บทความนี้เป็นการ recap งานเสวนาเรื่อง “ทหารไทย ในกองทัพอวกาศอเมริกา” ทาง The Wild Chronicles Clubhouse เมื่อวันที่ 4 ก.ย. 2021 ที่ผ่านมานะครับ หัวข้อประกอบด้วย:

- ประวัติความเป็นมาของกองทัพอวกาศสหรัฐ?
- บทบาทหน้าที่ของกองทัพอวกาศสหรัฐ?
- การแข่งขันทางอวกาศแห่งอนาคต?
- เส้นทางสู่ทหารไทยในกองทัพอวกาศสหรัฐ?
ร่วมกับวิทยากร ประกอบด้วย “จ่าอาม”, “คุณโย Skyman แห่งกลุ่ม TAF” และ ”จ่าโอ ทหารเรือมะกัน” ครับ

*** ความเป็นมาของกองทัพอวกาศสหรัฐฯ ***
กองทัพอวกาศสหรัฐฯ ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 20 ธันวาคม 2019 ตามเจตนารมย์ของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งเล็งเห็นว่าความสำคัญในการปกป้องผลประโยชน์ทางอวกาศของประเทศ อันถือเป็นเขตเปราะบางจากการถูกโจมตีโดยศัตรู จำเป็นต้องแยกหน่วยงานให้เกิดความคล่องตัวต่อการปฏิบัติภารกิจ จนถูกยกให้เป็น “มรดกชิ้นสำคัญของทรัมป์”
ภาพแนบ:
ธงของกองทัพอวกาศสหรัฐ กำลังโบกสะบัดเคียงข้างกับธงจากเหล่าทัพอื่นๆ ระหว่างพิธีสาบานตนของ ปธน โจ ไบเดน
แม้จะเป็นเหล่าทัพน้องใหม่ที่ได้รับมอบภารกิจจำนวนมากจากกองทัพอากาศ รวมถึงอยู่ภายใต้การดูแลของทบวงทหารอากาศสหรัฐ (Department of Airforce) แต่กองทัพอวกาศเองมีความพยายามสร้างอัตลักษณ์ของตนเองอาทิ การเรียกกำลังพลของตนเองว่า “ผู้พิทักษ์” หรือ Guardian เสมือนที่กองทัพอากาศเรียกกำลังพลของตนเองว่า “Airmen” รวมถึงเรียกหน่วยปล่อยจรวดว่า Space Cowboys ตามภาพยนตร์ เกี่ยวกับนักบินอวกาศในปี 2000

ปัจจุบันกองทัพอวกาศมีเจ้าหน้าที่อยู่ราว 16,000 นาย ซึ่งกำลังพลส่วนมากถูกโอนย้ายมาตามสายงานจากกองทัพอากาศ ควบคู่ไปกับการรับสมัครบุคลากรจากพลเรือน แต่ยังคงใช้ระบบการฝึกพื้นฐานบางส่วนจากกองทัพอากาศ พร้อมกับหลักสูตรเฉพาะทางเพื่อขยายกำลังพลเพื่อรองรับภารกิจอยู่ตลอดเวลา

*** ภารกิจในพื้นที่โลกของกองทัพอวกาศ ***
หน้าที่หลักบางส่วนของกองทัพอวกาศยังคงดำเนินภารกิจเดิม ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกองทัพอากาศเคยปฏิบัติหลักๆ 3 ข้อได้แก่:

*** ภารกิจจารกรรมข้อมูล: ***
ภาพถ่ายทางอากาศกลายเป็นปัจจัยชี้วัดความสำเร็จในสมรภูมิต่างๆ นับตั้งแต่สงครามแย่งชิงหมู่เกาะฟอรค์แลนด์ ไปจนถึงยุทธการพายุทะเลยทราย ที่ข้อมูลของกองทัพฝ่ายตั้งรับถูกตรวจสอบและวิเคราะห์ตั้งแต่ก่อนทำศึก ส่งผลให้หน้าที่ของกองทัพอวกาศเปรียบเสมือน “ดวงตาแห่งท้องนภา” ซึ่งตรวจสอบความเคลื่อนไหวของฝ่ายตรงข้าม ตั้งแต่ การติดตามความเคลื่อนไหวในทะเลจีนใต้และช่องแคบไต้หวันของกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน, ติดตามการพัฒนาศักยภาพทางทหารของเกาหลีเหนือ รวมไปถึงติดตา...
