ต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ผมไลน์คุยกันกับเพื่อนสมัยเรียนมัธยมศึกษาคนหนึ่ง ปัจจุบันเป็นอาจารย์สอนมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งมีวิทยาเขตอยู่ที่นครปฐม ผมปรึกษาว่า อยากให้แนะนำศาลเจ้าในเยาวราชให้หน่อย อยากไปไหว้และเขียนสารคดีเกี่ยวกับศาลเจ้าด้วย
“มีที่หนึ่ง กูแนะนำเลย” อาจารย์ต้นบอก “เป็นวัดจีนในเยาวราช วัดนี้สงบ สะอาด จัดการดี มีประวัติ...ข้างๆวัดมีร้านสุกี้โบราณและข้าวมันไก่แสนอร่อยด้วยนะ” ว่าแล้วก็ส่งแผนที่วัดมาให้ผม ซึ่งวัดนี้มีชื่อว่า “วัดบำเพ็ญจีนพรต (ย่งฮกยี่)”
วันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ผมเลยทำตามคำแนะนำของเพื่อน ขึ้นรถไฟฟ้าใต้ดินไปลงสถานีวัดมังกร ออกทางออกถนนแปลงนาม (ใครไปไม่ถูกถามเจ้าหน้าที่สถานีได้ เขาแนะนำผมเหมือนกัน) ไปโผล่ที่ถนนเจริญกรุง เดินเข้าซอยเล็กๆไปเพื่อทะลุไปเยาวชน แล้วสังเกตซอย 8 ไว้ เดินเข้าซอย 8 เลยเห็นป้ายร้านสุกี้โบราณและข้าวมันไก่ก่อนเลย ทางซ้ายมือจะเป็นประตูเข้าวัดบำเพ็ญจีนพรตพอดี

พอไปถึง...ประตูปิดครับ ตอนนั้นเป็นเวลาประมาณ 8 โมงกว่าแล้ว ถามแม่ค้าแถวนั้นว่า วัดเปิดกี่โมงครับ แม่ค้าบอกว่าประมาณ 9 โมง หรือไม่ก็ 10 โมงนี่แหละ....
ผมเดินกลับไปยืนหน้าประตูอีกครั้ง มีชายหนุ่มคนหนึ่งเดินมา ผมถามว่าวัดเปิดกี่โมงครับ เขาบอกว่า เปิดแล้วครับ จากนั้นก็ไขกุญแจเปิดประตูให้ผมเข้าไปในวัด ผมเลยบอกว่า จะขอมาไหว้พระขอพรแล้วถ่ายรูปหน่อยครับ เขาไม่ว่าอะไร ผมก็เดินเข้าไปเลย ก็จะพบพระสังกัจจายน์ จึงก้มกราบท่านก่อน จากนั้นก็เดินถ่ายรูปเทพเจ้าไปเรื่อยๆ พอดีกับมีพระท่านหนุ่มท่านหนึ่งเดินมา ผมจึงกราบนมัสการท่าน แล้วบอกว่า อยากจะขอประวัติวัดนี้หน่อยครับเพื่อมาเขียนสารคดีครับ ท่านก็เปิดลิ้นชักแล้วหยิบกระดาษพิมพ์ประวัติวัดบำเพ็ญจีนพรต (ย่งฮกยี่) ให้ผม ลองมาอ่านประวัติวัดนี้กันครับ
วัดบำเพ็ญจีนพรตนี้ เป็นสังฆารามสังกัดคณะสงฆ์จีนนิกายเก่าแก่แห่งหนึ่งในประเทศไทย เดิมวัดแห่งนี้เป็นวิหารพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ร้าง ชื่อว่า ย่งฮกอำ มีป้ายชื่อลงปีพ.ศ.2338 (รัชกาลเฉียนหลงฮ่องเต้ ปีอิกเบ้า ค.ศ.1795) สร้างโดยชาวจีนต้นรัตนโกสินทร์ ต่อมาราวก่อนปี พ.ศ.2414 พระอาจารย์สกเห็ง จาริกมาจากประเทศจีนและพำนัก ณ วิหารแห่งนี้ พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น “ย่งฮกยี่” มีป้ายชื่อลงปีพ.ศ.2430 (รัชกาล กวงสู ปีที่ 13 ค.