ปีนี้สถานีมีความตั้งใจที่จะขึ้นราคาค่าโฆษณาในช่วงเวลาละครค่ำ
ที่ซบเซาทั้งโฆษณาและกลุ่มคนดูมาตั้งแต่ปี 2560 ด้วยหลายวิธี
และวิธีที่ดีที่สุดคือนำมาใช้คือนำละครที่ประสมความสำเร็จมาออกอากาศซ้ำในหลายเรื่อง
ในช่วงเวลา 6 โมงเย็น ก่อนละครค่ำ และดูจะทำให้ละครปีนี้ประสบความสำเร็จตามตั้งใจ
ซึ่งทำให้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อเสียที่เห็นชัดคือทำให้เห็นละครค่ำใหม่ถูกระงับออกกาศ
จนกลายเป็นละครดองที่ชอบพูดกัน (ค่าโฆษณาก็สูงกว่าละครรีรัน)
ส่วนข้อดีที่ทำได้ดีเกินในบางครั้ง คือสามารถสร้างกลุ่มคนดูอย่างชัดเจนขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2562
พ่วงกับสถานการณ์ของโรคระบาดทำให้บางครั้งช่วงเวลาละครค่ำเลยต้องกลายเป็นรีรันไปในตัว
และผนวกกับการลดต้นทุนรายจ่ายของสถานี ละครรีรันก็เลยได้ประโยชน์กับสถานี
แม้จะแลกกับเสียงวิจารณ์ของคนดูไม่มากก็น้อย
ความตั้งใจของสถานีคือในปีนี้เวลาละครค่ำต้องเป็นเวลาของละครใหม่(รวมทั้งละครดอง)
ซึ่งสามารถออกอากาศจำนวนเรื่องมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2559 ถึง 9 เรื่องในปีนี้ (ไม่มีรีรัน)
โดยให้เวลา 6 โมงเย็นเป็นเวลาละครรีรันก่อนละครค่ำ ช่วงต้นปีอาจยังไม่ชัดเจนนัก จนบางทีออกผังมาก็งง
แต่ถ้ามองดูจริง ๆ ในช่วงแรกละครรีรันจะเป็นละครที่เนื้อหาสบาย ๆ (วิมานเมขลา ดาวเคียงเดือน ภพรัก)
และเริ่มรู้สึกว่าสถานีจะเริ่มให้ความสำคัญแบบมีนัยสำคัญ มากกว่าละครรีรันตอนบ่ายและละครดังข้ามเวลา
ตั้งแต่เดือนพฤษภาที่เนื้อเรื่องละครรีรันจะต้องมีความเกี่ยวข้องกับละครค่ำไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
เริ่มตั้งแต่
ปาฏิหาริย์รักแม่โพสพ ที่ละครรีรันสถานี เลือก
ปาฏิหาริย์รักข้ามขอบฟ้า
คือหาชื่อละครที่มีความคล้ายกัน มาฉายต่อกันเพื่อเลี้ยงคนดู แม้ยังไม่ประสบความสำเร็จ
เพราะแนวละครที่ต่างกันในเวลาออกอากาศ หลังจากนั้นสถานีเลือก รักกันพัลวัน
แม้บางคนจะคิดว่าเป็นการรีรันละครของนางเอก ไอซ์ ปรีชญา(ที่ตอนนั้นสถานะนักแสดงอิสระ)
เพื่อละครรักนิรันดร์จันทรา แต่จริง ๆ กลับเพื่อละครค่ำ อย่าง
แก่นแก้ว
เนื้อเรื่อง
รักกันพัลวันจะอยู่ในสวนสัตว์ แก่นแก้วช่วงแรกก็มีเนื้อหาเกี่ยวกับสัตว์
แม้มันจะมีคนดูมากขึ้นในช่วงการสลับลูกในตอนท้ายเรื่อง จนมาถึงเรื่องต่อไปคือ วนิดา
ละครเก่าหน้าบานก็มาฉาย 6 โมงอีกครั้งที่มาฉายก่อน