ภาพเเนบ: การทดสอบยิงจรวดของเกาหลีเหนือ
*** ภารกิจต่อต้านขีปนาวุธข้ามทวีป ***
การสร้างเครือข่ายติดตามการเคลื่อนไหวของฝ่ายตรงข้าม เพื่อป้องกันการถูกโจมตีจากขีปนาวุธข้ามทวีป (ICBM) ที่มีความเร็วราว 10 ถึง 12 มัค ส่งผลให้โครงข่ายป้องกันขีปนาวุธของชาติมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ, จีน และรัสเซีย สามารถสกัดได้เพียงจุดยุทธศาสตร์บางแห่ง ส่งผลให้ความร่วมมือระหว่างเหล่าทัพกลายเป็นแนวทางป้องกันที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในปัจจุบัน

*** ภารกิจการปล่อยจรวด***
กองทัพอวกาศสหรัฐรับผิดชอบฐานปล่อยจรวดสองแห่งคือ:
ฐานทัพอวกาศแพททริก ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีปล่อยจรวดแหลมคานาวารัล (Cape Canaveral Space Force Station) รัฐฟลอริดา ภายใต้การดูแลของกองบินอวกาศที่ 40 ซึ่งถูกใช้เพื่อปล่อยจรวดขึ้นสู่วงโคจรระนาบศูนย์สูตร (Equatorial Orbit) ซึ่งอยู่สูงขึ้นจากพื้นโลกถึง 36,000 กิโลเมตร และเคยถูกใช้เพื่อการปล่อยจรวดในโครงการเจมินี่และอพอลโล่ รวมถึงทดสอบเครื่องบิน X-47B ขององค์กรนาซ่า

ฐานทัพอวกาศแวนเดนเบิร์ก (Vandenberg Space Force Base) รัฐแคลิฟอร์เนีย ภายใต้การดูแลของกองบินอวกาศที่ 30 ซึ่งถูกใช้ในการปล่อยจรวดขึ้นสู่วงโคจรขั้วโลก (Polar Orbit) โดยวัดจากเส้นผ่าศูนย์กลางตามแนวขั้วโลกและระยะสูงราว 500 ถึง 1,000 กิโลเมตรจากพื้นโลก และเป็นฐานทดสอบขีปนาวุธของกองทัพ นอกจากนี้ทางกองทัพยังทำสัญญากับบริษัทเอกชนอย่าง SpaceX และ ULA เพื่อใช้ในกิจการทางอวกาศยุคปัจจุบันอีกด้วย

*** ภารกิจนอกโลกของกองทัพอวกาศ ***
ภารกิจนอกโลกที่สำคัญของกองทัพอวกาศยุคปัจจุบันคือ การดูแลวงโคจรของดาวเทียมเพื่อปกป้องผลประโยชน์เหนือห้วงอวกาศของสหรัฐฯ รวมถึงป้องการโจมตีจากดาวเทียมฝ่ายตรงข้าม ซึ่งติดตั้งอาวุธอันตรายอาทิ คลื่นความร้อน, ลำแสงเอ็กซ์เรย์ รวมไปถึงอาวุธปล่อย หรือแม้แต่แขนกลที่สามารถสร้างความเสียหายต่อดาวเทียมได้
ภาพแนบ: ภาพของดาวเทียมบางส่วนที่ยังใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
นอกจากนี้กองทัพอวกาศยังดูแลดาวเทียมในวงโคจรต่ำ ซึ่งวิ่งรอบวงโคจรเรื่อยๆ ส่งผลให้จำเป็นต้องป้องกันไม่ให้มีสิ่งกีดขวาง หรือขยะอวกาศในอดีตที่เกิดจาก เนื่องจากไม่ได้ปรับให้ตกเพื่อเผาไหม้ในโลก ผ่านการปรับแรงดันวงโคจรให้สามารถดำเนินไปได้ตามปกติ จึงเห็นได้ว่าระบบดาวเทียมสำคัญมากต่อการใช้ชีวิตยุคปัจจุบัน และเป็นประเด็นอ่อนไหวทางความมั่นคง
