🏃♂️ ปัจจุบันนี่อุปกรณ์ไฮเทคมันก็เยอะแบรนด์นะครับ ที่เป็นพวก wareable แล้วจับชีพจร นับก้าว ดูการวิ่ง ดูกิจกรรมต่างๆ แล้วก็เอามาคำนวณการใช้พลังงาน (Energy Expenditure) แต่ว่าความน่าเชื่อถือละ แม่นยำแค่ไหน ?

📚 งานนี้เป็นการศึกษาเพื่อดูความแม่นยำของการนับก้าว (Step detection accuracy) แล้วก็ดูค่าการใช้พลังงาน (Energy Expenditure) ที่ความเร็วต่างๆกัน โดยเปรียบเทียบอุปกรณ์ 3 ยี่ห้อ
🎅🏻 การศึกษาทำในกลุ่มคนที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนนะครับ ทั้งหมดจำนวน 48 คน เยอะอยู่นะนี่ อายุเฉลี่ย 37.4 ปี ผู้ชาย 29 คน แล้วก็ BMI เฉลี่ย 31.4 ตามเกณฑ์ฝรั่งคือเข้ากลุ่มอ้วนแล้ว ความสูงเฉลี่ย 173 และน้ำหนักเฉลี่ย 94.8 Body fat เฉลี่ย 34.4%
📝 การศึกษาเนี่ยทำในพื้นที่ทดลองที่มีการควบคุม เริ่มทดลองตั้งแต่ 0800 - 1100 ก่อนมาทดลองก็ให้ทำการ fast อย่างน้อย 10 ชั่วโมง แต่ห้ามเกิน 16 ชั่วโมง มีการดูสัดส่วนมวลกาย (Body composition) ด้วยเครื่อง Inbody 720 การวัดพลังงานที่เป็นค่าควบคุมทำด้วย Indirect calorimetry เอาค่า O2 และ CO2 มาคำนวณการใช้พลังงาน RMR
🏃♂️ เมื่อจัดแจงวัดค่าและติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ แล้วเขาก็ให้ไปเดิน จ๊อก วิ่ง บนลู่วิ่ง ด้วยความเร็วที่ต่างกัน 6 ระดับ (1.5, 3, 4.5, 6, 7,.5 และ 9 km/hr) แต่ละระดับก็นาน 4 นาที ทำทั้งหมดคนละ 24 นาที ส่วนค่าควบคุมของการนับก้าว เขาใช้การนับก้าวที่บันทึกด้วยวิดีโอไว้ เป็นตัวเปรียบเทียบ ส่วนพลังงานก็ใช้วัดค่าจาก O2 และ CO2 แล้วเอามาคำนวณนั่นแหละครับ
⌚️ ส่วนอุปกรณ์ที่ทดลองก็มี Sartorio Xelometer (SX) , ActiGraph (AG) และ activPAL (AP) ก็เป็นยี่ห้อยอดนิยมที่มักจะเจอในงานวิจัยต่างๆนะครับ ส่วนพวก Garmin , Apple , Huawei อะไรที่เป็นของ consumer งี้ยังไม่ได้นำมาตรวจสอบนะครับ การใส่ก็ใส่พร้อมกันไปหมดเลยนะครับ คนเดียว 3 ยี่ห้อนั่นแหละ วัดกันให้เห็นจะๆ
🏃♂️ ผลที่ได้คือ.. ในด้านการนับก้าว AP นี่แม่นสุด นิ่งในทุกๆระดับความเร็ว ส่วน SX นี่ก็ดีลำดับถัดมา และ AG ค่อนข้างอ๊องในความเร็วต่ำ แล้วก็ค่อยๆดีขึ้นในความเร็วที่มากกว่า 4.5km/hr แต่ก็ยังคงอ๊องอยู่ดีเมื่อเทียบกับอีกสองยี่ห้อ
🔥 ส่วนการใช้พลังงาน รั่วยับทั้งสามยี่ห้อ ไม่มีอันไหนดีกว่าอันไหนเลย SX นี่ดีสุด แต่ที่ว่าดีก็ยังห่างไกลคำว่าใกล้เคียง ที่เหลือก็ไม่ต้องคาดหวังอะไรครับ เพราะอันที่ดีสุดก็ยังฝากความหวังอะไรไว้ไม่ได้ ๕๕
