มีใครเคลมประกันโควิด19 เมืองไทยประกันชีวิตได้บ้างคะ ตอนนี้

สอบถามเพื่อนๆ ที่ทำประกันโควิด บริษัทเมืองไทยประกันภัยมีใครได้รับค่าสินไหม ทดแทนบ้างมั้ยคะช่วงนี้

เราได้ซื้อประกันไวรัสโคโรนา 2019 แผน One Stop ให้คุณแม่ อายุ 78 ปี ทางออนไลน์ เมื่อวันที่ 13 กรกฏาคม พ.ศ. 2564 ในราคา 480 บาท  เลขที่ใบคำขอ (Proposal ID):7160168556 , เลขที่กรมธรรม์ (Policy No):HK790334 , เบี้ยประกันภัย (Premium):480.00บาท/Baht
คุณแม่ได้ติดเชื้อโควิดในวันที่ 20 มีนาคม 2565 โดยได้รับการตรวจที่โรงพยาบาลเลิดสิน และได้รักษาตัวอยู่ในแผนกไอซียู เป็นเวลาสามสัปดาห์และย้ายมาอยู่ห้องพิเศษ เป็นเวลา 2 สัปดาห์ที่โรงพยาบาลรามาจักรีนฤบดินทร์ โดยได้ออกจากโรงพยาบาลในวันที่ 27 มีนาคม 2565
เราได้ให้พี่ชายดำเนินการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ส่งเองสารตามที่ทางบริษัทต้องการ ได้แก่ ประวัติการรักษาแบบผู้ป่วยในของโรงพยาบาล, ผลการตรวจเชื้อโควิด -19, ใบรับรองแพทย์, ใบเสร็จรับเงินจากโรงพยาบาลรามาจักรีนฤบดินทร์ 

เนื่องจากกรมธรรม์จะสิ้นสุดในวันที่ 12 กรกฏาคม 2565 นี้  จนถึงปัจจุบันนี้ทางเรายังคงไม่ได้รับเงินค่าสินไหมทดแทน เพิ่งทราบจากพี่ชายว่ามีเจ้าหน้าที่โทรมาบอกว่า จะไม่ให้เนื่องจากมีโรคประจำตัวมาก่อน คือโรคเบาหวาน โรคหัวใจ
เราไม่เข้าใจว่า  ตอนที่ซื้อประกันโควิดให้แม่ ทางบริษัทก็ไม่มีเงื่อนไขว่าถ้ามีโรคประจำตัวจะไม่ได้รับค่าทดแทน  ตอนที่ซื้อประกันให้แม่ ทางเราก็ไม่ได้ต้องการให้แม่ติดโรคและหวังเงินประกัน แต่ต้องการเพิ่มความมั่นใจให้กับคุณแม่หากท่านได้รับการติดเชื้อจะได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด  และมีเงินช่วยเหลือบ้าง แม้ว่าคุณแม่จะได้รับวัคซีน Moderna แล้วจำนวนสองเข็ม แต่การติดเชื้อโควิดในวันที่ 20 มีนาคม 2565 ส่งผลให้ท่านอยู่ในห้องไอซียู เนื่องจากมีอาการไตวาย ติดเชื้อในกระแสเลือด ดังที่คุณหมอระบุในใบรับรอง และจากการที่ท่านมีอาการลองโควิด จึงทำให้ท่านมีอาการโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ และต้องได้รับการฟอกไตสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เป็นผู้ป่วยติดเตียง  เราจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลคุณแม่ไปเกือบแสน ที่รามาฯ โชคดีที่คุณแม่เป็นข้าราชการบำนาญจึงได้รับการลดหย่อนจากจำนวนเงินกว่าหกแสนบาท
เพื่อนๆ คิดว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ป่วยอย่างคุณแม่ที่อายุมาก จะได้รับค่าสินไหมทดแทนไหมคะ  เราเกรงว่าวันสิ้นสุดกรมธรรม์ใกล้มาถึงแล้วในวันที่ 12 กรกฎาคมนี้  เรายังหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะได้รับการบริการอย่างดี และรวดเร็วจากบริษัทเมืองไทยประกันภัย
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่