นั่งรถไฟผ่านสถานีภาชีบ่อยๆ เห็นซากตู้โดยสารหน้าตาแปลกๆ จอดทิ้งอยู่บริเวณย่านสถานี และพอรู้ว่าเป็นตู้รถไฟของเอกชนที่ร่วมบริการ ตอนแรกก็ยังไม่ได้สนใจอะไรมาก จนไปเจอคลิป YouTube คลิปหนึ่งที่พาทัวร์ซากรถ ก็เลยเกิดความสนใจขึ้นมา ในขณะเดียวกันก็รู้สึกเสียดายที่ไม่มีโอกาสได้ใช้บริการ เพราะเกิดไม่ทัน ถึงเกิดทันก็ยังเด็กมาก
ก็เลยได้ไปหาข้อมูลมา บริษัทที่ให้บริการก็ไม่ใช่ใครอื่น เชิดชัยดีเซลราง เจ้าของเดียวกับอู่รถบัสเชิดชัยที่เพิ่งเป็นข่าวปิดตัวขายกิจการไปไม่นาน
ตู้รถไฟที่ให้บริการคือรถนั่งชั้น 1 ซึ่งเป็นชั้นที่ไม่มีให้เห็นในปัจจุบัน ปัจจุบันมีแต่รถนอนชั้น 1 ที่เป็นห้องๆ แต่ราคาก็แพงมากจนเกินความจำเป็น แบบนั้นเรียกว่าซื้อความเป็นส่วนตัวมากกว่าซื้อความสบาย
ชั้นโดยสารที่ใกล้เคียง ก็คือรถนั่งปรับอากาศชั้น 2 ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบของรถด่วนพิเศษดีเซลราง ส่วนที่เป็นตู้โดยสารนำไปพ่วงกับขบวนที่ใช้รถจักรลากก็มีคือ บชท.ป แต่ตู้โดยสารชนิดนี้มีจำนวนน้อยมากใน รฟท. จนไม่อาจนำมาให้บริการเป็นประจำได้
แต่ถ้าเทียบความสบาย (ขอไม่เรียกว่าความหรู) คิดว่ารถด่วนพิเศษดีเซลรางกับ บชท.ป เทียบไม่ติดแน่ เพราะแค่เห็นสภาพภายในตอนเป็นซาก ยังสัมผัสได้ถึงความสบายที่เหนือชั้นกว่า แค่เบาะก็แตกต่างแล้ว เพราะมันคือการยกเอาดีไซน์ของรถทัวร์ชั้น 1 มาไว้บนตู้รถไฟ
บางคนอาจจะเอาไปเทียบกับขบวน CNR ที่เข้ามาใหม่ แต่นั่นก็เป็นรถคนละประเภทกัน เพราะขบวน CNR เป็นรถนอน ที่วิ่งกลางคืนเป็นส่วนใหญ่ ถ้าปรับนั่งยังไงก็นั่งไม่สบายเท่ารถนั่งแท้ๆ (ที่ไม่ใช่ชั้น 3)
ภายในรถด่วนพิเศษดีเซลราง
ภายในตู้ บชท.ป
ภายในตู้ของเชิดชัยดีเซลราง
บรรยากาศขณะกำลังให้บริการ
รถชนิดนี้เรียกว่า รปอ. หรือ รถนั่งปรับอากาศชั้นเอก โดยจะพ่วงไปกับขบวนรถด่วนหรือรถเร็วที่วิ่งประจำอยู่แล้ว มี 3 สายคือ กรุงเทพ-หาดใหญ่ กรุงเทพ-อุบลราชธานี และกรุงเทพ-เชียงใหม่
ราคาค่าโดยสารอยู่ที่ 350-400 บาท ซึ่งก็ถือว่าไม่ได้แพงจนเกินไป ถ้าปัจจุบันยังให้บริการอยู่จะเป็นตัวเลือกที่ดีมาก ในขณะที่รถนอน CNR ที่เข้ามาใหม่ นั่งจากกรุงเทพไปเชียงใหม่เตียงล่างก็มีหลักพันให้เห็นแล้ว
