ชาวเน็ตทวงถาม พปชร. นโยบายรถเมล์ร้อนสูญพันธุ์ปี’65 อยู่ไหน แห่แชร์โพสต์เก่าเพียบ
https://www.matichon.co.th/social/news_3122586
ชาวเน็ตทวงถาม พปชร. นโยบายรถเมล์ร้อนสูญพันธุ์ปี’65 อยู่ไหน แห่แชร์โพสต์เก่าเพียบ
เมื่อวันที่ 9 มกราคมที่ผ่านมา ผู้ใช้งานเฟซบุ๊กจำนวนมากต่างแชร์ภาพนโยบายหาเสียงของพรรคพลังประชารัฐ ที่เคยโพสต์เอาไว้เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ปี 2562 ซึ่งเคยโพสต์หาเสียงพร้อมกับนโยบาย ระบุว่า “
ปี’65 รถเมล์ร้อนต้องสูญพันธุ์”
รวมไปถึง
“ประเทศไทยเมืองร้อน และร้อนขึ้นทุกวัน แล้วทำไมเรายังต้องใช้รถเมล์ร้อนต่อไป???” #พปชร เล็งกำจัดรถเมล์ร้อนภายในปี 2565 เปิดที่ให้รถเมล์รุ่นใหม่ และรถยนต์ขนส่งสาธารณะพลังไฟฟ้า #EV หนึ่งในนโยบายสีเขียว เพื่อคนกรุงเทพ #ปอดสะอาดลาขาดฝุ่น เลือกเราไม่ร้อนแน่”
ทั้งนี้ มีชาวเน็ตเข้าไปคอมเมนต์และแชร์โพสต์ดังกล่าวออกไปเป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่แสดงความคิดเห็นระบุว่า เวลานี้เข้าสู่ปี 2565 แล้วยังไม่มีวี่แววว่ารถเมล์ร้อนจะหมดไปจากกรุงเทพฯ บางส่วนตั้งข้อสงสัยว่า อาจต้องรอชมเนื่องจากปี 2565 ยังเหลือเวลาอีก 356 วันเท่านั้น ขณะที่บางส่วนสงสัยว่าหรือปี’65 ที่พรรคพลังประชารัฐหมายถึงจะหมายถึงปี 2665 กันแน่ ขณะที่บางคนสงสัยว่า โพสต์ดังกล่าวเป็นเฟคนิวส์หรือไม่
โดยหนึ่งในนั้นคือ
เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ร่วมคอมเมนต์ด้วย โดยระบุว่า
“สวัสดี เรามาจากอนาคต ปี พ.ศ.2565 รถเมล์ร้อน ยังเต็มกรุงเทพฯ ไม่ได้สูญพันธุ์อะไร แม้ว่าพรรคพลังประชารัฐจะเป็นรัฐบาลมาหลายปีแล้ว ก็ยังพ่นฝุ่น PM2.5 เต็มเมืองหรือว่าที่หาเสียงไว้นี้ ไม่ได้โม้ต-แ-ล .. แต่หมายถึงปี ค.ศ.2065”
ตะลึง ไซปรัสพบเชื้อโควิดกลายพันธุ์ เดลตา+โอมิครอน ตั้งชื่อ 'เดลตาครอน'
https://www.thairath.co.th/news/foreign/2283510
ทีมนักวิจัยไซปรัสพบเชื้อโควิดกลายพันธุ์ สายพันธุ์ใหม่ เป็นการผสมผสานทางพันธุกรรมระหว่างเชื้อโควิดเดลตาและเชื้อโควิดโอมิครอน ตั้งชื่อให้ เดลตาครอน พบผู้ติดเชื้อแล้ว 25 ราย
เมื่อ 9 ม.ค. 65 สื่อต่างประเทศรายงานว่า ทีมนักวิจัยในสาธารณรัฐไซปรัส ประเทศเกาะในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทางตอนใต้ของตุรกี พบเชื้อโควิด -19 กลายพันธุ์สายพันธุ์ใหม่ ที่เป็นการผสมผสานทางพันธุกรรมระหว่างเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตากับโอมิครอน ตั้งชื่อเรียกว่า
เดลตาครอน (Deltacron)
ตามรายงานของบลูมเบิร์ก ระบุว่า ศาสตราจารย์
ลิออนดิออส คอสตริคิส ศาสตราจารย์ด้านชีววิทยาที่มหาวิทยาลัยไซปรัส เป็นผู้ตั้งชื่อเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์สายพันธุ์ใหม่นี้ว่า '
เดลตาครอน' เนื่องจากเป็นเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ที่มีพันธุกรรมที่สำคัญของเชื้อโควิดโอมิครอน อยู่ในจีโนม (Genome) ของเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา
จากการแถลงเรื่องนี้ของศาสตราจารย์
คอสตริคิส บอกว่า จนถึงขณะนี้ พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่เดลตาครอนในไซปรัสแล้ว 25 ราย และขณะนี้คงยังเร็วเกินไปที่จะชี้ว่า เชื้อโควิดเดลตาครอนจะมีความร้ายกาจกว่าเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตา และโอมิครอนหรือไม่