ภาพแนบ: นาวิกโยธินอวกาศสหรัฐ ขณะลาดตระเวนบนดวงจันทร์ ในภาพยนตร์ไซไฟ "For all mankind" แสดงให้เห็นถึงการคาดการณ์ หากสหรัฐและโซเวียตพยายามการครอบครองดวงจันทร์ ระหว่างสงครามเย็น ซึ่งยังห่างไกลจากสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
*** อวกาศดินแดนใหม่ที่ยังไม่เคยถูกค้นพบ ***
อวกาศเปรียบเสมือนดินแดนแห่งใหม่ห่างไกลจากการถูกค้นพบโดยมนุษย์ ส่งผลให้นานาชาติยังไม่มีนโยบายร่างกฎหมายระหว่างประเทศร่วมกัน ส่งผลให้อวกาศยังเป็นดินแดนไกลปืนเที่ยง ซึ่งผู้มีอำนาจทางเทคโนโลยี สามารถแสวงหาผลประโยชน์อย่างเสรี แม้จะมีองค์กรระหว่างประเทศอย่าง สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ITU (International Telecommunication Union) ดูแลการให้สิทธิ์วงโคจร ระหว่างประเทศจากการส่งดาวเทียมไปประจำวงโคจรต่างๆ เพื่อรักษาสิทธิ์ เช่น กรณีดาวเทียมไทยคมของประเทศไทย ซึ่งพยายามหาทางออกด้วยการเช่าดาวเทียม เมื่อดาวเทียมไทยคมสิ้นอายุการใช้งานลง ดังนั้นการเจรจาเพื่อหาทางออกสำหรับการสำรวจดินแดนใหม่ยังดำเนินต่อไป
ภาพแนบ: คำโฆษณาของโครงการอาร์เตมิส
*** โครงการอาร์เตมิส ***
โครงการอาร์เตมิสมีจุดประสงค์สำคัญคือ การส่งมนุษย์กลับขึ้นเพื่อตั้งรกรากบนดวงจันทร์ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญสองประการคือ: การใช้ดวงจันทร์เป็นฐานสำหรับการเดินไปยังดาวอังคาร และทำเหมืองในอวกาศเพื่อครอบครองแร่ธรรมชาติทดแทนที่เรียกว่า “แร่ฮีเลี่ยมหมายเลข 3” ที่หายากในโลกของเรา เนื่องจากโลกมีสนามเเม่เหล็กและชั้นบรรยากาศป้องกัน ส่งผลให้แร่ดังกล่าวไม่สามารถฝ่าเข้ามาถึงพื้นโลกได้
ภาพแนบ: ภาพคอนเซ็ปต์ของฐานบนดวงจันทร๋
คุณสมบัติที่สำคัญของแร่ชนิดดังกล่าวคือ การนำมาสังเคราะห์เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน ด้วยการนำไปผสมกับลูเธอเรี่ยมเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน ซึ่งมีการคาดการณ์ว่า แร่ชนิดดังกล่าวเพียง 40 ตัน สามารถให้พลังงานทั่วประเทศสหรัฐฯ ทั้งประเทศได้ ประกอบกับพื้นที่ในอวกาศไม่ได้รับผลกระทบจากกฏหมายเขตส่งผลให้สหรัฐมุ่งมั่นจะพิชิตดวงจันทร์แบบถาวรเป็นประเทศแรก
ภาพแนบ: ปกของนิตยสาร Time ซึ่งเขียนล้อเลียนปกเดิม ซึ่งเป็นรูปของนักบินอวกาศ NASA และ COSMONAUT กำลังแข่งเดินทางไปดวงจันทร์
