รวบทั้งหมดมาแล้วส่งออกไป แต่วันที่ 1 ก.ย.เป็นต้นไป ขึ้นกับบริษัทผู้ผลิตยาที่มาขึ้นทะเบียนแล้ว ถ้าตัดสินใจจะขายให้กับ รพ.โดยตรงก็ดำเนินการได้ หรือแม้กระทั่งมาที่ร้านขายยา แต่สิ่งสำคัญคือมีใบสั่งแพทย์ ร้านขายยาก็น่าจะดำเนินการขายได้ แต่ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตยาจะส่งยาลงไปถึงระดับไหน ก็สอดคล้องสถานการณ์ที่เราประกาศระดับโควิด โดย สปสช.จะทำราคากลางหรือราคาอ้างอิง จึงไม่มีคำว่าราคาดีดขึ้น ซึ่งเรื่องนี้เมื่อมีความต้องการมากก็คลาย ปล่อยให้เป็นกลไกการตลาด

เมื่อถามว่ามีคนวิจารณ์ว่ากระทรวงฯ รู้สึกช้าไปหรือไม่ที่เพิ่งปล่อยให้ รพ.จัดซื้อยาเอง นายอนุทินกล่าวว่า เราทำตามที่คิดว่าเหมาะสมและถูกต้อง หากฟังตรงนั้นดีตรงนั้นดีแล้วมาเต้นตาม เราคงไม่มีสภาพที่เป็นหน่วยงานที่ควบคุมสถานการณ์เลวร้ายต่างๆ เรามีองค์ความรู้และการตัดสินใจของเราเอง ผ่านคณะกรรมการที่ถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งเรื่องการใช้ยา การสรางเสริมภูมิคุ้มกัน และนโยบายบริหารสถานการณ์ มีนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ คนจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ร่วมกันพิจารณา ถ้าไปฟังตามโซเชียล ซึ่งไม่สามารถหาที่มาที่ไปหรือหลักฐานวิชาการมารองรับก็คงไม่ได้



เมื่อถามถึงเรื่องของการควบคุมราคายาต้านไวรัสหลังจากมีการให้ รพ.จัดซื้อกันเองได้ นพ.ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ รองปลัด สธ. กล่าวว่า ตรงนี้จะเป็นไปตามกลไกการตลาด ซึ่งขณะนี้มีบริษัทมาขึ้นทะเบียนยาโมลนูพิราเวียร์หลายราย จะทำให้เกิดการแข่งขันกันเอง เมื่อ สปสช.กำหนดราคากลางแล้วมีคนขายราคาแพงกว่าก็ไม่มีใครซื้อ เช่น ขาย 30 บาท แต่ให้เบิก 26 บาทก็คงไม่ซื้อ ก็ต้องลดราคาให้ถูกกว่า เป็นกลไกที่จะค่อยๆ ปรับราคาให้ลดลง ทั้งนี้ การเปิดให้ทุก รพ.ซื้อยา เพื่อรองรับการไปสู่โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ซึ่งการเข้าถึงยาก็จะง่ายขึ้น ไม่ต้องมาอยู่ที่ สธ.ที่เดียว ซึ่งการลดระดับเป็นสเต็ปเช่นนี้ก็คล้ายกับตอนไข้หวัดใหญ่ปี 2009 ยาโอเซลทามิเวียร์ช่วงแรกก็ สธ.จัดหาแล้วกระจายให้ก่อน แต่พอถึงช่วงที่มีมากก็เปิดให้ รพ.จัดซื้อเอง รูปแบบก็เป็นแบบนี้เช่นกัน แต่โอเซลทามิเวียร์ไม่ได้ขยายไปจนถึงระดับร้านขายยา ขึ้นกับว่าเราพิจารณาว่าสถานการณ์ช่วงไหนมีความเหมาะสมที่จะดำเนินการ ไม่ได้เปลี่ยนเพราะว่ามีการมาเรียกร้องอะไร

เมื่อถามถึงเรื่องการต่อรองราคาของ รพ. โดยเฉพาะ รพ.ขนาดเล็กหากซื้อเองอาจต่อรองราคาไม่ได้ นพ.ธงชัยกล่าวว่า เรามีกลไกการจัดซื้อยารวม ทั้งระดับประเทศ สปสช.มีคณะกรรมการซื้อผ่านองค์การเภสัชกรรม โดย รพ.ราชวิถี แล้วส่งยาไป ถ้าเราดูแล้วว่าไม่จำเป็นขนาดระดับประเทศ ก็มีกลไกการซื้อรวมในระดับเขตสุขภาพ ซึ่งเขตกำหนดราคาแล้วเราต่อรองบริษัทให้ แล้วให้บริษัทถาม รพ.ว่าต้องการเท่าไรจะส่งให้ในราคาเดียวกัน มีกระบวนการเหล่านี้ในระบบอยู่แล้ว

