♦️มาลาริน🇹🇭23ม.ค.ป่วย7,686คน หายป่วย7,445คน ตาย13คน/โควิด77จว./SV+SVบูสPZภูมิสูง/ป่วย'โอมิครอน'โอกาสติดเชื้อซ้ำน้อยมาก


https://www.sanook.com/news/8506946/


https://www.bangkokbiznews.com/news/984118

https://siamrath.co.th/n/316081

เพี้ยนปักหมุดข่าวดี! หมอใหญ่สหรัฐฯ ชี้ถ้าป่วย 'โอมิครอน' โอกาสติดเชื้อซ้ำน้อยมาก เคสใหม่อเมริกาลดฮวบ



ความเป็นไปได้สูงมากที่บุคคลหนึ่งจะไม่ติดเชื้อตัวกลายพันธุ์โอมิครอนซ้ำอีก อย่างน้อยๆ ก็ในระยะสั้น จากการเปิดเผยของที่ปรึกษาทางการแพทย์ระดับสูงของรัฐบาลประธานาธิบดีโจ ไบเดน ในขณะที่สหรัฐฯ เริ่มพบเห็นเคสผู้ติดเชื้อลดลงอย่างมากในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งได้รับผลกระทบจากตัวกลายพันธุ์นี้หนักหน่วงที่สุด

"มีการติดเชื้อซ้ำ ดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้ ถ้าคุณมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่ดี อย่างน้อยๆ ก็เป็นเวลานานหลายเดือน มันดูเหมือนเป็นไปไม่ได้อย่างมากที่คุณจะติดเชื้อซ้ำตัวกลายพันธุ์เดียวกัน" นายแพทย์แอนโทนี เฟาซี ผู้อำนวยการสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติสหรัฐฯ กล่าวระหว่างแถลงข่าวเมื่อวันศุกร์ (21 ม.ค.)

นายแพทย์เฟาซี กล่าวว่า เคสติดเชื้อซ้ำปกติแล้วมักเกิดขึ้นในคนที่เคยล้มป่วยด้วยสายพันธุ์หนึ่ง และต่อมาติดเชื้อตัวกลายพันธุ์คนละสายพันธุ์ อย่างไรก็ตาม เขาเตือนว่าสหรัฐฯ ต้องเตรียมพร้อมสำหรับ "กรณีเลวร้ายที่สุด" ซึ่งอาจมีตัวกลายพันธุ์ใหม่หนึ่งเกิดขึ้นมาอีก และมันสามารถหลบหลีกภูมิคุ้มกันที่เกิดจากวัคซีนและจากการเคยติดเชื้อมาก่อน

"ผมหวังว่ามันจะไม่เกิดขึ้น" เขากล่าว "ผมไม่สามารถให้ตัวเลขกับคุณว่ามันมีโอกาสเท่าไหร่ที่จะเกิดขึ้น แต่เราจำเป็นต้องเตรียมพร้อมสำหรับมัน"

ความเห็นของนายแพทย์เฟาซี มีขึ้นในขณะที่แพทย์หญิงโรเชลล์ วาเลนสกี ผู้อำนวยการศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐฯ ระบุว่า เคสผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ "ลดลงอย่างมาก" ทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในนั้นรวมถึงนิวยอร์ก โรดไอส์แลนด์และคอนเนคติคัต
วาเลนสกี เผยว่า ค่าเฉลี่ยเคสผู้ติดเชื้อใหม่ในสหรัฐฯ ในรอบ 7 วัน อยู่ที่ราวๆ 750,000 คนต่อวัน ลดลงจากหนึ่งสัปดาห์ก่อนหน้านั้น 5% ส่วนจำนวนผู้เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลยังทรงตัว แต่ก็อยู่แถวๆ ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์

อย่างไรก็ตาม วาเลนสกี ย้ำว่าเคสผู้ติดเชื้อในภูมิภาคต่างๆ เริ่มขึ้นต่างเวลากัน และบางทีสหรัฐฯ "อาจยังคงพบเห็นเคสผู้ติดเชื้อระดับสูงในบางพื้นที่ของประเทศในช่วงไม่กี่วันและไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้านี้" เธอกล่าวพร้อมเตือนเมืองและรัฐต่างๆ อย่าด่วนผ่อนมาตรการต่างๆ เร็วเกินไป ในนั้นรวมถึงคำสั่งบังคับสวมหน้ากาก

"เคสผู้ติดเชื้อยังคงสูงมาก สูงกว่าในจุดที่เราจะคิดทบทวนเกี่ยวกับการปลดมาตรการต่างๆ เหล่านี้บางอย่าง" เธอกล่าว

(ที่มา : บลูมเบิร์ก)

https://mgronline.com/around/detail/9650000007245

เพี้ยนปักหมุด ติดตามข่าวโควิดกันค่ะ

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 17

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
"อว. เผยฉีดวัคซีนของไทย ณ วันที่ 22 มกราคม 2565 ฉีดวัคซีนแล้ว 111,882,595 โดส และทั่วโลกแล้ว 9,879 ล้านโดส ใน 205 ประเทศ/เขตปกครอง ส่วนอาเซียนฉีดแล้วทุกประเทศ รวมกันกว่า 869.5 ล้านโดส