*** การแข่งขันทางอวกาศครั้งใหม่ ***
ความตื่นตัวในการพิชิตอวกาศ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ส่งผลให้การแข่งขันทางอวกาศ (Space Race) ในมุมมองทางความมั่นคงกลับมามีบทบาทอีกครั้ง เหล่าชาติมหาอำนาจต่างเห็นตรงกันว่า ทรัพยากรบนอวกาศนั้น มีปริมาณมหาศาลและเผชิญหน้ากับความซับซ้อนที่น้อยกว่าการแย่งชิงทรัพยากรบนโลกสีครามใบนี้นัก นอกจากนั้นการมาถึงของเทคโนโนโลยีการท่องอวกาศที่ทันสมัยขึ้นอย่างเครื่องยนต์ไอออน หรือการกระจายความเสี่ยงร่วมกับกลุ่มธุรกิจ ส่งผลให้ห้วงอวกาศกลับมาหมุดหมายของเหล่าผู้พิชิตอีกครั้ง เมื่อสหรัฐฯ ก่อตั้งโครงการ อาร์เตมิส ทางรัสเซียและจีนต่างพัฒนาโครงการส่งมนุษย์ไปยังอวกาศ เช่นเดียวกัน

*** เส้นทางสู่ผู้พิทักษ์กาแลคซี่ ***
จากข้อมูลทั้งหมด ผู้อ่านคงพอทราบถึงบทบาทและภารกิจทั้งในปัจจุบัน รวมถึงอนาคตของกองทัพอวกาศสหรัฐฯ เป็นที่เรียบร้อย แต่ทุกท่านเคยสงสัยกันมั้ยว่าเส้นทางสู่ “ทหารไทยในกองทัพอวกาศ” ของจ่าอาม ดำเนินมาอย่างไร?

ทางจ่าอามอธิบาย ตนมีโอกาศได้เข้าร่วมกับกองทัพสหรัฐหลังตัดสินใจไปเรียนภาษาและทำงานต่างๆที่อเมริกา ในโครงการ MAVNI เมื่อปี 2014 ซึ่งอนุญาติให้ชาวต่างชาติสามารถเข้ามาสมัครเป็นทหารเพื่อแลกกับสัญชาติได้ (น่าเสียดายที่ปัจจุบันโครงการนี้ถูกยกเลิกไปแล้ว) โดยถูกส่งไปประจำการยังฐานทัพดรัม (Fort Drum) รัฐวอชิงตัน ดีซี ในตำแหน่งดูแลอาวุธชีวภาพเป็นเวลา 3 ปีครึ่ง
ภาพแนบ: ภาพถ่ายไฟป่าในแคลิฟอเนียจากกล้องของ MQ9
ก่อนจะตัดสินใจต่อสัญญาในฐานะกำลังพลของกองกำลังพิทักษ์มาตุภูมิทางอากาศประจำรัฐแคลิฟลอเนีย ด้วยการยื่นผลสอบ ASVAB (The Armed Forces Vocational Aptitude Battery) ที่เป็นการสอบวัดความรู้ตั้งแต่ชั้นประถมถึงมัธยม (ได้ราวๆ 70 เปอร์เซ็น) ซึ่งถือว่าสูงมากเมื่อเทียบกับเกณฑ์ต่ำสุดคือ 30-40 คะแนน เพื่อบรรจุเข้ากองทัพในตำแหน่งสนับสนุนการรบ รวมถึงการเช็คประวัติราวหนึ่งปีครึ่ง จนมารับตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิเคราะห์การข่าว ซึ่งทำงานร่วมกับอากาศยานไร้นักบินรุ่น MQ-9 Reaper อาทิ ภารกิจติดตามและทำแผนที่ของเส้นทางไฟป่า ร่วมกับหน่วยงานดับเพลิงของรัฐ (CAL Fire)
*** อ่านต่อใน comment นะครับ ***
*** THE THAI GUARDIAN OF SPACE FORCE ***
- ประวัติความเป็นมาของกองทัพอวกาศสหรัฐ?
