การเสวนาดีล TRUE-DTAC ขององค์กรผู้บริโภคเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ทิ้งข้อชวนคิดหลายประเด็น แต่ที่เด่นชัด คือ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกันในเรื่องของการผูกขาด กับ การส่งเสริมผู้เล่นในตลาดโทรคมนาคม
ผู้ร่วมเสวนามาพร้อมกับธงที่ตั้งไว้ในเรื่องของการผูกขาด โดยมีความเห็นที่สอดคล้องกันว่า ไม่เห็นด้วยกับการควบรวมกิจการระหว่าง TRUE และ DTAC เพราะจะทำให้เกิดการผูกขาด ผู้บริโภคมีทางเลือกน้อยลง จากการที่ผู้เล่นในตลาดลดลงจาก 3 ราย
(AIS+TRUE+DTAC) เหลือ 2 ราย
(AIS+TECH COMPANY : บริษัทใหม่ของ TRUE และ DTAC) โดยมีการขยายความว่า นับเฉพาะผู้เล่นรายหลัก ไม่นับ NT
(ที่เกิดจากการควบรวมกันของ CAT และ TOT) เพราะตามตำราบอกว่าผู้เล่นที่มีส่วนแบ่งการตลาดไม่ถึงร้อยละ 5 อย่าง NT ถือว่าไม่มีนัยสำคัญต่อการแข่งขัน
(ทั้ง ๆ ที่ NT มีรายได้มากกว่าบริษัทที่กำลังจะควบรวมกันซะอีก)
หากไม่ลำเอียงจนเกินไป ความเห็นที่สอดคล้องกันก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นความเห็นที่ถูกต้อง เพราะข้อมูลที่นำมาอ้างอิงยังไม่ใช่ข้อมูลที่รอบด้าน แต่มาจากตำราฝั่งวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์อย่างเดียว และตัวอย่างจากบริบทที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ ที่มีเศรษฐกิจใหญ่กว่าประเทศไทยทั้งสิ้น แม้อาจนำมาพิจารณาร่วมได้ แต่ไม่ควรนำมาตัดสินตามในแบบเดียวกัน เพราะต้องพิจารณาจากปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ ประกอบด้วย เช่น ถ้านำข้อมูลจากฝั่งผู้บริโภคมาพิจารณา ก็ควรต้องนำข้อมูลจากฝั่งธุรกิจมาพิจารณาควบคู่กันไปด้วย, ความสามารถที่แท้จริงในการแข่งขันของผู้เล่นในตลาดทุกราย, ความมั่นคงระยะยาวของผู้ประกอบการ, ศักยภาพของธุรกิจ รายได้/กำไร/มูลค่าธุรกิจของผู้ประกอบการ และการส่งเสริมการประกอบธุรกิจโทรคมของภาครัฐ เป็นต้น
ผู้ร่วมเสวนาเน้นการสร้างอารมณ์ร่วมทางสังคมอย่างเดียวว่า การควบรวมครั้งนี้เป็นการผูกขาด แต่ไม่มีใครมองไปข้างหน้าอีกหนึ่งก้าวว่า ต่อให้ไม่มีการควบรวม แต่ถ้ามีรายใดใน 3 รายนี้
(สมมุติว่าเป็น DTAC เพราะมีแนวโน้มมากที่สุด) ออกจากตลาดไปในเร็ว ๆ นี้ ก็ต้องเหลือแค่ 2 รายอยู่ดี
(คือ AIS กับ TRUE) ดังนั้น รายใหญ่ที่ครองตลาดอยู่ตอนนี้ ก็จะปรากฏให้เห็นชัดเจนว่าผูกขาด
(เพราะทั้ง market share และ value share ทิ้งห่างคู่แข่งที่เหลือแบบตามไม่ทัน) โดยไม่มีใครให้ข้อเสนอแนะหรือทางออกที่ดีในการแก้การผูกขาดอย่างยั่งยืนเลย
