เดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี จะมีวันสำคัญด้วยกัน 2 วัน คือ 14 กุมภาพันธ์ วันวาเลนไทน์ หรือวันแห่งความรัก ของชาวตะวันตก ซึ่งวันแห่งความรักนี้ไม่เพียงแต่จะเป็นที่นิยมของชาวต่างชาติเท่านั้น หากแต่กระแสความนิยมของวัฒนธรรมนี้ยังแพร่กระจายเข้ามามีบทบาทกับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นและหนุ่มสาว และยังมีวันสำคัญทางพุทธศาสนา คือ วันมาฆบูชาตรงกับวันที่ 16 กุมภาพันธ์
เราจึงพบว่าการแสดงออกทางความรักในเดือนกุมภาพันธ์ มีมากมายหลายบริบท ทั้งในทางที่ถูกที่ควร และในทางที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะผู้ที่เจ็บป่วยทางใจ หรือได้รับผลกระทบจากความรัก อาจแสดงออกทางการกระทำที่ส่งผลกระทบต่อตนเองตลอดจนคนรอบข้าง และยังก่อให้เกิดปัญหาแก่สังคมอีกด้วย
ด้วยเหตุผลดังกล่าว ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้ร่วมกับวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส.และมูลนิธิ Five For All จัดกิจกรรม “หัวใจกับใบโพธิ์ ครั้งที่ 12 : วัคซีนใจ แก้ไขพิษรัก” ขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนคนไทยได้ตระหนักและเห็นถึงคุณค่าของการรักษาศีล 5 ซึ่งเปรียบเสมือนวัคซีนใจที่จะช่วยเป็นเกราะคุ้มกัน ให้มนุษย์เรามีความรักในบริบทที่ถูกที่ควร ไม่ก่อให้เกิดพิษภัยแก่ตนเองและสังคม ด้วยการถ่ายทอดนิยามแห่งความรัก จารึกไว้ผ่านใบโพธิ์ อันเป็นต้นไม้ความรัก เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งการมอบความรักที่บริสุทธิ์แก่คนรอบข้างได้อย่างมีสติ ดีงามและแสดงออกอย่างเหมาะสมอีกด้วย
ภายในงานได้จัดการเสวนา ในหัวข้อ “วัคซีนใจ แก้ไขพิษรัก” โดย พระราชญาณกวี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก ร่วมเสวนาโดย คุณชรัส เฟื่องอารมย์ ศิลปิน นักแสดง
พระราชญาณกวี
ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
พระราชญาณกวี ได้ให้ข้อคิดเกี่ยวกับการดูแลร่างกายด้วยวัคซีนธรรมชาติว่า “อาตมาภาพเองได้ตระหนักถึงเรื่องของไวรัส ว่ามนุษย์ของเราได้ทำร้ายโลกใบนี้มายาวนานแล้ว บางทีเราก็รณรงค์โลกร้อนบ้าง แต่เราไม่ไม่ค่อยรณรงค์โรคร้าย ในที่สุดแล้วมนุษย์ก็เจอภัยภิบัติจากความพิโรธโมโหโกรธาของธรรมชาติ สุดท้ายคนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือมนุษย์ เพราะมนุษย์เเปราะบาง พระพุทธเจ้าจึงสอนเรื่องอานาปนสติ สติกำหนดลมหายใจเข้า-ออก กว่าเราจะรู้ 2,500 ปี มาแล้วว่าลมหายใจสำคัญแค่ไหน ก็ต่อเมื่อเหลืออยู่แค่นี้ แค่ในหน้ากาก ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐียาจก วณิพก พระราชา ล้วนแล้วแต่มีลมหายใจอันเดียวกัน แต่เราไปทำลายธรรมชาติเสียแล้ว เราก็เลยต้องอาศัยวัคซีน”
