🇹🇭มาลาริน💗17พ.ค.ไทยไม่ติดTop10โลก/ป่วย3,893คน หายป่วย7,323คน ตาย38คน รักษาอยู่63,337คน/หมอ ยง เผยโควิดอยู่ในภาวะขาลง


https://www.sanook.com/news/8562126/


https://www.bangkokbiznews.com/news/1004784


หมอ ยง" ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ โพสต์อธิบาย "โควิด-19" อยู่ในภาวะขาลง และจะเข้าสู่โรคตามฤดูกาลคล้ายกับไข้หวัดใหญ่

วันที่ 17 พฤษภาคม 2565 ศ.นพ. ยง ภู่วรวรรณ หรือ "ยิ้มง" หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความระบุถึง โควิด-19 อยู่ในภาวะขาลง และจะเข้าสู่โรคตามฤดูกาล

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หรือ "ยิ้มง" ระบุว่า จากข้อมูลการระบาดของโรคโควิด-19 อยู่ในภาวะขาลง (รูปที่ 1) และการระบาดต่อไปในอนาคตก็น่าจะมีฤดูกาลคล้ายกับไข้หวัดใหญ่
 
เมื่อย้อนไปดูการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 จะมีการระบาดอย่างมากในปีแรก และต้นปีที่ 2 หลังจากนั้นก็เป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ก็ยังคงอยู่จนถึงทุกวันนี้ ดังแสดงในรูป 2
 
ไข้หวัดใหญ่ระบาดในแต่ละปี ก็ขึ้นอยู่กับชนิดสายพันธุ์ของไข้หวัดใหญ่ ที่มีทั้งไข้หวัดใหญ่ A และ B


การระบาดในแต่ละปี พบได้ตลอดทั้งปีแต่จะพบมาก ตามฤดูกาล โดยมีช่วงสูงสุดระยะแรก หลังเปิดเทอมแรกในฤดูฝน ที่มีโรคทางเดินหายใจสูง และจะสงบลงเมื่อเข้าสู่ช่วงตุลาคม พฤศจิกายน และจะพบการระบาดขึ้นช่วงที่ 2 แต่ต่ำกว่า ในเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม และเมื่อเด็กปิดเทอมเข้าสู่ฤดูร้อน โรคทางเดินหายใจก็จะลดลง และจะไปเพิ่มขึ้นอีกเมื่อเปิดเทอม เป็นไปตามฤดูกาลมาโดยตลอด
 
ในทำนองเดียวกัน เราก็เชื่อว่าการระบาดของ covid-19 ในอนาคต ในปีต่อ ๆ ไป ก็น่าจะมีรูปแบบที่คล้ายกัน
 
การให้วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ช่วงระยะเวลาที่ให้ดีที่สุดจึงเป็นก่อนเปิดเทอมแรกให้มีภูมิต้านทานที่สูงในการป้องกันในช่วงฤดูฝน
 
ทำนองเดียวกัน เมื่อเปิดเทอม covid-19 ก็จะเพิ่มสูงขึ้น และถ้าต่อไปโรคโควิด-19 จำเป็นต้องให้วัคซีนทุกปี ช่วงที่ให้วัคซีนดีที่สุด ควรจะเป็นช่วงก่อนที่นักเรียนจะเปิดเทอม
 


https://www.bangkokbiznews.com/news/1004718

...ติดตามข่าวโควิดวันนี้ค่ะ

สถานการณ์ดีขึ้นๆต่อเนื่อง

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 14

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม 2565
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/563768978574764


จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 16 พ.ค. 2565)
รวม 135,697,195 โดส ใน 77 จังหวัด

ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 16 พฤษภาคม 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 25,923 โดส

เข็มที่ 1 : 2,764 ราย
เข็มที่ 2 : 6,281 ราย
เข็มที่ 3 : 16,878 ราย

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 56,526,942 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 51,977,479 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 27,192,774 ราย

แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/563762755242053


ตอบข้อสงสัย คุณแม่ตั้งครรภ์ กับ โควิด-19
• คุณแม่ตั้งครรภ์ติดโควิด-19 มีความเสี่ยงรุนแรงไหม?
• โควิดทำให้คลอดก่อนกำหนดได้หรือไม่?
• คุณแม่ตั้งครรภ์และให้นมบุตรสามารถฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้ไหม?
• คุณแม่ตั้งครรภ์ติดโควิด-19 สามารถให้นมลูกได้หรือไม่?

