กองทัพเรือ เสนอโครงการปี 66 ต่อเรือในประเทศ 3 ลำ ปรับปรุงเรือเก่า 2 ลำ
มีข่าวว่ากองทัพเรือจะเสนอโครงการจัดสร้างเรือตรวจการณ์ปืน เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง และปรับปรุงเรือชุดเรือหลวงปัตตานีให้รัฐบาลและรัฐสภาพิจารณาเพื่อของบประมาณในปี 2566
ข่าวนี้ถูกเผยแพร่ในคลิปการแถลงผลการปฏิบัติงานตามนโยบายผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ ที่ต้องการเห็นผลใน 100 วันแรกของกองเรือยุทธการ กองทัพเรือ ที่ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการให้นโยบายหน่วยขึ้นตรงในการเสนอโครงการเสริมสร้างกำลังกองทัพในปี 2566 เนื่องจากที่ผ่านมาการเสนอโครงการไม่มีกรอบที่ชัดเจน ทำให้ขาดกระบวนการพิจารณาที่เหมาะสมก่อนการเสนอกองทัพเรือ ซึ่งได้มีการปรับปรุงให้การเสนอโครงการมีความชัดเจนและสอดคล้องกับแผนแม่บทการพัฒนากองทัพเรือด้านการเสริมสร้างกำลังรบ พ.ศ. 2560 - 2575
สำหรับ เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง นั้นปรากฎภาพเรือชั้น Khareef Corvette ของกองทัพเรือโอมาน ซึ่งใช้แบบเรือของบริษัท BAE Systems และเป็นแบบเรือที่ใกล้เคียงกับแบบเรือชั้น River ที่กองทัพเรือต่อเข้าประจำการสองลำคือเรือหลวงกระบี่และเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ แต่มีขนาดใหญ่กว่าคือราว 2,660 ตัน และมีข่าวว่า BAE Systems เสนอแบบเรือนี้ให้กับกองทัพเรือพิจารณาในงาน Defense and Security 2015 ซึ่งกองทัพเรือต้องการเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งที่มีขนาดใหญ่ขึ้น และมีโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ที่สามารถรองรับเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางเช่น S-70B ได้ ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการต่อในประเทศโดยบริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของกองทัพเรือดำเนินการต่อ คาดว่าจะใช้งบประมาณราว 6,500 ล้านบาท
รายละเอียดเรือ ชั้น Khareef class
Class and type: Corvette
Displacement: 2,660 tonnes
Length: 99 m (325 ft)
Beam: 14.6 m (48 ft)
Draught: 4.1 m (13 ft)
Propulsion: Two MTU diesel engines
Speed: 28 kn (52 km/h; 32 mph)
Range: 4,500 nmi (8,300 km; 5,200 mi)
Endurance: 21 days
Complement: 100
Sensors and processing systems:
·SMART-S Mk2 3D S-band multibeam radar
·TACTICOS combat management system
·Thales Nederland Sting electro-optic weapons director
Armament:
·1 × 76 mm Oto Melara cannon
·2 × 30mm MSI DS30M 30 mm cannon
·8 × MM-40 Block III Exocet SSM
·12 × MBDA VL Mica SAM
Aircraft carried: 1 x medium helicopter
Aviation facilities: Enclosed hangar
ถ้าเสนอโครงการนี้ผ่าน จะดีมากๆ ผมขอสนับสนุน โครงการที่ดำเนินการในประเทศ เป็นการต่อเรือที่ใช้แรงงานและทักษะของบุคลากรในประเทศ ในการต่อเรือขนาดใหญ่อย่างเรือ OPV จะต้องใช้แรงงานจำนวนมาก ซึ่งจะไม่จำกัดอยู่แค่พนักงานของบริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด เพราะคาดว่าจะเกิดการจ้างงานต่อให้กับอู่ในประเทศหลายอู่เช่นเดียวกับเมื่อครั้งที่กองทัพเรือต่อเรือหลวงกระบี่และเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ และในกรณีนี้เรือ OPV ลำใหม่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น จำเป็นต้องใช้แรงงานและเครื่องมือมากกว่าเดิม ซึ่งผลประโยชน์จะอยู่กับกลุ่มอุตสาหกรรมการต่อเรือของไทยไปอีก 2 - 3 ปีเป็นอย่างน้อยอย่างแน่นอน ถือว่าโครงการนี้จะเข้ามาช่วยกู้สถานการณ์ของอุตสาหกรรมต่อเรือไทยที่ซบเซามาหลายปีได้ ดังนั้นงบประมาณส่วนใหญ่จะหมุนเวียนอยู่ในประเทศไทยอย่างแน่อน
อ้างอิง :
1.
