รีวิวแรกของปี ๒๕๖๕ ขับรถมาใกล้ๆกรุงเทพ เที่ยวกันตั้งแต่ต้นปีเลย บวกกับเห่อ..ได้มือถือใหม่ TCL 20R 5G
แฟนกดรับสิทธิ์ฟรีจากทรูนี่แหละ เอาไว้ให้หลานเรียนออนไลน์ ไหนๆได้มาแล้ว ขอพาไปเที่ยวแบบสร้างความรู้กันหน่อย
ยืมมือถือถ่ายรีวีวไปด้วยเลยแล้วกัน ทั้งสอนถ่ายรูป พามาให้รู้ ให้เห็น ข้อมูลมีใน Google ในตำรา หาข้อมูลได้เอง
แต่วิชาชีวิตรอบตัว นอกห้องเรียนนี่แหละ สิ่งที่ทำได้คือสอนและบอก ไว้เป็นความรู้ เที่ยวไปบ่นไป สอนไปก็ว่าได้
ปล.ภาพทั้งหมด ภ่ายด้วยมือถือ TCL 20R 5G ภาพสีจะใส นวลๆ คุณภาพตามราคาที่แลกมาฟรีนี่แหละ จ่ายรายเดือน 500 กว่าอยู่แล้ว
แลกเครื่องฟรีไปเลยถือว่าคุ้มค่านะ กับสเปคกล้อง 3 ตัว กล้องหน้า 8 ล้าน ถ่ายๆเล่นๆ กับแบต 4,500 เท่านี้ถือว่าทำได้ดีเลย
Go to อยุธยา..ขับไปเรื่อยๆ รถไม่ติด มอเตอร์เวย์ฟรี เที่ยวแบบไม่วางแผน กองทัพต้องเดินด้วยท้อง มุ่งตรงไปร้านประจำก่อนเลย รถในตัวเมืองจะติดหน่อย ส่วนใหญ่จะมุ่งไปวัดพนัญเชิง ผ่านวงเวียนวัดสามปลื้ม เจดีย์ใหญ่กลางเมืองเห็นเด่นมาแต่ไกล (ภาพนี้ภ่ายกันจากหน้ารถเลยอาจจะเห็นรอยกระจก ฝุ่น)
เจดีย์โบราณใจกลางกรุงเก่า วงเวียนกลางเมือง มาจากถนนพหลโยธินเข้า-ออกเมืองอยุธยา ตั้งตรงกลางใหญ่โต มาพร้อมฉายา ‘เจดีย์นักเลง’
ที่ยืนเด่นตระหง่าน แม้แต่ถนนก็ยังต้องหลบ
📣: เจดีย์วัดสามปลื้ม ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด ตัวเจดีย์ที่เห็นในปัจจุบันก็เหลือเพียงเจดีย์ทรงกลม ฐานแปดเหลี่ยม ก่ออิฐไม่สอปูน
เป็นแบบเจดีย์สมัยอโยธยา คาดว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น มีเล่าต่อๆกันว่าสร้างในสมัยพระนารายณ์มหาราช โดยเจ้าแม่วัดดุสิต พระนมชั้นเอกในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มารดาของเจ้าพระยาโกษา และเจ้าพระยาโกษาปาน เพื่อฉลองชัยชนะ ที่ลูกไปรบและได้รับการเลื่อนตำแหน่ง
เจดีย์วัดสามปลื้มเคยได้รับการบูรณะ สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติเมื่อปี ๒๔๘๖
ปัจจุบันตัววัดนั้นไม่มีให้เห็นแล้ว สิ่งที่ยืนยันได้ว่าอาณาบริเวณแถบนี้คือวัด เจดีย์วัดสามปลื้ม เนื่องจากเมื่อความเจริญคืบคลานเข้ามา มีการสร้างถนนเข้ามาในพระนครศรีอยุธยา จึงได้ตัดผ่าเข้ามากลางพื้นที่ของวัดโบราณ ไม่ว่าจะเป็นวัดแม่นางปลื้ม วัดแม่ย่า ฯลฯ
ตรงข้ามสะพานมาเลี้ยวกลับรถ ขับเรียบแม่น้ำไปเรื่อยๆ ซ้ายมือมีร้านอาหาร คาเฟ่ยอดนิยม เราเลือกกินร้านประจำ ร้านก๋วยเตี๋ยวผักหวาน เข้าซอยวัดสุวรรณดาราราม เลือกกินจานใครจานมัน ง่ายๆ ผัดไทย ก๋วยเตี๋ยวไก่ ผัดผักหวาน ถ่ายภาพมาไม่ทัน ได้อาหารก็จัดการกันเลย
รถหน้ากบ รถประจำเมือง ขับวนไปวนให้เห็นกันบ่อยๆ
แล้วก็แวะไปให้อาหารช้างกันต่อ ขับรถไปเรื่อยๆ รถติด จอดตรงหน้าศาลหลักเมือง

📣: พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาหลายฉบับกล่าวความต้องกันว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเมื่อวันศุกร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 5 พุทธศักราช 1893 ชีพ่อพราหมณ์ให้ฤกษ์ตั้งพิธีกลบบัตร ได้สังข์ทักษิณาวัฎใต้ต้นหมัน ใบหนึ่งสันนิษฐานว่าได้มีการสถาปนาหลักเมืองขึ้นในคราวเดียวกัน แต่ได้ปรักพังสูญไป ในคราวพุทธศักราช 2310