นอกจากนั้น ทีมวิจัยของไซปรัสได้ส่งรายงานการพบเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ เดลตาครอน ซึ่งพบในสัปดาห์นี้ไปยัง GISAID ซึ่งเป็นฐานข้อมูลระหว่างประเทศที่ติดตามเชื้อโควิด-19 แล้ว
การพบเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ เดลตาครอน มีขึ้นขณะเชื้อโควิดโอมิครอน ซึ่งเป็นเชื้อโควิด-19 ที่แพร่กระจายติดเชื้อสูงกำลังระบาดไปทั่วโลก และกำลังกลายเป็นเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์หลักแทนที่สายพันธุ์เดลตา โดยตามรายงานพบว่า สหรัฐอเมริกาพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา เฉลี่ยแล้วสูงถึงวันละกว่า 6 แสนราย เพิ่มขึ้นกว่าสัปดาห์ก่อน 72%
ที่มา :
cyprus-mail ,
cnbc
ฟาร์มหมู วอนรัฐแก้ปัญหาโรคระบาด ชี้หยุดเลี้ยงไม่ได้ เพราะเป็นอาชีพหลักหาเลี้ยงชีพ
https://www.pptvhd36.com/news/
เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูนายคุณากร กิจฉลอง ผู้ดูแลฟาร์มหมู ในพื้นที่หมู่ 5 ตำบลท่าข้าม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม หนึ่งในฟาร์มที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดในหมู จนทำให้หมูตายไปเกือบ 200 ตัว บอกว่าเขาต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงหมูใหม่ โดยลดจำนวนหมูจากเดิมเคยเลี้ยงเกือบ 1,000 ตัว ลดลงมาเหลือประมาณ100 ตัว และนำหมูโตที่มีน้ำหนักประมาณ 110 กิโลกรัมขึ้นพื้นที่ อ.สามพราน เร่งรัฐแก้ปัญหาโรคระบาด จ่ายเงินเยียวยา หลังต้องแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น พร้อมระบุไม่สามารถหยุดเลี้ยงได้ เพราะเป็นอาชีพหลักที่ทำกันมานานแล้ว
นาย
คุณากร กิจฉลอง ผู้ดูแลฟาร์มหมู ในพื้นที่หมู่ 5 ตำบลท่าข้าม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม หนึ่งในฟาร์มที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดในหมู จนทำให้หมูตายไปเกือบ 200 ตัว บอกว่าเขาต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงหมูใหม่ โดยลดจำนวนหมูจากเดิมเคยเลี้ยงเกือบ 1,000 ตัว ลดลงมาเหลือประมาณ100 ตัว และนำหมูโตที่มีน้ำหนักประมาณ 110 กิโลกรัมขึ้นไป มาเลี้ยงประมาณ 2-3 สัปดาห์ เพื่อลดต้นทุนและความเสี่ยงที่หมูจะติดเชื้อตายก่อนขาย ได้กำไรเพียงตัวละ 100-200 บาท
บางครั้งก็ขาดทุน และไม่มั่นใจว่าหากสถานการณ์ไม่ดีขึ้น จะมีหมูใหม่เพียงพอที่จะซื้อมาเลี้ยงหรือไม่ ดังนั้นจึงอยากให้ภาครัฐเร่งเเก้ปัญหาเรื่องโรคระบาดและจ่ายเงินเยียวยาให้คนเลี้ยงหมู เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้คนเลี้ยงหมู
ส่วนโรคระบาดในหมู ที่เกิดขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จนทำให้มีหมูป่วยตายไปเป็นจำนวนมาก / โดยส่วนใหญ่หมูที่ป่วยจะมีอาการป่วยคล้ายกัน คือ เบื่ออาหาร มีไข้สูง มีจุดเลือดออกหรือรอยช้ำ โดยเฉพาะใบหู ท้อง และขาหลัง ซึ่งเป็นอาการบ่งชี้สำคัญของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ซึ่งมีความรุนแรงมากเพราะไม่มีวัคซีนและยารักษา รวมถึงมีอัตราการตายสูงเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์
ล่าสุดนายสัตวแพทย์
สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ ยังไม่ยอมรับว่าโรคระบาดที่เกิดขึ้นคือโรค ASF และตอนนี้อยู่ระหว่างการสอบสวนโรคในพื้นที่ที่พบการระบาดทั้งหมด