นอกจากพูดตัดบททิ้งแค่ว่า หากมีรายใดรายหนึ่งต้องออกจากตลาดไป ก็ให้หารายใหม่เข้ามาในตลาดแทน โดยที่ไม่ได้มองว่า จะหาใครเข้ามาในตลาดได้อีก ในเมื่อจนถึงปัจจุบันนี้ยังหาไม่ได้ เพราะตลาดโทรคมนาคมไทย ถูกผิดกั้นโดยองค์กรภาครัฐที่กำกับดูแลเอง จากการตั้งราคาการประมูลคลื่นที่สูงปรี๊ด จนรายเล็กหรือรายใหม่ไม่มีทุนเพียงพอที่จะเข้ามาเป็นผู้เล่นรายใหม่ได้ ยังไงก็ต้องเหลือ 2 รายอยู่ดี การห้ามการควบรวมจึงไม่ใช่ทางออก และเทรนด์ธุรกิจทุกวันนี้ ทุกตลาดต่างเบนเข็มเข้าสู่การควบรวม เพื่อเพิ่มศักยภาพของธุรกิจให้เกิดการแข่งขันที่ยั่งยืน
(ตรงนี้มีอีกจุดหนึ่งที่ฝั่งวิชาการยังไม่เคยนำไปประกอบการพิจารณา)
ประเด็นที่ชวนให้คิดก็คือ เรามี NT ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ มีทรัพยากรทางด้านโทรคมนาคมครอบคลุมทั้งคลื่น เสา บุคลากร และรายได้ แต่กลับไม่มีใครเรียกร้องหรือผลักดันให้ NT ซึ่งมีศักยภาพทางการแข่งขันอยู่แล้ว ออกมาเป็นผู้เล่นตัวหลัก แทนการหาเอกชนรายใหม่เข้ามาในตลาด ซึ่งมีวิธีทำได้นอกจากการจำหน่ายทรัพยากรที่มีในมือมากเกินไปออก หรือทำอย่างอื่น ยกตัวอย่าง PTT ที่ทำเองไม่ได้ ก็ได้หาทางออกโดยการตั้งบริษัทลูกออกมามากมาย เพื่อไปแข่งขันแทน หรืออย่างล่าสุด อีอีซีที่แม้จะไม่ได้เป็นหน่วยงานที่สร้างรายได้เองโดยตรง แต่ก็เป็นหน่วยงานสำคัญในการขับเคลื่อนการสร้างรายได้และเศรษฐกิจของประเทศ ก็ได้จัดตั้งบริษัทลูกที่อีอีซีถือหุ้น 100% มาบริหารจัดการงานที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น
เรามีหน่วยงานกำกับดูแลตลาดโทรคมที่มีอำนาจหน้าที่ที่สามารถป้องกันการผูกขาดและส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรมได้ ก็ควรจะคิดพิจารณาหาทางออกที่ยั่งยืนในการป้องกันการผูกขาดและสร้างการแข่งขันที่เป็นธรรมอย่างที่ทุกฝ่ายต้องการได้ดีกว่าแค่ห้ามการควบรวมกิจการ ซึ่งเป็นแนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างหนึ่งของภาคเอกชน
ทางที่ทำได้ง่าย ๆ อย่างน้อยก็คือ 1. นำทรัพยากรที่มีอยู่แล้วอย่าง NT มาทำให้แข่งขันได้ ดีกว่าการไปหาเอกชนรายใหม่เข้ามาในตลาด หรือที่ง่ายกว่าไปอีกก็คือ 2. ตั้งราคาการประมูลหรือการให้เช่าทรัพยากรที่มีในมือ เช่น โครงข่าย เสา สัญญาณ ฯลฯ ในราคาที่จับต้องได้ หรือจัดสรรการใช้ร่วมกันได้อย่างเหมาะสม สิ่งเหล่านี้จะเป็นการส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม เปิดโอกาสให้เกิดผู้เล่นรายใหม่ในตลาดได้อย่างต่อเนื่อง จึงปิดกั้นโอกาสการผูกขาดได้อย่างยั่งยืนและเป็นธรรมชาติมากกว่าการห้ามการควบรวม