หากคุณแม่มีข้อสงสัย หรือกังวลเกี่ยวกับไวรัสโควิด-19
สามารถขอรับคำปรึกษากับแพทย์ฝากครรภ์ หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเป็นแนวทางในการรับมืออย่างถูกต้อง

ที่มา : กรมกิจการเด็กและเยาวชน
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/563754905242838


กรมอนามัย ย้ำ !! สถานศึกษาปฏิบัติตามแผนเผชิญเหตุ กรณีพบผู้ติดเชื้อโควิด หรือผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ไม่ปิดชั้นเรียนหรือโรงเรียน

นายแพทย์สราวุฒิ บุญสุข รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า สถานศึกษาทั่วประเทศจะเปิดเทอม On-Site ภาคเรียนที่ 1/2565 ในวันที่ 17 พฤษภาคมนี้ กรมอนามัยขอเน้นย้ำสถานศึกษาปฏิบัติตามแผนเผชิญเหตุ กรณีพบผู้ติดเชื้อหรือผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ไม่ปิดชั้นเรียนหรือโรงเรียน สำหรับโรงเรียนประจำ เน้นมาตรการ Sandbox Safety Zone in School (SSS) กรณีนักเรียน ครู หรือบุคลากร เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ เปิดเรียน On-site ปกติ ปฏิบัติตามมาตรการ UP (Universal Prevention) ประเมิน Thai Save Thai (TSC) และเว้นระยะห่างของนักเรียนในห้องเรียนไม่น้อยกว่า 1 เมตร กรณีผู้สัมผัสเสี่ยงสูง จัดการเรียนการสอน ปฏิบัติงาน ทำกิจกรรมใน Quarantine Zone ตามมาตรการ SSS เป็นเวลา 5 วัน และติดตามสังเกตอาการอีก 5 วัน กรณีผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 ครบตามคำแนะนำปัจจุบัน ไม่มีอาการ ไม่แนะนำให้กักกัน สำหรับการตรวจคัดกรองหาเชื้อด้วย ATK ถ้ามีอาการ ให้ตรวจทันที ถ้าไม่มีอาการให้ตรวจคัดกรองครั้งแรกในวันที่ 5 และตรวจครั้งสุดท้ายในวันที่ 10 หลังสัมผัสผู้ติดเชื้อ กรณีนักเรียน ครู หรือบุคลากร เป็นผู้ติดเชื้อ ให้ปฏิบัติดังนี้
1) พิจารณาร่วมกับหน่วยบริการสาธารณสุข แยกกักกัน ที่โรงเรียน (School Isolation) และพิจารณาร่วมกับหน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่ หรือคณะกรรมการ โรคติดต่อจังหวัด กรณีไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย จัดการเรียนการสอนได้ตามความเหมาะสม เว้นระยะห่างไม่น้อยกว่า 2 เมตร งดกิจกรรมรวมกลุ่ม เน้นการระบายอากาศ โดยปฏิบัติตาม UP-DMHTA อย่างเคร่งครัด
2) ติดต่อหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ตามระบบงานอนามัยโรงเรียน
3) ทำความสะอาดห้องเรียน ชั้นเรียน สถานศึกษาตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข และเรียนได้ตามปกติ

กรณีพบนักเรียน ครู หรือบุคลากร เป็นผู้ติดเชื้อ ให้ปฏิบัติดังนี้
1) แยกกักกันที่บ้าน (Home Isolation) หรือปฏิบัติตามคำแนะนำของสถานบริการสาธารณสุข
2) พิจารณาจัดทำ School Isolation โดยคณะกรรมการสถานศึกษา หน่วยงานสาธารณสุข และคณะกรรมการโรคติดต่อประจำจังหวัด
3) จัดรูปแบบการเรียนการสอนอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่มีอาการ
4) ทำความสะอาดห้องเรียน ชั้นเรียน สถานศึกษา และเปิดเรียนตามปกติ ทั้งนี้ เน้นย้ำสถานศึกษาจัดการเรียนการสอนอย่างเหมาะสม โดยเว้นระยะห่างไม่น้อยกว่า 2 เมตร สำหรับผู้สัมผัสเสี่ยงสูง และผู้ติดเชื้อ และประสานหน่วยบริการสาธารณสุข ตามระบบงานอนามัยโรงเรียน