ศ.1887) จึงได้ขอพระราชทานนามวัด พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระราชทานนามวัดว่า “วัดบำเพ็ญจีนพรต” ปัจจุบันยังมีป้ายพระราชทานนามวัด ประดิษฐานอยู่ด้านหน้าพระอุโบสถและทรงโปรดพระราชทานสมณศักดิ์พระอาจารย์สกเห็ง เป็นพระอาจารย์จีนวังสสมาธิวัตร เจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย รูปแรกอีกด้วย
วัดนี้มีพระอุโบสถ กว้าง 7.80 เมตร ยาว 10.20 เมตร สร้างขึ้นเมื่อพ.ศ.2380 เป็นอาคารโครงสร้างไม้แบบจีน ผนังก่ออิฐฉาบปูน หลังคาจั่วมุงด้วยกระเบื้องดินเผากาบกล้วยแบบจีน สันหลังคาก่ออิฐปูนปั้น เป็นจั่วปั้นลมแบบสถาปัตยกรรมจีนตามสกุลช่างจีนแต้จิ๋ว
ภายในพระอุโบสถ ประดิษฐานพระประธาน 3 องค์ หน้าตักกว้าง 1 เมตร สูง 2 เมตร ปูนปั้นลงรักปิดทองศิลปะจีน องค์กลางคือ พระศากยมุนีพุทธเจ้า (เซกเกียโหม่วหนี่ฮุก) ทรงประทับเป็นประธานแห่งสหโลกธาตุคือ องค์พระศาสดาแห่งโลกปัจจุบัน ทางขวาคือ พระอมิตาภะพุทธเจ้า (ออหมี่ถ่อฮุก) ผู้เป็นพระบรมศาสดาแห่งสุขาวดีโลกธาตุทิศตะวันตก และทางซ้ายคือ พระไกษัชยะคุรุพุทธเจ้า (เอี๊ยะซือฮุก) ผู้เป็นบรมศาสนาแห่งวิศุทธิไวฑูรย์โลกธาตุทิศตะวันออก รวมเป็นสามองค์เรียกว่า พระพุทธเจ้าแห่งตรีโลกธาตุ (ซาสี่ฮุก) หรือ พระพุทธรัตนตรัยของมหายาน (ซำป้อฮุก)

สองข้างพระประธานเป็นรูปพระอรหันต์ 2 องค์ยืน ทางซ้ายคือ พระมหากัสสปะเถระ (รูปภิกษุชรา) ขวาคือ พระอานนท์เถระ (ภิกษุหนุ่ม) ปูนปั้นลงรักปิดทอง ศิลปะจีน
ด้านหน้าพระประธานคือ พระจัณฑิอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (จุนที้ผู้ลัก) ปางหนึ่งของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (กวนอิม) ทางลักษณะแห่งมารดา มี 3 เนตร 18 กรและมีพระโพธิสัตว์ธรรมบาลยืน 2 องค์
นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปศิลาขาว ศิลปะพม่าแบบมัณฑเลย์ พระพุทธรูปโลหะ 3 องค์ยืน จีวรเป็นลายดอกศิลปะไทยแบบรัตนโกสินทร์ตอนต้น
พระอรหันต์ 18 องค์ (จับโป่ยล่อฮั่ง) นั่ง วัสดุผ้าป่านทาบรัก ปิดทอง ศิลปะจีน สองข้างพระประธาน มุมด้านในประดิษฐาน รูปเทพเจ้ากลุ่มดาวเหนือ (เฮี่ยงเทียงเสี่ยงตี่) ศิลปะจีนและรูปพระสังฆรามปาลโพธิสัตว์ หรือกวนอู (แคนำผู่ลัก) ศิลปะจีน


เมื่อหันหน้าสู่พระอุโบสถ ด้านขวามือประดิษฐานรูปเทพประจำชะตาชีวิต (ไท่ส่วย

) เทพเจ้าแห่งโชคลาภ (ไฉ่ซิ่ง

) และหมอเทวดาหั่วท้อ (หั่วท้อเซียนซือ) แกะสลักด้วยไม้ ศิลปะจีน....





