พุทธบริษัทที่ดีควรทำอย่างไรกับคัมภีร์ที่สาวกแต่งใหม่ และคัมภีร์นอกศาสนา

[๔๘] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้   บริษัท ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
    ๑. บริษัทที่ดื้อด้าน ไม่ไต่ถาม และไม่ได้รับการแนะนำ
    ๒. บริษัทที่ไต่ถาม ได้รับการแนะนำ และไม่ดื้อด้าน
 1 บริษัทที่ดื้อด้าน ไม่ไต่ถาม และไม่ได้รับการแนะนำ เป็นอย่างไร
  คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้เมื่อผู้อื่นกล่าวสูตรที่ตถาคตกล่าวไว้ ล้ำลึก มีเนื้อ
ความลึกซึ้ง เป็นโลกุตตรธรรม ประกอบด้วยความว่าง 
พวกภิกษุไม่ตั้งใจฟังให้ดีไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อรู้ทั่วถึง และไม่ให้ความสำคัญธรรมว่าควรเรียนควรท่องจำให้ขึ้นใจ 
(ไม่สนใจเรียน ไม่สนใจศึกษา ไม่ท่องจำ พระสูตรที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้)

แต่เมื่อผู้อื่นกล่าวสูตรที่ท่านผู้เชี่ยวชาญได้รจนาไว้เป็นบทกวี
มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร อยู่ภายนอก๑- เป็นสาวกภาษิต๒- 
ภิกษุเหล่านั้นกลับ ตั้งใจฟังอย่างดี เงี่ยหูฟัง เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อรู้ทั่วถึง และให้ความสำคัญธรรมว่าควร
เรียน ควรท่องจำให้ขึ้นใจ ครั้นท่องจำธรรมนั้นแล้ว ไม่สอบสวน ไม่ไต่ถามกันว่า
“พุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร เนื้อความแห่งพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร” ภิกษุเหล่านั้นไม่
เปิดเผยธรรมที่ยังไม่ได้เปิดเผย ไม่ทำให้ง่ายซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้ง่าย และไม่
บรรเทาความสงสัยในธรรมที่น่าสงสัยหลายอย่าง บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่ดื้อด้าน
ไม่ไต่ถาม และไม่ได้รับการแนะนำ
(แต่ถ้าเป็น คัมภีร์ที่คนอื่นได้แต่งเอาไว้ เป็นของนอกศาสนา เป็นสิ่งที่สาวกได้แต่งขึ้นเอง กลับตั้งใจฟัง สนใจเล่าเรียนศึกษา โดยไม่ทำการตรวจสอบ เนื้อความ ว่าถูกต้องตรงกับพุทธพจน์หรือไม่)

 2 บริษัทที่ไต่ถาม ได้รับการแนะนำ และไม่ดื้อด้าน เป็นอย่างไร
  คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้เมื่อผู้อื่นกล่าวสูตรที่ท่านผู้เชี่ยวชาญรจนาไว้ เป็นบทกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร อยู่ภายนอก เป็นสาวกภาษิต พวกภิกษุไม่
ตั้งใจฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อรู้ทั่วถึง และไม่ให้ความสำคัญธรรมว่าควรเรียน ควรท่องจำให้ขึ้นใจ 
(เมื่อมีคนเอาคัมภีร์ที่คนอื่นแต่งเอาไว้ไม่ว่าจะเป็นของคนนอกศาสนา หรือว่าเป็นของสาวกแต่งขึ้นเอง จะต้องไม่สนใจ ไม่ให้ความสำคัญ)

แต่เมื่อผู้อื่นกล่าวสูตรที่ตถาคตกล่าวไว้ ล้ำลึก มีเนื้อความลึกซึ้ง เป็นโลกุตตรธรรม ประกอบด้วยความว่าง ภิกษุเหล่านั้นกลับ
ตั้งใจฟังด้วยดี เงี่ยหูฟัง เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อรู้ทั่วถึง และให้ความสำคัญธรรมว่าควร
(แต่ถ้าเป็นพระสูตรของพระพุทธเจ้า จะให้ความสำคัญ ตั้งใจศึกษาค้นคว้าเป็นอย่างดี )

@เชิงอรรถ :
@๑ อยู่ภายนอก หมายถึงอยู่ภายนอกพระพุทธศาสนา (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๘/๕๕)
@๒ เป็นสาวกภาษิต หมายถึงเป็นภาษิตอันเหล่าสาวกของเจ้าลัทธิคนใดคนหนึ่งที่ไม่ได้ชื่อว่าเป็นพระพุทธ-
@สาวกได้ภาษิตไว้ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๘/๕๕, องฺ.ทุก.ฏีกา ๒/๔๘/๕๓)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๙๑}
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่