🇹🇭มาลาริน💚23มี.ค.ไทยไม่ติดTop10โลก/ป่วย25,164คน หายป่วย24,770คน ตาย80คน/เกาหลีใต้ติดเชื้อเกือบห้าแสนคน/ข่าวเดลต้าครอน


https://www.sanook.com/news/8536134/

https://www.thebangkokinsight.com/news/politics-general/covid-19/833736/

https://www.bangkokbiznews.com/social/995246

https://www.sanook.com/news/8536282/

เพี้ยนแคปเจอร์ไทยพบ "เดลตาครอน" 73 ราย รอ GISAID ฟันธง ยังไม่มีวี่แววมาแทน "โอมิครอน" ย้ำ "เดลตา" แทบสูญ โอกาสเจออีกน้อยมาก



ไทยตรวจเจอ "เดลตาครอน" 73 ราย รอ GISAID วิเคราะห์ก่อนฟันธง ยังไม่มีข้อมูลพอแพร่เร็ว รุนแรง หรือหลบภูมิ สธ.ชี้เป็นตัวอย่างช่วงเดลตายังแพร่มาก ทำให้เจอลูกผสมได้ แต่ล่าสุดเดลตาน้อยลง เป็นโอมิครอน 99.95% สัดส่วนเป็น BA.2 มากถึง 78.5% โอกาสเกิดไฮบริดน้อย ล่าสุดยังไม่เห็นวี่แววแพร่เร็วจนมาแทนโอมิครอน

เมื่อวันที่ 23 มี.ค. นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงความคืบหน้าการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด 19 ว่า จากการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด 19 สัปดาห์ที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 12-18 มี.ค. 2565 จำนวน 1,982 ราย เจอสายพันธุ์เดลตา 1 ราย คิดเป็น 0.05% ที่เหลือทั้งหมด 1,981 รายเป็นโอมิครอน คิดเป็น 99.95% เรียกว่าโอมิครอนครองประเทศไทยเกือบ 100% แล้ว ส่วนสายพันธุ์ย่อยของโอมิครอน พบ BA.2 จำนวน 1,479 ราย คิดเป็น 78.5% ซึ่งถือว่าเพิ่มขึ้นจากที่พบ 51.% และ 67.6% ขณะที่ตัวอย่างจากการติดเชื้อภายในประเทศ เป็น BA.2 ถึง 82.9% ซึ่งคาดว่าจะพบมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ยังไม่มีความแตกต่างเรื่องความรุนแรง แต่แพร่เร็วกว่า ทำให้ตรวจจับได้มากกว่า โดยขณะนี้เกือบทุกเขตสุขภาพเป็น BA.2 มากกว่า BA.1 ยกเว้นเขตสุขภาพที่ 9 ที่อาจมีการตรวจน้อย ทำให้พบสัดส่วนที่น้อยกว่า ส่วนเขตสุขภาพที่ 4 พบสัดส่วน BA.2 สูงสุด 90%

นพ.ศุภกิจกล่าวว่า จากการตรวจสายพันธุ์ย่อยของโอมิครอน เราสุ่มตรวจจากทุกกลุ่ม ทั้งประชาชนทั่วไป เดินทางมาจากต่างประเทศ กลุ่มที่อาการรุนแรงและเสียชีวิต บุคลากรทางการแพทย์ กลุ่มที่มีค่า CT ต่ำหรือติดเชื้อเยอะ กลุ่มคลัสเตอร์ 50 คนขึ้นไป และกลุ่มที่ได้รับวัคซีนครบโดส ซึ่งทุกกลุ่มมีสัดส่วนการติดเชื้อเป็น BA.2 ใกล้เคียงกัน เปอร์เซ็นต์ไม่ได้แตกต่างจากภาพรวม อย่างกลุ่มที่เสียชีวิต
พบ BA.2 ประมาณ 60% ดังนั้น BA.2 จึงไม่ได้มีอิทธิฤทธิ์อิทธิเดชทำให้เสียชีวิตมากขึ้น

