
ศาลเเพ่งยกคำร้องนักข่าวสายม็อบ ให้ตำรวจใช้กระสุนยางกับผู้ชุมนุมได้แต่ต้องระมัดระวัง พร้อมกำชับสื่อทำตามหน้าที่
ศาลเเพ่งยกคำร้องของสื่อจาก voice TV ,the matter และ Plus Seven ที่ขอให้ห้ามตำรวจใช้กระสุนยางควบคุมการชุมนุม ชี้เจ้าหน้าที่สามารถทำได้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ แต่ต้องใช้ความระมัดระวังโดยคำนึงถึงความปลอดภัยสื่อมวลชน ขณะเดียวกันกำชับให้สื่อทำตามหลักเกณฑ์การปฎิบัติงานด้วย
เมื่อเวลา 13.30 น.วันนี้ (10 ส.ค.) ศาลแพ่งนัดฟังคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวหรือไม่ กรณีภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน พร้อมด้วยนายธนาพงศ์ เกิ่งไพบูล กับพวกรวม 2 คน ซึ่งเป็นสื่อมวลชน จาก voice TV , the matter และ Plus Seven ที่อ้างว่าได้รับบาดเจ็บจากการใช้ยิงกระสุนยางของตำรวจ เมื่อวันที่ 7 ส.ค.ที่ผ่านมา ได้ยื่นฟ้องสำนักงานตำรวจแห่งชาติกับพวกรวม 4 คน โดยขอให้ศาลแพ่งคุ้มครองชั่วคราวด้วย
ซึ่งศาลพิจารณาไต่สวนพยานหลักฐานแล้วมีคำสั่งว่า ที่โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 มีคำสั่งห้ามเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งปฏิบัติหน้าที่ควบคุมฝูงชนใช้อาวุธปืนยิงกระสุนยางใส่โจทก์ทั้งสองสื่อมวลชนอื่นและประชาชนที่ไม่ได้เป็นผู้กระทำการหรือมีท่าที่คุกคามต่อชีวิตบุคคลอื่นและขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามจำเลยที่ 1 และเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งปฏิบัติหน้าที่ควบคุมฝูงชนสลายการชุมนุมโดยขัดต่อหลักการพื้นฐานว่าด้วยการใช้กำลังและอาวุธโดยเจ้าหน้าที่กฎหมายและหลักการดูแลการชุมนุมสาธารณะตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 นั้นพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 มาตรา 3 (6) กำหนดมิให้ใช้พระราชบัญญัติดังกล่าวแก่การชุมนุมสาธารณะในระหว่างเวลาที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นซึ่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 มีเจตนารมณ์ให้อำนาจฝ่ายบริหารมีอำนาจพิเศษบางประการสำหรับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินซึ่งรวมถึงการออกประกาศและข้อกำหนดเพื่อแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้ยุติลงโดยเร็ว
โดยเมื่อวันที่ 25 ธ.ค.2563 นายกรัฐมนตรีได้ออกข้อกำหนดซึ่งออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 15) ข้อ 3 ห้ามชุมนุมทำกิจกรรมหรือมั่วสุม ณ ที่ใด ๆ ในสถานที่แออัดหรือกระทำการดังกล่าวอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย
แต่การใช้อำนาจดังกล่าวไม่ตัดสิทธิผู้ได้รับความเสียหายที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากทางราชการหากการใช้อำนาจของรัฐเป็นไปโดยไม่สุจริตเลือกปฏิบัติเกินสมควรแก่เหตุหรือเกินกว่ากรณีจำเป็นตามมาตรา 17 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวหากมีผู้จัดการชุมนุมหรือผู้ชุมนุมกระทำการอันฝ่าฝืนข้อกำหนดดังกล่าว
จำเลยที่ 1 และเจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีอำนาจในการสลายการชุมนุมด้วยวิธีการที่เหมาะสมตามสถานการณ์ที่แตกต่างกันไปในแต่ละครั้งดังนั้น กรณีใดมีความจำเป็นในการใช้อาวุธปืนยิงกระสุนยางขึ้นอยู่กับสถานการณ์ความรุนแรงของผู้ชุมนุมและเหตุการณ์
