คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
พออ่านประกาศแล้ว ต้องบอกก่อนว่าไม่ใช่กรณีบังคับ แต่เป็นมาตรการดำเนินการต่อ
การควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 หลังจากที่ลูกจ้างไม่ยอมฉีดวัคซีน
- ผิดกฎหมายแรงงานไหม
กรณีไม่ให้ลูกจ้างกลับไปทำงานที่โต๊ะ และต้องไปทำงานในจุดที่นายจ้างจัดไว้ให้
รวมทั้งใช้เป็นเกณฑ์ในการปรับเงินเดือนและขึ้นโบนัส ถามว่าผิดกฎหมายแรงงานไหม ไม่ผิดครับ
สภาพการจ้างใดๆ ก็ตาม อยู่ในกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ ดังนั้นกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างไปฉีดวัคซีน
ถือว่าเป็นกรณีการมีส่วนร่วมกับองค์กรนายจ้าง ที่จะให้ลูกจ้างให้ความร่วมมือในการกระทำการใดๆ
นายจ้างสามารถใช้เกณฑ์การมีส่วนร่วมดังกล่าว มาใช้พิจารณาในการปรับค่าจ้างหรือให้โบนัสได้
โดยไม่ผิดกฎหมายใดๆ เว้นเสียแต่ว่าจะมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ได้ระบุไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว
- นายจ้างมีสิทธิ์ในการทำแบบนี้ไหม
สามารถทำได้ครับ ในกรณีที่สั่งให้ลูกจ้างปฏิบัติงานในพื้นที่ที่กำหนด ในกรณีที่ยังไม่ฉีดวัคซีน มิใช่การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างแต่อย่างใด
แต่กรณีที่มีความเสี่ยง และต้องถูกกักรักษาตัว โดยนายจ้างจะบังคับให้ลูกจ้างใช้สิทธิลาป่วย ลาพักร้อน ลากิจไปเลยนั้น ไม่ได้
ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อน เพราะกรณีที่มีความเสี่ยงและต้องถูกกักตัว ยังมิใช่ลูกจ้างป่วย
จะใช้สิทธิเหล่านั้นได้ ก็ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อน
- พนักงาน สามารถทำอะไรได้บ้าง
ไปฉีดวัคซีน หรือถ้าไม่ฉีดก็ต้องไปปฏิบัติงานในพื้นที่ที่นายจ้างกำหนด แต่เชื่อเถอะ คุณจะทำงานได้ไม่นานแน่นอน
เพราะคุณจะถูกมองเป็นแกะดำจากเพื่อนร่วมงาน และจะทนไม่ได้ในที่สุด
- ถือเป็นการขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาไหม
กรณีไม่ยอมฉีดวัคซีนไม่ถือเป็นการขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา เพราะการฉีดวัคซีนต้องเกิดขึ้นโดยความสมัครใจ
แต่ถ้านายจ้างมีมาตรการว่า จำกัดพื้นที่ในการทำงาน หากลูกจ้างเข้ามาในพื้นที่ดังกล่าว
เช่นกลับมานั่งในโต๊ะทำงานเดิม แบบนี้ก็ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งนายจ้างได้
หากมีมาตรการและประกาศออกมาแล้ว ถือว่าให้ใบเตือนได้
ประกาศนี้เขียนค่อนข้างดี แสดงว่ามีการปรึกษานักกฎหมายแล้ว ยกเว้นประโยคที่ว่า
จำเป็นต้องกักตัว เฝ้าดูอาการ ที่บ้านพัก ให้ใช้วันหยุดพักผ่อนประจำปี และหรือลากิจ และหรือลาป่วย
ถ้าเพิ่มว่า "จำเป็นต้องกักตัว เฝ้าดูอาการ ที่บ้านพัก บริษัทฯ อาจพิจารณา โดยขอให้ลูกจ้าง ให้ใช้สิทธิ วันหยุดพักผ่อนประจำปี และหรือลากิจ และหรือลาป่วย ตามความเหมาะสม" ทั้งประโยคนี้จะสมบูรณ์
การควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 หลังจากที่ลูกจ้างไม่ยอมฉีดวัคซีน
- ผิดกฎหมายแรงงานไหม
กรณีไม่ให้ลูกจ้างกลับไปทำงานที่โต๊ะ และต้องไปทำงานในจุดที่นายจ้างจัดไว้ให้
รวมทั้งใช้เป็นเกณฑ์ในการปรับเงินเดือนและขึ้นโบนัส ถามว่าผิดกฎหมายแรงงานไหม ไม่ผิดครับ
สภาพการจ้างใดๆ ก็ตาม อยู่ในกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ ดังนั้นกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างไปฉีดวัคซีน
ถือว่าเป็นกรณีการมีส่วนร่วมกับองค์กรนายจ้าง ที่จะให้ลูกจ้างให้ความร่วมมือในการกระทำการใดๆ
นายจ้างสามารถใช้เกณฑ์การมีส่วนร่วมดังกล่าว มาใช้พิจารณาในการปรับค่าจ้างหรือให้โบนัสได้
โดยไม่ผิดกฎหมายใดๆ เว้นเสียแต่ว่าจะมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ได้ระบุไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว
- นายจ้างมีสิทธิ์ในการทำแบบนี้ไหม
สามารถทำได้ครับ ในกรณีที่สั่งให้ลูกจ้างปฏิบัติงานในพื้นที่ที่กำหนด ในกรณีที่ยังไม่ฉีดวัคซีน มิใช่การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างแต่อย่างใด
