มาทำความรู้จักชุดปฏิบัติการเพชราวุธ-ศักดิเดชน์แห่งกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ แบบง่ายๆคร่าวๆกันเต๊อะ

กระทู้สนทนา
1.ชุดปฏิบัติการเพชราวุธ-ศักดิเดชน์คืออะไร?
ชุดปฏิบัติการเพชราวุธ-ศักดิเดชน์ คือ ชุดปฏิบัติการพิเศษ (ชปพ.) ที่เป็นการสนธิกำลังพลจากกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11 รอ.) กับ กรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ (ป.1 รอ.) จัดตั้งขึ้นมาเพื่อใช้เป็นใช้เป็นหัวหอก (Spearhead) ในการปฏิบัติการทำสงครามโดยมีจุดมุ่งหมายเน้นไปที่ให้พร้อมปกป้องตัวเองและผู้อื่นได้หากจำเป็นต้องเข้าปะทะในระยะประชิด

2.เหตุผลที่ก่อตั้งชุดปฏิบัติการเพชราวุธ-ศักดิเดชน์ขึ้นมา?
อาวุธที่ใช้ในการรบปัจจุบันหลักๆพื้นฐานที่ขาดไม่ได้เลยคือเรื่องของอาวุธปืน ทหารที่ถูกฝึกให้เคยชินกับการใช้อาวุธระยะไกลมิอาจคล่องแคล่วชำนาญพอสำหรับการสู้รบระยะประชิดเมื่อเผชิญหน้ากับฝ่ายตรงข้ามในระยะห่างกันแค่มือเอื้อม เช่น การรบในเมือง, การเข้าปะทะในสนามเพลาะของฝ่ายตรงข้าม เป็นต้น ดังนั้นการป้องกันตัวในระยะปะชิดจึงเป็นเรื่องสำคัญไม่ว่าจะเป็นการต่อสู้ด้วยมือเปล่า, การผสมผสานการใช้อาวุธต่างๆและการต่อสู้ด้วยมือเปล่า, การใช้อาวุธสั้นระยะประชิด เช่น มีด, ขวาน, พลั่วสนาม, ดาบปลายปืน เป็นต้น เพื่อเพิ่มโอกาสอยู่รอดของกำลังพลจึงได้มีการก่อตั้งชปพ.นี้ขึ้นมา

3.หลักสูตรการต่อสู้ระยะประชิดที่ใช้ฝึกให้กับกำลังพล?
ชุดปฏิบัติการเพชราวุธ-ศักดิเดชน์ได้เลือกใช้คราฟ มากา (Krav Maga) อันศิลปะการต่อสู้ระยะประชิดของกองกำลังป้องกันอิสราเอล (Israel Defense Forces : IDF) เพื่อการป้องกันตัวเองและลดทอนขีดความสามารถของฝ่ายตรงข้ามได้ในแบบตัวต่อตัวและในพื้นที่คับแคบ รวมทั้งการทำงานร่วมกันเป็นทีมเพื่อเพิ่มกำลังชนต่อเป้าหมายที่เข้าปะทะ

4.หลักสูตรเพิ่มเติมอื่นๆมีอะไรบ้าง?
นอกจากที่ต้องฝึกคราฟ มากามาแล้ว ทางชุดปฏิบัติการเพชราวุธ-ศักดิเดชน์ก็ได้มีการฝึกเพิ่มในเรื่องของการสงครามในเมือง (Urban warfare), การสู้รบระยะประชิด (Close-quarters battle : CQB), การอารักขาบุคคลสำคัญอย่างใกล้ชิด (Close protection), การขับขี่พาหนะทางยุทธวิธี (Tactical driving) โดยมีการคัดเลือกแยกกำลังพลออกมาอีกทีจากชุดปฏิบัติการเพชราวุธ-ศักดิเดชน์ แล้วนำมาทำการฝึกเข้มข้น 2 เดือน

5.ขีดความสามารถมีอะไรบ้าง?
-การอารักขาบุคคลสำคัญอย่างใกล้ชิด (Close protection)
-การสู้รบระยะประชิด (Close-quarters battle)
-การต่อสู้ระยะประชิดด้วยมือเปล่าและอาวุธสั้น (Close-quarters combat)
-ภารกิจด้านข่าวกรอง (Intelligence missions)
-การสงครามป่าดงดิบ (Jungle warfare)
-การเข้าตีฉับพลัน (Surprise raid)
-การขับขี่พาหนะทางยุทธวิธี (Tactical driving)
-การสงครามในเมือง (Urban warfare)

หากใครที่ยังสับสนหรือกำลังศึกษาเกี่ยวกับชุดปฏิบัติการเพชราวุธ-ศักดิเดชน์ เราหวังว่าการสรุปข้อมูลแบบคร่าวๆไม่ลงรายละเอียดเจาะลึกมากนี้จะทำให้เข้าใจได้ง่ายมากขึ้น และสุดท้ายนี้หากผิดพลาดข้อมูลประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่