“อาตมาภาพก็มีวัคซีนที่ธรรมชาติที่เรียกว่า แดด-ด่าง-ดื่ม-ดม-ขม–เปรี้ยว-ฝาด-เค็ม ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจก่อน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราไม่มีแอลกอฮอล์เนี่ย ก็ใช้เกลือกลั้วคอแทนได้ ดื่มน้ำชาเข้มๆ หลังจากกินอาหารที่เป็นไขมันก็ได้เช่นกัน เหมือนเอาเซรุ่มพิษงูไปแก้พิษจากงู หรือเอารสเปรี้ยว ไปทำลายยางมะละกอ อย่างการตำส้มตำที่ต้องใส่มะนาว อาตภาพกำลังจะบอกว่า แท้ที่จริงแล้วธรรมชาติได้สอนเรามามากแล้วแต่เราลืม ในที่สุดเราก็ต้องมาพึ่งวัคซีน แต่ไม่ได้หมายความว่าวัคซีนที่ฉีดมันไม่ดีนะ แต่วัคซีนธรรมชาติมัน ดีกว่า ดีกว่ายังไง ดีเพราะไม่ต้องไปปิดกิจการ ปิดการเดินทาง ที่สำคัญเราไม่ต้องปิดหน้ากาก ถ้าเรามีวัคซีนธรรมชาติ วัคซีนธรรมชาติอยู่รอบตัวเรา เช่น ถ้าอยู่แต่ในห้องแอร์เราก็จะไม่แข็งแรง แต่ถ้าเราตากแดดยามเช้าบ้าง ก็แข็งแรงแล้วนะได้รับวิตามินดี อย่างนี้เป็นต้น”
“เมื่อกล่าวถึงวัคซีนทางกายภาพแล้ว ก็ต้องมากล่าวถึงวัคซีนใจ กล่าวคือ มนุษย์เราเรียกว่าโดนไวรัสใจเล่นงานมาตั้งแต่มีมนุษย์ขึ้นมาบนโลกใบนี้ พระพุทธเจ้ามองเห็นว่า ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ อิจฉาพยาบาท เคียดแค้น ชิงชัง ไม่ให้ให้อภัยกัน เป็นไวรัสทางใจ พระพุทธเจ้าทรงสอนว่าให้เรารักกัน วันวาเลนไทน์ก็ดี วันมาฆบูชาก็ดี ทุกๆ วันขอให้คิดแต่สิ่งที่ดี ทัศนคติที่ดี ถือเป็นวัคซีนที่ยิ่งใหญ่ ความรักที่เกิดจากทัศนคติที่ดีก็จะเป็นความรักที่ยิ่งใหญ่ต่อตนเองและคนรอบข้าง สำหรับความรักมีหลายประเภทมาก ถ้าเรารักอย่างมีสติจะไม่เป็นทุกข์ไปกับรักนั้น ควรมีความระมัดระวัง ฝึกฝนสติให้รู้เท่าทันสิ่งที่เรารักเสมอ ไม่อย่างนั้นเราจะตกเป็นทาสความรัก” พระราชญาณกวี กล่าวทิ้งท้าย
คุณชรัส เฟื่องอารมย์
ผลกระทบจากโควิด ไม่เพียงแต่กระทบต่อความรู้สึกของผู้ใหญ่เท่าเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบไปสู่เด็กๆ ด้วยเช่นกัน และนี่คือที่มาของการเสวนาในช่วงที่ 2 ในหัวข้อ “บอกรักด้วยหนังสือ : อ่านยาใจภูมิคุ้มใจปลุกพลังบวกเพื่อเด็กและครอบครัว” โดย พญ.ปุษยบรรพ์ สุวรรณคีรี กุมารแพทย์เจ้าของเพจหมอแพมชวนอ่าน, กรรมการมูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน และคุณสุดใจ พรหมเกิด ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. ดำเนินรายการโดย คุณบงกช ศรีมังคละ
พญ.ปุษยบรรพ์ สุวรรณคีรี ได้ให้คำแนะนำกับคุณพ่อคุณแม่เกี่ยวกับการดูแลเด็กๆ ในสถานการณ์ขณะนี้ว่า “จากรายงานการวิจัยทางการแพทย์พบว่าเด็กถดถอยในทุกมิติ หลังจากที่เกิดวิกฤตจากโควิด เด็กที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดเลยคือ เด็กปฐมวัย เนื่องจากความสุขของเด็กปฐมวัยเกิดจากอารมณ์ของคนใกล้ชิด เพราะเด็กจะใช้ความรู้สึกสัมผัสสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นรอบตัว สำหรับคุณแม่ที่คลอดลูกในช่วงโควิด ก็จะเครียดเป็นพิเศษจากสถานการณ์โควิด ต้อง work from home บ้าง ไม่ค่อยได้ออกไปไหน อารมณ์เหล่านี้จากแม่ก็จะส่งผลถึงลูกๆที่อยู่ในปฐมวัยค่ะ”
