สวัสดีค่ะ ตามหัวข้อ
เมื่อปีที่แล้วดิฉันได้มีโอกาสได้ทำเรื่องผู้จัดการมรดกดังนั้นวันนี้เลยอยากจะแชร์ประสบการณ์การทำผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
ประเภทแรกคือผู้จัดการมรดกที่มีพินัยกรรมระบุไว้ชัดเจน
ประเภทที่ 2 คือผู้จัดการมรดกที่ผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรม มรดกให้
ซึ่งวันนี้ดิฉันจะมาแชร์เกี่ยวกับขั้นตอนประเภทที่ 2 นะคะ
อันดับแรกผู้ที่จะเป็นเจ้าของมรดกเตรียมเอกสารสำเนาบัตรประชาชนสำเนาทะเบียนบ้านของตนเองของ คู่สมรสของผู้ตาย รวมถึงต้องเตรียมเอกสารมรณะบัตรของผู้ตายด้วย นอกจากนี้ญาติสายตรง คือคุณตาและคุณยายจำเป็นต้องใ้ช้เอกสารอย่างยิ่งเพื่อมาใช้ในการร้องขอมรดก หากคุณตาหรือคุณยายของเจ้าของมรดกเสียชีวิตแล้วให้เตรียมเอกสารมรณบัตรถ้าเป็นไปได้ให้เป็นตัวจริงติดมาด้วยหากยังมีชีวิตอยู่ให้ใช้สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านรวมถึงผู้ที่มีชีวิตให้มาทำเรื่องที่อัยการ
หากเจ้าของมรดก(ผู้ตาย)มีพี่น้องสายเลือดโดยตรงให้ใช้เอกสารสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประชาชนของพี่น้องสายเลือดผู้ตายใช้ทำเรื่องที่อัยการด้วย
หากเจ้าของมรดกมีลูกในกรณีที่มีลูกต่างบิดาหรือมารดาให้ใช้เอกสารสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านมาใช้กำกับหากปิดบังปกปิดจะมีความผิดตามกฎหมาย
คัดสำเนาที่ดินที่อยู่อาศัยปัจจุบันโดยต้องไปร้องขอที่กรมที่ดิน
*ในกรณีที่ผู้ตายมีการเปลี่ยนชื่อให้นำใบเปลี่ยนชื่อใช้ในการยื่นร้องขอเจ้าของมรดกด้วยหากเอกสารไม่ครบทางอัยการไม่สามารถส่งเรื่องไปยังศาลได้
จากนั้นทำการยื่นเอกสารทั้งหมดให้กับอัยการอัยการจะทำการเขียนแผนผังครอบครัวโดยสอบถามเราซึ่งในวันที่ยื่นเอกสารบุคคลที่เอ่ยไปข้างต้นจะต้องมาเซ็นยินยอมเอกสารที่อัยการด้วย หากคนใดคนหนึ่งที่เป็นญาติโดยตรงของผู้ตายไม่ยินยอมถือว่าการร้องขอมรดกเป็นโมฆะแต่ถ้าหากทั้งหมดยินยอมทางอัยการจะส่งเรื่องไปทางศาลให้ศาลพิจารณาในการเป็นเจ้าของมรดก
ระยะเวลาที่ศาลจะเรียกพิจารณาประมาณ 2-3 อาทิตย์หากต้องการไว ให้ผู้ร้องขอปรึกษากับทางอัยการเล่าปัญหาว่าเราอยากได้เร็วประมาณวันไหนเพราะเขาสามารถลัดเวลาให้เราได้หากมันจำเป็นจริงๆ
หลังจากที่ได้รับใบนัดจากศาลแล้ว ให้รอหนังสือผู้จัดการมรดกอีกทีโดยใช้ระยะเวลาประมาณ 1 อาทิตย์จดหมายจะส่งมาที่บ้านตัวไปผู้จัดการมรดกจะมีให้ 1 ใบแต่ถ้าเราอยากได้เพิ่มต้องร้องขอศาลและเสียเงินประมาณฉบับละ 200 บาท
นี่เป็นขั้นตอนคร่าวๆถ้าหากเพื่อนๆคนไหนสงสัยให้ไปปรึกษากับทางอัยการโดยตรงขั้นตอนที่อธิบายมานี้เป็นประเภทของผู้ตายไม่ได้เขียนพินัยกรรมไว้หากใครต้องการที่จะแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมหรือข้อเสนอแนะเพิ่มเติมสามารถคอมเม้นได้นะคะ