ภายหลัง น.ส.จันทร์จิรา จันทร์แผ้ว ทนายความโจทก์ กล่าวว่า ศาลมีคำสั่งให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.) จำเลยที่ 1 สั่งให้เจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดปฏิบัติหน้าที่โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของสื่อมวลชน ส่วนที่เราขอให้คุ้มครองชั่วคราว ห้ามเจ้าพนักงานตำรวจใช้กระสุนยางกับสื่อมวลชน ซึ่งเป็นไปตามคู่มือที่ออกตามพ.ร.บ.การชุมนุมฯ นั้นศาลเห็นว่า ประเด็นนี้สถานการณ์การชุมนุมแต่ละครั้งไม่ชัดเจนว่า สื่อมวลชนถูกเจ้าพนักงานตำรวจยิงด้วยกระสุนยางทุกครั้งหรือไม่ ตำรวจไม่ได้พุ่งเป้าไปที่สื่อมวลชนโดยตรง จึงคุ้มครองส่วนนี้ไม่ได้ แต่อย่างน้อยก็สั่งให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของสื่อมวลชน และโจทก์ที่เป็นสื่อมวลชนไม่สามารถขอให้ศาลสั่งคุ้มครองไม่ให้ใช้ความรุนแรงกับประชาชนกลุ่มผู้ชุมนุมได้
เมื่อถามว่า ศาลไม่ได้มีคำสั่งห้ามตำรวจใช้กระสุนยาง ในการควบคุมการชุมนุมของกลุ่มม็อบใช่หรือไม่
น.ส.จันทร์จิรา กล่าวว่า ใช่ แต่ศาลสั่งโดยครอบคลุมว่า ให้ปฏิบัติหน้าที่โดยคำนึงถึงความปลอดภัย ซึ่งเราก็ยืนยันว่าสื่อมวลชนเป็นคนกลาง ไม่ใช่คู่ขัดแย้งดังนั้นการจะใช้กระสุนยาง โดยไม่ระมัดระวังกับสื่อมวลชนทำให้เกิดความกลัวในการนำเสนอความจริงต่อสาธารณะและประสิทธิภาพลดลง อย่างไรก็ตามส่วนท้ายของคำสั่ง ศาลได้กำชับสื่อมวลชน ถ้าสื่อมวลชนปฏิบัติหน้าที่ โดยมีท่าทีคุกคาม หรือผิดกฎหมาย เจ้าหน้าที่สามารถใช้อำนาจตามกฎหมายในการจัดการได้
สำหรับคำร้องที่โจทก์จะขอให้ศาลแพ่งคุ้มครองชั่วคราว ดังนี้...👇
1. ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และผู้บังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน มีคำสั่งห้ามเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งปฏิบัติหน้าที่ควบคุมฝูงชนใช้ความรุนแรง เช่น ใช้อาวุธปืนกระสุนยาง แก๊สน้ำตา ฉีดน้ำผสมสารเคมี ทำร้ายร่างกาย โจทก์ทั้งสองและสื่อมวลชนที่สวมปลอกแขนสีขาวหรือสัญลักษณ์อื่นที่แสดงว่าเป็นสื่อมวลชน รวมทั้งประชาชนผู้มาชุมนุม หรือกระทำการใดอันเป็นการขัดขวาง คุกคาม ข่มขู่ จำกัดพื้นที่การปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชน
2. ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และผู้บังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน สั่งการเจ้าพนักงานตำรวจปฏิบัติหน้าที่โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและเสรีภาพของสื่อมวลชนและประชาชน
3. ขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และผู้บังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน และเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งปฏิบัติหน้าที่ควบคุมฝูงชนสลายการชุมนุมโดยขัดต่อหลักการพื้นฐานว่าด้วยการใช้กำลังและอาวุธโดยเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย และหลักการดูแลการชุมนุมสาธารณะตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 เนื่องจากโจทก์ทั้งสองและสื่อมวลชนย่อมได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมด้วย
https://mgronline.com/crime/detail/9640000078476

กฎหมายต้องเข้มแข็งค่ะ บ้านเมืองจะสงบสุข
สนับสนุนเจ้าหน้าที่ ทำตามกฎหมาย....