“คำแนะนำของหมอคืออยากให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ใช้หนังสือเป็นเครื่องมือในการเล่น ในการสอนเด็ก และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับเด็ก ถามว่าประสบการณ์ที่ดีคืออะไร ก็คือความสัมพันธ์ในเชิงบวก แม่ต้องมีอยู่จริง เพราะมีแม่คอยดูแลมาตั้งแต่เกิด ไม่ว่าจะเป็นตอนหิว ตอนนอน ในขวบปีแรกเด็กก็จะสัมผัสได้ว่าแม่มีอยู่จริง แม่เริ่มมีตัวตนสำหรับลูก เพราะฉะนั้นเวลาที่อยู่กับแม่เป็นเรื่องที่สำคัญมากที่สุดสำหรับเด็กปฐมวัย และช่วงเวลาที่แม่พาลูกอ่านหนังสือก็เป็นช่วงเวลาที่สร้างความสัมพันธ์ในเชิงบวกนั่นเอง การอ่านก็เป็นภูมิคุ้มใจให้เด็ก มีอารมณ์เชิงบวกด้วยค่ะ”
พญ.ปุษยบรรพ์ สุวรรณคีรี
คุณสุดใจ พรหมเกิด
ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส.
ปิดท้ายด้วยกิจกรรม “มอบรัก : มอบโอกาสทางการอ่าน” ด้วยการมอบ Gift Voucherให้แก่น้องๆ จากมูลนิธิ FIVE FOR ALL ได้เลือกสรรหนังสือตามที่ต้องการ โดย เด็กชายธีรยุทธ โพธิ์ชัย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดคลองภูมิ กล่าวถึงความรู้สึกที่ได้รับโอกาสทางการอ่านในครั้งนี้ว่า “วันนี้รู้สึกดีใจที่ผู้ใหญ่ใจดีได้ให้ผมมาเลือกหนังสือกลับไปอ่าน เพราะปกติผมจะไม่มีโอกาสได้ซื้อหนังสือเอง วันนี้ผมเลือกนิทาน กับหนังสือหัดพูดภาษาอังกฤษ เพราะผมชอบภาษาอังกฤษและอยากพูดภาษาอังกฤษได้ แต่ปกติผมก็ชอบอ่านหนังสือทุกประเภทนะครับ ผมคิดว่าหนังสือให้ความรู้และส่วนนิทานก็สอนให้เราเป็นคนดี”
ด้านเพื่อนร่วมชั้นจากโรงเรียนเดียวกัน ด.ช. ธีรภัทร แสงแจ้ เปิดเผยความรู้สึกว่า “ทั้งดีใจและตื่นเต้นที่ได้มาร่วมงาน วันนี้เลือกหนังสือเกี่ยวกับภาษาญี่ปุ่น และภาษาจีน เพราะเป็นภาษาที่ผมชอบ เริ่มมาจากผมชอบอ่านการ์ตูนญี่ปุ่น ก็เลยสนใจภาษาญี่ปุ่น อยากฝึกฝนด้านภาษาให้เก่งๆ เพราะโตขึ้นอยากเรียนด้านภาษา วันนี้ก็ต้องขอขอบคุณที่ให้โอกาสผมได้มาเลือกหนังสือที่อยากได้กลับไปอ่านครับ”
คุณเกรียงศักดิ์ หรรษาเวก
กรรมการผู้จัดการศูนย์หนังสือจุฬาฯ
เด็กชายธีรยุทธ โพธิ์ชัย
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดคลองภูมิ
ตลอดเดือนกุมภาพันธ์ ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชน ร่วมเขียนนิยามความรักบนใบโพธิ์รูปหัวใจ ประดับไว้บน “ต้นโพธิ์แห่งความรัก” เพื่อเป็นเครื่องเตือนสติให้มีความรักที่อยู่ในกรอบศีลธรรมอันดีงาม ณ ศูนย์หนังสือจุฬาฯ สาขาสยามสแควร์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ แผนกประชาสัมพันธ์ ศูนย์หนังสือจุฬาฯ โทร. 0-2218-9893-4 และ www.chulabook.com