ปีศาจแสนกล
เรื่องราวผีโบราณจอมยุ่งวุ่นวายชีวิตคู่ ความโบราณในบางช่วงเวลาของละคร
ละครย้อนยุคอย่าง
วนิดาก็เลยเหมาะที่จะนำฉาย และเริ่มสร้างกลุ่มดูที่มากกว่าเดิมในช่วงเวลานี้อีกครั้ง
และส่งต่อมาที่
ทองเนื้อเก้า ที่มาหนุนละครค่ำ
อีสาวอันตราย
ความบังเอิญในเรื่องนี้ที่ลำยองสองรุ่นมาแสดงร่วมกันของ แก้ว อภิรดี และต้อมรัชนีกร
รวมทั้งเนื้อหาที่ละครดราม่าสู้ชีวิต ก็ควรหาละครแนวชาวบ้านมาฉาย
ลำยองกอดโหลยาดองก็เลยถูกนำกลับมาอีกครั้งและสร้างผลตอบรับสูงสุดในช่วงเวลานี้ในรอบหลายปี
และแทนที่คนดูจะดูละครค่ำต่อ ก็เลี้ยวออกไปดูคุณลั่นทมของอีกช่องในช่วงเวลาเดียวกัน 555+
หลังจากนี้ส่วนตัวเริ่มสนใจ ละครรีรันเวลานี้มากขึ้นว่าเขาจะเอาอะไรมารวมกันและ
ออกมาเป็น
นางฟ้าอสูร และ
ลิขิตรัก ก็ได้แต่ฉงนใจว่าทำไมต้องเป็นเรื่องนี้
และถ้าเรื่องนี้ทำผลงานไม่ดีคนเล่นคนโดนลูกหลงแน่ แต่มันกลายเป็นรีรันที่ผลตอบรับดีที่สุดของเรื่องนี้
สุดท้ายทั้งสองเรื่องก็จับมือกันประสบความสำเร็จในช่วงเวลาทั้งคู่
อาจเพราะละคร 2 เรื่องขายพระนางทั้งคู่ และฉากหลังก็อยู่ที่ทะเลเป็นส่วนใหญ่
เลยถูกจับคู่มาฉายด้วยกัน แม้แฟนละครค่ำเขาจะคิดว่าเขาโตด้วยตัวเองก็ตาม
เพราะละครก่อนหน้าเขาเปิดทีวีทิ้งไว้เพื่อรอก็ตาม ก็ได้แล้วแต่...
สุดท้าย
สุดร้ายสุดร้ายที่เตรียมฉาย ก็เลยคิดว่าเขาจะเลือกอะไรมาสร้างกลุ่มคนดู
ด้วยแนวละครที่เป็นเรื่องรักนักศึกษาและดนตรีแนวใส ๆ ส่วนตัวมีเรื่องที่คิดไว้และสถานีก็คิดเหมือนกัน
คือ
สะใภ้จ้าว ครั้งที่ 5 ของเรื่องนี้ ก็ทำหน้าที่ได้ตามเป้าหมาย และช่วยสุดร้ายสุดรักตั้งแต่ตอนแรก
แต่อาจด้วยแนวละครถึงจะใสเหมือนกัน แต่อารมณ์ในเรื่องอาจต่างกันทำให้คนดู
ละครรีรันมากกว่าละครค่ำไปแล้ว และอาจจะเป็นอย่างนี้ไปจนถึงกลางเดือนธันวาคม
และสะใภ้จ้าวเป็นละครรีรันที่มีภาษีดีอีกอย่างคือ ตอนออกอากาศที่ยาวกว่าละครค่ำ
ทำให้สะใภ้จ้าวจะยืนรีรันไปจนสองทุ่มในช่วงปลายปี สักอาทิตย์น่าจะได้
นอกจากละครค่ำจะประสบความสำเร็จในรอบหลายปีของสถานีตามที่ตั้งใจ
ดูเหมือนละครรีรันตอน 6 โมงเย็นในปีนี้ก็มีส่วนช่วยละครค่ำที่ปีนี้ประสบความสำเร็จไปในตัว
ทั้งจำนวนโฆษณาที่ล้นจนละครหลังข่าวออกอากาศช้าลงในแต่ละคืนมากขึ้น (เรียกว่าดีหรือเปล่า)
ก็ไม่รู้ปีหน้าสถานีจะให้เวลานี้เป็นเวลาของรายการอะไร ช่วงละครพีเลี้ยงจะได้ไปต่อหรือไม่
ถ้าไปต่อจะเอาเรื่องอะไรมาฉายก็ต้องติดตามต่อไป
