" superbubble " ปริศนาซึ่งซ่อนอยู่ในเนบิวลาที่ซับซ้อนเป็นพิเศษ




ภาพที่น่าประทับใจของ " super bubble " แปลก ๆ ที่ค้นพบโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล


เมื่อต้นปี กล้องโทรทรรศน์ฮับเบิล (Hubble Telescope) ไม่ทำงานเนื่องจากคอมพิวเตอร์ภายในขัดข้อง องค์การ NASA ได้ดำเนินการแก้ไขตั้งแต่นั้นมาและประสบความสำเร็จจนกลับมาใช้งานได้ ดังนั้น การรวบรวมข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ของมันที่เริ่มดำเนินงานอีกครั้ง นอกจากจะพบพายุขนาดมหึมาของดาวพฤหัสบดีและปรากฏการณ์ที่เรียกว่าเลนส์โน้มถ่วง (Gravitational lensing) แล้ว ตอนนี้ มันเพิ่งค้นพบ " super bubble " ลึกลับที่ไม่ทราบที่มา แต่เป็นภาพที่น่าประทับใจอย่างยิ่ง

ภาพฟองอากาศขนาดใหญ่ที่น่าสงสัยนี้ลอยอยู่ในเนบิวลาที่อยู่ห่างจากโลก 170,000 ปีแสง เนบิวลาหรือเมฆก๊าซนี้กว้าง 1,000 ปีแสง รู้จักกันในชื่อ N44 ตั้งอยู่ในบริเวณกาแลคซีใกล้เคียงที่เรียกว่า Large Magellanic Cloud โดย N44 จะเต็มไปด้วยดาวฤกษ์ทุกวัยและทุกขนาด เมฆก๊าซไฮโดรเจน และตรงกลางของมันคือฟองอากาศขนาดมหึมาที่ NASA เรียกว่า " super bubble " 
NASA กล่าวว่า N44 เป็นเนบิวลาที่ซับซ้อนซึ่งเต็มไปด้วยก๊าซไฮโดรเจนที่เรืองแสง ช่องฝุ่นมืด ดาวมวลมาก และประชากรดาวอายุต่างกันจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม คุณลักษณะที่โดดเด่นที่สุดอย่างหนึ่งของมันคือ มีช่องว่างกว้างประมาณ 250 ปีแสงตรงส่วนกลางที่มืดและเต็มไปด้วยดวงดาวที่เรียกว่า
" super bubble " ซึ่งมองเห็นในภาพจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลที่เพิ่งถ่ายได้

ขณะนี้ " super bubble " ซึ่งปรากฏในส่วนกลางตอนบนของเมฆก๊าซนี้กำลังเป็นที่สนใจเป็นพิเศษ เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์กำลังพยายามค้นหาว่าโครงสร้างของมันก่อตัวอย่างไร แม้นักวิทยาศาสตร์ไม่ค่อยแน่ใจว่าทำไมมันถึงอยู่ในนั้น เนื่องจากพื้นที่อันมืดมิดที่ปกคลุมไปด้วยดวงดาวในเนบิวลา N44 ค่อนข้างลึกลับ แต่ก็มีทฤษฎีหลายทฤษฎีสำหรับศูนย์กลางช่องว่างที่สร้าง super bubble นี้


มุมมองแบบเต็มของเนบิวลาที่เรียกว่า N44 จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล
Cr.NASA, ESA, V. Ksoll และ D. Gouliermis (Universität Heidelberg) และคณะ
 

หนึ่งคือ ลมดาวฤกษ์ที่ถูกขับออกจากดาวมวลมากภายในฟองอากาศ อาจขับก๊าซออกไปด้วยความเร็วที่ไม่สอดคล้องกับ ความเร็วลมที่วัดได้ในฟองอากาศทำให้เกิดช่องว่างภายใน ความเป็นไปได้อีกประการหนึ่ง เนื่องจาก เนบิวลาเต็มไปด้วยดาวมวลมากที่กำลังจะตาย (หรือที่เรียกว่า ซุปเปอร์โนวา)
ซึ่งจบลงด้วยการระเบิดอาจทำให้เกิดโพรงขึ้นในก๊าซ และเปลือกที่ขยายตัวของซุปเปอร์โนวาที่ขยายออกไปได้สร้างโพรงจักรวาลขึ้น