ส่วนกรณีสายพันธุ์ BA.2.2 ในฮ่องกง ขณะนี้ก็เงียบไปแล้ว และไม่ได้มีการยืนยันว่า การเสียชีวิตที่เพิ่มมากขึ้นมาจาก BA.2.2 หรือไม่ นอกจากนี้ ทาง GISAID ก็ยังไม่ได้ประกาศชื่อ BA.2.2 หรือ BA.2.3 อย่างเป็นทางการ และยังไม่มีข้อมูลเพียงพอเรื่องการแพร่เร็ว ความรุนแรง หรือการหลบวัคซีน ส่วนประเทศไทยมีการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัว 500-600 รายต่อสัปดาห์ พบว่า BA.2.2 ในประเทศ 14 ราย จากต่างประเทศ 8 ราย และ BA.2.3 ในประเทศ 27 ราย ต่างประเทศ 34 ราย ซึ่งสัดส่วนก็สอดคล้องกับ GISAID ที่พบ BA.2.2 น้อยกว่า BA.2.3 ซึ่งการกลายพันธุ์ส่วนนี้ไม่ได้มีผลอะไรก็อาจจะหายไป

นพ.ศุภกิจกล่าวว่า ส่วนเดลตาครอนช่วงแรกที่พบในไซปรัสเป็นการปนเปื้อน ซึ่งการพบ 2 เชื้อนั้นจะมี 2 กรณี คือ ตรวจพบ 2 สายพันธุ์ในคนเดียวกัน คือ เชื้อ 2 เชื้ออยู่ในคนเดียวกัน และกรณีเชื้อ 2 สายพันธุ์ผสมกันและออกลูกหลาน โดยมีทั้ง 2 สายพันธุ์ในนั้น เรียกว่าไฮบริด หรือ Recombinant ซึ่ง "เดลตาครอน" ที่พบมาจากทั้งโอมิครอนในส่วนของ BA.1 และเดลตา AY.4 ซึ่งรายงานเข้า GISAID ประมาณ 4 พันกว่าราย แต่มีที่ตรวจสอบและยอมรับอย่างเป็นทางการ 64 ราย ส่วนใหญ่อยู่ในฝรั่งเศส 50 กว่าราย ที่เหลืออีก 4 พันกว่ารายยังต้องรอวิเคราะห์เพิ่มเติมว่าใช่เดลตาครอนหรือไม่ ซึ่งในส่วนนี้มีข้อมูลจากไทยที่ส่งเข้าไปด้วยประมาณ 70 กว่าราย

"กรณีนี้ไม่ต้องตกใจ ถ้าใช่เดลตาครอนก็คือใช่ แต่ขณะนี้ประเทศไทยเดลตาลดลงเรื่อยๆ โอกาสที่เจอแบบ Recombinant ก็จะเกิดน้อยลง เพราะไม่มีเดลตาเหลือให้ไปผสมแล้ว จึงขึ้นกับว่าเดลตาครอนที่มีอยู่จะมีอิทธิฤทธิ์อิทธิเดชอะไรหรือไม่ ถ้าเดลตาครอนแพร่เร็วขึ้นก็จะเห็นมาครองแทนโอมิครอน ก็ต้องรอดู แต่วันนี้ยังไม่เห็นวี่แวว ก็คิดว่าไม่น่ามีปัญหา ส่วนความรุนแรงก็ไม่มีข้อมูล ขณะที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ยังจัดชั้นของเดลตาครอนเป็นสายพันธุ์ที่ต้องติดตามดูข้อมูล ยังไม่จัดชั้นว่าเป็นสายพันธ์ที่น่าสนใจหรือน่ากังวล" นพ.ศุภกิจกล่าว

นพ.ศุภกิจกล่าวว่า สรุปแล้วประเทศไทยเป็นโอมิครอนเกือบทั้งหมด เดลตาหายาก ส่วนอัลฟาและเบตาหายไปหมดแล้ว สายพันธุ์ย่อยโอมิครอนเป็น BA.2 ขึ้นมาเกือบ 80% และจะเพิ่มขึ้น
เรื่อยๆ ส่วน BA.2.2 และ BA.2.3 เจอประปรายจากการตรวจถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัว โดยจะตรวจว่ามีการเพิ่มมากน้อยแค่ไหน ขณะที่เดลตาครอน GISAID ยืนยันทางการ 64 ราย ยังรอการวิเคราะห์ทวนสอบข้อมูลอีก 4 พันกว่าราย ซึ่งรวมถึงของไทยที่ส่งไป 73 ราย แต่ยังเป็นแค่สายพันธุ์ที่ต้องติดตาม ไม่มีข้อมูลเพียงพอเรื่องแพร่เร็ว รุนแรง หรือหลบภูมิ ส่วนมาตรการป้องกันต่างๆ ยังใช้ได้ ต้องเร่งฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น เพราะโอมิครอนหลบภูมิได้เยอะ หากมีภูมิไม่พออาจมีโอกาสติดเชื้อง่ายขึ้น โดยเฉพาะกลุ่ม 608 ยังต้องเร่งฉีดวัคซีน