แต่กรณีที่มีความเสี่ยง และต้องถูกกักรักษาตัว โดยนายจ้างจะบังคับให้ลูกจ้างใช้สิทธิลาป่วย ลาพักร้อน ลากิจไปเลยนั้น ไม่ได้
ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อน เพราะกรณีที่มีความเสี่ยงและต้องถูกกักตัว ยังมิใช่ลูกจ้างป่วย
จะใช้สิทธิเหล่านั้นได้ ก็ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อน
- พนักงาน สามารถทำอะไรได้บ้าง
ไปฉีดวัคซีน หรือถ้าไม่ฉีดก็ต้องไปปฏิบัติงานในพื้นที่ที่นายจ้างกำหนด แต่เชื่อเถอะ คุณจะทำงานได้ไม่นานแน่นอน
เพราะคุณจะถูกมองเป็นแกะดำจากเพื่อนร่วมงาน และจะทนไม่ได้ในที่สุด
- ถือเป็นการขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาไหม
กรณีไม่ยอมฉีดวัคซีนไม่ถือเป็นการขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา เพราะการฉีดวัคซีนต้องเกิดขึ้นโดยความสมัครใจ
แต่ถ้านายจ้างมีมาตรการว่า จำกัดพื้นที่ในการทำงาน หากลูกจ้างเข้ามาในพื้นที่ดังกล่าว
เช่นกลับมานั่งในโต๊ะทำงานเดิม แบบนี้ก็ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งนายจ้างได้
หากมีมาตรการและประกาศออกมาแล้ว ถือว่าให้ใบเตือนได้
ประกาศนี้เขียนค่อนข้างดี แสดงว่ามีการปรึกษานักกฎหมายแล้ว ยกเว้นประโยคที่ว่า
จำเป็นต้องกักตัว เฝ้าดูอาการ ที่บ้านพัก ให้ใช้วันหยุดพักผ่อนประจำปี และหรือลากิจ และหรือลาป่วย
ถ้าเพิ่มว่า "จำเป็นต้องกักตัว เฝ้าดูอาการ ที่บ้านพัก บริษัทฯ อาจพิจารณา โดยขอให้ลูกจ้าง ให้ใช้สิทธิ วันหยุดพักผ่อนประจำปี และหรือลากิจ และหรือลาป่วย ตามความเหมาะสม" ทั้งประโยคนี้จะสมบูรณ์
แสดงความคิดเห็น
บริษัทมีสิทธิ บังคับพนักงานให้ฉีดวัคซีนหรือไม่?
ต่อมาก็ได้ออกประกาศอีกฉบับ
ตัดข้อความมาบางส่วนดังนี้
1. ให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับรับผิดชอบดูแล ติดตาม ตรวจสอบ และสั่งการ ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทุกคน
ฉีดวัคชื่นป้องกันโรคติดเชื้อโควิด-19 อย่างเคร่งครัด ภายในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2564 ทั้งนี้ ให้แจ้งข้อมูลการฉีด
วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อโควิด - 19 ต่อส่วนทรัพยากรบุคคลทุกครั้งที่ฉีดจนครบโดส
2. จำกัดพื้นที่การปฏิบัติงานสำหรับพนักงานที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อโควิด-19
กรณีเข้าปฏิบัติงานที่สำนักงาน ให้ปฏิบัติงานที่อาคาร xxx ชั้น xxx และไม่เข้าไปยังพื้นที่อื่นนอกจากที่กำหนดเท่านั้น
เมื่อพนักงานแจ้งผลการฉีดวัคซีนต่อบริษัทแล้วจึงให้กลับเข้าพื้นที่ปฏิบัติงานตามส่วนงาน/ฝ่ายได้
3. พนักงานที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคนป้องกันโรคติดเชื้อโควิด-19 และเป็นผู้มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด- 19
จำเป็นต้องกักตัว เฝ้าดูอาการ ที่บ้านพัก ให้ใช้วันหยุดพักผ่อนประจำปี และหรือลากิจ และหรือลาป่วย
4. การฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อโควิด-19 ถือเป็นความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ตนเอง และสังคม จึงให้ใช้
มาเป็นเกณฑ์หนึ่งในการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน
จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน และให้ถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดเพื่อประโยชน์สาธารณะ หากฝ่าฝืนถือเป็น
การขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา ฝ่าฝืนวินัยในการทำงาน
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป จนกว่าจะคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น
สรุปคือ
1. พนักงานที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนในวันที่ 31 สิงหา จะไม่สามารถเข้าไปทำงานที่ โต๊ะทำงานของตัวเองได้
ต้องไปทำงานที่โซนกักกันที่ บริษัทเตรียมไว้ และไม่ให้ไปติดต่อที่อื่น
2. ใช้เป็นเกณฑ์ในการเลื่อนเงินเดือนด้วย
3. ถือว่าขัดคำสั่งผู้บังคับยัญชาด้วย
**พนักงานที่ยังไม่ได้ฉีดคือ ผู้ที่จองวัคซีนทางเลือก กับผู้ที่ยังไม่ได้คิวจากการจองผ่านช่องทางต่างๆ
อยากถามว่า
- ผิดกฎหมายแรงงานไหม
- นายจ้างมีสิทธิ์ในการทำแบบนี้ไหม
- พนักงาน สามารถทำอะไรได้บ้าง