ถึงตอนนี้ก็ได้แต่มองตาปริบๆ ว่าจะมีเอกชนรายไหนเข้ามาทำหรือเปล่า หรือถ้าจะรอ รฟท. ทำเองคงต้องฝันกลางวันไปก่อนเพราะแผนจัดซื้อรถดีเซลรางใหม่ 184 คันเงียบหายไปเลย
เมื่อก่อนไทยเคยมีรถไฟชั้นหนึ่งที่ให้บริการโดยเอกชนด้วย จะมีเอกชนรายไหนมาสานต่อไหม
ก็เลยได้ไปหาข้อมูลมา บริษัทที่ให้บริการก็ไม่ใช่ใครอื่น เชิดชัยดีเซลราง เจ้าของเดียวกับอู่รถบัสเชิดชัยที่เพิ่งเป็นข่าวปิดตัวขายกิจการไปไม่นาน
ตู้รถไฟที่ให้บริการคือรถนั่งชั้น 1 ซึ่งเป็นชั้นที่ไม่มีให้เห็นในปัจจุบัน ปัจจุบันมีแต่รถนอนชั้น 1 ที่เป็นห้องๆ แต่ราคาก็แพงมากจนเกินความจำเป็น แบบนั้นเรียกว่าซื้อความเป็นส่วนตัวมากกว่าซื้อความสบาย
ชั้นโดยสารที่ใกล้เคียง ก็คือรถนั่งปรับอากาศชั้น 2 ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบของรถด่วนพิเศษดีเซลราง ส่วนที่เป็นตู้โดยสารนำไปพ่วงกับขบวนที่ใช้รถจักรลากก็มีคือ บชท.ป แต่ตู้โดยสารชนิดนี้มีจำนวนน้อยมากใน รฟท. จนไม่อาจนำมาให้บริการเป็นประจำได้
แต่ถ้าเทียบความสบาย (ขอไม่เรียกว่าความหรู) คิดว่ารถด่วนพิเศษดีเซลรางกับ บชท.ป เทียบไม่ติดแน่ เพราะแค่เห็นสภาพภายในตอนเป็นซาก ยังสัมผัสได้ถึงความสบายที่เหนือชั้นกว่า แค่เบาะก็แตกต่างแล้ว เพราะมันคือการยกเอาดีไซน์ของรถทัวร์ชั้น 1 มาไว้บนตู้รถไฟ
บางคนอาจจะเอาไปเทียบกับขบวน CNR ที่เข้ามาใหม่ แต่นั่นก็เป็นรถคนละประเภทกัน เพราะขบวน CNR เป็นรถนอน ที่วิ่งกลางคืนเป็นส่วนใหญ่ ถ้าปรับนั่งยังไงก็นั่งไม่สบายเท่ารถนั่งแท้ๆ (ที่ไม่ใช่ชั้น 3)
ภายในรถด่วนพิเศษดีเซลราง
ภายในตู้ บชท.ป
ภายในตู้ของเชิดชัยดีเซลราง
บรรยากาศขณะกำลังให้บริการ
รถชนิดนี้เรียกว่า รปอ. หรือ รถนั่งปรับอากาศชั้นเอก โดยจะพ่วงไปกับขบวนรถด่วนหรือรถเร็วที่วิ่งประจำอยู่แล้ว มี 3 สายคือ กรุงเทพ-หาดใหญ่ กรุงเทพ-อุบลราชธานี และกรุงเทพ-เชียงใหม่
ราคาค่าโดยสารอยู่ที่ 350-400 บาท ซึ่งก็ถือว่าไม่ได้แพงจนเกินไป ถ้าปัจจุบันยังให้บริการอยู่จะเป็นตัวเลือกที่ดีมาก ในขณะที่รถนอน CNR ที่เข้ามาใหม่ นั่งจากกรุงเทพไปเชียงใหม่เตียงล่างก็มีหลักพันให้เห็นแล้ว
ถึงตอนนี้ก็ได้แต่มองตาปริบๆ ว่าจะมีเอกชนรายไหนเข้ามาทำหรือเปล่า หรือถ้าจะรอ รฟท. ทำเองคงต้องฝันกลางวันไปก่อนเพราะแผนจัดซื้อรถดีเซลรางใหม่ 184 คันเงียบหายไปเลย