เมื่อถามถึงเดลตาครอนของไทย 73 รายเป็นอย่างไร นพ.ศุภกิจกล่าวว่า GISAID ยอมรับเดลตาครอนแล้ว 64 ราย เหลืออีก 4 พันรายที่รอตรวจสอบข้อมูล จริงๆ ที่ได้ยินข่าวเจอที่อังกฤษมาก แต่ยังไม่ได้มีการส่งข้อมูลเข้าไป ส่วนของไทยเมื่อถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัวพบ 73 รายเข้าข่ายว่าเป็นเดลตาครอน แต่ผู้เชี่ยวชาญยังต้องช่วยกันดูว่าสรุปแล้วใช่จริงหรือไม่ ทั้งหมดไม่ใช่ตัวอย่างที่เกิดใน 1-2 สัปดาห์นี้ แต่เกิดขึ้นช่วง ธ.ค. 2564- ม.ค. 2565 ซึ่งยังมีเดลตากับโอมิครอนกันมาก ทำให้มีโอกาสผสมกันได้มาก โดยคนไข้ทั้ง 73 รายหายเรียบร้อยดีแล้ว ไม่มีเสียชีวิต อาจจะเป็นพันธุ์ผสมอันหนึ่งที่ไม่ได้หนักหนา และถ้าไม่แพร่เร็ว อีกสักระยะก็จบ และแม้ว่าจะเป็นสายพันธุ์หนักแต่ไม่แพร่เร็วเหมือนเบตาก็จะหายไป

"เท่าที่เห็นโอมิครอนมีคุณสมบัติอย่างหนึ่ง คือ หลบภูมิคุ้มกันได้ค่อนข้างดี จะเห็นคนติดเดลตามาแล้ว ไม่ได้การันตีว่าจะไม่ติดโอมิครอนซ้ำ จึงเป็นอีกได้ เพราะฉะนั้นวัคซีนไม่ว่าอะไรฉีด 2 เข็มนานพอควร ภูมิฯจะตก ป้องกันติดเชื้อไม่ได้จะต้องมากระตุ้น แต่ช่วยป้องกันป่วยตายได้พอสมควร แต่ถ้าภูมิฯ ยิ่งสูงยิ่งช่วยได้มากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่ม 608 ซึ่งอัตราการติดเชื้อเสียชีวิตยังสูง" นพ.ศุภกิจกล่าว


https://mgronline.com/qol/detail/9650000028368

เพี้ยนปักหมุด ติดตามข่าวโควิดวันนี้ค่ะ

ดูแลสุขภาพด้วยนะคะ...พาพันไฟท์ติ้ง
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 14

ศบค. มีมติเห็นชอบปรับมาตรการป้องกันโรคสำหรับการเดินทางเข้าราชอาณาจักร สำหรับผู้เดินทาง Test & Go (บก น้ำ อากาศ) Sandbox Quarantine (AQ,OQ,SQ) และผู้ควบคุมยานพาหนะ ที่ไม่มีฐานปฏิบัติการในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 ดังนี้

โดยก่อนเดินทางเข้าราชอาณาจักร ยกเลิกการตรวจ RT-PCR ทุกกลุ่ม และเมื่อเดินทางถึงราชอาณาจักร ต้องดำเนินการดังนี้

• กรณี Test & Go และ Sandbox ต้องตรวจ RT-PCR และ Self-ATK วันที่ 5
• กรณี Quarantine กักตัว 5 วัน และตรวจ RT-PCR วันที่ 4-5
• กรณี ผู้ควบคุมยานพาหนะ ที่ไม่มีฐานปฏิบัติการในไทย กักตัว 5 วัน และตรวจ Self-ATK วันที่ 5

นอกจากนี้ยังอนุมัติในหลักการแผนการเปิดรับผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักร (เดือนเมษายน-พฤษภาคม 2565) รวมทั้งมอบหมายให้ ศูนย์ปฏิบัติการ (ศปก.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ เพื่อให้มีผลบังคับใช้ 1 เมษายน 2565
https://web.facebook.com/PMOCNEWS/posts/285153840465488


“นพ.ยง” ชี้สถานการณ์โควิด-19 (โอมิครอน) ในไทยอยู่ในจุดสูงสุดแล้ว คาดจะปรับสู่โรคทางเดินหายใจประจำฤดูกาล (โรคประจำถิ่น) เตือนยังต้องเคร่งครัดมาตรการความปลอดภัย ฉีดวัคซีน ไม่ตื่นข่าวลือ