- บทบาทหน้าที่ของกองทัพอวกาศสหรัฐ?
- การแข่งขันทางอวกาศแห่งอนาคต?
- เส้นทางสู่ทหารไทยในกองทัพอวกาศสหรัฐ?
ร่วมกับวิทยากร ประกอบด้วย “จ่าอาม”, “คุณโย Skyman แห่งกลุ่ม TAF” และ ”จ่าโอ ทหารเรือมะกัน” ครับ
*** ความเป็นมาของกองทัพอวกาศสหรัฐฯ ***
กองทัพอวกาศสหรัฐฯ ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 20 ธันวาคม 2019 ตามเจตนารมย์ของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งเล็งเห็นว่าความสำคัญในการปกป้องผลประโยชน์ทางอวกาศของประเทศ อันถือเป็นเขตเปราะบางจากการถูกโจมตีโดยศัตรู จำเป็นต้องแยกหน่วยงานให้เกิดความคล่องตัวต่อการปฏิบัติภารกิจ จนถูกยกให้เป็น “มรดกชิ้นสำคัญของทรัมป์”
ภาพแนบ:
ธงของกองทัพอวกาศสหรัฐ กำลังโบกสะบัดเคียงข้างกับธงจากเหล่าทัพอื่นๆ ระหว่างพิธีสาบานตนของ ปธน โจ ไบเดน
แม้จะเป็นเหล่าทัพน้องใหม่ที่ได้รับมอบภารกิจจำนวนมากจากกองทัพอากาศ รวมถึงอยู่ภายใต้การดูแลของทบวงทหารอากาศสหรัฐ (Department of Airforce) แต่กองทัพอวกาศเองมีความพยายามสร้างอัตลักษณ์ของตนเองอาทิ การเรียกกำลังพลของตนเองว่า “ผู้พิทักษ์” หรือ Guardian เสมือนที่กองทัพอากาศเรียกกำลังพลของตนเองว่า “Airmen” รวมถึงเรียกหน่วยปล่อยจรวดว่า Space Cowboys ตามภาพยนตร์ เกี่ยวกับนักบินอวกาศในปี 2000
ปัจจุบันกองทัพอวกาศมีเจ้าหน้าที่อยู่ราว 16,000 นาย ซึ่งกำลังพลส่วนมากถูกโอนย้ายมาตามสายงานจากกองทัพอากาศ ควบคู่ไปกับการรับสมัครบุคลากรจากพลเรือน แต่ยังคงใช้ระบบการฝึกพื้นฐานบางส่วนจากกองทัพอากาศ พร้อมกับหลักสูตรเฉพาะทางเพื่อขยายกำลังพลเพื่อรองรับภารกิจอยู่ตลอดเวลา
*** ภารกิจในพื้นที่โลกของกองทัพอวกาศ ***
หน้าที่หลักบางส่วนของกองทัพอวกาศยังคงดำเนินภารกิจเดิม ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกองทัพอากาศเคยปฏิบัติหลักๆ 3 ข้อได้แก่:
*** ภารกิจจารกรรมข้อมูล: ***
ภาพถ่ายทางอากาศกลายเป็นปัจจัยชี้วัดความสำเร็จในสมรภูมิต่างๆ นับตั้งแต่สงครามแย่งชิงหมู่เกาะฟอรค์แลนด์ ไปจนถึงยุทธการพายุทะเลยทราย ที่ข้อมูลของกองทัพฝ่ายตั้งรับถูกตรวจสอบและวิเคราะห์ตั้งแต่ก่อนทำศึก ส่งผลให้หน้าที่ของกองทัพอวกาศเปรียบเสมือน “ดวงตาแห่งท้องนภา” ซึ่งตรวจสอบความเคลื่อนไหวของฝ่ายตรงข้าม ตั้งแต่ การติดตามความเคลื่อนไหวในทะเลจีนใต้และช่องแคบไต้หวันของกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน, ติดตามการพัฒนาศักยภาพทางทหารของเกาหลีเหนือ รวมไปถึงติดตา...