ถามถึงการขยายยาต้านไวรัสรักษาโควิดไปที่ร้านขายยาต้องรอ อย.ปลดล็อกก่อนหรือไม่ นพ.ธงชัยกล่าวว่า ในระยะแรกยังขายในร้านขายยาไม่ได้ คือจริงๆ ถามว่าได้ไหมก็ได้ แต่ต้องมีใบสั่งแพทย์ เพราะยายังอยู่ในภาวะฉุกเฉิน แต่ถามว่าร้านขายยาไหนจะไปซื้อเพราะราคายังไม่ถูกมาก และต้องไปสต๊อกยา การหาซื้อถ้ายังไม่แพร่หลาย ดังนั้น เราต้องหาเจ้าให้ขายเยอะขึ้น ตอนนี้เรามี 3-4 เจ้า ถ้าเยอะขึ้นกระบวนการการตลาดจะเกิดขึ้น คือ รพ.เอกชนซื้อได้ ราคาถูกลง และยิ่งถูกลง มีมากขึ้น ความต้องการประชาชนมากขึ้น ร้านขายยาก็อาจเข้ามาร่วมจัดซื้อได้ แต่ก็ต้องรอ อย.ไปปลดล็อกไปด้วยกันด้วย ตอนนี้คิดว่ายาต้านไวรัสน่าจะกระจายไปในระดับคลินิกก่อนเหมือนหวัด 2009

https://mgronline.com/qol/detail/9650000075522

ติดตามข่าวโควิดวันนี้ค่ะ.....
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 12

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม 2565
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0RP3f9FEEuKx2uGMM5XJ7VD7q71KAcJov92eLVm8WVUAJXmoSCm2YRcPJ6qey6ii3l


จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 7 ส.ค. 2565)
รวม 141,943,337 โดส ใน 77 จังหวัด

ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 7 สิงหาคม 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 29,942 โดส

เข็มที่ 1 : 2,456 ราย
เข็มที่ 2 : 3,719 ราย
เข็มที่ 3 : 23,767 ราย

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 57,169,215 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 53,562,702 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 31,211,420 ราย

แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02phiq6GUcFqXw6mAMgXBRntkYD4hj1sHxC2j5zS2nm839ibVvwtxvM6iA58QTSq86l


ผลการประเมิน สถานการณ์ COVID - 19
ในสถานศึกษาช่วงเปิดเทอม 1/2565

เผยอัตราการติดเชื้อในเด็ก 0 - 19 ปี
หลังเปิดเรียน on-site 100% ไม่แตกต่างจากเดิม

ที่มา: กรมอนามัย
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02TfQcCRRppFfrza99dcT6sz4Xn1WVBZh8WkrhMUibqiAvKGeLENXds1PECjKsRmybl


สปสช. จับมือ แอปฯ คลิกนิก บริการผู้ป่วยโควิด กลุ่ม 608 ทั่วประเทศส่ง “ยาโมลนูพิราเวียร์” สั่งจ่ายโดยแพทย์ ผ่านระบบ Telemedicine เริ่ม 8 ส.ค. 65

นายนีล นิลวิเชียร ประธานกรรมการบริหาร บริษัท คลิกนิกเฮลท์ จำกัด ผู้ให้บริการแอปพลิเคชัน คลิกนิก (Clicknic) กล่าวว่า วันนี้ (8 ส.ค.65) แอปฯ คลิกนิก จะเริ่มจัดส่งยาโมลนูพิราเวียร์ให้กับผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่ม 608 ที่จำเป็นต้องได้รับยาในทุกๆ จังหวัดทั่วประเทศ

โดยผู้ป่วยทุกรายที่ผ่านการคัดกรองโรคจะได้พบแพทย์ผ่านระบบ Telemedicine เพื่อทำการประเมินและวินิจฉัยอาการ การให้ยาโมลนูพิราเวียร์กับผู้ป่วยกลุ่ม 608 ผ่านแอปฯ คลิกนิก จึงเป็นการจ่ายยาภายใต้การรักษาและกำกับของแพทย์ผู้ป่วยจะได้รับยาวันถัดไปหลังจากที่พบคุณหมอผ่านระบบ Telemedicine และได้รับการวินิจฉัยว่าต้องได้รับยาโมลนูพิราเวียร์ เป็นการให้รักษาก่อนภาวะโรคจะรุนแรง เนื่องจากคำนึงถึงผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่ต้องเข้าถึงการรักษาโดยเร็วเป็นสำคัญ

ที่มา : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02J1NvcNndyWQy7baQL6aUGG3sL5y7oydhBQvQR6TMkfmks3VDMFEPiuR19X2aAESnl