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หน.ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุ สถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทยที่มีการแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นมา แต่ความรุนแรงของโรคลดลง และการระบาดในช่วงนี้ ถือว่าถึงจุดสูงสุดแล้ว

“เนื่องจากมีอัตราการติดเชื้อทั้ง ATK และ RT-PCR จำนวน 5 - 7 หมื่นคน ผู้เสียชีวิต 80 คนต่อวัน ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุมีโรคประจำตัว ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนมากกว่าร้อยละ 90 และได้มีการปรับรูปแบบให้สอดคล้องกับจำนวนผู้ป่วยที่ส่วนใหญ่มีอาการน้อย หรือไม่มีอาการ” นพ.ยง ระบุ

จากข้อมูลยัง พบว่าการระบาดยังเพิ่มขึ้นจากการเปิดภาคเรียนทำให้พบการติดเชื้อในบ้านมากขึ้น สำหรับความคาดหวังจะเป็นโรคประจำถิ่นอาจปรับจากโรคติดต่อร้ายแรง ลงมาสู่โรคทางเดินหายใจประจำฤดูกาล คือการระบาดช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว พร้อมขอให้ประชาชนปรับตัวโดยปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัดมาตรการ โดยเฉพาะการฉีดวัคซีนตามเกณฑ์ รวมถึงการใช้ความระมัดระวังในการรับข้อมูลข่าวสารไม่ตื่นตระหนัก และตรวจสอบจากแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้
https://web.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/333768765452134


ศธ.พร้อมฉีดเข็มบูสเตอร์ให้ครูและนักเรียน รับเปิดเทอมใหม่

นายสุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า  การจัดฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับนักเรียนอายุ 12-18 ปี  ขณะนี้มีการจัดฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ให้กับนักเรียนไปแล้วกว่าร้อยละ 80 ที่เหลือส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักเรียนที่มาลงชื่อเพื่อขอรับการฉีดในภายหลัง จึงทำให้การฉีดให้เด็กกลุ่มนี้ยังไม่ครบ 100% แต่คาดว่าก่อนเปิดเทอมในเดือน พ.ค.นี้ นักเรียนกลุ่มนี้จะฉีดเข็มที่ 2 เกือบครบทั้ง100% แน่นอน

สำหรับเข็มที่ 3 ซึ่งเป็นเข็มบูสเตอร์นั้น กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กำหนดให้เว้นช่วงฉีดหลังจากฉีดเข็มที่ 2 ไปแล้วประมาณ 4-6 เดือน โดยเด็กนักเรียนที่ฉีดเข็มที่ 2 ในช่วงปลายเดือน ธ.ค.2564 และช่วงต้นเดือนม.ค.2565 หรือประมาณ 2.5 ล้านคน จะสามารถฉีดเข็มบูสเตอร์ได้ในช่วงเปิดเทอมพอดีในเดือน พ.ค. และจะมีนักเรียนบางส่วนที่ ศธ.จะต้องสำรวจรายชื่อเพื่อเข้ารับการฉีดเข็มบูสเตอร์ใหม่อีกครั้ง เนื่องจากนักเรียนบางคนมีการย้ายถิ่นฐาน หรือย้ายสถานศึกษา ดังนั้นการสำรวจใหม่จะทำให้ง่ายต่อการวางแผนในการจัดฉีดให้กับเด็ก

ในส่วนของการฉีดวัคซีนให้กับครู ล่าสุดพบว่าฉีดครบ 2 เข็มไปแล้วมากกว่า 90% ที่เหลือเป็นกลุ่มที่ไม่ต้องการฉีด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นบุคลากรทางการศึกษา หรือกลุ่มเจ้าหน้าที่ ส่วนการฉีดเข็มบูสเตอร์ให้กับครู จากข้อมูลเบื้องต้นฉีดไปแล้วเกือบ 50% ขณะนี้กำลังสำรวจตัวเลขที่ชัดเจนอีกครั้ง  
https://web.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/333815522114125


กรมวิทย์ฯ รอผลชัด สายพันธุ์ “เดลตาครอน” (ไฮบริด) ลูกผสมเดลตากับโอมิครอนในไทย เผยไม่น่าห่วง ไม่พบข้อบ่งชี้ความรุนแรง หลัง WHO จัดเป็นสายพันธุ์เฝ้าติดตาม‼