“หัวใจกับใบโพธิ์ ครั้งที่ 12 : วัคซีนใจ แก้ไขพิษรัก”
เราจึงพบว่าการแสดงออกทางความรักในเดือนกุมภาพันธ์ มีมากมายหลายบริบท ทั้งในทางที่ถูกที่ควร และในทางที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะผู้ที่เจ็บป่วยทางใจ หรือได้รับผลกระทบจากความรัก อาจแสดงออกทางการกระทำที่ส่งผลกระทบต่อตนเองตลอดจนคนรอบข้าง และยังก่อให้เกิดปัญหาแก่สังคมอีกด้วย
ด้วยเหตุผลดังกล่าว ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้ร่วมกับวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส.และมูลนิธิ Five For All จัดกิจกรรม “หัวใจกับใบโพธิ์ ครั้งที่ 12 : วัคซีนใจ แก้ไขพิษรัก” ขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนคนไทยได้ตระหนักและเห็นถึงคุณค่าของการรักษาศีล 5 ซึ่งเปรียบเสมือนวัคซีนใจที่จะช่วยเป็นเกราะคุ้มกัน ให้มนุษย์เรามีความรักในบริบทที่ถูกที่ควร ไม่ก่อให้เกิดพิษภัยแก่ตนเองและสังคม ด้วยการถ่ายทอดนิยามแห่งความรัก จารึกไว้ผ่านใบโพธิ์ อันเป็นต้นไม้ความรัก เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งการมอบความรักที่บริสุทธิ์แก่คนรอบข้างได้อย่างมีสติ ดีงามและแสดงออกอย่างเหมาะสมอีกด้วย
ภายในงานได้จัดการเสวนา ในหัวข้อ “วัคซีนใจ แก้ไขพิษรัก” โดย พระราชญาณกวี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก ร่วมเสวนาโดย คุณชรัส เฟื่องอารมย์ ศิลปิน นักแสดง
“อาตมาภาพก็มีวัคซีนที่ธรรมชาติที่เรียกว่า แดด-ด่าง-ดื่ม-ดม-ขม–เปรี้ยว-ฝาด-เค็ม ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจก่อน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราไม่มีแอลกอฮอล์เนี่ย ก็ใช้เกลือกลั้วคอแทนได้ ดื่มน้ำชาเข้มๆ หลังจากกินอาหารที่เป็นไขมันก็ได้เช่นกัน เหมือนเอาเซรุ่มพิษงูไปแก้พิษจากงู หรือเอารสเปรี้ยว ไปทำลายยางมะละกอ อย่างการตำส้มตำที่ต้องใส่มะนาว อาตภาพกำลังจะบอกว่า แท้ที่จริงแล้วธรรมชาติได้สอนเรามามากแล้วแต่เราลืม ในที่สุดเราก็ต้องมาพึ่งวัคซีน แต่ไม่ได้หมายความว่าวัคซีนที่ฉีดมันไม่ดีนะ แต่วัคซีนธรรมชาติมัน ดีกว่า ดีกว่ายังไง ดีเพราะไม่ต้องไปปิดกิจการ ปิดการเดินทาง ที่สำคัญเราไม่ต้องปิดหน้ากาก ถ้าเรามีวัคซีนธรรมชาติ วัคซีนธรรมชาติอยู่รอบตัวเรา เช่น ถ้าอยู่แต่ในห้องแอร์เราก็จะไม่แข็งแรง แต่ถ้าเราตากแดดยามเช้าบ้าง ก็แข็งแรงแล้วนะได้รับวิตามินดี อย่างนี้เป็นต้น”