(หรือดีกว่าการเดินสายพูดเวทีโน้นทีเวทีนี้ทีว่าไม่มีอำนาจ ทำไม่ได้ หรือเป็นหน้าที่ของคนอื่น หรือดีกว่าการเสนอทางออกแค่ว่า ส่งเสริม MVNO แล้วตบท้ายด้วยว่าไม่ใช่วิธีที่เหมาะสม แล้วจะพูดมาเพื่ออะไร)
การแก้ปัญหาการผูกขาด แก้ปัญหาผู้เล่นน้อยราย หรือเพิ่มทางเลือกให้ผู้บริโภคในตลาดโทรคมไทยก็คือ การส่งเสริมให้เกิดผู้เล่นในตลาดเพิ่มมากขึ้น ด้วยการสนับสนุนจากหน่วยงานกำกับดูแลจากภาครัฐ เพราะทุกวันนี้ที่ไม่มีผู้เล่นในตลาด ไม่ใช่เพราะโดนกีดกันจากรายที่มีอยู่ แต่เพราะหน่วยงานกำกับดูแล ปิดกั้นโอกาสที่ผู้เล่นรายเล็กและรายใหม่จะเข้ามา จากการตั้งราคาการขอใช้ทรัพยากรที่สูงจนเกินความสามารถทางการลงทุนจะแบกรับไหว เพราะหากผ่านเข้ามาได้ นอกจากต้องแบกรับหนี้สินที่สูงระยะยาวแล้ว ยังต้องหาทุนมาทำการตลาดอีก เป็นภาระซ้ำซ้อนมากมาย จนหน้าใหม่ต้องถอดใจไม่กล้าเข้ามาในตลาด ดูอย่างกรณี JAS เป็นต้น
วันนี้เรามีแต่หน่วยงานที่อ้างว่าปกป้องผลประโยชน์ของผู้บริโภคเต็มไปหมด แต่เราไม่มีหน่วยงานที่สร้างสมดุลระหว่างผลประโยชน์ของผู้บริโภคกับผลประโยชน์ของธุรกิจ เราอ้างว่าเราดูแลผู้บริโภค แต่เรากลับทอดทิ้งธุรกิจ โดยไม่สนใจว่าหากธุรกิจต้องล้มหายตายจากไป จะทิ้งภาระอะไรไว้ให้กับผู้บริโภค และเศรษฐกิจของประเทศอีกบ้าง เราถนัดแต่การโทษกันไปมาและแก้ตัวขอไปทีเฉพาะหน้า แต่ไม่กล้าหาทางออกที่ยั่งยืน
===============
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ขอบคุณรูปจากสื่อและเว็บบอร์ดต่าง ๆ
ทลายกำแพงกั้นผู้เล่นหน้าใหม่ แก้ผูกขาดยั่งยืนกว่าสกัดควบรวม ทำลายระบบการแข่งขัน
ผู้ร่วมเสวนามาพร้อมกับธงที่ตั้งไว้ในเรื่องของการผูกขาด โดยมีความเห็นที่สอดคล้องกันว่า ไม่เห็นด้วยกับการควบรวมกิจการระหว่าง TRUE และ DTAC เพราะจะทำให้เกิดการผูกขาด ผู้บริโภคมีทางเลือกน้อยลง จากการที่ผู้เล่นในตลาดลดลงจาก 3 ราย (AIS+TRUE+DTAC) เหลือ 2 ราย (AIS+TECH COMPANY : บริษัทใหม่ของ TRUE และ DTAC) โดยมีการขยายความว่า นับเฉพาะผู้เล่นรายหลัก ไม่นับ NT (ที่เกิดจากการควบรวมกันของ CAT และ TOT) เพราะตามตำราบอกว่าผู้เล่นที่มีส่วนแบ่งการตลาดไม่ถึงร้อยละ 5 อย่าง NT ถือว่าไม่มีนัยสำคัญต่อการแข่งขัน (ทั้ง ๆ ที่ NT มีรายได้มากกว่าบริษัทที่กำลังจะควบรวมกันซะอีก)
หากไม่ลำเอียงจนเกินไป ความเห็นที่สอดคล้องกันก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นความเห็นที่ถูกต้อง เพราะข้อมูลที่นำมาอ้างอิงยังไม่ใช่ข้อมูลที่รอบด้าน แต่มาจากตำราฝั่งวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์อย่างเดียว และตัวอย่างจากบริบทที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ ที่มีเศรษฐกิจใหญ่กว่าประเทศไทยทั้งสิ้น