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยข้อมูลการเฝ้าระวังการกลายพันธุ์เชื้อโควิด 19 ช่วง 12-18 มี.ค.2565 จากสุ่มตรวจประชาชนที่ติดเชื้อ กลุ่มคนที่เสียชีวิต บุคลลากรการแพทย์ กลุ่มก้อนการติดเชื้อใหม่ที่ติดเกิน 50 คนขึ้นไป รวมถึงคนที่ติดเชื้อหลังรับวัคซีนครบโดสแล้ว 1,982 ราย พบเชื้อเดลตาเหลือเพียง 1 รายเท่านั้น ทำให้สายพันธุ์เชื้อที่ครองการระบาดในไทย ร้อยละ 99.9 เป็นสายพันธุ์โอมิครอน

“เมื่อแยกเฉพาะสายพันธุ์โอมิครอนขณะนี้ พบสายพันธุ์ย่อยเพียง BA.1 และ BA.2 ยังไม่พบ BA.3 และตามคาดคือ BA.2 ที่แพร่เร็วกว่า 1.4 แซงหน้า BA.1 ครองพื้นที่ระบาดคิดเป็น ร้อยละ 78.5 แล้ว จากสัปดาห์ก่อนที่พบเพียงร้อยละ 18 แต่ยังไม่พบข้อมูลบ่งชี้ว่า BA.2 แรงกว่า หรือแตกต่าง จาก BA.1 เพียงแค่แพร่เร็วกว่า ซึ่งจะเห็นจำนวนคนติดที่มากกกว่า แต่ความรุนแรงไม่ต่างจากเดิม” หมอศุภกิจ กล่าว

ส่วนความกังวลเรื่องสายพันธุ์เดลตาครอน (ผสมกันระหว่างสายพันธุ์เดลตา กับโอมิครอน) เกิดได้ 2 แบบ คือ

• การติดเชื้อ 2 สายพันธุ์ในคนเดียวแต่ไม่ได้ผสมรวมกัน
• การผสมกัน 2 สายพันธุ์ออกลูกมาเป็นเชื้อใหม่ที่เป็นลูกผสมของ 2 สายพันธุ์ (ไฮบริด)

ทั้งนี้  ทั่วโลกมีรายงานเข้าระบบ GISAID แล้วกว่า 4,000 ราย แต่ที่ยอมรับและรายงานเป็นทางการมีเพียง 64 ราย กว่า 50 รายอยู่ในฝรั่งเศส ส่วนที่ยังไม่ยืนยัน 4,000 ราย ต้องรอวิเคราะห์เพิ่มเติม รวมถึงกว่า 70 รายที่ไทยรายงานเข้าไปด้วย

“แต่แม้ที่ไทยรายงานไป จะใช่เดลตาครอนหรือไม่ ก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะจากสัดส่วนสายพันธุ์เดลตาในไทยที่ลดลงเรื่อยๆ โอกาสจะมีเดลตาผสมกับโอมิครอนจึงน้อยลง จะติดตามต่อว่า หากเป็นเดลตาครอน ผสมกันแล้วเชื้อจะมีอิทธิฤทธิ์หรือแพร่เร็ว กว่าโอมิครอนเดิม ก็อาจเข้ามาแทนที่สายพันธุ์โอมิครอนได้ แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่เห็นวี่แววว่าจะรุนแรง เร็ว หรือหลบภูมิมากกว่า และองค์การอนามัยโลก ยังจัดชั้นเดลตาครอน เป็นเพียงสายพันธุ์ที่ต้องเฝ้าติดตาม คล้ายชั้นเด็กประถม ไม่ใช่สายพันธุ์ที่น่าสนใจ หรือสายพันฺธุ์ที่น่าห่วงกังวล” อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุ

ดังนั้น มาตรการทั่วไปที่ใช้อยู่ทั้ง Universal Prevention : UP การเร่งวัคซีนเข็มกระตุ้น เน้นกลุ่ม 608 เร่งรับการฉีดก่อนสงกรานต์จึงยังใช้ได้ผลดี
https://web.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/333893248773019


ศิริราชเปิด Walk in ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ผู้ใหญ่ ทุกเข็ม แบบไม่ต้องจองคิวจนถึง 31 มี.ค.นี้

โรงพยาบาลศิริราช เปิดให้บริการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ สำหรับผู้ใหญ่ (อายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป) เข็มที่ 1, 2, 3, หรือ 4 ตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข โดยไม่ต้องจองล่วงหน้า! ตั้งแต่วันนี้จนถึง 31 มี.ค.65 เวลา 08.00 – 14.00 น. (ยกเว้นวันหยุดราชการ)  ติดต่อฉีดวัคซีนได้ที่ หน่วยฉีดวัคซีนโควิด19 ณ หอประชุมราชแพทยาลัย โรงพยาบาลศิริราช
https://web.facebook.com/Rachadaspoke/posts/388192109977511


สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง บริการตรวจ RT-PCR ราคา 950 บาท รู้ผล 24 ชม.

สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค แจ้งค่าบริการตรวจหาเชื้อโควิด 19 ด้วยวิธี RT-PCR พร้อมใบรับรองผลการตรวจในอัตราใหม่

• ตรวจ RT-PCR แบบปกติทราบผลภายใน 24 ชม. ค่าบริการรวม 950 บาท
• ตรวจ RT-PCR แบบด่วนทราบผลภายใน 4-6 ชม. ค่าบริการรวม 2,250 บาท

ให้บริการวันละ 150 คน แบ่งเป็นจองคิวออนไลน์ด้วยการแสกน QR-Code (ตามภาพ) วันละ 100 คน และเปิด Walk in วันละ 50 คน เข้ารับการตรวจที่คลินิกตรวจโรคทางเดินหายใจเฉียบพลัน สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง เขตบางเขน วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-15.00 น. สอบถามเพิ่มเติมโทร. 02-5211668, 061-642-4406
https://web.facebook.com/Rachadaspoke/posts/388117956651593


สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา เปิดรักษาผู้ป่วยจิตเวชและญาติที่ติดโควิด19 แบบเจอแจกจบ

สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา เปิดให้บริการผู้ป่วยจิตเวชและญาติที่ติดเชื้อโควิด19  กลุ่มอาการสีเขียว (มีอาการเล็กน้อย) เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก เจอแจกจบ ที่ตึกแสงสิงแก้ว วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00 - 15.00 น.

สำหรับเกณฑ์รับผู้ป่วย เช่น อายุ 15 – 60 ปี ที่ติดเชื้อโควิด19 มีผลตรวจ ATK เป็นบวก ไม่มีภาวะเสี่ยง เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ โรคอ้วน โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง หญิงตั้งครรภ์ เป็นต้น

สอบถามเพิ่มเติมโทร.02 4422500 ต่อ 59185 ในวันและเวลาทำการ
https://web.facebook.com/Rachadaspoke/posts/388065959990126


นายกฯสนับสนุน การวิจัยและพัฒนายาและเวชภัณท์ เพื่อให้ผู้ป่วยโควิด-19 ในไทยเข้าถึงการรักษาที่ดีทีสุด โดย สธ. ยืนยัน "ฟาวิพิราเวียร์” มีประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยโควิด–19

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ย้ำให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด – 19 เน้นคำถึงถึงทุกปัจจัยอย่างครอบคลุม ทั้งประสิทธิภาพ ความปลอดภัย ความสามารถในการจัดหาเวชภัณฑ์ การจัดระบบบริการรองรับผู้ป่วยให้สามารถเข้ารับการรักษาได้อย่างทั่วถึง ทั้งนี้ ในคราวการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อำนวยการ ศบค. ยังกำชับให้ หน่วยงานที่เกื่ยวข้อง ติดตามประสิทธิภาพเวชภัณท์ ทั้งวัคซีนและยารักษา โดยเฉพาะให้สำรวจงานวิจัยและการพัฒนา เพื่อนำมาขึ้นทะเบียน สำหรับประชาชนได้ใช้เพิ่มเติม เพี่อส่งเสริมระบบสาธารณสุขไทยมีความเข้มแข็ง พร้อมรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดและผู้ป่วยโควิด–19 ด้วย

ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข ยืนยันถึงประสิทธิภาพ “ยาฟาวิพิราเวียร์” ที่ใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด–19 ที่ผ่านการขึ้นทะเบียนกับ อย.ในการรักษาไข้หวัดใหญ่ พบว่าผู้ป่วยหลายรายมีอาการดีขึ้น  มีผลการรักษาที่ดี ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาและควบคุมป้องกันโรคจึงพิจารณาให้นำยาฟาวิพิราเวียร์มาใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด – 19  ประกอบกับไทยเองสามารถจัดหายาฟาวิพิราเวียร์จำนวนมากได้ในราคาที่ไม่แพง ยืนยันว่าไม่มีการนำยาที่ไม่มีประสิทธิภาพ หรือเป็นอันตรายมาใช้ในการรักษาผู้ป่วย
https://web.facebook.com/anucha.b.dp/posts/428553642406208
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่