. โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ (Lumbar spinal stenosis) คือ ช่องโพรงกระดูกสันหลังมีการแคบตัวลงจากสาเหตุกระดูกหนาตัวขึ้น
หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน กระดูกเสื่อม หรือกระดูกสันหลังเคลื่อน เป็นต้น โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลัง
โดยอาจพบร่วมกับอาการปวดลงขาข้างเดียวหรือ 2 ข้างพร้อมๆกันก็ได้ เดินแล้วมีอ่อนแรงหรือปวดต้องหยุดเป็นพักๆ
พบได้บ่อยในคนที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป
อาการของโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลังเรื้อรัง โดยอาการปวดมักอยู่ที่ส่วนกลางของเอวและมักเป็นมากขึ้นในท่ายืน เดิน
หรือเมื่อมีการแอ่นหลังไปด้านหลังมากๆ ร่วมกับมีอาการปวด ชา หรือการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ
ผู้ป่วยมักอธิบายอาการปวดว่ามีอาการปวดหน่วง ขาหนัก ชาขา หรือรู้สึกเหมือนมีมดไต่ไปตามขา
โดยเฉพาะเมื่อมีการเดินหรือยืนนานๆ และอาการมักบรรเทาได้ด้วยการก้มโค้งหลังหรือมีการนั่งพัก
เนื่องจากในท่ายืนและท่าเดินนั้นโพรงประสาทจะแคบกว่าในท่าก้มโค้งหลัง ผู้ป่วยบางรายให้ประวัติว่าไม่สามารถเดินซื้อของนานๆ ได้
ต้องมีการนั่งพักเป็นระยะๆ บางรายมีอาการมาก เพียงยืนอาบน้ำหรือแปรงฟันก็ทำให้เกิดอาการได้
การรักษาทางกายภาพบำบัด
1.การลดอาการปวดด้วยการใช้การกระตุ้นไฟฟ้า การใช้เครื่องอัลตร้าซาวน์
2. การดึงหลังเพื่อเพิ่มระบบการไหลเวียนโลหิตและลดการกดทับเส้นประสาท
3.การออกกำลังกายเพื่อยืดกล้ามเนื้อ และเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
.
โดยฟิสิคอลคลินิกกายภาพบำบัด
การรักษาทางกายภาพบำบัดในผู้ป่วยโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ
หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน กระดูกเสื่อม หรือกระดูกสันหลังเคลื่อน เป็นต้น โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลัง
โดยอาจพบร่วมกับอาการปวดลงขาข้างเดียวหรือ 2 ข้างพร้อมๆกันก็ได้ เดินแล้วมีอ่อนแรงหรือปวดต้องหยุดเป็นพักๆ
พบได้บ่อยในคนที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป
อาการของโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลังเรื้อรัง โดยอาการปวดมักอยู่ที่ส่วนกลางของเอวและมักเป็นมากขึ้นในท่ายืน เดิน
หรือเมื่อมีการแอ่นหลังไปด้านหลังมากๆ ร่วมกับมีอาการปวด ชา หรือการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ
ผู้ป่วยมักอธิบายอาการปวดว่ามีอาการปวดหน่วง ขาหนัก ชาขา หรือรู้สึกเหมือนมีมดไต่ไปตามขา
โดยเฉพาะเมื่อมีการเดินหรือยืนนานๆ และอาการมักบรรเทาได้ด้วยการก้มโค้งหลังหรือมีการนั่งพัก
เนื่องจากในท่ายืนและท่าเดินนั้นโพรงประสาทจะแคบกว่าในท่าก้มโค้งหลัง ผู้ป่วยบางรายให้ประวัติว่าไม่สามารถเดินซื้อของนานๆ ได้
ต้องมีการนั่งพักเป็นระยะๆ บางรายมีอาการมาก เพียงยืนอาบน้ำหรือแปรงฟันก็ทำให้เกิดอาการได้
การรักษาทางกายภาพบำบัด
1.การลดอาการปวดด้วยการใช้การกระตุ้นไฟฟ้า การใช้เครื่องอัลตร้าซาวน์
2. การดึงหลังเพื่อเพิ่มระบบการไหลเวียนโลหิตและลดการกดทับเส้นประสาท
3.การออกกำลังกายเพื่อยืดกล้ามเนื้อ และเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
.
โดยฟิสิคอลคลินิกกายภาพบำบัด