รู้หรือไม่? เด็กกลั้นอุจจาระ ทำให้..ท้องผูก

คณพ่อคุณแม่รู้ไหมคะ ว่าเด็ก ๆ ที่ชอบกลั้นอุจจาระ อันตรายมากเลยนะคะ คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตลูกและคอยหมั่นถาม เพราะในหนึ่งวันปกติเด็กจะมีการถ่ายอุจจาระ ประมาณวันละ 1-2 ครั้ง ถ้าไม่ถ่ายเลยใน 2 วัน แปลว่าผิดปกติแล้วค่ะ

        วันนี้พี่หมอฝั่งธน.... จะมาให้ความรู้แนะนำวิธีแก้ไขปัญหาด็กกลั้นอุจจาระ หรือท้องผูกในเด็ก ไม่ใช่โรคที่ร้ายแรง เป็นเพียงอาการหนึ่งซึ่งเกิดจากพฤติกรรมเป็นส่วนใหญ่ พบว่า 95% ของอาการท้องผูกในเด็กเกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารและนิสัยในการขับถ่าย โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีอาหารฟาสต์ฟู้ดมากมาย ทำให้เด็กรับประทานผักและผลไม้น้อยลง ร่วมกับดื่มน้ำน้อย ทำให้อุจจาระแข็ง ถ่ายแล้วเจ็บ เมื่อเจ็บก็ทำให้เด็กกลัวการขับถ่าย จึงกลั้นอุจจาระ ซึ่งถ้ากลั้นอุจจาระจนเป็นนิสัย อุจจาระอยู่ในร่างกายนานๆ ก็จะแข็งขึ้น ก้อนใหญ่ขึ้น จึงเกิดอาการท้องผูกตามมาในที่สุดค่ะ

         สังเกตอาการท้องผูกเมื่อลูกถ่ายน้อยคือ เด็กจะถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 2 ครั้ง/สัปดาห์ เป็นเวลามากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป และในขณะถ่ายท้องเด็กจะเบ่งนาน บางครั้งอาจจะมีอาการท้องอืด แน่นท้องร่วมด้วย หากปล่อยไว้ลูกจะเริ่มมีอาการปวดบริเวณรูทวารหนัก อาจมีแผลปริแตกหรือบวม อุจจาระมีเลือด หากลูกต้องเบ่งอุจจาระที่มีขนาดใหญ่และแข็ง อาจทำให้ติ่งเนื้อที่ก้นฉีกขาด เมื่อมีอาการบาดเจ็บที่รูทวาร ลูกจะไม่อยากเข้าห้องน้ำอีกแล้ว ส่งผลให้เกิดอาการเรื้อรังตามมา เมื่อท้องผูกเรื้อรัง ลูกจะมีพฤติกรรมแปลกๆ พยายามกลั้นอุจจาระ ยืนเบ่ง ไม่กล้านั่งถ่าย เขย่งเท้า ขาเกร็ง หนีบก้นจนหน้าซีดเหงื่อออก หากจับลูกให้นั่งถ่ายก็จะร้องไห้ต่อต้านไม่อยากทำ 

           ป้องกันลูกน้อยท้องผูก เริ่มจากบ้านได้เลย
นมแม่เป็นสารอาหารที่ดีที่สุดที่จะช่วยป้องกันลูกน้อยจากภาวะท้องผูกได้ แต่เมื่อลูกมีอายุ 6 เดือนขึ้นไปแล้ว อาจให้ทานน้ำผลไม้ ผัก น้ำซุปผัก และเด็กตั้งแต่ 2 ขวบขึ้นไป สามารถฝึกการขับถ่าย โดยให้ถ่ายอุจจาระหลังอาหารเช้าทุกมื้อ ครั้งละ 10-15 นาที และดื่มน้ำมากๆ หลังตื่นนอน เพื่อให้ติดเป็นนิสัย อีกทั้งควรให้ทานผักและผลไม้ที่มีกากใยมากๆ เช่น มะละกอสุก กล้วยสุก ส้ม เป็นต้น เพราะใยอาหารจะช่วยให้อุจจาระอ่อนและขับถ่ายได้สะดวกขึ้น หรือทานโยเกิร์ต น้ำผึ้ง น้ำมะนาว น้ำมะขาม น้ำลูกพรุน ก็ช่วยได้เช่นเดียวกันค่ะ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่