📌 โดยสรุปเนี่ย เขาพบว่าถ้าจะใช้อุปกรณ์พวกนี้ นับก้าวอ่ะโอเค มันก็ดูจะแม่นยำอยู่ แต่ถ้าจะเอาอ่าวเอาแหลมกับเรื่องค่าพลังงานที่มันบอกเนี่ย อย่าไปเอาสาระอะไรมากครับ เพราะค่อนข้างห่างไกลกับคำนว่าใกล้เคียงอย่างที่บอก
📌 ผลจากงานนี้ได้อะไร ในแง่ของงานวิจัยต่างๆ ในอนาคตถ้ามีการใช้อุปกรณ์พวกนี้ ก็ไม่ควรจะนำเอาค่าพลังงานที่มันคำนวณได้ไปเอาสาระอะไรเลยครับ ส่วนในแง่คนธรรมดา (แต่ปกติสามรุ่นนี้คนทั่วไป ผมว่าไม่น่ามีใครใช้) เราดูไว้เป็นข้อมูลให้สบายใจได้ครับ ว่าไอ้ค่าพลังงานที่อุปกรณ์พวกนี้มันแจ้งมาอ่ะ คลาดเคลื่อนบานเลย อย่าไปเอาอะไรกับมันมาก
😎 เดิมทีผมเคยคิดว่าถ้าอุปกรณ์มันมี algorithm ประมาณนึงในการคำนวณ เวลาออกหนัก กับออกเบา ใช้พลังงานแตกต่างกัน ก็ใช้เป็นตัวเปรียบเทียบ ดู intensity กิจกรรมน่าจะได้ แต่ถ้าดูจากข้อมูลที่งานนี้ทดลองมา ค่าพลังงานที่มันคำนวณได้นี่เอาไว้ดูขำๆพอครับ ใช้เป็นตัวเปรียบเทียบอะไร ไม่น่าจะได้แล้วล่ะ 55
ที่มาและแหล่งอ้างอิง
https://www.fatfighting.net/article-2022-07-11-step-detection-accuracy-and-energy-expenditure-estimation-at-different-speeds-by-three-accelerometers-in-a-controlled-environment-in-overweight-obese-subjects/
⌚️ ค่าการเผาผลาญ ที่ได้จากอุปกรณ์นับก้าว เชื่อถือได้แค่ไหนกัน ? 🤔
📚 งานนี้เป็นการศึกษาเพื่อดูความแม่นยำของการนับก้าว (Step detection accuracy) แล้วก็ดูค่าการใช้พลังงาน (Energy Expenditure) ที่ความเร็วต่างๆกัน โดยเปรียบเทียบอุปกรณ์ 3 ยี่ห้อ
🎅🏻 การศึกษาทำในกลุ่มคนที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนนะครับ ทั้งหมดจำนวน 48 คน เยอะอยู่นะนี่ อายุเฉลี่ย 37.4 ปี ผู้ชาย 29 คน แล้วก็ BMI เฉลี่ย 31.4 ตามเกณฑ์ฝรั่งคือเข้ากลุ่มอ้วนแล้ว ความสูงเฉลี่ย 173 และน้ำหนักเฉลี่ย 94.8 Body fat เฉลี่ย 34.4%
📝 การศึกษาเนี่ยทำในพื้นที่ทดลองที่มีการควบคุม เริ่มทดลองตั้งแต่ 0800 - 1100 ก่อนมาทดลองก็ให้ทำการ fast อย่างน้อย 10 ชั่วโมง แต่ห้ามเกิน 16 ชั่วโมง มีการดูสัดส่วนมวลกาย (Body composition) ด้วยเครื่อง Inbody 720 การวัดพลังงานที่เป็นค่าควบคุมทำด้วย Indirect calorimetry เอาค่า O2 และ CO2 มาคำนวณการใช้พลังงาน RMR