ภาพเเนบ: การทดสอบยิงจรวดของเกาหลีเหนือ
*** ภารกิจต่อต้านขีปนาวุธข้ามทวีป ***
การสร้างเครือข่ายติดตามการเคลื่อนไหวของฝ่ายตรงข้าม เพื่อป้องกันการถูกโจมตีจากขีปนาวุธข้ามทวีป (ICBM) ที่มีความเร็วราว 10 ถึง 12 มัค ส่งผลให้โครงข่ายป้องกันขีปนาวุธของชาติมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ, จีน และรัสเซีย สามารถสกัดได้เพียงจุดยุทธศาสตร์บางแห่ง ส่งผลให้ความร่วมมือระหว่างเหล่าทัพกลายเป็นแนวทางป้องกันที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในปัจจุบัน
*** ภารกิจการปล่อยจรวด***
กองทัพอวกาศสหรัฐรับผิดชอบฐานปล่อยจรวดสองแห่งคือ:
ฐานทัพอวกาศแพททริก ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีปล่อยจรวดแหลมคานาวารัล (Cape Canaveral Space Force Station) รัฐฟลอริดา ภายใต้การดูแลของกองบินอวกาศที่ 40 ซึ่งถูกใช้เพื่อปล่อยจรวดขึ้นสู่วงโคจรระนาบศูนย์สูตร (Equatorial Orbit) ซึ่งอยู่สูงขึ้นจากพื้นโลกถึง 36,000 กิโลเมตร และเคยถูกใช้เพื่อการปล่อยจรวดในโครงการเจมินี่และอพอลโล่ รวมถึงทดสอบเครื่องบิน X-47B ขององค์กรนาซ่า
ฐานทัพอวกาศแวนเดนเบิร์ก (Vandenberg Space Force Base) รัฐแคลิฟอร์เนีย ภายใต้การดูแลของกองบินอวกาศที่ 30 ซึ่งถูกใช้ในการปล่อยจรวดขึ้นสู่วงโคจรขั้วโลก (Polar Orbit) โดยวัดจากเส้นผ่าศูนย์กลางตามแนวขั้วโลกและระยะสูงราว 500 ถึง 1,000 กิโลเมตรจากพื้นโลก และเป็นฐานทดสอบขีปนาวุธของกองทัพ นอกจากนี้ทางกองทัพยังทำสัญญากับบริษัทเอกชนอย่าง SpaceX และ ULA เพื่อใช้ในกิจการทางอวกาศยุคปัจจุบันอีกด้วย
*** ภารกิจนอกโลกของกองทัพอวกาศ ***
ภารกิจนอกโลกที่สำคัญของกองทัพอวกาศยุคปัจจุบันคือ การดูแลวงโคจรของดาวเทียมเพื่อปกป้องผลประโยชน์เหนือห้วงอวกาศของสหรัฐฯ รวมถึงป้องการโจมตีจากดาวเทียมฝ่ายตรงข้าม ซึ่งติดตั้งอาวุธอันตรายอาทิ คลื่นความร้อน, ลำแสงเอ็กซ์เรย์ รวมไปถึงอาวุธปล่อย หรือแม้แต่แขนกลที่สามารถสร้างความเสียหายต่อดาวเทียมได้
ภาพแนบ: ภาพของดาวเทียมบางส่วนที่ยังใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
นอกจากนี้กองทัพอวกาศยังดูแลดาวเทียมในวงโคจรต่ำ ซึ่งวิ่งรอบวงโคจรเรื่อยๆ ส่งผลให้จำเป็นต้องป้องกันไม่ให้มีสิ่งกีดขวาง หรือขยะอวกาศในอดีตที่เกิดจาก เนื่องจากไม่ได้ปรับให้ตกเพื่อเผาไหม้ในโลก ผ่านการปรับแรงดันวงโคจรให้สามารถดำเนินไปได้ตามปกติ จึงเห็นได้ว่าระบบดาวเทียมสำคัญมากต่อการใช้ชีวิตยุคปัจจุบัน และเป็นประเด็นอ่อนไหวทางความมั่นคง