JJNY : ทวงพปชร. นโยบายรถเมล์ร้อน│ไซปรัสพบเดลตา+โอมิครอน│ฟาร์มหมู วอนรัฐแก้ปัญหาโรคระบาด│“ชัชชาติ”เผยเล็งเสริมTelemed
https://www.matichon.co.th/social/news_3122586
ชาวเน็ตทวงถาม พปชร. นโยบายรถเมล์ร้อนสูญพันธุ์ปี’65 อยู่ไหน แห่แชร์โพสต์เก่าเพียบ
เมื่อวันที่ 9 มกราคมที่ผ่านมา ผู้ใช้งานเฟซบุ๊กจำนวนมากต่างแชร์ภาพนโยบายหาเสียงของพรรคพลังประชารัฐ ที่เคยโพสต์เอาไว้เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ปี 2562 ซึ่งเคยโพสต์หาเสียงพร้อมกับนโยบาย ระบุว่า “ปี’65 รถเมล์ร้อนต้องสูญพันธุ์”
รวมไปถึง “ประเทศไทยเมืองร้อน และร้อนขึ้นทุกวัน แล้วทำไมเรายังต้องใช้รถเมล์ร้อนต่อไป???” #พปชร เล็งกำจัดรถเมล์ร้อนภายในปี 2565 เปิดที่ให้รถเมล์รุ่นใหม่ และรถยนต์ขนส่งสาธารณะพลังไฟฟ้า #EV หนึ่งในนโยบายสีเขียว เพื่อคนกรุงเทพ #ปอดสะอาดลาขาดฝุ่น เลือกเราไม่ร้อนแน่”
ทั้งนี้ มีชาวเน็ตเข้าไปคอมเมนต์และแชร์โพสต์ดังกล่าวออกไปเป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่แสดงความคิดเห็นระบุว่า เวลานี้เข้าสู่ปี 2565 แล้วยังไม่มีวี่แววว่ารถเมล์ร้อนจะหมดไปจากกรุงเทพฯ บางส่วนตั้งข้อสงสัยว่า อาจต้องรอชมเนื่องจากปี 2565 ยังเหลือเวลาอีก 356 วันเท่านั้น ขณะที่บางส่วนสงสัยว่าหรือปี’65 ที่พรรคพลังประชารัฐหมายถึงจะหมายถึงปี 2665 กันแน่ ขณะที่บางคนสงสัยว่า โพสต์ดังกล่าวเป็นเฟคนิวส์หรือไม่
โดยหนึ่งในนั้นคือ เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ร่วมคอมเมนต์ด้วย โดยระบุว่า
“สวัสดี เรามาจากอนาคต ปี พ.ศ.2565 รถเมล์ร้อน ยังเต็มกรุงเทพฯ ไม่ได้สูญพันธุ์อะไร แม้ว่าพรรคพลังประชารัฐจะเป็นรัฐบาลมาหลายปีแล้ว ก็ยังพ่นฝุ่น PM2.5 เต็มเมืองหรือว่าที่หาเสียงไว้นี้ ไม่ได้โม้ต-แ-ล .. แต่หมายถึงปี ค.ศ.2065”
ตะลึง ไซปรัสพบเชื้อโควิดกลายพันธุ์ เดลตา+โอมิครอน ตั้งชื่อ 'เดลตาครอน'
https://www.thairath.co.th/news/foreign/2283510
ทีมนักวิจัยไซปรัสพบเชื้อโควิดกลายพันธุ์ สายพันธุ์ใหม่ เป็นการผสมผสานทางพันธุกรรมระหว่างเชื้อโควิดเดลตาและเชื้อโควิดโอมิครอน ตั้งชื่อให้ เดลตาครอน พบผู้ติดเชื้อแล้ว 25 ราย
เมื่อ 9 ม.ค. 65 สื่อต่างประเทศรายงานว่า ทีมนักวิจัยในสาธารณรัฐไซปรัส ประเทศเกาะในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทางตอนใต้ของตุรกี พบเชื้อโควิด -19 กลายพันธุ์สายพันธุ์ใหม่ ที่เป็นการผสมผสานทางพันธุกรรมระหว่างเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตากับโอมิครอน ตั้งชื่อเรียกว่า เดลตาครอน (Deltacron)
ตามรายงานของบลูมเบิร์ก ระบุว่า ศาสตราจารย์ลิออนดิออส คอสตริคิส ศาสตราจารย์ด้านชีววิทยาที่มหาวิทยาลัยไซปรัส เป็นผู้ตั้งชื่อเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์สายพันธุ์ใหม่นี้ว่า 'เดลตาครอน' เนื่องจากเป็นเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ที่มีพันธุกรรมที่สำคัญของเชื้อโควิดโอมิครอน อยู่ในจีโนม (Genome) ของเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา
จากการแถลงเรื่องนี้ของศาสตราจารย์คอสตริคิส บอกว่า จนถึงขณะนี้ พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่เดลตาครอนในไซปรัสแล้ว 25 ราย และขณะนี้คงยังเร็วเกินไปที่จะชี้ว่า เชื้อโควิดเดลตาครอนจะมีความร้ายกาจกว่าเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตา และโอมิครอนหรือไม่