แม้อาจนำมาพิจารณาร่วมได้ แต่ไม่ควรนำมาตัดสินตามในแบบเดียวกัน เพราะต้องพิจารณาจากปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ ประกอบด้วย เช่น ถ้านำข้อมูลจากฝั่งผู้บริโภคมาพิจารณา ก็ควรต้องนำข้อมูลจากฝั่งธุรกิจมาพิจารณาควบคู่กันไปด้วย, ความสามารถที่แท้จริงในการแข่งขันของผู้เล่นในตลาดทุกราย, ความมั่นคงระยะยาวของผู้ประกอบการ, ศักยภาพของธุรกิจ รายได้/กำไร/มูลค่าธุรกิจของผู้ประกอบการ และการส่งเสริมการประกอบธุรกิจโทรคมของภาครัฐ เป็นต้น
ผู้ร่วมเสวนาเน้นการสร้างอารมณ์ร่วมทางสังคมอย่างเดียวว่า การควบรวมครั้งนี้เป็นการผูกขาด แต่ไม่มีใครมองไปข้างหน้าอีกหนึ่งก้าวว่า ต่อให้ไม่มีการควบรวม แต่ถ้ามีรายใดใน 3 รายนี้ (สมมุติว่าเป็น DTAC เพราะมีแนวโน้มมากที่สุด) ออกจากตลาดไปในเร็ว ๆ นี้ ก็ต้องเหลือแค่ 2 รายอยู่ดี (คือ AIS กับ TRUE) ดังนั้น รายใหญ่ที่ครองตลาดอยู่ตอนนี้ ก็จะปรากฏให้เห็นชัดเจนว่าผูกขาด (เพราะทั้ง market share และ value share ทิ้งห่างคู่แข่งที่เหลือแบบตามไม่ทัน) โดยไม่มีใครให้ข้อเสนอแนะหรือทางออกที่ดีในการแก้การผูกขาดอย่างยั่งยืนเลย
นอกจากพูดตัดบททิ้งแค่ว่า หากมีรายใดรายหนึ่งต้องออกจากตลาดไป ก็ให้หารายใหม่เข้ามาในตลาดแทน โดยที่ไม่ได้มองว่า จะหาใครเข้ามาในตลาดได้อีก ในเมื่อจนถึงปัจจุบันนี้ยังหาไม่ได้ เพราะตลาดโทรคมนาคมไทย ถูกผิดกั้นโดยองค์กรภาครัฐที่กำกับดูแลเอง จากการตั้งราคาการประมูลคลื่นที่สูงปรี๊ด จนรายเล็กหรือรายใหม่ไม่มีทุนเพียงพอที่จะเข้ามาเป็นผู้เล่นรายใหม่ได้ ยังไงก็ต้องเหลือ 2 รายอยู่ดี การห้ามการควบรวมจึงไม่ใช่ทางออก และเทรนด์ธุรกิจทุกวันนี้ ทุกตลาดต่างเบนเข็มเข้าสู่การควบรวม เพื่อเพิ่มศักยภาพของธุรกิจให้เกิดการแข่งขันที่ยั่งยืน (ตรงนี้มีอีกจุดหนึ่งที่ฝั่งวิชาการยังไม่เคยนำไปประกอบการพิจารณา)
ประเด็นที่ชวนให้คิดก็คือ เรามี NT ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ มีทรัพยากรทางด้านโทรคมนาคมครอบคลุมทั้งคลื่น เสา บุคลากร และรายได้ แต่กลับไม่มีใครเรียกร้องหรือผลักดันให้ NT ซึ่งมีศักยภาพทางการแข่งขันอยู่แล้ว ออกมาเป็นผู้เล่นตัวหลัก แทนการหาเอกชนรายใหม่เข้ามาในตลาด ซึ่งมีวิธีทำได้นอกจากการจำหน่ายทรัพยากรที่มีในมือมากเกินไปออก หรือทำอย่างอื่น ยกตัวอย่าง PTT ที่ทำเองไม่ได้ ก็ได้หาทางออกโดยการตั้งบริษัทลูกออกมามากมาย เพื่อไปแข่งขันแทน หรืออย่างล่าสุด อีอีซีที่แม้จะไม่ได้เป็นหน่วยงานที่สร้างรายได้เองโดยตรง แต่ก็เป็นหน่วยงานสำคัญในการขับเคลื่อนการสร้างรายได้และเศรษฐกิจของประเทศ ก็ได้จัดตั้งบริษัทลูกที่อีอีซีถือหุ้น 100% มาบริหารจัดการงานที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น