ที่ตั้งของหลักเมืองเดิมนั้นจากหลักฐานเอกสารทางประวัติศาสตร์ และจากการขุดค้นทางโบราณคดีบ่งว่า ตั้งอยู่ใกล้กับศาลพระกาฬและสี่แยกตะแลงแกง เนื่องในมหามงคลสมัยสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พุทธศักราช 2525 จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้ดำริให้สร้างศาลหลักเมืองขึ้นใหม่
เดินลัดข้ามถนนต่อมายัง ปางช้างอโยธยา ให้อาหารช้างกัน บางเชือกก็สลับหมุนเวียนไปเดินวนรอบเมือง บางเชือกพักกินอาหาร
เชือกนี้งายาวขาวใหญ่สุดกว่าทุกๆ เชือกเป็นช้างแสดง มีให้เดินลอดใต้ท้องช้างกันด้วย
พากันเดินข้ามสะพานผ่านบึงพระรามทะลุไป วัดมงคลบพิตร ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ซึ่งสะท้อนให้เห็นพลังความเชื่อทางศาสนาทั้งเป็นประจักษ์พยานถึงความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับศาสตร์แห่งโลหะและความสามารถในการหล่อโลหะโดยเฉพาะสำริดซึ่งเป็นโลหะที่สำคัญที่สุดชนิดหนึ่งในสมัยอยุธยา
📣 : วัดมงคลบพิตร ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์ พระมงคลบพิตรเป็นพระพุทธรูปบุสัมฤทธิ์ปางมารวิชัย มีขนาดหน้าตักกว้าง 9.55 เมตร และสูง 12.45 เมตร สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นระหว่างปี พ.ศ. 1991–2145 สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมโปรดเกล้าฯให้ย้ายจากทิศตะวันออกนอกพระราชวังมาไว้ทางด้านทิศตะวันตกที่ประดิษฐานอยู่ในปัจจุบันและโปรดเกล้าฯให้ก่อมณฑปสวมไว้
ในสมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ เมื่อปี พ.ศ. 2249 อสุนีบาตตกลงมาต้องยอดมณฑปพระมงคลบพิตรเกิดไฟไหม้ ทำให้ส่วนบนขององค์พระมงคลบพิตรเสียหายจึงโปรดเกล้าฯให้ซ่อมแซมใหม่ แปลงหลังคายอดมณฑปเป็นมหาวิหารและต่อพระเศียรพระมงคลบพิตรในสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ (พ.ศ. 2285–2286)
ในคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310 วิหารพระมงคลบพิตรถูกข้าศึกเผาเครื่องบนโทรมลงมาต้องพระเมาฬีและพระกรขวาของพระมงคลบพิตรหัก รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้การปฏิสังขรณ์ใหม่ สำหรับบริเวณข้างวิหารพระมงคลบพิตรทางด้านทิศตะวันออกแต่เดิมเป็นสนามหลวง ใช้เป็นที่สำหรับสร้างพระเมรุพระบรมศพของพระมหากษัตริย์และเจ้านายเช่นเดียวกับท้องสนามหลวง
ถัดมาก็เป็นวัดพระศรีสรรเพชญ์ ก่อนเข้าสำรวจตัวเองให้เรียบร้อย การแต่งการสุภาพ เสื้อผ้าไม่สั้นไม่ขาด ภายในในอากาศเย็นสบาย ลมพัดมาเป็นระยะๆ
📣 : วัดพระศรีสรรเพชญ์ เป็นวัดสำคัญที่สร้างอยู่ในพระราชวังหลวง ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่1 ทรงสร้างพระราชมณเฑียรเป็นที่ประทับที่บริเวณนี้