รัฐบาล เยียวยา จ่ายค่ารักษา-ฉีดวัคซีน ผู้ไร้สัญชาติ ต่างด้าว ป้องกัน ลด แพร่กระจายโควิด รองรับเปิดประเทศเตรียมการสู่โรคประจำถิ่น

ที่ประชุม ครม. (2 ส.ค. 65) เห็นชอบกรอบวงเงิน 2,021.4692 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ให้กับหน่วยบริการ ที่ตรวจรักษาพยาบาลกลุ่มบุคคลที่มีปัญหาสถานะ/ไม่ใช่คนไทย เพื่อป้องกันและลดการแพร่กระจายของโรคสู่คนไทยจากการเปิดประเทศและเตรียมการสู่โรคประจำถิ่น ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้วในช่วงเดือน ต.ค. 64 – มิ.ย. 65

แบ่งเป็น ค่ารักษาพยาบาลแก่กลุ่มผู้ไร้สิทธิการรักษาพยาบาลโควิด-19 วงเงิน 1,923.1426 ล้านบาท และโครงการค่าฉีดวัคซีนกลุ่มบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ รวมทั้งผู้ที่ไม่ใช่ประชาชนไทย วงเงิน 98.3266 ล้านบาท

กลุ่มเป้าหมายที่รักษา เช่น คนต่างด้าวไร้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล - ผู้ไร้สัญชาติ - ผู้มีประกันสุขภาพคนต่างด้าว - แรงงานต่างด้าว เนื่องจากสิทธิประโยชน์ไม่ครอบคลุมการรักษาโรคโควิด-19 รวมถึงผู้ที่มีอาการไม่พึงประสงค์จากการฉีดวัคซีน

ที่มา ไทยคู่ฟ้า
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02msFX9pCvJ1RvV8FPr53G58o9ykPyYqAiGA4grHgQL6NLfpS1ZJLKLS6ZJd2w4b8hl


วันแม่...ปีนี้ ชวนฉีดวัคซีนโควิด-19 ฟรี!!! ที่ ศูนย์ฉีดวัคซีนฯ อาคารกีฬาเวสน์ 1 ศูนย์เยาวชนกทม. (ไทย-ญี่ปุ่น) เขตดินแดง
ทุกวัน เวลา 08.00-16.00 น.

พิเศษสำหรับผู้ที่พาแม่/ผู้สูงอายุมาฉีดวัคซีน
ระหว่างวันที่ 8 - 14 สิงหาคม 2565
รับฟรีของที่ระลึก พร้อมลุ้นรับรางวัล

ประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัล ในวันที่ 31 สิงหาคม 2565 ทาง Facebook สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร

ที่มา : สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
https://www.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/pfbid02zxv9NonKsYFNSYmTxUeNQEXZp17jvDQjqE4JTAkon15zYStUQkRPLg4dAqdz4a8cl


เริ่มแล้ววันนี้ ! สปสช. จับมือ แอปฯ คลิกนิก บริการผู้ป่วยโควิด ส่งยา “โมลนูพิราเวียร์” ให้กลุ่มเสี่ยง 608

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มอบนโยบายการดูแลรักษาและนำผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ทุกกลุ่ม เข้าถึงระบบการรักษา ยาและเวชภัณฑ์ให้ได้อย่างครอบคลุมและทั่วถึงและรวดเร็ว เพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยและเสียชีวิต

ทั้งนี้ วันนี้ (8 ส.ค.65) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ได้เริ่มให้บริการเชิงรุกโดยร่วมกับแอปพลิเคชัน คลิกนิก (Clicknic) จัดส่งยาโมลนูพิราเวียร์ ให้กลุ่มเสี่ยง 608 ทั่วประเทศที่ได้รับการวินิจฉัยและสั่งจ่ายโดยแพทย์ ผ่านระบบ Telemedicine เพื่อช่วยผู้ป่วยกลุ่มนี้ให้สามารถเข้าถึงการรักษาโดยเร็วก่อนอาการโรคจะรุนแรง ซึ่งจะมีแพทย์หมุนเวียนในระบบคอยให้บริการปรึกษา วินิจฉัย และกำกับการให้ยาแก่ผู้ป่วย โดยผู้ป่วยจะได้รับยาหรือไม่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ และจะเริ่มจัดส่งยาให้กับผู้ป่วยทั่วประเทศวันนี้เป็นวันแรก ซึ่งจะได้รับยาวันถัดไปหลังจากที่พบแพทย์ผ่านระบบ Telemedicine และได้รับการวินิจฉัยว่าต้องได้รับยาโมลนูพิราเวียร์ นับเป็นการให้การรักษากลุ่มเสี่ยงก่อนภาวะโรคจะรุนแรง
https://www.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/pfbid0FzrQdMPGqW8mEuRZ8c3awCAW7qQd4hL4P4vout5hWzCtHQ4Ku9tMVKjmxr28JGu5l


สธ.เผยหลักการนำเข้าโมลนูพิราเวียร์ จากต่างประเทศ 1. ต้องเป็นผู้รับอนุญาต 2. นำข้อมูลงานวิจัยจากผู้ผลิตมาขึ้นทะเบียนยา 3. ขึ้นทะเบียนแล้วสามารถนำเข้าได้
การสั่งซื้อยาจากต่างประเทศขายผ่านออนไลน์ ตามกฎหมายถือเป็นยาเถื่อน เพราะไม่ได้ขึ้นทะเบียน อย.

นายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการ อย. เผย กรณีตรวจสอบพบผู้ลักลอบนำเข้ายารักษาโควิด 19 โดยเฉพาะโมลนูพิราเวียร์ จากต่างประเทศมาขายผ่านออนไลน์ในไทย ตามกฎหมายแล้วถือเป็นยาเถื่อน เพราะไม่ได้ขึ้นทะเบียน อย. แม้จะเป็นยาจริง แต่ไม่สามารถจำหน่ายได้ หลักการนำเข้ายาที่ผลิตจากต่างประเทศตาม พ.ร.บ.ยา คือ 1.ผู้จะนำเข้าต้องเป็นผู้รับอนุญาตก่อน โดยหลักต้องเป็นผู้มีอาชีพเกี่ยวข้องกับการแพทย์ มีสถานที่เก็บยา มีเภสัชกรปฏิบัติงาน 2. ผู้รับอนุญาตจะนำเข้ายาตัวใดต้อง นำข้อมูลงานวิจัยจากผู้ผลิตมาขึ้นทะเบียนยา 3. เมื่อยาดังกล่าวได้รับการขึ้นทะเบียนแล้วสามารถนำเข้ายามาได้ ปัจจุบัน อย. ก็ได้ออกทะเบียนให้เอกชนแล้ว 3 ใบ อนุญาตใช้ใน รพ.ทั้งรัฐและเอกชน ล่าสุดปลายเดือน ก.ค.65 อย.เพิ่งอนุมัติให้ใช้ใน คลินิกได้ โดยจะเป็นแพทย์ประจำคลินิกวินิจฉัยและจ่ายยา ไม่ใช่ซื้อขายยา สำหรับการอนุมัติให้ไปอยู่ในร้านขายยาก็ต้องซื้อ มาจากผู้รับอนุญาตที่ขึ้นทะเบียนด้วยเช่นกัน แต่ยังต้องจ่ายด้วยแพทย์ผู้ที่มีใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม

ที่มา กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0NhRU5gNVpHrSDZn2Hk7NrgJroy9bU9wjpXcne6nDpnbpcaxy4jw4hyN8KueDrQ8xl


คกก.โรคติดต่อแห่งชาติ พิจารณาปรับโรคโควิด 19 จากโรคติดต่ออันตราย เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และ รมว.สธ. ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ครั้งที่ 6/2565 โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบกรอบนโยบายในการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 ได้แก่ สามารถควบคุมการระบาดให้สถานการณ์อยู่ในระดับรุนแรงน้อย โดยพิจารณาตามจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลต่อวัน อัตราครองเตียงผู้ป่วยหนัก และผู้เสียชีวิต, สามารถเข้าถึงบริการวัคซีน ยาต้านไวรัสได้ง่ายและสะดวก และประชาชนมีพฤติกรรมป้องกันตนเองอย่างถูกต้องเหมาะสม

เห็นชอบให้โรงพยาบาลในสังกัดต่างๆ เตรียมการจัดหายาต้านไวรัสเอง ซึ่งจะเริ่มดำเนินการได้ในเร็วๆ นี้ โดยใช้กระบวนการเบิกค่ารักษาพยาบาลจากกองทุนเช่นเดียวกับโรคติดเชื้ออื่น ๆ เพื่อให้ประชาชนยังสามารถเข้ารับการรักษาได้ตามสิทธิ์ พร้อมพิจารณาปรับโรคโควิด 19 จากโรคติดต่ออันตรายเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง

อย่างไรก็ตามกระทรวงสาธารณสุขยังคงเน้นให้ทุกจังหวัดเตรียมพร้อมเรื่องเตียง การใช้ยาอย่างเหมาะสม และการฉีดวัคซีน รวมถึงให้โรงพยาบาลพิจารณาการใช้ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป ( LAAB) ซึ่งกระจายไปยังจังหวัดต่าง ๆ และกรุงเทพมหานครแล้ว
https://web.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/pfbid0369MVUM4Kp8rfV4hfVweEQPZPm8z3knYCYeu2dYGpZ3dKNwDYgBRisMBKkDPdKVUUl
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่