ในช่วงหลายปีที่ทำมาช่อง 3 ได้สร้างเวลาละครรีรันมากกว่าเดิมที่มีเฉพาะช่วงบ่าย
อาจจะเริ่มทำตั้งแต่ช่อง 28 ที่เลือกเติมในผังแทนการผลิตรายการใหม่
และสามารถทำให้คนดูช่องนั้นเพิ่มขึ้นเป็นการเพิ่มรายได้ และลดรายจ่ายรายการที่ผลิตลง
ในเวลาคาบเกี่ยวกันปี 60 ช่อง 33 ก็เริ่มมีการรีรันละครตอนเช้าชื่อ ละครดังข้ามเวลา
ละครตอนเช้าของช่อง 3 เคยมีเมื่อนานมาแล้ว การกลับมามีอีกครั้งก็ไม่แปลก
แต่เป็นการนำละครที่เคยได้รับความนิยมในสมัยช่วง พ.ศ. 2543 จนก่อนมีทีวีดิจัตัลกลับมาฉายใหม่
ส่วนทำไมถึงฉายเรื่องเหล่านี้ จะนำเสนอต่อไป เพราะกรณีนี้น่าสนใจมาก
ต้องยอมรับว่าการจัดทำรายการนี้ คือการรักษาคนดูตอนเช้าเลี้ยงคนดูไปรายการต่อไปและข่าวตอนกลางวัน
และไม่ต้องทำให้เรื่องเล่าเช้านี้ต้องลดเวลาออกอากาศมากไปกว่านี้ เนื่องจากรายได้ของรายการนั้น
ในปีต่อ ๆ มา ละครรีรันเริ่มเข้ามามีบทบาทในละคร primetime (18.00 - 22.30)
ในเดือนธันวาคม 2561 สถานีเริ่มนำละครที่เคยได้รับความนิยมมาฉายแทนละครใหม่
ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงความรู้สีกของคนดูอีกครั้ง หลังจากปี 2560 ได้ฉายภาพยนตร์ต่าง ๆ ข้ามปี
ตอนนั้นละครที่ออกอากาศเลือกละครที่สามารถตัดต่อใหม่ได้ คือ ลิขิตรัก และ อังกอร์
ที่เลือกทำแบบนั้นเพราะตามธรรมชาติของโฆษณาทีวี เดือนธันวาคมจะมีน้อยกว่าทุกเดือน
รายการรีรันเป็นทางเลือกหนึ่งที่นำมาใช้ โดยละครที่เลือกมีค่าโฆษณาที่สูงกว่าละครรีรันตอนบ่าย
และหลังจากนั้นในปลายปี 2562 ก็ทำแบบเดียวกันคือ บุพเพสันนิวาส
ส่วนในปี 2562 ละครรีรันเริ่มมามีบทบาทในละครก่อนข่าวพระราชสำนัก
เริ่มตั้งแต่ แรงเงา (2555) ทองเอกหมอยาท่าโฉลง และกรงกรรม เป็นการออกอากาศอีกครั้ง
ทั้งสามเรื่องฉายคาบเกี่ยวกับการถ่ายทอดสดวอลเลย์บอล ที่มีในตอนเย็นตามช่วงเวลานั้น
เหมือนเคยเกินขึ้นตอนบุพเพสันนิวาสฉบับตัดต่อใหม่ โดยทุกเรื่องค่าโฆษณาสูงกว่าละครตอนบ่าย
ในช่วงรอยต่อการคืนช่องทั้งช่อง 28 และ 13
ในช่อง 33 เริ่มมีการน้ำละครรีรันมาใช้อีกช่วงเวลา
ตั้งแต่ช่วง 6 โมงเย็นถึง 1 ทุ่ม แทนการฉายของซีรีส์นานาชาติทั้งจีนและอินเดีย
ที่ไม่สามารถแข่งขันกับรายการอื่นในช่องต่าง ๆ ในเวลานั้นได้ และละครที่เลือกมานอกจากได้รับความนิยม
ยังเป็นการออกอากาศครั้งที่ 3 ของทุกเรื่องที่เคยออกอากาศ
ส่วนทำไมถึงเลือกเรื่องเหล่านั้น จะกล่าวในกระทู้ต่อไป
โดยละครเหล่านั้น ในบางช่วงเวลาจะมีออกอากาศแทนละครใหม่ก่อนข่าวพระราชสำนักในบางเรื่อง
และเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงหลังจากสถานการณ์โควิด โดยเลือกละครออกอากาศที่มากกว่า 3 ครั้งมาออกอากาศ
เนื่องด้วยสถานการณ์ของ โควิด 19 ที่จะทำประสบปัญหาการผลิตรายการและละครแล้ว
ยังส่งผลต่อเศรษฐกิจธุรกิจโทรทัศน์ ที่ผูกพันการความนิยมการบริโภคของประชาชนที่ลดต่ำลงอย่างมาก
เกือบทุกช่องที่ฉายละครก็มีวิธีฉายละครรีรันแตกต่างกันไป และช่อง 3 เลือกฉายละครรีรันเป็นเวลา 5 วันจาก 7 วัน
โดยเริ่มจาก ทองเอกหมอยาท่าโฉลงและเขาวานให้หนูเป็นสายลับ และยังไม่รู้จะมีเรื่องต่อไปหรือไม่
บทบาทละครรีรันของช่อง 3 จึงมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่แฝงมาในทุกเวลาที่ฉาย
เพราะเป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิตของเจ้าของสถานี สามารถสร้างรายได้แม้จะไม่มากถ้าเทียบกับละครปกติ
เป็นการประคองรายได้ที่ลดน้อยลง ลดรายจ่ายอีกทางหนึ่ง แต่สร้างความไม่พอใจกับกลุ่มคนที่อยากดูละครใหม่
ยังมีนัยสำคัญกับเรื่องที่ฉายในช่วงเวลาละครดังข้ามเวลา และตอน 6 โมงเย็น
ที่ส่งผลต่อตัวเลขที่หลากหลาย ที่ต้องชั่งใจดูว่าตัวเลขที่มากับโฆษณา ที่ได้มาจะมีประโยชน์อย่างไร
ช่อง 3 จะมีละครรีรันทำไม สมดุลที่ต้องเลือกของตัวเลขและโฆษณา
อาจจะเริ่มทำตั้งแต่ช่อง 28 ที่เลือกเติมในผังแทนการผลิตรายการใหม่
และสามารถทำให้คนดูช่องนั้นเพิ่มขึ้นเป็นการเพิ่มรายได้ และลดรายจ่ายรายการที่ผลิตลง
ในเวลาคาบเกี่ยวกันปี 60 ช่อง 33 ก็เริ่มมีการรีรันละครตอนเช้าชื่อ ละครดังข้ามเวลา
ละครตอนเช้าของช่อง 3 เคยมีเมื่อนานมาแล้ว การกลับมามีอีกครั้งก็ไม่แปลก
แต่เป็นการนำละครที่เคยได้รับความนิยมในสมัยช่วง พ.ศ. 2543 จนก่อนมีทีวีดิจัตัลกลับมาฉายใหม่
ส่วนทำไมถึงฉายเรื่องเหล่านี้ จะนำเสนอต่อไป เพราะกรณีนี้น่าสนใจมาก
ต้องยอมรับว่าการจัดทำรายการนี้ คือการรักษาคนดูตอนเช้าเลี้ยงคนดูไปรายการต่อไปและข่าวตอนกลางวัน
และไม่ต้องทำให้เรื่องเล่าเช้านี้ต้องลดเวลาออกอากาศมากไปกว่านี้ เนื่องจากรายได้ของรายการนั้น
ในปีต่อ ๆ มา ละครรีรันเริ่มเข้ามามีบทบาทในละคร primetime (18.00 - 22.30)
ในเดือนธันวาคม 2561 สถานีเริ่มนำละครที่เคยได้รับความนิยมมาฉายแทนละครใหม่
ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงความรู้สีกของคนดูอีกครั้ง หลังจากปี 2560 ได้ฉายภาพยนตร์ต่าง ๆ ข้ามปี