ต่อมาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงย้ายพระราชวังขึ้นไปทางเหนือและอุทิศที่ดินเดิมให้สร้างวัดขึ้นภายในเขตพระราชวังและโปรดเกล้าฯให้สร้างเขตพุทธาวาสขึ้น เพื่อเป็นที่สำหรับประกอบพิธีสำคัญต่างๆ จึงเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ต่อมาในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่2 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระสถูปเจดีย์ใหญ่สององค์เมื่อ พ.ศ.2035 องค์แรกทางทิศตะวันออกเพื่อบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถพระราชบิดาและองค์ที่สองคือองค์กลางเพื่อบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่3 พระบรมเชษฐา ต่อมาในปี พ.ศ. 2042 ทรงสร้างพระวิหารขนาดใหญ่และในปี พ.ศ.2043 ทรงหล่อพระพุทธรูปยืนสูง 8 วา (16 เมตร) หุ้มด้วยทองคำหนัก 286 ชั่ง (ประมาณ 171 กิโลกรัม) ประดิษฐานไว้ในวิหาร พระนามว่า “พระศรีสรรเพชญดาญาณ” ซึ่งภายหลังเมื่อคราวเสียกรุง พ.ศ. 2310 พม่าได้เผาลอกทองคำไปหมด ในสมัยรัตนโกสินทร์พระบาท ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวิหารพระมงคลบพิตรในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญชิ้นส่วนชำรุดของพระประธานองค์นี้ลงมากรุงเทพฯและบรรจุชิ้นส่วนซึ่งบูรณะไม่ได้เหล่านั้นไว้ในเจดีย์องค์ใหญ่ที่สร้างขึ้นแล้วพระราชทานชื่อเจดีย์ว่า “เจดีย์สรรเพชญดาญาณ” สำหรับเจดีย์องค์ที่สามถัดมาทางทิศตะวันตก สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (พระหน่อพุทธางกูร) พระราชโอรสได้โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 เจดีย์สามองค์นี้เป็นเจดีย์แบบลังกา ระหว่างเจดีย์แต่ละองค์มีมณฑปก่อคั่นไว้ซึ่งคงจะมีการสร้างในราวรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และมีร่องรอยการบูรณะ
ขับรถวนๆ Googlemap พาหลงกันบ้าง สัญญาณ Dtac เครื่องที่ใช้นำทางมีหลุด ค้าง จะไปคาเฟ่ก็ปิด เลยมุ่งตรงไปต่อทุ่งมะขามหย่อง
แต่มาจบที่พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช จริงๆเลี้ยวผิดตั้งใจจะไป พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย แต่ไม่เป็นไร ขับมาจนออกรอบเกาะเมืองไม่ไกล ตั้งอยู่ริมถนนสายอยุธยา–อ่างทอง บริเวณนี้เรียกว่าทุ่งภูเขาทอง อดีตเคยเป็นสมรภูมิรบหลายครั้งหลายคราว วีรบุรุษของไทยนับไม่ถ้วนได้เสียสละชีวิตเลือดเนื้อเพื่อปกป้องอธิปไตยไว้
ปัจจุบันเป็นอ่างเก็บน้ำทุ่งภูเขาทอง หรือเรียกว่าอ่างเก็บน้ำสมเด็จพระนเรศวรฯ เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่สำรองไว้เพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภค รอบๆ มีคนวิ่งออกกำลังกายกันด้วย
เข้ามาด้านหลังเป็นวัดภูเขาทอง แดดร่ม ลมพัดเย็นสบายรอบๆมีบึงและทุ่งนา มองเจดีย์ตอนใกล้ๆพระอาทิตย์ตกดิน ถ้ามองจากอีกฝั่งจะเห็นสีขาว ทอง ตัดกับทุ่งนารอบๆ สวยเลยแหละ
📣 : วัดภูเขาทอง พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองเป็นผู้สร้าง พ.ศ. 2112 คราวยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ในเวลาที่ประทับอยู่ที่ศรีอยุธยา ได้สร้างพระเจดีย์ภูเขาทองใหญ่แบบมอญขึ้นไว้เป็นที่ระลึกเมื่อคราวรบชนะไทย รูปแบบของฐานเจดีย์มีลักษณะคล้ายแบบมอญพม่า แต่ทำได้เพียงรากฐาน แล้วยกทัพกลับ
ตามหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า เล่าว่า สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระราเมศวรเมื่อปี พ.ศ. 1930 ครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกอบกู้เอกราชกลับคืนมาเมื่อ พ.ศ. 2127 จึงโปรดเกล้าให้สร้างเจดีย์แบบไทยไว้เหนือฐานแบบมอญและพม่าที่สร้างเพียงรากฐานไว้ ณ สมรภูมิทุ่งมะขามหย่อง ฝีมือช่างมอญเดิมจึงปรากฏเหลือเพียงฐานทักษิณส่วนล่างเท่านั้น เจดีย์ภูเขาทองจึงมีลักษณะสถาปัตยกรรมสองแบบผสมกัน