ผมเดินไหว้พระขอพร พร้อมเก็บภาพความสวยงามของวัดแห่งนี้จนรอบ จึงขออนุญาตพระท่านเดินบันไดขึ้นไปชั้น 2 ซึ่งเป็นวิหารบรรพบุรุษ ที่ตั้งป้ายบูชาผู้ล่วงลับของพุทธศาสนิกชนและศิษยานุศิษย์ พร้อมกับเก็บภาพมุมสูงของวัดแห่งนี้ไว้ด้วย

วันที่ผมเดินทางไปวัดแห่งนี้ ผมเลือกเวลาไปช่วงเช้า (ไปก่อนเปิดอีกด้วย) ทำให้สะดวกในการเก็บภาพและถ่ายรูป รวมถึงมีเวลาไหว้พระพอสมควร เนื่องจากยังไม่มีประชาชนเข้าไปสักการะเลย แต่ข้อเสียของการไปเช้าก็คือ....





ร้านอาหารเจ้าอร่อยอย่างสุกี้โบราณ และข้าวมันไก่ไท้เฮง ที่เพื่อนแนะนำมายังไม่เปิดขาย เขากำลังวุ่นอยู่กับการเตรียมวัตถุดิบ พอสอบถามได้ความว่า เปิด 10 โมง ปิด 5 โมงเย็น...เลยอดกินไปตามระเบียบ คงต้องไว้คราวหน้าผ่านมาแถวนี้ต้องมากินร้านนี้ให้ได้ล่ะครับ เพราะเพื่อนผมการันตีความอร่อยมาถึงขนาดนี้แล้ว นอกจากนี้ยังแนะนำว่า ไม่ไกลจากร้านนี้เท่าไหร่ ก็ยังมีไอติมเจ้าอร่อยชื่อว่า จิงจิงไอศกรีม อีกด้วย เอาไว้คราวหน้ามาใหม่ต้องได้กินแน่นอน วันนี้ขอตัวลาไปก่อนละครับ.......
เรื่องและภาพโดย นายสามเหลี่ยม
#เพจศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่ตลาดใหม่บ้านหมี่
เยือนวัดจีนเก่าแก่แห่งเยาวราช (ไหว้ศาลเจ้า ep4)
“มีที่หนึ่ง กูแนะนำเลย” อาจารย์ต้นบอก “เป็นวัดจีนในเยาวราช วัดนี้สงบ สะอาด จัดการดี มีประวัติ...ข้างๆวัดมีร้านสุกี้โบราณและข้าวมันไก่แสนอร่อยด้วยนะ” ว่าแล้วก็ส่งแผนที่วัดมาให้ผม ซึ่งวัดนี้มีชื่อว่า “วัดบำเพ็ญจีนพรต (ย่งฮกยี่)”
วันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ผมเลยทำตามคำแนะนำของเพื่อน ขึ้นรถไฟฟ้าใต้ดินไปลงสถานีวัดมังกร ออกทางออกถนนแปลงนาม (ใครไปไม่ถูกถามเจ้าหน้าที่สถานีได้ เขาแนะนำผมเหมือนกัน) ไปโผล่ที่ถนนเจริญกรุง เดินเข้าซอยเล็กๆไปเพื่อทะลุไปเยาวชน แล้วสังเกตซอย 8 ไว้ เดินเข้าซอย 8 เลยเห็นป้ายร้านสุกี้โบราณและข้าวมันไก่ก่อนเลย ทางซ้ายมือจะเป็นประตูเข้าวัดบำเพ็ญจีนพรตพอดี
พอไปถึง...ประตูปิดครับ ตอนนั้นเป็นเวลาประมาณ 8 โมงกว่าแล้ว ถามแม่ค้าแถวนั้นว่า วัดเปิดกี่โมงครับ แม่ค้าบอกว่าประมาณ 9 โมง หรือไม่ก็ 10 โมงนี่แหละ....