ทฤษฎีที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งระบุว่า ในบริเวณใกล้เคียงกับ " super bubble " นักดาราศาสตร์พบซากซุปเปอร์โนวาที่มีอายุที่แตกต่างกันเกือบ 5 ล้านปี ระหว่างดวงดาวภายในและที่ขอบของฟองอากาศ สิ่งนี้บ่งชี้ว่าฟองอากาศน่าจะถูกสร้างขึ้นจากปฏิกิริยาลูกโซ่หลายเหตุการณ์ที่ก่อตัวดาวฤกษ์ เนื่องจากดาวที่อยู่ในฟองนั้นมีช่องว่างระหว่างอายุมากเมื่อเทียบกับที่ขอบของฟองอากาศ โดยโซนที่รุนแรงที่สุดของการก่อตัวดาวของเนบิวลา จะปรากฏในสีฟ้าที่มุมขวาล่างของภาพ

และการที่ฟองอากาศเรืองแสง เนื่องมาจาก N44 เป็นเนบิวลาการแผ่รังสี (emission nebula) หมายความว่า ก๊าซของมันถูกกระตุ้นหรือแตกตัวเป็นไอออนโดยการแผ่รังสีของดาวฤกษ์ใกล้เคียง เมื่อก๊าซไอออไนซ์เริ่มเย็นลงจากสถานะพลังงานสูงไปเป็นสถานะพลังงานต่ำ มันจะปล่อยพลังงานออกมาในรูปของแสง ทำให้ฟองอากาศมีเสน่ห์อย่างที่เห็น (ก๊าซจะปล่อยพลังงานแสงออกมาในขณะที่มันเริ่มเย็นตัวลง ทำให้เกิดเอฟเฟกต์เรืองแสง) 
 
 
เนบิวลานายพราน (M42) อาจเป็นเนบิวลาการแผ่รังสีที่มีชื่อเสียงที่สุด
โดยดาวมวลมากที่ตั้งอยู่ใจกลางเนบิวลากำลังโจมตีก๊าซด้วยรังสี UV ทำให้เรืองแสงได้ Cr.ภาพ AAO/David Malin
Cr.https://astronomy.swin.edu.au/cosmos/E/emission+nebula
 

The Large Magellanic Cloud (LMC) ดาราจักรแคระบริวารของทางช้างเผือกซึ่งเป็นหนึ่งในดาราจักรที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด
ห่างจากโลกประมาณ 163,000 ปีแสง ดาราจักรแคระดูเหมือนเมฆจางๆ ในท้องฟ้าซีกโลกใต้ ตั้งอยู่บนพรมแดนของกลุ่มดาว Dorado และ Mensa
ดาราจักรนี้ลอยอยู่ในอวกาศอย่างช้าๆ รอบดาราจักรของเรา เมฆก๊าซขนาดใหญ่ภายในมันค่อยๆ ยุบตัวเพื่อก่อตัวเป็นดาวดวงใหม่ ในทางกลับกัน เมฆก๊าซเหล่านี้ทำให้เมฆก๊าซสว่างขึ้นด้วยสีสันที่ลานตา ซึ่งมองเห็นได้ในภาพนี้จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลของ NASA/ESA
 

  
เมื่อแสงที่ปล่อยออกมาจากกาแลคซีไกลโพ้นผ่านวัตถุขนาดใหญ่ในจักรวาล แรงดึงดูดจากวัตถุเหล่านี้สามารถบิดเบือนหรือทำให้แสงโค้งงอได้ 
สิ่งนี้เรียกว่า เลนส์โน้มถ่วง (Gravitational lensing) ซึ่งสามารถสร้างเอฟเฟกต์ภาพที่น่าสนใจ เหมาะสำหรับการสังเกตของฮับเบิล
  
Cr.https://www.popsci.com/science/hubble-super-bubble-floating-in-space/ MARGO MILANOWSKI
Cr.https://www.space.com/hubble-space-telescope-superbubble-nebula-image /  Elizabeth Howell
Cr.https://www.nasa.gov/image-feature/goddard/2021/mysterious-superbubble-hollows-out-nebula-in-new-hubble-image
Cr.https://www.techexplorist.com/hubble-shares-image-mysterious-superbubble-n44-nebula/42143/BYAMIT MALEWAR
 
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่