ตอนนั้นละครที่ออกอากาศเลือกละครที่สามารถตัดต่อใหม่ได้ คือ ลิขิตรัก และ อังกอร์
ที่เลือกทำแบบนั้นเพราะตามธรรมชาติของโฆษณาทีวี เดือนธันวาคมจะมีน้อยกว่าทุกเดือน
รายการรีรันเป็นทางเลือกหนึ่งที่นำมาใช้ โดยละครที่เลือกมีค่าโฆษณาที่สูงกว่าละครรีรันตอนบ่าย
และหลังจากนั้นในปลายปี 2562 ก็ทำแบบเดียวกันคือ บุพเพสันนิวาส
ส่วนในปี 2562 ละครรีรันเริ่มมามีบทบาทในละครก่อนข่าวพระราชสำนัก
เริ่มตั้งแต่ แรงเงา (2555) ทองเอกหมอยาท่าโฉลง และกรงกรรม เป็นการออกอากาศอีกครั้ง
ทั้งสามเรื่องฉายคาบเกี่ยวกับการถ่ายทอดสดวอลเลย์บอล ที่มีในตอนเย็นตามช่วงเวลานั้น
เหมือนเคยเกินขึ้นตอนบุพเพสันนิวาสฉบับตัดต่อใหม่ โดยทุกเรื่องค่าโฆษณาสูงกว่าละครตอนบ่าย
ในช่วงรอยต่อการคืนช่องทั้งช่อง 28 และ 13
ในช่อง 33 เริ่มมีการน้ำละครรีรันมาใช้อีกช่วงเวลา
ตั้งแต่ช่วง 6 โมงเย็นถึง 1 ทุ่ม แทนการฉายของซีรีส์นานาชาติทั้งจีนและอินเดีย
ที่ไม่สามารถแข่งขันกับรายการอื่นในช่องต่าง ๆ ในเวลานั้นได้ และละครที่เลือกมานอกจากได้รับความนิยม
ยังเป็นการออกอากาศครั้งที่ 3 ของทุกเรื่องที่เคยออกอากาศ ส่วนทำไมถึงเลือกเรื่องเหล่านั้น จะกล่าวในกระทู้ต่อไป
โดยละครเหล่านั้น ในบางช่วงเวลาจะมีออกอากาศแทนละครใหม่ก่อนข่าวพระราชสำนักในบางเรื่อง
และเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงหลังจากสถานการณ์โควิด โดยเลือกละครออกอากาศที่มากกว่า 3 ครั้งมาออกอากาศ
เนื่องด้วยสถานการณ์ของ โควิด 19 ที่จะทำประสบปัญหาการผลิตรายการและละครแล้ว
ยังส่งผลต่อเศรษฐกิจธุรกิจโทรทัศน์ ที่ผูกพันการความนิยมการบริโภคของประชาชนที่ลดต่ำลงอย่างมาก
เกือบทุกช่องที่ฉายละครก็มีวิธีฉายละครรีรันแตกต่างกันไป และช่อง 3 เลือกฉายละครรีรันเป็นเวลา 5 วันจาก 7 วัน
โดยเริ่มจาก ทองเอกหมอยาท่าโฉลงและเขาวานให้หนูเป็นสายลับ และยังไม่รู้จะมีเรื่องต่อไปหรือไม่
บทบาทละครรีรันของช่อง 3 จึงมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่แฝงมาในทุกเวลาที่ฉาย
เพราะเป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิตของเจ้าของสถานี สามารถสร้างรายได้แม้จะไม่มากถ้าเทียบกับละครปกติ
เป็นการประคองรายได้ที่ลดน้อยลง ลดรายจ่ายอีกทางหนึ่ง แต่สร้างความไม่พอใจกับกลุ่มคนที่อยากดูละครใหม่
ยังมีนัยสำคัญกับเรื่องที่ฉายในช่วงเวลาละครดังข้ามเวลา และตอน 6 โมงเย็น
ที่ส่งผลต่อตัวเลขที่หลากหลาย ที่ต้องชั่งใจดูว่าตัวเลขที่มากับโฆษณา ที่ได้มาจะมีประโยชน์อย่างไร