ตกเย็นใกล้ค่ำ หิวกันอีกรอบปิดท้ายทริปด้วยของหวาน ขับรถเป็นวงกลม เข้าเกาะเมืองอีกรอบ วนตาม Googlemap ไม่งั้นหลง
ขอบคุณสัญญาณ Dtac มีแบบลุ่มๆ ดอนๆ หมุนบ้างค้างบ้าง ดูมือถือแต่ละคนมี True5G กับ Ais5G ให้ใช้งานเป็นระยะ ตามธรรมดาของสถานที่ท่องเที่ยว
แต่ก็ถือว่าครอบคลุมในพื้นที่ได้ดี
ปิดท้ายด้วยภาพหวานๆ
ไว้รอบหน้าจะมาเก็บภาพมาให้ชมกันอีก ต้องขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพเก่าๆจาก ที่มาด้านล่างด้วยนะคะ
เว็บไซต์ จังหวัด พระนครศรีอยุธยา
FB:นิทรรศการพลังแผ่นดิน อัศจรรย์งานศิลป์แผ่นดินสยาม
FB:อยุธยา-Ayutthaya Station
มูลนิธิและวิหารพระมงคลบพิตร
https://ww2.ayutthaya.go.th/travel/detail/79
https://www.t
[CR] อยุธยา One day กับ TCL 20R 5G!!
แฟนกดรับสิทธิ์ฟรีจากทรูนี่แหละ เอาไว้ให้หลานเรียนออนไลน์ ไหนๆได้มาแล้ว ขอพาไปเที่ยวแบบสร้างความรู้กันหน่อย
ยืมมือถือถ่ายรีวีวไปด้วยเลยแล้วกัน ทั้งสอนถ่ายรูป พามาให้รู้ ให้เห็น ข้อมูลมีใน Google ในตำรา หาข้อมูลได้เอง
แต่วิชาชีวิตรอบตัว นอกห้องเรียนนี่แหละ สิ่งที่ทำได้คือสอนและบอก ไว้เป็นความรู้ เที่ยวไปบ่นไป สอนไปก็ว่าได้
ที่ยืนเด่นตระหง่าน แม้แต่ถนนก็ยังต้องหลบ
ที่ตั้งของหลักเมืองเดิมนั้นจากหลักฐานเอกสารทางประวัติศาสตร์ และจากการขุดค้นทางโบราณคดีบ่งว่า ตั้งอยู่ใกล้กับศาลพระกาฬและสี่แยกตะแลงแกง เนื่องในมหามงคลสมัยสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พุทธศักราช 2525 จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้ดำริให้สร้างศาลหลักเมืองขึ้นใหม่
เดินลัดข้ามถนนต่อมายัง ปางช้างอโยธยา ให้อาหารช้างกัน บางเชือกก็สลับหมุนเวียนไปเดินวนรอบเมือง บางเชือกพักกินอาหาร
แต่มาจบที่พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช จริงๆเลี้ยวผิดตั้งใจจะไป พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย แต่ไม่เป็นไร ขับมาจนออกรอบเกาะเมืองไม่ไกล ตั้งอยู่ริมถนนสายอยุธยา–อ่างทอง บริเวณนี้เรียกว่าทุ่งภูเขาทอง อดีตเคยเป็นสมรภูมิรบหลายครั้งหลายคราว วีรบุรุษของไทยนับไม่ถ้วนได้เสียสละชีวิตเลือดเนื้อเพื่อปกป้องอธิปไตยไว้
ตามหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า เล่าว่า สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระราเมศวรเมื่อปี พ.ศ. 1930 ครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกอบกู้เอกราชกลับคืนมาเมื่อ พ.ศ. 2127 จึงโปรดเกล้าให้สร้างเจดีย์แบบไทยไว้เหนือฐานแบบมอญและพม่าที่สร้างเพียงรากฐานไว้ ณ สมรภูมิทุ่งมะขามหย่อง ฝีมือช่างมอญเดิมจึงปรากฏเหลือเพียงฐานทักษิณส่วนล่างเท่านั้น เจดีย์ภูเขาทองจึงมีลักษณะสถาปัตยกรรมสองแบบผสมกัน
เว็บไซต์ จังหวัด พระนครศรีอยุธยา
FB:นิทรรศการพลังแผ่นดิน อัศจรรย์งานศิลป์แผ่นดินสยาม
FB:อยุธยา-Ayutthaya Station
มูลนิธิและวิหารพระมงคลบพิตร
https://ww2.ayutthaya.go.th/travel/detail/79
https://www.t
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้