ละครรีรัน 6 โมงเย็น กับหน้าที่พี่เลี้ยงละครค่ำ
ที่ซบเซาทั้งโฆษณาและกลุ่มคนดูมาตั้งแต่ปี 2560 ด้วยหลายวิธี
และวิธีที่ดีที่สุดคือนำมาใช้คือนำละครที่ประสมความสำเร็จมาออกอากาศซ้ำในหลายเรื่อง
ในช่วงเวลา 6 โมงเย็น ก่อนละครค่ำ และดูจะทำให้ละครปีนี้ประสบความสำเร็จตามตั้งใจ
ซึ่งทำให้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อเสียที่เห็นชัดคือทำให้เห็นละครค่ำใหม่ถูกระงับออกกาศ
จนกลายเป็นละครดองที่ชอบพูดกัน (ค่าโฆษณาก็สูงกว่าละครรีรัน)
ส่วนข้อดีที่ทำได้ดีเกินในบางครั้ง คือสามารถสร้างกลุ่มคนดูอย่างชัดเจนขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2562
พ่วงกับสถานการณ์ของโรคระบาดทำให้บางครั้งช่วงเวลาละครค่ำเลยต้องกลายเป็นรีรันไปในตัว
และผนวกกับการลดต้นทุนรายจ่ายของสถานี ละครรีรันก็เลยได้ประโยชน์กับสถานี
แม้จะแลกกับเสียงวิจารณ์ของคนดูไม่มากก็น้อย
ความตั้งใจของสถานีคือในปีนี้เวลาละครค่ำต้องเป็นเวลาของละครใหม่(รวมทั้งละครดอง)
ซึ่งสามารถออกอากาศจำนวนเรื่องมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2559 ถึง 9 เรื่องในปีนี้ (ไม่มีรีรัน)
โดยให้เวลา 6 โมงเย็นเป็นเวลาละครรีรันก่อนละครค่ำ ช่วงต้นปีอาจยังไม่ชัดเจนนัก จนบางทีออกผังมาก็งง
แต่ถ้ามองดูจริง ๆ ในช่วงแรกละครรีรันจะเป็นละครที่เนื้อหาสบาย ๆ (วิมานเมขลา ดาวเคียงเดือน ภพรัก)
และเริ่มรู้สึกว่าสถานีจะเริ่มให้ความสำคัญแบบมีนัยสำคัญ มากกว่าละครรีรันตอนบ่ายและละครดังข้ามเวลา
ตั้งแต่เดือนพฤษภาที่เนื้อเรื่องละครรีรันจะต้องมีความเกี่ยวข้องกับละครค่ำไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
เริ่มตั้งแต่ ปาฏิหาริย์รักแม่โพสพ ที่ละครรีรันสถานี เลือก ปาฏิหาริย์รักข้ามขอบฟ้า
คือหาชื่อละครที่มีความคล้ายกัน มาฉายต่อกันเพื่อเลี้ยงคนดู แม้ยังไม่ประสบความสำเร็จ
เพราะแนวละครที่ต่างกันในเวลาออกอากาศ หลังจากนั้นสถานีเลือก รักกันพัลวัน
แม้บางคนจะคิดว่าเป็นการรีรันละครของนางเอก ไอซ์ ปรีชญา(ที่ตอนนั้นสถานะนักแสดงอิสระ)
เพื่อละครรักนิรันดร์จันทรา แต่จริง ๆ กลับเพื่อละครค่ำ อย่างแก่นแก้ว
เนื้อเรื่องรักกันพัลวันจะอยู่ในสวนสัตว์ แก่นแก้วช่วงแรกก็มีเนื้อหาเกี่ยวกับสัตว์
แม้มันจะมีคนดูมากขึ้นในช่วงการสลับลูกในตอนท้ายเรื่อง จนมาถึงเรื่องต่อไปคือ วนิดา
ละครเก่าหน้าบานก็มาฉาย 6 โมงอีกครั้งที่มาฉายก่อนปีศาจแสนกล