ผมเดินกลับไปยืนหน้าประตูอีกครั้ง มีชายหนุ่มคนหนึ่งเดินมา ผมถามว่าวัดเปิดกี่โมงครับ เขาบอกว่า เปิดแล้วครับ จากนั้นก็ไขกุญแจเปิดประตูให้ผมเข้าไปในวัด ผมเลยบอกว่า จะขอมาไหว้พระขอพรแล้วถ่ายรูปหน่อยครับ เขาไม่ว่าอะไร ผมก็เดินเข้าไปเลย ก็จะพบพระสังกัจจายน์ จึงก้มกราบท่านก่อน จากนั้นก็เดินถ่ายรูปเทพเจ้าไปเรื่อยๆ พอดีกับมีพระท่านหนุ่มท่านหนึ่งเดินมา ผมจึงกราบนมัสการท่าน แล้วบอกว่า อยากจะขอประวัติวัดนี้หน่อยครับเพื่อมาเขียนสารคดีครับ ท่านก็เปิดลิ้นชักแล้วหยิบกระดาษพิมพ์ประวัติวัดบำเพ็ญจีนพรต (ย่งฮกยี่) ให้ผม ลองมาอ่านประวัติวัดนี้กันครับ
วัดบำเพ็ญจีนพรตนี้ เป็นสังฆารามสังกัดคณะสงฆ์จีนนิกายเก่าแก่แห่งหนึ่งในประเทศไทย เดิมวัดแห่งนี้เป็นวิหารพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ร้าง ชื่อว่า ย่งฮกอำ มีป้ายชื่อลงปีพ.ศ.2338 (รัชกาลเฉียนหลงฮ่องเต้ ปีอิกเบ้า ค.ศ.1795) สร้างโดยชาวจีนต้นรัตนโกสินทร์ ต่อมาราวก่อนปี พ.ศ.2414 พระอาจารย์สกเห็ง จาริกมาจากประเทศจีนและพำนัก ณ วิหารแห่งนี้ พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น “ย่งฮกยี่” มีป้ายชื่อลงปีพ.ศ.2430 (รัชกาล กวงสู ปีที่ 13 ค.ศ.1887) จึงได้ขอพระราชทานนามวัด พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระราชทานนามวัดว่า “วัดบำเพ็ญจีนพรต” ปัจจุบันยังมีป้ายพระราชทานนามวัด ประดิษฐานอยู่ด้านหน้าพระอุโบสถและทรงโปรดพระราชทานสมณศักดิ์พระอาจารย์สกเห็ง เป็นพระอาจารย์จีนวังสสมาธิวัตร เจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย รูปแรกอีกด้วย
วัดนี้มีพระอุโบสถ กว้าง 7.80 เมตร ยาว 10.20 เมตร สร้างขึ้นเมื่อพ.ศ.2380 เป็นอาคารโครงสร้างไม้แบบจีน ผนังก่ออิฐฉาบปูน หลังคาจั่วมุงด้วยกระเบื้องดินเผากาบกล้วยแบบจีน สันหลังคาก่ออิฐปูนปั้น เป็นจั่วปั้นลมแบบสถาปัตยกรรมจีนตามสกุลช่างจีนแต้จิ๋ว
ภายในพระอุโบสถ ประดิษฐานพระประธาน 3 องค์ หน้าตักกว้าง 1 เมตร สูง 2 เมตร ปูนปั้นลงรักปิดทองศิลปะจีน องค์กลางคือ พระศากยมุนีพุทธเจ้า (เซกเกียโหม่วหนี่ฮุก) ทรงประทับเป็นประธานแห่งสหโลกธาตุคือ องค์พระศาสดาแห่งโลกปัจจุบัน ทางขวาคือ พระอมิตาภะพุทธเจ้า (ออหมี่ถ่อฮุก) ผู้เป็นพระบรมศาสดาแห่งสุขาวดีโลกธาตุทิศตะวันตก และทางซ้ายคือ พระไกษัชยะคุรุพุทธเจ้า (เอี๊ยะซือฮุก) ผู้เป็นบรมศาสนาแห่งวิศุทธิไวฑูรย์โลกธาตุทิศตะวันออก รวมเป็นสามองค์เรียกว่า พระพุทธเจ้าแห่งตรีโลกธาตุ (ซาสี่ฮุก) หรือ พระพุทธรัตนตรัยของมหายาน (ซำป้อฮุก)