(22 มกราคม 2565) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยข้อมูลสถิติการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลกแล้ว 9,879 ล้านโดส ใน 205 ประเทศ/เขตปกครอง โดยขณะนี้อัตราการฉีดล่าสุดรวมกันทั่วโลกที่ 36 ล้านโดสต่อวัน และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่สหรัฐอเมริกามีจำนวนการฉีดวัคซีนสูงที่สุดที่ 533 ล้านโดส โดยมีชาวอเมริกันกว่า 210 ล้านคนได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว"

ด้านอาเซียนขณะนี้ทุกประเทศได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แล้ว มียอดรวมกันที่ประมาณ 869.5 ล้านโดส โดยบรูไนฉีดวัคซีนในสัดส่วนประชากรมากที่สุดในภูมิภาค (94.7% ของประชากร) ในขณะที่อินโดนีเซียฉีดวัคซีนในจำนวนมากที่สุดที่ 304.4ล้านโดส สำหรับประเทศไทยข้อมูล ณ วันที่ 22 มกราคม 2565 ได้ฉีดวัคซีนแล้วกว่า 111,882,595 โดส โดยฉีดให้กับประชาชนมากที่สุดในสัดส่วนกว่า 64.69%

ในการฉีดวัคซีน จำนวน 9,879 ล้านโดสนี้ อว. ขอรายงานสถิติที่สำคัญ คือ

1) ข้อมูลการฉีดวัคซีนล่าสุดของประเทศไทย ณ วันที่ 22 มกราคม 2565  
จำนวนการฉีดวัคซีนสะสม 111,882,595 โดส ใน 77 จังหวัด แบ่งเป็น
-เข็มแรก 52,016,062 โดส (78.6% ของประชากร)
-เข็มสอง 48,059,715 โดส (72.6% ของประชากร)
-เข็มสาม 11,806,818 โดส (17.8% ของประชากร)

2) อัตราการฉีดวัคซีนตั้งแต่ 28 ก.พ.-22 ม.ค. 65 พบว่า ประเทศไทยฉีดวัคซีนแล้ว 111,882,595 โดส ฉีดเพิ่มขึ้น 559,569 โดส (อัตราการฉีดล่าสุดเฉลี่ย 3 วันย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย. 64 ซึ่งเป็นการฉีดวัคซีนวาระแห่งชาติ 423,737 โดส/วัน

3) อัตราการฉีดวัคซีน ประกอบด้วย
วัคซีน Sinovac
- เข็มที่ 1 22,852,550 โดส
- เข็มที่ 2 3,579,024 โดส
- เข็มที่ 3 0 โดส
วัคซีน AstraZeneca
- เข็มที่ 1 13,624,940 โดส
- เข็มที่ 2 28,119,048 โดส
- เข็มที่ 3 3,611,493 โดส
วัคซีน Sinopharm
- เข็มที่ 1 7,490,271 โดส
- เข็มที่ 2 7,169,305 โดส
- เข็มที่ 3 0 โดส
วัคซีน Pfizer
- เข็มที่ 1 7,392,292 โดส
- เข็มที่ 2 8,478,497 โดส
- เข็มที่ 3 6,409,930 โดส
วัคซีน Moderna
- เข็มที่ 1 656,009 โดส
- เข็มที่ 2 713,841 โดส
- เข็มที่ 3 1,785,395 โดส

4) การฉีดวัคซีนโควิด-19 แยกตามกลุ่มเป้าหมาย
- บุคลากรการแพทย์/สาธารณสุข เข็มที่1 114.3% เข็มที่2 112% เข็มที่3 96.8%
- อสม เข็มที่1 79.9% เข็มที่2 77.7% เข็มที่3 33.7%
- ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค เข็มที่ 105.4% เข็มที่2 99.6% เข็มที่3 25.7%
- ประชาชนทั่วไป เข็มที่1 88% เข็มที่3 80.4% เข็มที่3 20.3%
- ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เข็มที่1 65.6% เข็มที่2 60.7% เข็มที่3 13.8%
- นักเรียน/นักศึกษา อายุ 12-17 ปี เข็มที่1 71.5% เข็มที่2 68.9% เข็มที่3 0%
รวม เข็มที่1 74.8% เข็มที่2 69.1% เข็มที่3 17%