ภาพแนบ: นาวิกโยธินอวกาศสหรัฐ ขณะลาดตระเวนบนดวงจันทร์ ในภาพยนตร์ไซไฟ "For all mankind" แสดงให้เห็นถึงการคาดการณ์ หากสหรัฐและโซเวียตพยายามการครอบครองดวงจันทร์ ระหว่างสงครามเย็น ซึ่งยังห่างไกลจากสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
*** อวกาศดินแดนใหม่ที่ยังไม่เคยถูกค้นพบ ***
อวกาศเปรียบเสมือนดินแดนแห่งใหม่ห่างไกลจากการถูกค้นพบโดยมนุษย์ ส่งผลให้นานาชาติยังไม่มีนโยบายร่างกฎหมายระหว่างประเทศร่วมกัน ส่งผลให้อวกาศยังเป็นดินแดนไกลปืนเที่ยง ซึ่งผู้มีอำนาจทางเทคโนโลยี สามารถแสวงหาผลประโยชน์อย่างเสรี แม้จะมีองค์กรระหว่างประเทศอย่าง สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ITU (International Telecommunication Union) ดูแลการให้สิทธิ์วงโคจร ระหว่างประเทศจากการส่งดาวเทียมไปประจำวงโคจรต่างๆ เพื่อรักษาสิทธิ์ เช่น กรณีดาวเทียมไทยคมของประเทศไทย ซึ่งพยายามหาทางออกด้วยการเช่าดาวเทียม เมื่อดาวเทียมไทยคมสิ้นอายุการใช้งานลง ดังนั้นการเจรจาเพื่อหาทางออกสำหรับการสำรวจดินแดนใหม่ยังดำเนินต่อไป
ภาพแนบ: คำโฆษณาของโครงการอาร์เตมิส
*** โครงการอาร์เตมิส ***
โครงการอาร์เตมิสมีจุดประสงค์สำคัญคือ การส่งมนุษย์กลับขึ้นเพื่อตั้งรกรากบนดวงจันทร์ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญสองประการคือ: การใช้ดวงจันทร์เป็นฐานสำหรับการเดินไปยังดาวอังคาร และทำเหมืองในอวกาศเพื่อครอบครองแร่ธรรมชาติทดแทนที่เรียกว่า “แร่ฮีเลี่ยมหมายเลข 3” ที่หายากในโลกของเรา เนื่องจากโลกมีสนามเเม่เหล็กและชั้นบรรยากาศป้องกัน ส่งผลให้แร่ดังกล่าวไม่สามารถฝ่าเข้ามาถึงพื้นโลกได้
ภาพแนบ: ภาพคอนเซ็ปต์ของฐานบนดวงจันทร๋
คุณสมบัติที่สำคัญของแร่ชนิดดังกล่าวคือ การนำมาสังเคราะห์เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน ด้วยการนำไปผสมกับลูเธอเรี่ยมเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน ซึ่งมีการคาดการณ์ว่า แร่ชนิดดังกล่าวเพียง 40 ตัน สามารถให้พลังงานทั่วประเทศสหรัฐฯ ทั้งประเทศได้ ประกอบกับพื้นที่ในอวกาศไม่ได้รับผลกระทบจากกฏหมายเขตส่งผลให้สหรัฐมุ่งมั่นจะพิชิตดวงจันทร์แบบถาวรเป็นประเทศแรก