🏃♂️ เมื่อจัดแจงวัดค่าและติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ แล้วเขาก็ให้ไปเดิน จ๊อก วิ่ง บนลู่วิ่ง ด้วยความเร็วที่ต่างกัน 6 ระดับ (1.5, 3, 4.5, 6, 7,.5 และ 9 km/hr) แต่ละระดับก็นาน 4 นาที ทำทั้งหมดคนละ 24 นาที ส่วนค่าควบคุมของการนับก้าว เขาใช้การนับก้าวที่บันทึกด้วยวิดีโอไว้ เป็นตัวเปรียบเทียบ ส่วนพลังงานก็ใช้วัดค่าจาก O2 และ CO2 แล้วเอามาคำนวณนั่นแหละครับ
⌚️ ส่วนอุปกรณ์ที่ทดลองก็มี Sartorio Xelometer (SX) , ActiGraph (AG) และ activPAL (AP) ก็เป็นยี่ห้อยอดนิยมที่มักจะเจอในงานวิจัยต่างๆนะครับ ส่วนพวก Garmin , Apple , Huawei อะไรที่เป็นของ consumer งี้ยังไม่ได้นำมาตรวจสอบนะครับ การใส่ก็ใส่พร้อมกันไปหมดเลยนะครับ คนเดียว 3 ยี่ห้อนั่นแหละ วัดกันให้เห็นจะๆ
🏃♂️ ผลที่ได้คือ.. ในด้านการนับก้าว AP นี่แม่นสุด นิ่งในทุกๆระดับความเร็ว ส่วน SX นี่ก็ดีลำดับถัดมา และ AG ค่อนข้างอ๊องในความเร็วต่ำ แล้วก็ค่อยๆดีขึ้นในความเร็วที่มากกว่า 4.5km/hr แต่ก็ยังคงอ๊องอยู่ดีเมื่อเทียบกับอีกสองยี่ห้อ
🔥 ส่วนการใช้พลังงาน รั่วยับทั้งสามยี่ห้อ ไม่มีอันไหนดีกว่าอันไหนเลย SX นี่ดีสุด แต่ที่ว่าดีก็ยังห่างไกลคำว่าใกล้เคียง ที่เหลือก็ไม่ต้องคาดหวังอะไรครับ เพราะอันที่ดีสุดก็ยังฝากความหวังอะไรไว้ไม่ได้ ๕๕
📌 โดยสรุปเนี่ย เขาพบว่าถ้าจะใช้อุปกรณ์พวกนี้ นับก้าวอ่ะโอเค มันก็ดูจะแม่นยำอยู่ แต่ถ้าจะเอาอ่าวเอาแหลมกับเรื่องค่าพลังงานที่มันบอกเนี่ย อย่าไปเอาสาระอะไรมากครับ เพราะค่อนข้างห่างไกลกับคำนว่าใกล้เคียงอย่างที่บอก
📌 ผลจากงานนี้ได้อะไร ในแง่ของงานวิจัยต่างๆ ในอนาคตถ้ามีการใช้อุปกรณ์พวกนี้ ก็ไม่ควรจะนำเอาค่าพลังงานที่มันคำนวณได้ไปเอาสาระอะไรเลยครับ ส่วนในแง่คนธรรมดา (แต่ปกติสามรุ่นนี้คนทั่วไป ผมว่าไม่น่ามีใครใช้) เราดูไว้เป็นข้อมูลให้สบายใจได้ครับ ว่าไอ้ค่าพลังงานที่อุปกรณ์พวกนี้มันแจ้งมาอ่ะ คลาดเคลื่อนบานเลย อย่าไปเอาอะไรกับมันมาก
😎 เดิมทีผมเคยคิดว่าถ้าอุปกรณ์มันมี algorithm ประมาณนึงในการคำนวณ เวลาออกหนัก กับออกเบา ใช้พลังงานแตกต่างกัน ก็ใช้เป็นตัวเปรียบเทียบ ดู intensity กิจกรรมน่าจะได้ แต่ถ้าดูจากข้อมูลที่งานนี้ทดลองมา ค่าพลังงานที่มันคำนวณได้นี่เอาไว้ดูขำๆพอครับ ใช้เป็นตัวเปรียบเทียบอะไร ไม่น่าจะได้แล้วล่ะ 55
ที่มาและแหล่งอ้างอิง
https://www.fatfighting.net/article-2022-07-11-step-detection-accuracy-and-energy-expenditure-estimation-at-different-speeds-by-three-accelerometers-in-a-controlled-environment-in-overweight-obese-subjects/