5) 10 จังหวัดที่มีการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ครอบคลุมประชากรสูงที่สุด
1. กรุงเทพมหานคร เข็มที่1 121.1% เข็มที่2 112.3%
2. ภูเก็ต เข็มที่1 88% เข็มที่2 85.5%
3. ปทุมธานี เข็มที่1 84.7% เข็มที่2 79.7%
4. ระนอง เข็มที่1 83.7% เข็มที่2 79.7%
5. สมุทรปราการ เข็มที่1 84.2% เข็มที่2 73.5%
6. ระยอง เข็มที่1 82.2% เข็มที่2 78.3%
7. นนทบุรี เข็มที่1 80.8% เข็มที่2 77.4%
8. ชลบุรี เข็มที่1 81.3% เข็มที่2 77.3%
9.พังงา เข็มที่1 77.7% เข็มที่2 75.6%
10. นครปฐม เข็มที่1 75.4% เข็มที่2 74.6%
10 จังหวัดที่มีการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ครอบคลุมประชากรต่ำที่สุด
1. แม่ฮ่องสอน เข็มที่1 55.3% เข็มที่2 40.5%
2. นราธิวาส เข็มที่1 54.9% เข็มที่2 44.2%
3. ปัตตานี เข็มที่1 55.8% เข็มที่2 44.8%
4. ตาก เข็มที่1 55.8% เข็มที่2 46.2%
5. ยะลา เข็มที่1 62.2% เข็มที่2 51.9%
6. กาญจนบุรี เข็มที่1 55.7% เข็มที่2 52.7%
7. บึงกาฬ เข็มที่1 62.4% เข็มที่2 52.9%
8. ลพบุรี เข็มที่1 57.5% เข็มที่2 53.3%
9. หนองบัวลำภู  เข็มที่1 61.7% เข็มที่2 53.8%
10. สกลนคร เข็มที่1 63.7% เข็มที่2 54.8%

6) ในภูมิภาคอาเซียน ได้ฉีดวัคซีนแล้วครบ 10 ประเทศ รวมจำนวน 869,599,894 โดส ได้แก่
1. อินโดนีเซีย จำนวน 304,496,935 โดส (65.5%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac, AstraZeneca, Moderna และ Sinopharm
2. เวียดนาม จำนวน 173,708,365 โดส (80.7%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca, Pfizer, Moderna และ Sinopharm  
3. ฟิลิปปินส์ 122,889,494 โดส (53.9%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac, Pfizer, Sputnik V, Moderna, J&J และ AstraZeneca  
4. ไทย จำนวน 111,882,595 โดส (78.6%* ของประชากร)  ฉีดวัคซีนของ Pfizer, Sinovac, AstraZeneca และ Sinopharm
5. มาเลเซีย จำนวน 61,946,138  โดส (79.8%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, AstraZeneca และ Sinovac  
6. พม่า จำนวน 38,483,555 โดส (39.3%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca และ Sinopharm
7. กัมพูชา จำนวน 33,208,306 โดส (84.7%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, AstraZeneca, J&J และ Sinovac
8. สิงคโปร์ จำนวน 12,444,673 โดส (90%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, Moderna และ Sinovac
9.  ลาว จำนวน 8,593,662 โดส (63.5%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, Sputnik V, Pfizer, J&J, Sinovac และ AstraZeneca
10. บรูไน จำนวน 946,170 โดส (94.7%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca และ Sinopharm
* คำนวณจากจำนวนฉีด/จำนวนประชากร อย่างน้อย 1 เข็ม

7) จำนวนการฉีดวัคซีนแยกตามภูมิภาค
1. เอเชียและตะวันออกกลาง 69.74%
2. ยุโรป 10.38%
3. อเมริกาเหนือ 8.83%
4. ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน 7.02%
5. แอฟริกา 3.45%
6. โอเชียเนีย 0.59%

8) ประเทศที่ฉีดวัคซีนแล้วมากที่สุด 5 ประเทศลำดับแรกที่ฉีดวัคซีนมากกว่า 100 ล้านโดส รวมกันเกือบ 70% ของปริมาณการฉีดวัคซีนทั่วโลก
1. จีน จำนวน 2,956.22 ล้านโดส (209% ของจำนวนโดสที่ฉีดต่อประชากร)
2. อินเดีย จำนวน 1,6344.22 ล้านโดส (119.3%)
3. สหรัฐอเมริกา จำนวน 532.85 ล้านโดส (158.9%)
4. บราซิล จำนวน 350.63 ล้านโดส (165.6%)
5. อินโดนีเซีย  จำนวน 304.5 ล้านโดส (110.4%)

9) ประเทศที่ฉีดวัคซีนครอบคลุมประชากรมากที่สุด มี 10 ประเทศที่ฉีดวัคซีนให้กับประชากรอย่างน้อย 25% แล้ว ได้แก่ (เฉพาะประเทศที่มีประชากรมากกว่า 500,000 คน)
1. คิวบา (292.5%) (ฉีดวัคซีนของ  Abdala และ Soberana02)
2. สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (250.4%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Gamaleya)
3. ชิลี (236.7%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, CanSino, Pfizer/BioNTech และ Sinovac)
4. เดนมาร์ก (232.6%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech Moderna และ J&J)
5. บาห์เรน (225.8%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Gamaley)  
6. เกาหลีใต้  (217.8%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech J&J AstraZeneca/Oxford และ  Moderna)
7. บรูไน (214.6%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford และ Sinopharm)  
8. มัลดีฟส์ (214.2%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech และ Sinopharm)
9. สิงคโปร์ (211.4%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech Moderna และ Sinovac)
10. จีน (209%) (ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, Sinovac, CanSino และ Anhui)

แหล่งข้อมูล Bloomberg Vaccine Tracker, กระทรวงสาธารณสุข
ประมวลข้อมูลโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
https://www.facebook.com/nrctofficial/posts/4594566040668932
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่