ทิฏฺฐํ สุตํ มุตํ วิญฺญาตํ

ใน 4 คำนี้มีสมาชิกบางท่าน สงสัยการแปลในพระไตรปิฎกภาษาไทย ผมก็พยายามหาความหมายมาเพื่อไม่ให้เพื่อนสมาชิกปรามาส มหาเปรียญผู้แปลพระไตรปิฎก
 


https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=21&A=635

ทิฏฺฐํ  สุตํ  มุตํ  วิญฺญาตํ เป็น past tense
ทิฏฺฐํ ...(รูป) ที่เห็นแล้ว, ที่ได้เห็น
สุตํ......(เสียง) ที่ได้ยินแล้ว, ที่ได้ฟัง
มุตํ......(อารมณ์) ที่ทราบแล้ว, ที่ได้ทราบ
วิญฺญาตํ...(ธรรมารมณ์) ที่รู้แล้ว, ที่รู้แจ้ง

@@@
อารมณ์คือสิ่งที่จิตรู้ ในที่นี้ก็พูดถึงอารมณ์ที่รับรู้โดยทวารทั้ง 6
..1..รูปารมณ์ก็จักขุวิญญาณไปรู้หรือเห็นรูป..
..
..2..สัททารมณ์..ก็โสตะวิญญาณไปรับรู้หรือไปได้ยินเสียง (สัททรูป)
...
..3,4,5..คันธารมณ์ รสารมณ์ และโผฏฐัพพารมณ์.เป็นอารมณ์ที่รู้ทางจมูก ลิ้นและกาย.ทั้ง 3 นี้เรียกว่า มุตํ ทำไมถึงรวมไว้ 3 อารมณ์ 

https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=421
อรรถกถาชี้แจงว่า...อารมณ์ที่ทราบได้ (มุตํ) ได้แก่ คันธายตนะ รสายตนะ (และ) โผฏฐัพพายตนะ.
               ก็คันธายตนะ รสายตนะ (และ) โผฏฐัพพายตนะ นั้นเรียกว่าอารมณ์ที่ทราบได้ (มุตํ) เพราะต้อง (ให้) มาถึง (ปสาทรูป) ก่อนจึงจะรับได้.
...
..6..ธรรมารมณ์คืออารมณ์ที่รู้ได้ทางใจ
ถ้าเอาลึกกว่านี้ก็คงต้องไปหาท่านมหาแปลให้เองละครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่