เรื่องราวผีโบราณจอมยุ่งวุ่นวายชีวิตคู่ ความโบราณในบางช่วงเวลาของละคร
ละครย้อนยุคอย่างวนิดาก็เลยเหมาะที่จะนำฉาย และเริ่มสร้างกลุ่มดูที่มากกว่าเดิมในช่วงเวลานี้อีกครั้ง
และส่งต่อมาที่ ทองเนื้อเก้า ที่มาหนุนละครค่ำ อีสาวอันตราย
ความบังเอิญในเรื่องนี้ที่ลำยองสองรุ่นมาแสดงร่วมกันของ แก้ว อภิรดี และต้อมรัชนีกร
รวมทั้งเนื้อหาที่ละครดราม่าสู้ชีวิต ก็ควรหาละครแนวชาวบ้านมาฉาย
ลำยองกอดโหลยาดองก็เลยถูกนำกลับมาอีกครั้งและสร้างผลตอบรับสูงสุดในช่วงเวลานี้ในรอบหลายปี
และแทนที่คนดูจะดูละครค่ำต่อ ก็เลี้ยวออกไปดูคุณลั่นทมของอีกช่องในช่วงเวลาเดียวกัน 555+
หลังจากนี้ส่วนตัวเริ่มสนใจ ละครรีรันเวลานี้มากขึ้นว่าเขาจะเอาอะไรมารวมกันและ
ออกมาเป็น นางฟ้าอสูร และ ลิขิตรัก ก็ได้แต่ฉงนใจว่าทำไมต้องเป็นเรื่องนี้
และถ้าเรื่องนี้ทำผลงานไม่ดีคนเล่นคนโดนลูกหลงแน่ แต่มันกลายเป็นรีรันที่ผลตอบรับดีที่สุดของเรื่องนี้
สุดท้ายทั้งสองเรื่องก็จับมือกันประสบความสำเร็จในช่วงเวลาทั้งคู่
อาจเพราะละคร 2 เรื่องขายพระนางทั้งคู่ และฉากหลังก็อยู่ที่ทะเลเป็นส่วนใหญ่
เลยถูกจับคู่มาฉายด้วยกัน แม้แฟนละครค่ำเขาจะคิดว่าเขาโตด้วยตัวเองก็ตาม
เพราะละครก่อนหน้าเขาเปิดทีวีทิ้งไว้เพื่อรอก็ตาม ก็ได้แล้วแต่...
สุดท้ายสุดร้ายสุดร้ายที่เตรียมฉาย ก็เลยคิดว่าเขาจะเลือกอะไรมาสร้างกลุ่มคนดู
ด้วยแนวละครที่เป็นเรื่องรักนักศึกษาและดนตรีแนวใส ๆ ส่วนตัวมีเรื่องที่คิดไว้และสถานีก็คิดเหมือนกัน
คือ สะใภ้จ้าว ครั้งที่ 5 ของเรื่องนี้ ก็ทำหน้าที่ได้ตามเป้าหมาย และช่วยสุดร้ายสุดรักตั้งแต่ตอนแรก
แต่อาจด้วยแนวละครถึงจะใสเหมือนกัน แต่อารมณ์ในเรื่องอาจต่างกันทำให้คนดู
ละครรีรันมากกว่าละครค่ำไปแล้ว และอาจจะเป็นอย่างนี้ไปจนถึงกลางเดือนธันวาคม
และสะใภ้จ้าวเป็นละครรีรันที่มีภาษีดีอีกอย่างคือ ตอนออกอากาศที่ยาวกว่าละครค่ำ
ทำให้สะใภ้จ้าวจะยืนรีรันไปจนสองทุ่มในช่วงปลายปี สักอาทิตย์น่าจะได้
นอกจากละครค่ำจะประสบความสำเร็จในรอบหลายปีของสถานีตามที่ตั้งใจ
ดูเหมือนละครรีรันตอน 6 โมงเย็นในปีนี้ก็มีส่วนช่วยละครค่ำที่ปีนี้ประสบความสำเร็จไปในตัว
ทั้งจำนวนโฆษณาที่ล้นจนละครหลังข่าวออกอากาศช้าลงในแต่ละคืนมากขึ้น (เรียกว่าดีหรือเปล่า)
ก็ไม่รู้ปีหน้าสถานีจะให้เวลานี้เป็นเวลาของรายการอะไร ช่วงละครพีเลี้ยงจะได้ไปต่อหรือไม่
ถ้าไปต่อจะเอาเรื่องอะไรมาฉายก็ต้องติดตามต่อไป