ภาพแนบ: ปกของนิตยสาร Time ซึ่งเขียนล้อเลียนปกเดิม ซึ่งเป็นรูปของนักบินอวกาศ NASA และ COSMONAUT กำลังแข่งเดินทางไปดวงจันทร์
*** การแข่งขันทางอวกาศครั้งใหม่ ***
ความตื่นตัวในการพิชิตอวกาศ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ส่งผลให้การแข่งขันทางอวกาศ (Space Race) ในมุมมองทางความมั่นคงกลับมามีบทบาทอีกครั้ง เหล่าชาติมหาอำนาจต่างเห็นตรงกันว่า ทรัพยากรบนอวกาศนั้น มีปริมาณมหาศาลและเผชิญหน้ากับความซับซ้อนที่น้อยกว่าการแย่งชิงทรัพยากรบนโลกสีครามใบนี้นัก นอกจากนั้นการมาถึงของเทคโนโนโลยีการท่องอวกาศที่ทันสมัยขึ้นอย่างเครื่องยนต์ไอออน หรือการกระจายความเสี่ยงร่วมกับกลุ่มธุรกิจ ส่งผลให้ห้วงอวกาศกลับมาหมุดหมายของเหล่าผู้พิชิตอีกครั้ง เมื่อสหรัฐฯ ก่อตั้งโครงการ อาร์เตมิส ทางรัสเซียและจีนต่างพัฒนาโครงการส่งมนุษย์ไปยังอวกาศ เช่นเดียวกัน
*** เส้นทางสู่ผู้พิทักษ์กาแลคซี่ ***
จากข้อมูลทั้งหมด ผู้อ่านคงพอทราบถึงบทบาทและภารกิจทั้งในปัจจุบัน รวมถึงอนาคตของกองทัพอวกาศสหรัฐฯ เป็นที่เรียบร้อย แต่ทุกท่านเคยสงสัยกันมั้ยว่าเส้นทางสู่ “ทหารไทยในกองทัพอวกาศ” ของจ่าอาม ดำเนินมาอย่างไร?
ทางจ่าอามอธิบาย ตนมีโอกาศได้เข้าร่วมกับกองทัพสหรัฐหลังตัดสินใจไปเรียนภาษาและทำงานต่างๆที่อเมริกา ในโครงการ MAVNI เมื่อปี 2014 ซึ่งอนุญาติให้ชาวต่างชาติสามารถเข้ามาสมัครเป็นทหารเพื่อแลกกับสัญชาติได้ (น่าเสียดายที่ปัจจุบันโครงการนี้ถูกยกเลิกไปแล้ว) โดยถูกส่งไปประจำการยังฐานทัพดรัม (Fort Drum) รัฐวอชิงตัน ดีซี ในตำแหน่งดูแลอาวุธชีวภาพเป็นเวลา 3 ปีครึ่ง
ภาพแนบ: ภาพถ่ายไฟป่าในแคลิฟอเนียจากกล้องของ MQ9
ก่อนจะตัดสินใจต่อสัญญาในฐานะกำลังพลของกองกำลังพิทักษ์มาตุภูมิทางอากาศประจำรัฐแคลิฟลอเนีย ด้วยการยื่นผลสอบ ASVAB (The Armed Forces Vocational Aptitude Battery) ที่เป็นการสอบวัดความรู้ตั้งแต่ชั้นประถมถึงมัธยม (ได้ราวๆ 70 เปอร์เซ็น) ซึ่งถือว่าสูงมากเมื่อเทียบกับเกณฑ์ต่ำสุดคือ 30-40 คะแนน เพื่อบรรจุเข้ากองทัพในตำแหน่งสนับสนุนการรบ รวมถึงการเช็คประวัติราวหนึ่งปีครึ่ง จนมารับตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิเคราะห์การข่าว ซึ่งทำงานร่วมกับอากาศยานไร้นักบินรุ่น MQ-9 Reaper อาทิ ภารกิจติดตามและทำแผนที่ของเส้นทางไฟป่า ร่วมกับหน่วยงานดับเพลิงของรัฐ (CAL Fire)
*** อ่านต่อใน comment นะครับ ***