“เมื่อกล่าวถึงวัคซีนทางกายภาพแล้ว ก็ต้องมากล่าวถึงวัคซีนใจ กล่าวคือ มนุษย์เราเรียกว่าโดนไวรัสใจเล่นงานมาตั้งแต่มีมนุษย์ขึ้นมาบนโลกใบนี้ พระพุทธเจ้ามองเห็นว่า ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ อิจฉาพยาบาท เคียดแค้น ชิงชัง ไม่ให้ให้อภัยกัน เป็นไวรัสทางใจ พระพุทธเจ้าทรงสอนว่าให้เรารักกัน วันวาเลนไทน์ก็ดี วันมาฆบูชาก็ดี ทุกๆ วันขอให้คิดแต่สิ่งที่ดี ทัศนคติที่ดี ถือเป็นวัคซีนที่ยิ่งใหญ่ ความรักที่เกิดจากทัศนคติที่ดีก็จะเป็นความรักที่ยิ่งใหญ่ต่อตนเองและคนรอบข้าง สำหรับความรักมีหลายประเภทมาก ถ้าเรารักอย่างมีสติจะไม่เป็นทุกข์ไปกับรักนั้น ควรมีความระมัดระวัง ฝึกฝนสติให้รู้เท่าทันสิ่งที่เรารักเสมอ ไม่อย่างนั้นเราจะตกเป็นทาสความรัก” พระราชญาณกวี กล่าวทิ้งท้าย
พญ.ปุษยบรรพ์ สุวรรณคีรี ได้ให้คำแนะนำกับคุณพ่อคุณแม่เกี่ยวกับการดูแลเด็กๆ ในสถานการณ์ขณะนี้ว่า “จากรายงานการวิจัยทางการแพทย์พบว่าเด็กถดถอยในทุกมิติ หลังจากที่เกิดวิกฤตจากโควิด เด็กที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดเลยคือ เด็กปฐมวัย เนื่องจากความสุขของเด็กปฐมวัยเกิดจากอารมณ์ของคนใกล้ชิด เพราะเด็กจะใช้ความรู้สึกสัมผัสสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นรอบตัว สำหรับคุณแม่ที่คลอดลูกในช่วงโควิด ก็จะเครียดเป็นพิเศษจากสถานการณ์โควิด ต้อง work from home บ้าง ไม่ค่อยได้ออกไปไหน อารมณ์เหล่านี้จากแม่ก็จะส่งผลถึงลูกๆที่อยู่ในปฐมวัยค่ะ”
“คำแนะนำของหมอคืออยากให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ใช้หนังสือเป็นเครื่องมือในการเล่น ในการสอนเด็ก และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับเด็ก ถามว่าประสบการณ์ที่ดีคืออะไร ก็คือความสัมพันธ์ในเชิงบวก แม่ต้องมีอยู่จริง เพราะมีแม่คอยดูแลมาตั้งแต่เกิด ไม่ว่าจะเป็นตอนหิว ตอนนอน ในขวบปีแรกเด็กก็จะสัมผัสได้ว่าแม่มีอยู่จริง แม่เริ่มมีตัวตนสำหรับลูก เพราะฉะนั้นเวลาที่อยู่กับแม่เป็นเรื่องที่สำคัญมากที่สุดสำหรับเด็กปฐมวัย และช่วงเวลาที่แม่พาลูกอ่านหนังสือก็เป็นช่วงเวลาที่สร้างความสัมพันธ์ในเชิงบวกนั่นเอง การอ่านก็เป็นภูมิคุ้มใจให้เด็ก มีอารมณ์เชิงบวกด้วยค่ะ”
ด้านเพื่อนร่วมชั้นจากโรงเรียนเดียวกัน ด.ช. ธีรภัทร แสงแจ้ เปิดเผยความรู้สึกว่า “ทั้งดีใจและตื่นเต้นที่ได้มาร่วมงาน วันนี้เลือกหนังสือเกี่ยวกับภาษาญี่ปุ่น และภาษาจีน เพราะเป็นภาษาที่ผมชอบ เริ่มมาจากผมชอบอ่านการ์ตูนญี่ปุ่น ก็เลยสนใจภาษาญี่ปุ่น อยากฝึกฝนด้านภาษาให้เก่งๆ เพราะโตขึ้นอยากเรียนด้านภาษา วันนี้ก็ต้องขอขอบคุณที่ให้โอกาสผมได้มาเลือกหนังสือที่อยากได้กลับไปอ่านครับ”
ตลอดเดือนกุมภาพันธ์ ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชน ร่วมเขียนนิยามความรักบนใบโพธิ์รูปหัวใจ ประดับไว้บน “ต้นโพธิ์แห่งความรัก” เพื่อเป็นเครื่องเตือนสติให้มีความรักที่อยู่ในกรอบศีลธรรมอันดีงาม ณ ศูนย์หนังสือจุฬาฯ สาขาสยามสแควร์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ แผนกประชาสัมพันธ์ ศูนย์หนังสือจุฬาฯ โทร. 0-2218-9893-4 และ www.chulabook.com