สองข้างพระประธานเป็นรูปพระอรหันต์ 2 องค์ยืน ทางซ้ายคือ พระมหากัสสปะเถระ (รูปภิกษุชรา) ขวาคือ พระอานนท์เถระ (ภิกษุหนุ่ม) ปูนปั้นลงรักปิดทอง ศิลปะจีน
ด้านหน้าพระประธานคือ พระจัณฑิอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (จุนที้ผู้ลัก) ปางหนึ่งของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (กวนอิม) ทางลักษณะแห่งมารดา มี 3 เนตร 18 กรและมีพระโพธิสัตว์ธรรมบาลยืน 2 องค์
นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปศิลาขาว ศิลปะพม่าแบบมัณฑเลย์ พระพุทธรูปโลหะ 3 องค์ยืน จีวรเป็นลายดอกศิลปะไทยแบบรัตนโกสินทร์ตอนต้น
พระอรหันต์ 18 องค์ (จับโป่ยล่อฮั่ง) นั่ง วัสดุผ้าป่านทาบรัก ปิดทอง ศิลปะจีน สองข้างพระประธาน มุมด้านในประดิษฐาน รูปเทพเจ้ากลุ่มดาวเหนือ (เฮี่ยงเทียงเสี่ยงตี่) ศิลปะจีนและรูปพระสังฆรามปาลโพธิสัตว์ หรือกวนอู (แคนำผู่ลัก) ศิลปะจีน
เมื่อหันหน้าสู่พระอุโบสถ ด้านขวามือประดิษฐานรูปเทพประจำชะตาชีวิต (ไท่ส่วย
ผมเดินไหว้พระขอพร พร้อมเก็บภาพความสวยงามของวัดแห่งนี้จนรอบ จึงขออนุญาตพระท่านเดินบันไดขึ้นไปชั้น 2 ซึ่งเป็นวิหารบรรพบุรุษ ที่ตั้งป้ายบูชาผู้ล่วงลับของพุทธศาสนิกชนและศิษยานุศิษย์ พร้อมกับเก็บภาพมุมสูงของวัดแห่งนี้ไว้ด้วย
วันที่ผมเดินทางไปวัดแห่งนี้ ผมเลือกเวลาไปช่วงเช้า (ไปก่อนเปิดอีกด้วย) ทำให้สะดวกในการเก็บภาพและถ่ายรูป รวมถึงมีเวลาไหว้พระพอสมควร เนื่องจากยังไม่มีประชาชนเข้าไปสักการะเลย แต่ข้อเสียของการไปเช้าก็คือ....
ร้านอาหารเจ้าอร่อยอย่างสุกี้โบราณ และข้าวมันไก่ไท้เฮง ที่เพื่อนแนะนำมายังไม่เปิดขาย เขากำลังวุ่นอยู่กับการเตรียมวัตถุดิบ พอสอบถามได้ความว่า เปิด 10 โมง ปิด 5 โมงเย็น...เลยอดกินไปตามระเบียบ คงต้องไว้คราวหน้าผ่านมาแถวนี้ต้องมากินร้านนี้ให้ได้ล่ะครับ เพราะเพื่อนผมการันตีความอร่อยมาถึงขนาดนี้แล้ว นอกจากนี้ยังแนะนำว่า ไม่ไกลจากร้านนี้เท่าไหร่ ก็ยังมีไอติมเจ้าอร่อยชื่อว่า จิงจิงไอศกรีม อีกด้วย เอาไว้คราวหน้ามาใหม่ต้องได้กินแน่นอน วันนี้ขอตัวลาไปก่อนละครับ.......
เรื่องและภาพโดย นายสามเหลี่ยม
#เพจศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่ตลาดใหม่บ้านหมี่