นอกจากนั้น ทีมวิจัยของไซปรัสได้ส่งรายงานการพบเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ เดลตาครอน ซึ่งพบในสัปดาห์นี้ไปยัง GISAID ซึ่งเป็นฐานข้อมูลระหว่างประเทศที่ติดตามเชื้อโควิด-19 แล้ว
การพบเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ เดลตาครอน มีขึ้นขณะเชื้อโควิดโอมิครอน ซึ่งเป็นเชื้อโควิด-19 ที่แพร่กระจายติดเชื้อสูงกำลังระบาดไปทั่วโลก และกำลังกลายเป็นเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์หลักแทนที่สายพันธุ์เดลตา โดยตามรายงานพบว่า สหรัฐอเมริกาพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา เฉลี่ยแล้วสูงถึงวันละกว่า 6 แสนราย เพิ่มขึ้นกว่าสัปดาห์ก่อน 72%
ที่มา : cyprus-mail , cnbc
ฟาร์มหมู วอนรัฐแก้ปัญหาโรคระบาด ชี้หยุดเลี้ยงไม่ได้ เพราะเป็นอาชีพหลักหาเลี้ยงชีพ
https://www.pptvhd36.com/news/
เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูนายคุณากร กิจฉลอง ผู้ดูแลฟาร์มหมู ในพื้นที่หมู่ 5 ตำบลท่าข้าม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม หนึ่งในฟาร์มที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดในหมู จนทำให้หมูตายไปเกือบ 200 ตัว บอกว่าเขาต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงหมูใหม่ โดยลดจำนวนหมูจากเดิมเคยเลี้ยงเกือบ 1,000 ตัว ลดลงมาเหลือประมาณ100 ตัว และนำหมูโตที่มีน้ำหนักประมาณ 110 กิโลกรัมขึ้นพื้นที่ อ.สามพราน เร่งรัฐแก้ปัญหาโรคระบาด จ่ายเงินเยียวยา หลังต้องแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น พร้อมระบุไม่สามารถหยุดเลี้ยงได้ เพราะเป็นอาชีพหลักที่ทำกันมานานแล้ว
นายคุณากร กิจฉลอง ผู้ดูแลฟาร์มหมู ในพื้นที่หมู่ 5 ตำบลท่าข้าม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม หนึ่งในฟาร์มที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดในหมู จนทำให้หมูตายไปเกือบ 200 ตัว บอกว่าเขาต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงหมูใหม่ โดยลดจำนวนหมูจากเดิมเคยเลี้ยงเกือบ 1,000 ตัว ลดลงมาเหลือประมาณ100 ตัว และนำหมูโตที่มีน้ำหนักประมาณ 110 กิโลกรัมขึ้นไป มาเลี้ยงประมาณ 2-3 สัปดาห์ เพื่อลดต้นทุนและความเสี่ยงที่หมูจะติดเชื้อตายก่อนขาย ได้กำไรเพียงตัวละ 100-200 บาท
บางครั้งก็ขาดทุน และไม่มั่นใจว่าหากสถานการณ์ไม่ดีขึ้น จะมีหมูใหม่เพียงพอที่จะซื้อมาเลี้ยงหรือไม่ ดังนั้นจึงอยากให้ภาครัฐเร่งเเก้ปัญหาเรื่องโรคระบาดและจ่ายเงินเยียวยาให้คนเลี้ยงหมู เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้คนเลี้ยงหมู
ส่วนโรคระบาดในหมู ที่เกิดขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จนทำให้มีหมูป่วยตายไปเป็นจำนวนมาก / โดยส่วนใหญ่หมูที่ป่วยจะมีอาการป่วยคล้ายกัน คือ เบื่ออาหาร มีไข้สูง มีจุดเลือดออกหรือรอยช้ำ โดยเฉพาะใบหู ท้อง และขาหลัง ซึ่งเป็นอาการบ่งชี้สำคัญของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ซึ่งมีความรุนแรงมากเพราะไม่มีวัคซีนและยารักษา รวมถึงมีอัตราการตายสูงเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์
ล่าสุดนายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ ยังไม่ยอมรับว่าโรคระบาดที่เกิดขึ้นคือโรค ASF และตอนนี้อยู่ระหว่างการสอบสวนโรคในพื้นที่ที่พบการระบาดทั้งหมด