ที่มา กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/563779271907068


รายละเอียดผู้เสียชีวิตของประเทศไทย
วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม 2565 จำนวน 38 ราย
แหล่งข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/563771451907850


มท. สั่งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศแจ้งเทศบาลทุกแห่งเลื่อนเลือก 'กรรมการชุมชน' เพื่อป้องกันโควิด
ส่วนเทศบาลที่ยังไม่เลือกกรรมการชุดใหม่ ให้คณะกรรมการชุมชนที่ครบวาระปฏิบัติหน้าที่ต่อไป

ตามที่กระทรวงมหาดไทยได้มีการประกาศใช้ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยคณะกรรมการชุมชนของเทศบาล พ.ศ. 2564 มีผลตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2564 โดยระเบียบฯ ได้กำหนดว่าในเขตเทศบาลที่ไม่มีการแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้าน เทศบาลสามารถพิจารณาจัดตั้งเป็นชุมชนได้โดยจัดทำเป็นประกาศเทศบาลจัดตั้งชุมชน เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพี่น้องประชาชนในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นร่วมกับเทศบาล ทั้งในด้านการจัดบริการสาธารณะ การแก้ปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน เศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น อันเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน โดยให้มีคณะกรรมการชุมชนที่มาจากการเลือกโดยประชาชนในชุมชน จำนวน 5 - 9 คน ตามที่เทศบาลประกาศกำหนด มีวาระการปฏิบัติหน้าที่คราวละ 4 ปีนับแต่วันเลือกกรรมการชุมชน โดยคณะกรรมการชุมชนที่ครบวาระ ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีการได้เลือกคณะกรรมการชุมชนชุดใหม่

กระทรวงมหาดไทย ได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการครบวาระคณะกรรมการชุมชนของเทศบาลในพื้นที่ต่าง ๆ และได้รับการประสานงานสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับการดำเนินการตามระเบียบฯ ดังกล่าว แต่เนื่องจากในขณะนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ยังคงอยู่ในสถานการณ์ที่ยังต้องเฝ้าระวัง และปฏิบัติตามมาตรการควบคุมแบบบูรณาการ ข้อห้าม ข้อยกเว้น และข้อปฏิบัติสำหรับพื้นที่สถานการณ์ระดับต่าง ๆ เช่น การห้ามจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค การรวมกลุ่มของบุคคลที่สามารถจัดได้โดยไม่ต้องขออนุญาต มาตรการควบคุมแบบบูรณาการจำแนกตามพื้นที่สถานการณ์ ฯลฯ ตามข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 44) จึงได้สั่งการไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดแจ้งให้เทศบาลในเขตพื้นที่ทุกแห่ง เลื่อนการเลือกกรรมการชุมชนของเทศบาลออกไปก่อนจนกว่าจะมีมาตรการที่ชัดเจน ซึ่งกระทรวงมหาดไทยจะได้แจ้งให้ทราบต่อไป

ที่มา: กระทรวงมหาดไทย
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/563821591902836


อาการลองโควิดหลังจากการติดเชื้อพบได้หลากหลายในทุกระบบของร่างกาย แต่ละคนอาจมีอาการไม่เหมือนกัน ดังนั้น ยังไม่ควรประมาทโควิด แม้อาการป่วยอาจไม่รุนแรง แต่ผลกระทบจากลองโควิดยังเป็นเรื่องน่าเป็นห่วงอยู่นะ

ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/563838678567794


มาตรการเปิดเรียน On Site ปลอดภัย อยู่ได้กับโควิด-19
ในสถานศึกษา รองรับการเปิดภาคเรียนที่ 1/2565

ที่มา: สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/563877018563960
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่