ผู้จัดการมรดกทำกันอย่างไร
เมื่อปีที่แล้วดิฉันได้มีโอกาสได้ทำเรื่องผู้จัดการมรดกดังนั้นวันนี้เลยอยากจะแชร์ประสบการณ์การทำผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
ประเภทแรกคือผู้จัดการมรดกที่มีพินัยกรรมระบุไว้ชัดเจน
ประเภทที่ 2 คือผู้จัดการมรดกที่ผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรม มรดกให้
ซึ่งวันนี้ดิฉันจะมาแชร์เกี่ยวกับขั้นตอนประเภทที่ 2 นะคะ
อันดับแรกผู้ที่จะเป็นเจ้าของมรดกเตรียมเอกสารสำเนาบัตรประชาชนสำเนาทะเบียนบ้านของตนเองของ คู่สมรสของผู้ตาย รวมถึงต้องเตรียมเอกสารมรณะบัตรของผู้ตายด้วย นอกจากนี้ญาติสายตรง คือคุณตาและคุณยายจำเป็นต้องใ้ช้เอกสารอย่างยิ่งเพื่อมาใช้ในการร้องขอมรดก หากคุณตาหรือคุณยายของเจ้าของมรดกเสียชีวิตแล้วให้เตรียมเอกสารมรณบัตรถ้าเป็นไปได้ให้เป็นตัวจริงติดมาด้วยหากยังมีชีวิตอยู่ให้ใช้สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านรวมถึงผู้ที่มีชีวิตให้มาทำเรื่องที่อัยการ
หากเจ้าของมรดก(ผู้ตาย)มีพี่น้องสายเลือดโดยตรงให้ใช้เอกสารสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประชาชนของพี่น้องสายเลือดผู้ตายใช้ทำเรื่องที่อัยการด้วย
หากเจ้าของมรดกมีลูกในกรณีที่มีลูกต่างบิดาหรือมารดาให้ใช้เอกสารสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านมาใช้กำกับหากปิดบังปกปิดจะมีความผิดตามกฎหมาย
คัดสำเนาที่ดินที่อยู่อาศัยปัจจุบันโดยต้องไปร้องขอที่กรมที่ดิน
*ในกรณีที่ผู้ตายมีการเปลี่ยนชื่อให้นำใบเปลี่ยนชื่อใช้ในการยื่นร้องขอเจ้าของมรดกด้วยหากเอกสารไม่ครบทางอัยการไม่สามารถส่งเรื่องไปยังศาลได้
จากนั้นทำการยื่นเอกสารทั้งหมดให้กับอัยการอัยการจะทำการเขียนแผนผังครอบครัวโดยสอบถามเราซึ่งในวันที่ยื่นเอกสารบุคคลที่เอ่ยไปข้างต้นจะต้องมาเซ็นยินยอมเอกสารที่อัยการด้วย หากคนใดคนหนึ่งที่เป็นญาติโดยตรงของผู้ตายไม่ยินยอมถือว่าการร้องขอมรดกเป็นโมฆะแต่ถ้าหากทั้งหมดยินยอมทางอัยการจะส่งเรื่องไปทางศาลให้ศาลพิจารณาในการเป็นเจ้าของมรดก
ระยะเวลาที่ศาลจะเรียกพิจารณาประมาณ 2-3 อาทิตย์หากต้องการไว ให้ผู้ร้องขอปรึกษากับทางอัยการเล่าปัญหาว่าเราอยากได้เร็วประมาณวันไหนเพราะเขาสามารถลัดเวลาให้เราได้หากมันจำเป็นจริงๆ
หลังจากที่ได้รับใบนัดจากศาลแล้ว ให้รอหนังสือผู้จัดการมรดกอีกทีโดยใช้ระยะเวลาประมาณ 1 อาทิตย์จดหมายจะส่งมาที่บ้านตัวไปผู้จัดการมรดกจะมีให้ 1 ใบแต่ถ้าเราอยากได้เพิ่มต้องร้องขอศาลและเสียเงินประมาณฉบับละ 200 บาท
นี่เป็นขั้นตอนคร่าวๆถ้าหากเพื่อนๆคนไหนสงสัยให้ไปปรึกษากับทางอัยการโดยตรงขั้นตอนที่อธิบายมานี้เป็นประเภทของผู้ตายไม่ได้เขียนพินัยกรรมไว้หากใครต้องการที่จะแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมหรือข้อเสนอแนะเพิ่มเติมสามารถคอมเม้นได้นะคะ