เรามีหน่วยงานกำกับดูแลตลาดโทรคมที่มีอำนาจหน้าที่ที่สามารถป้องกันการผูกขาดและส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรมได้ ก็ควรจะคิดพิจารณาหาทางออกที่ยั่งยืนในการป้องกันการผูกขาดและสร้างการแข่งขันที่เป็นธรรมอย่างที่ทุกฝ่ายต้องการได้ดีกว่าแค่ห้ามการควบรวมกิจการ ซึ่งเป็นแนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างหนึ่งของภาคเอกชน
ทางที่ทำได้ง่าย ๆ อย่างน้อยก็คือ 1. นำทรัพยากรที่มีอยู่แล้วอย่าง NT มาทำให้แข่งขันได้ ดีกว่าการไปหาเอกชนรายใหม่เข้ามาในตลาด หรือที่ง่ายกว่าไปอีกก็คือ 2. ตั้งราคาการประมูลหรือการให้เช่าทรัพยากรที่มีในมือ เช่น โครงข่าย เสา สัญญาณ ฯลฯ ในราคาที่จับต้องได้ หรือจัดสรรการใช้ร่วมกันได้อย่างเหมาะสม สิ่งเหล่านี้จะเป็นการส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม เปิดโอกาสให้เกิดผู้เล่นรายใหม่ในตลาดได้อย่างต่อเนื่อง จึงปิดกั้นโอกาสการผูกขาดได้อย่างยั่งยืนและเป็นธรรมชาติมากกว่าการห้ามการควบรวม (หรือดีกว่าการเดินสายพูดเวทีโน้นทีเวทีนี้ทีว่าไม่มีอำนาจ ทำไม่ได้ หรือเป็นหน้าที่ของคนอื่น หรือดีกว่าการเสนอทางออกแค่ว่า ส่งเสริม MVNO แล้วตบท้ายด้วยว่าไม่ใช่วิธีที่เหมาะสม แล้วจะพูดมาเพื่ออะไร)
การแก้ปัญหาการผูกขาด แก้ปัญหาผู้เล่นน้อยราย หรือเพิ่มทางเลือกให้ผู้บริโภคในตลาดโทรคมไทยก็คือ การส่งเสริมให้เกิดผู้เล่นในตลาดเพิ่มมากขึ้น ด้วยการสนับสนุนจากหน่วยงานกำกับดูแลจากภาครัฐ เพราะทุกวันนี้ที่ไม่มีผู้เล่นในตลาด ไม่ใช่เพราะโดนกีดกันจากรายที่มีอยู่ แต่เพราะหน่วยงานกำกับดูแล ปิดกั้นโอกาสที่ผู้เล่นรายเล็กและรายใหม่จะเข้ามา จากการตั้งราคาการขอใช้ทรัพยากรที่สูงจนเกินความสามารถทางการลงทุนจะแบกรับไหว เพราะหากผ่านเข้ามาได้ นอกจากต้องแบกรับหนี้สินที่สูงระยะยาวแล้ว ยังต้องหาทุนมาทำการตลาดอีก เป็นภาระซ้ำซ้อนมากมาย จนหน้าใหม่ต้องถอดใจไม่กล้าเข้ามาในตลาด ดูอย่างกรณี JAS เป็นต้น
วันนี้เรามีแต่หน่วยงานที่อ้างว่าปกป้องผลประโยชน์ของผู้บริโภคเต็มไปหมด แต่เราไม่มีหน่วยงานที่สร้างสมดุลระหว่างผลประโยชน์ของผู้บริโภคกับผลประโยชน์ของธุรกิจ เราอ้างว่าเราดูแลผู้บริโภค แต่เรากลับทอดทิ้งธุรกิจ โดยไม่สนใจว่าหากธุรกิจต้องล้มหายตายจากไป จะทิ้งภาระอะไรไว้ให้กับผู้บริโภค และเศรษฐกิจของประเทศอีกบ้าง เราถนัดแต่การโทษกันไปมาและแก้ตัวขอไปทีเฉพาะหน้า แต่ไม่กล้าหาทางออกที่ยั่งยืน
===============
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้