💗มาลาริน/ครั้งที่2แล้วค่ะ ศาลเเพ่งยกคำร้องนักข่าวสายม็อบ ให้ตำรวจใช้กระสุนยางกับผู้ชุมนุมได้ พร้อมกำชับสื่อทำตามหน้าที่
ศาลเเพ่งยกคำร้องของสื่อจาก voice TV ,the matter และ Plus Seven ที่ขอให้ห้ามตำรวจใช้กระสุนยางควบคุมการชุมนุม ชี้เจ้าหน้าที่สามารถทำได้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ แต่ต้องใช้ความระมัดระวังโดยคำนึงถึงความปลอดภัยสื่อมวลชน ขณะเดียวกันกำชับให้สื่อทำตามหลักเกณฑ์การปฎิบัติงานด้วย
เมื่อเวลา 13.30 น.วันนี้ (10 ส.ค.) ศาลแพ่งนัดฟังคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวหรือไม่ กรณีภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน พร้อมด้วยนายธนาพงศ์ เกิ่งไพบูล กับพวกรวม 2 คน ซึ่งเป็นสื่อมวลชน จาก voice TV , the matter และ Plus Seven ที่อ้างว่าได้รับบาดเจ็บจากการใช้ยิงกระสุนยางของตำรวจ เมื่อวันที่ 7 ส.ค.ที่ผ่านมา ได้ยื่นฟ้องสำนักงานตำรวจแห่งชาติกับพวกรวม 4 คน โดยขอให้ศาลแพ่งคุ้มครองชั่วคราวด้วย
ซึ่งศาลพิจารณาไต่สวนพยานหลักฐานแล้วมีคำสั่งว่า ที่โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 มีคำสั่งห้ามเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งปฏิบัติหน้าที่ควบคุมฝูงชนใช้อาวุธปืนยิงกระสุนยางใส่โจทก์ทั้งสองสื่อมวลชนอื่นและประชาชนที่ไม่ได้เป็นผู้กระทำการหรือมีท่าที่คุกคามต่อชีวิตบุคคลอื่นและขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามจำเลยที่ 1 และเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งปฏิบัติหน้าที่ควบคุมฝูงชนสลายการชุมนุมโดยขัดต่อหลักการพื้นฐานว่าด้วยการใช้กำลังและอาวุธโดยเจ้าหน้าที่กฎหมายและหลักการดูแลการชุมนุมสาธารณะตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 นั้นพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 มาตรา 3 (6) กำหนดมิให้ใช้พระราชบัญญัติดังกล่าวแก่การชุมนุมสาธารณะในระหว่างเวลาที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นซึ่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 มีเจตนารมณ์ให้อำนาจฝ่ายบริหารมีอำนาจพิเศษบางประการสำหรับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินซึ่งรวมถึงการออกประกาศและข้อกำหนดเพื่อแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้ยุติลงโดยเร็ว
โดยเมื่อวันที่ 25 ธ.ค.2563 นายกรัฐมนตรีได้ออกข้อกำหนดซึ่งออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 15) ข้อ 3 ห้ามชุมนุมทำกิจกรรมหรือมั่วสุม ณ ที่ใด ๆ ในสถานที่แออัดหรือกระทำการดังกล่าวอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย
แต่การใช้อำนาจดังกล่าวไม่ตัดสิทธิผู้ได้รับความเสียหายที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากทางราชการหากการใช้อำนาจของรัฐเป็นไปโดยไม่สุจริตเลือกปฏิบัติเกินสมควรแก่เหตุหรือเกินกว่ากรณีจำเป็นตามมาตรา 17 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวหากมีผู้จัดการชุมนุมหรือผู้ชุมนุมกระทำการอันฝ่าฝืนข้อกำหนดดังกล่าว
จำเลยที่ 1 และเจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีอำนาจในการสลายการชุมนุมด้วยวิธีการที่เหมาะสมตามสถานการณ์ที่แตกต่างกันไปในแต่ละครั้งดังนั้น กรณีใดมีความจำเป็นในการใช้อาวุธปืนยิงกระสุนยางขึ้นอยู่กับสถานการณ์ความรุนแรงของผู้ชุมนุมและเหตุการณ์