https://thaimilitaryandasianregion.wordpress.com/2016/05/18/khareef-class-corvettes-oman/
2. ThaiArmedForce.com




กองทัพเรือ เสนอโครงการปี 66 ต่อเรือ OPV ชั้น Khareef class ขนาดใหญ่ราว 2,660 ตัน
มีข่าวว่ากองทัพเรือจะเสนอโครงการจัดสร้างเรือตรวจการณ์ปืน เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง และปรับปรุงเรือชุดเรือหลวงปัตตานีให้รัฐบาลและรัฐสภาพิจารณาเพื่อของบประมาณในปี 2566
ข่าวนี้ถูกเผยแพร่ในคลิปการแถลงผลการปฏิบัติงานตามนโยบายผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ ที่ต้องการเห็นผลใน 100 วันแรกของกองเรือยุทธการ กองทัพเรือ ที่ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการให้นโยบายหน่วยขึ้นตรงในการเสนอโครงการเสริมสร้างกำลังกองทัพในปี 2566 เนื่องจากที่ผ่านมาการเสนอโครงการไม่มีกรอบที่ชัดเจน ทำให้ขาดกระบวนการพิจารณาที่เหมาะสมก่อนการเสนอกองทัพเรือ ซึ่งได้มีการปรับปรุงให้การเสนอโครงการมีความชัดเจนและสอดคล้องกับแผนแม่บทการพัฒนากองทัพเรือด้านการเสริมสร้างกำลังรบ พ.ศ. 2560 - 2575
สำหรับ เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง นั้นปรากฎภาพเรือชั้น Khareef Corvette ของกองทัพเรือโอมาน ซึ่งใช้แบบเรือของบริษัท BAE Systems และเป็นแบบเรือที่ใกล้เคียงกับแบบเรือชั้น River ที่กองทัพเรือต่อเข้าประจำการสองลำคือเรือหลวงกระบี่และเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ แต่มีขนาดใหญ่กว่าคือราว 2,660 ตัน และมีข่าวว่า BAE Systems เสนอแบบเรือนี้ให้กับกองทัพเรือพิจารณาในงาน Defense and Security 2015 ซึ่งกองทัพเรือต้องการเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งที่มีขนาดใหญ่ขึ้น และมีโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ที่สามารถรองรับเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางเช่น S-70B ได้ ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการต่อในประเทศโดยบริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของกองทัพเรือดำเนินการต่อ คาดว่าจะใช้งบประมาณราว 6,500 ล้านบาท
รายละเอียดเรือ ชั้น Khareef class
Class and type: Corvette
Displacement: 2,660 tonnes
Length: 99 m (325 ft)
Beam: 14.6 m (48 ft)
Draught: 4.1 m (13 ft)
Propulsion: Two MTU diesel engines
Speed: 28 kn (52 km/h; 32 mph)
Range: 4,500 nmi (8,300 km; 5,200 mi)
Endurance: 21 days
Complement: 100
Sensors and processing systems:
·SMART-S Mk2 3D S-band multibeam radar
·TACTICOS combat management system
·Thales Nederland Sting electro-optic weapons director
Armament:
·1 × 76 mm Oto Melara cannon
·2 × 30mm MSI DS30M 30 mm cannon
·8 × MM-40 Block III Exocet SSM
·12 × MBDA VL Mica SAM
Aircraft carried: 1 x medium helicopter
Aviation facilities: Enclosed hangar
ถ้าเสนอโครงการนี้ผ่าน จะดีมากๆ ผมขอสนับสนุน โครงการที่ดำเนินการในประเทศ เป็นการต่อเรือที่ใช้แรงงานและทักษะของบุคลากรในประเทศ ในการต่อเรือขนาดใหญ่อย่างเรือ OPV จะต้องใช้แรงงานจำนวนมาก ซึ่งจะไม่จำกัดอยู่แค่พนักงานของบริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด เพราะคาดว่าจะเกิดการจ้างงานต่อให้กับอู่ในประเทศหลายอู่เช่นเดียวกับเมื่อครั้งที่กองทัพเรือต่อเรือหลวงกระบี่และเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ และในกรณีนี้เรือ OPV ลำใหม่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น จำเป็นต้องใช้แรงงานและเครื่องมือมากกว่าเดิม ซึ่งผลประโยชน์จะอยู่กับกลุ่มอุตสาหกรรมการต่อเรือของไทยไปอีก 2 - 3 ปีเป็นอย่างน้อยอย่างแน่นอน ถือว่าโครงการนี้จะเข้ามาช่วยกู้สถานการณ์ของอุตสาหกรรมต่อเรือไทยที่ซบเซามาหลายปีได้ ดังนั้นงบประมาณส่วนใหญ่จะหมุนเวียนอยู่ในประเทศไทยอย่างแน่อน
อ้างอิง :
1. https://thaimilitaryandasianregion.wordpress.com/2016/05/18/khareef-class-corvettes-oman/
2. ThaiArmedForce.com