ข้อคิดเรื่องการเรียนภาษาบาลีเพื่อสร้างนักคิด <---เห็นด้วยไหม? ผมเห็นด้วย..กับท่านอาจายร์สมภาร

กระทู้คำถาม
ข้อคิดเรื่องการเรียนภาษาบาลีเพื่อสร้างนักคิด
สมภาร พรมทา 
👇
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
 
การเรียนภาษาบาลีมีเป้าหมายชัดเจนว่าเพื่อให้เราอ่านภาษาบาลีได้ อ่านได้หมายความว่าเข้าใจว่า
ข้อความที่อ่านหมายความว่าอย่างไร  เป้าหมายนี้สำหรับผมเป็นเป้าหมายหลัก ส่วนการเรียนบาลี
เพื่อให้เขียนบาลีได้เป็นเรื่องรอง และที่รองลงไปกว่านั้นคือเรียนเพื่อให้พูดหรือฟังบาลีได้ 

ภาษาบาลีเป็นภาษาพิเศษ คือเป็นภาษาที่ใช้บันทึกคำสอนของพระพุทธเจ้า โดยที่ตัวภาษาบาลีเอง
ในปัจจุบันไม่มีคนใช้งานในชีวิตจริงแล้ว การเรียนภาษาแบบนี้ปกติเราเรียนเพื่อให้อ่านได้ การเขียน
ภาษาใดก็ตามจะมีความหมายก็ต่อเมื่อภาษานั้นยังมีคนใช้อยู่ เมื่อไม่มีคนใช้ภาษาบาลีแล้ว เรียนเขียน
ก็ใช้ประโยชน์ได้น้อย ไม่ต้องพูดเรื่องฟังและพูด ซึ่งไม่ค่อยมีประโยชน์ และฝึกให้ดีได้ยาก เพราะไม่มี
คนพูดภาษาบาลีแล้ว จะหาสำเนียงจริง หรือสำเนียงมาตรฐานได้จากที่ไหน

หนังสือภาษาบาลีมีจำนวนที่แน่นอนในโลก ซึ่งก็คือคัมภีร์ของพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท การเรียนบาลี
จึงมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนคือเพื่อให้อ่านคัมภีร์บาลีได้เข้าใจ การเรียนภาษาเพื่อให้เข้าใจอาจ

    ไม่จำเป็นต้องสนใจรายละเอียดทางไวยากรณ์เกินความจำเป็น 👈👈👈
    ไวยากรณ์เกิดหลังภาษาเสมอ👈👈👈
    ไวยากรณ์เป็นหลักการกว้างๆ เพื่อให้จัดการกับภาษาที่ตายแล้ว👈👈👈

ในทางปรัชญาภาษา เรารู้ว่าไม่มีทางที่มนุษย์จะเข้าใจภาษาได้หมดจด
เพราะภาษาเป็นเครื่องมือที่เปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย

การเอาไวยากรณ์ที่สร้างขึ้นยุคหนึ่งไปทำความเข้าใจภาษาที่เกิดก่อน อาจผิดพลาดได้👈👈👈
แต่การเรียนไวยากรณ์ก็ยังจำเป็น เราต้องเรียนไวยากรณ์บาลี แต่ต้องไม่เรียนมากจนเกินความจำเป็น👈👈👈

ผมคิดว่า การเรียนบาลีควรเน้นให้ผู้เรียนมีความองอาจที่จะตีความว่าเนื้อหาในคัมภีร์ควรเข้าใจว่าอย่างไร 
เข้าใจเป็นคนละเรื่องกับการแปลแบบกลไก เช่นเราแปล สตฺถา ว่า อ. พระศาสดา แปลได้ แต่อาจไม่เข้าใจ
ว่าพระศาสดาหมายความว่าอย่างไร เราควรเรียนอย่างที่ผู้เรียนจะฉุกคิดว่าทำไมคัมภีร์จึงเรียกพระพุทธเจ้า
ว่าพระศาสดา ถ้าตีความว่า พระศาสดาหมายถึงผู้บอก ก็จะเข้าใจต่อไปว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่
พระพุทธเจ้าทรงบอกเราว่าอะไรเป็นอะไร จากนั้นเราจะจัดการกับสิ่งนั้นอย่างไร ก็เป็นเรื่องของเราล้วนๆ 
เช่นเชื่อก็ได้ ไม่เชื่อก็ได้ เชื่อเพราะอะไร ไม่เชื่อเพราะอะไร ไม่ใช่หน้าที่ของพระศาสดาที่จะมาตอบ 
เราต้องตอบเอง 

คิดอย่างนี้พระพุทธศาสนาก็เป็นศาสนาแบบที่ศิษย์ต้องเข้มแข็งด้วยตัวเอง คิดเอง ตัดสินใจเอง 👈👈👈
ไม่มีสูตรสำเร็จ

ผมเชื่อว่าการจะเป็นผู้รู้ทางพระพุทธศาสนาโดยไม่รู้บาลีคงเป็นไปไม่ได้ 
แต่การเป็นผู้รู้ต้องการคุณสมบัติมากกว่ารู้บาลี 👈👈👈

เรามีเปรียญเก้าพอสมควร และผมก็เคยสอนเปรียญเก้ามาจำนวนหนึ่ง พบว่า รู้บาลียังไม่พอจะให้เป็นผู้รู้ 👈👈👈
หากคิดว่าหลักสูตรปริญญาเอกทางด้านภาษาบาลีไม่ใช่เพียงเพื่อสร้างนักรู้บาลี 

แต่จะต้องสร้างปราชญ์หรือผู้รู้ทางพระพุทธศาสนา (ในอนาคตก็ได้) 👈👈👈
เราต้องเรียนบาลีแบบเน้นความเข้าใจและเน้นให้เป็นคนช่างสงสัย 👈👈👈

เมื่อสงสัยก็ใช้ความรู้บาลีที่ต้องมีอย่างไม่ขาดตกเป็นอุปกรณ์ในการถางทางไปหาความรู้ที่ยังไม่รู้ 
หลักสูตรบาลีในอุดมคติของผมควรเรียนหลักภาษาบาลี วรรณคดีบาลี และหลักการตีความคัมภีร์ 

หลักสุดท้ายนี้ต้องอ่านและศึกษางานของนักคิดที่สำคัญของโลกที่ส่วนใหญ่เป็นนักปรัชญา 
เรียนอย่างนี้เราจะรู้กว้างและแน่น และรู้จักคิดด้วยตนเอง👈👈👈


สรุป... 
         ผมเห็นว่า...เปรียญ๑–๙...คือ...ผู้เชี่ยวชาญในภาษาหนึ่ง(ในกรณีนี้...คือ..ภาษาบาลี)
         ซึ่งยังเป็นคนละเรื่องกับการเข้าใจพระสัทธรรม 

         แต่แน่นอน...การรู้บาลีย่อมต้องมีคุณประโยชน์มากกว่าที่จะเข้าถึงต้นทางของ
         พระสัทธรรม...เพราะพระสัทธรรม..เดิมบันทึกด้วยภาษาบาลี   

         แต่อย่างไรก็ตาม... ต้องเอาความรู้จากการอ่านพระสัทธรรมด้วยบาลีภาษามาตรวจ
         สอบ.. ด้วยหลักมหาปเทส๔...พิจารณาความสอดคล้องของหลักธรรม..จึงจะลง
         ความเห็นว่านี่คือ..คำสอนของพระผู้มีพระภาค... หาไม่แล้ว..ก็  " ให้ทิ้งไปเสีย "...
          👇
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่