ภายหลัง น.ส.จันทร์จิรา จันทร์แผ้ว ทนายความโจทก์ กล่าวว่า ศาลมีคำสั่งให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.) จำเลยที่ 1 สั่งให้เจ้าพนักงานตำรวจในสังกัดปฏิบัติหน้าที่โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของสื่อมวลชน ส่วนที่เราขอให้คุ้มครองชั่วคราว ห้ามเจ้าพนักงานตำรวจใช้กระสุนยางกับสื่อมวลชน ซึ่งเป็นไปตามคู่มือที่ออกตามพ.ร.บ.การชุมนุมฯ นั้นศาลเห็นว่า ประเด็นนี้สถานการณ์การชุมนุมแต่ละครั้งไม่ชัดเจนว่า สื่อมวลชนถูกเจ้าพนักงานตำรวจยิงด้วยกระสุนยางทุกครั้งหรือไม่ ตำรวจไม่ได้พุ่งเป้าไปที่สื่อมวลชนโดยตรง จึงคุ้มครองส่วนนี้ไม่ได้ แต่อย่างน้อยก็สั่งให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของสื่อมวลชน และโจทก์ที่เป็นสื่อมวลชนไม่สามารถขอให้ศาลสั่งคุ้มครองไม่ให้ใช้ความรุนแรงกับประชาชนกลุ่มผู้ชุมนุมได้
เมื่อถามว่า ศาลไม่ได้มีคำสั่งห้ามตำรวจใช้กระสุนยาง ในการควบคุมการชุมนุมของกลุ่มม็อบใช่หรือไม่
น.ส.จันทร์จิรา กล่าวว่า ใช่ แต่ศาลสั่งโดยครอบคลุมว่า ให้ปฏิบัติหน้าที่โดยคำนึงถึงความปลอดภัย ซึ่งเราก็ยืนยันว่าสื่อมวลชนเป็นคนกลาง ไม่ใช่คู่ขัดแย้งดังนั้นการจะใช้กระสุนยาง โดยไม่ระมัดระวังกับสื่อมวลชนทำให้เกิดความกลัวในการนำเสนอความจริงต่อสาธารณะและประสิทธิภาพลดลง อย่างไรก็ตามส่วนท้ายของคำสั่ง ศาลได้กำชับสื่อมวลชน ถ้าสื่อมวลชนปฏิบัติหน้าที่ โดยมีท่าทีคุกคาม หรือผิดกฎหมาย เจ้าหน้าที่สามารถใช้อำนาจตามกฎหมายในการจัดการได้
สำหรับคำร้องที่โจทก์จะขอให้ศาลแพ่งคุ้มครองชั่วคราว ดังนี้...👇
1. ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และผู้บังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน มีคำสั่งห้ามเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งปฏิบัติหน้าที่ควบคุมฝูงชนใช้ความรุนแรง เช่น ใช้อาวุธปืนกระสุนยาง แก๊สน้ำตา ฉีดน้ำผสมสารเคมี ทำร้ายร่างกาย โจทก์ทั้งสองและสื่อมวลชนที่สวมปลอกแขนสีขาวหรือสัญลักษณ์อื่นที่แสดงว่าเป็นสื่อมวลชน รวมทั้งประชาชนผู้มาชุมนุม หรือกระทำการใดอันเป็นการขัดขวาง คุกคาม ข่มขู่ จำกัดพื้นที่การปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชน
2. ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และผู้บังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน สั่งการเจ้าพนักงานตำรวจปฏิบัติหน้าที่โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและเสรีภาพของสื่อมวลชนและประชาชน
3. ขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และผู้บังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน และเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งปฏิบัติหน้าที่ควบคุมฝูงชนสลายการชุมนุมโดยขัดต่อหลักการพื้นฐานว่าด้วยการใช้กำลังและอาวุธโดยเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย และหลักการดูแลการชุมนุมสาธารณะตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 เนื่องจากโจทก์ทั้งสองและสื่อมวลชนย่อมได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมด้วย
https://mgronline.com/crime/detail/9640000078476
สนับสนุนเจ้าหน้าที่ ทำตามกฎหมาย....