เสียบ้านเพราะผู้กู้ร่วม ไม่มีกฎหมายช่วยผู้กู้ร่วมคนที่1เลยหรือ

ตั้งแต่มีโควิดมาปี2563   2564  ก็มีการช่วย หยุด ช่วยยึด เวลา ในการผ่อนชำระ พอมาปี2565  เจ้าหนี้บัตรเครดิตรของสถาบันการเงิน ต่างๆ  แจก หมายศาล ฟ้องรีอง กันทั่วหน้า หมดเวลาโปรโมชั้น  ตอนนี้ได้ยินได้ฟัง  เรื่อง ผู้กู้ร่วม  ทำหนี้เสีย คือ ไมมีเงิน ไป ใช้ หนี้บัตรเครดิตร  บางคน5ใบ บางคน3ใบ แล้วแต่ว่าไปเอาออกมาใช้  ตอนนี้ เริ่มมีหมายศาลส่งมาละให้ขึ้นศาล  แต่ดูท่าที ก็จะไม่ไป  ตามที่ผู้กู้ร่วมคนที่1เล่าให้ฟังนะ  ทำไม ไม่มี........ กฏหมายแพ่ง  ช่วยเหลือ   คนกู้ร่วมคนที่1บางหรือ ว่า.......   บ้านและที่ดิน ที่ติดจำนองกับธนาคารและกำลังผ่อนและมีชื่อผู้กู้ร่วม 2คนขึ้นไป  เจ้าหนี้ จะไม่สามารถนำทรัพย์นั้นขายทอดตลาดได้  นอกจากจะผ่อนหมดแล้วถึงนำไปขายทอดตลาดได้....     ทำไมกฏหมายถึงให้ อภิสิทธิ์ บัตรเครดิตรหรือเจ้าหนี้  เอาบ้านที่ผ่อนอยู่ไปขายได้   อีกคนที่เขาไม่ได้กระทำ ต้องเดือดร้อนไปด้วย   ต้องไปเสียค่าโอนที่ดิน เสียค่าเปลี่ยนแปลงสัญญา หรือบางคน ถูกยึดบ้านขายทอดตลาด จนไม่มีที่อยู่ แถมต้องมานั่งผ่อนลม บ้านก็ไม่ได้อยู่      อยากถามท่านทั้งหลายที่อ่านกระทู้ร่วมแสดงความคิดเห็นว่า  การที่บ้านที่ดินในประเทศไทย ถูกยึดไปขายทอดตลาด ติดกรมบังคับคดี เยอะเเยะ เพราะผู้กู้ร่วมคนที่อื่น สร้างหนี้เสีย  ทางรัฐ ทางธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่ได้เห็น ปัญหาตรงนี้หรือ    ขอเชิญมาแสดงความคิดเห็น กันหน่อย ปัญหาใหญ่ แต่นิ่งเฉย  (และถ้าบ้านถูกกรมบังคับคดียึดไปขายทอดตลาดเยอะเเยะแบบนี้ มันจะเป็นผลเสีย เป็นหนี้เสีย ต่อระบย สินเชื่อมากใหม  )
แก้ไขข้อความเมื่อ

สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
ไม่ให้กู้ร่วม ก็โวยวาย
กู้ร่วมแล้วมีปัญหา ก็โวยวาย

ธนาคารเค้าก็พยายามแล้ว นะ ให้คนกู้ร่วมเป็นคนที่ควรจะรู้จักกันดี ไว้ใจกันได้

แต่ถ้าหลังจากกู้แล้ว เกิดการผิดใจกัน ไว้ใจกันไม่ได้ ก็ไม่ใช่ความผิดธนาคารแล้วนะ
ความคิดเห็นที่ 12
อ่านแล้วเพลีย
กู้คนเดียวไม่ผ่าน เลยไปลากอีกคนมากู้ร่วม พอมีปัญหา จะให้รัฐช่วย
ตรรกป่วยเพี้ยนแหวะ
ความคิดเห็นที่ 1
จะให้รัฐ ช่วยยังไง แค่เขาออกมาตรการให้กู้ร่วมได้ ก็ดีแค่ไหนแล้ว

ผมมองว่ามันเป็นเรื่องปกติ ของการกู้เงินเลย จะกู้1คน 2 คน 3 คน ก็มีปัญหาทางการเงินได้ทั้งนั้น

การจะเอาคนมากู้ร่วม ทั้งคู่ต้องรุ้สถานะตัวเองอยู่แล้วว่าจะเป็นหนี้..พร้อมกัน
ทั้ง2ฝ่าย ต้องยินยอมพร้อมใจ ที่จะเป็นหนี้ และมั่นใจผู้กู้ร่วมซึ่งกันและกัน...

ธนาคารไม่มีวันรุ้หรอก ว่าจะทะเลาะกันยังไง ตรวจเครดิตบูโร ทั้งคู่แล้วไม่มีปัญหาการเงินก็จบแล้ว

ทั้งคู่ต้องมีความเชื่อมั่นว่า ผู้กู้ร่วมไม่มีใครทิ้งใคร มากกว่าธนาคารจะรุ้ได้อีกครับ.....

ประเด็นกู้ร่วมที่มีปัญหา ผ่อนต่อไม่ไหว
1.  ส่วนใหญ่ น่าจะเกิน70% แฟนกัน สามีภรรยา กู้ร่วมแล้วเลิกลากันไป ผ่อนต่อไม่ไหว.. เยอะ
2.  เอา พี่น้อง พ่อแม่ สายเลือดเดียวกัน มากู้ร่วม ส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาอื่นๆ
3.  เอาคนนอก มากู้ร่วม เช่นญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของผู้กู้ร่วมเลยต้องพิจารณาให้ดี ว่าเลือกใครสักคนมา

ส่วนเรื่องการคุ้มครอง ผู้กู้หลัก ผู้กู้ร่วม รัฐจะรุ้ได้ไงว่าใครผ่อนมาก ผ่อนน้อย....  ธนาคารเขาก็ต้องบังคับหนี้เป็นเรื่องปกติ

ดังนั้นผู้กู้ซื้อบ้าน ก็ต้องพิจราณาตัวเองให้ดีก่อน จะเลือกใครมาร่วมกู้บ้านด้วย...
ความคิดเห็นที่ 3
แล้วธนาคารบัตรเครดิตที่คนกู้ร่วมเขาผิดอะไรถึงไม่ให้เขายึดทรัพย์
มันไม่ใช่เรื่องของคุณจริงแต่ มันเป็นเรื่องของธนาคารกับคนที่ผิดนัดชำระ แล้วบ้านที่กู้ร่วมมันก็เป็นของคนผิดนัด ไม่ใช่ของคุณคนเดียว
ซึ่งคุณก็ยินยอมและรู้ในส่วนนี้ตั้งแต่กู้ร่วมแล้ว
หรือไม่?

เพราะฉะนั้นคนที่ไม่รู้เรื่องอะไรด้วยคือบัตรเครดิตที่เขาจะยึด

แชะขายได้เงินมาก็ต้องแบ่งให้อยู่แล้วรึเปล่า?
ความคิดเห็นที่ 7
กฏ มันมีมาตั้งแต่ก่อนกู้แล้ว แล้วผู้กู้ก็เซ็นยินยอมแล้ว
เวลาเกิดปัญหา ต้องย้อนไปดูว่า ผิดที่กฏหรือผิดที่คน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่