เอกสาร"แอสตร้าฯ"เป็นเหตุ นักวิชาการชี้รัฐหลอกประชาชน
https://www.nationtv.tv/news/378829450
เอกสารลับระหว่าง สธ. กับ แอสตร้าฯ เป็นเหตุ นักวิชาการชี้ชัด รัฐบาลบริหารจัดการวัคซีนผิดพลาดอย่างน้อย 5 ข้อ ทั้งการปกปิดความผิด ตัดสินใจล่าช้า วางแผนผิดพลาด ประเมินสถานการณ์ไม่ถูก เข้าข่ายหลอกลวงประชาชน
หลังจากมีการเผยแพร่เอกสารลับการติดต่อกันระหว่างผู้บริหารแอสตร้าเซนเนก้า กับ นาย
อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข ซึ่งพบข้อมูลว่าประเทศไทยประเมินความต้องการใช้วัคซีนเพียงเดือนละ 3 ล้านโดส และเพิ่งมาแจ้งขอเพิ่มในภายหลังเมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา อีกทั้งรัฐบาลไทยยังสั่งซื้อวัคซีนช้าที่สุดในอาเซียน ทั้งๆ ที่มีฐานการผลิตในประเทศตัวเองนั้น
ปรากฏว่ามีหลายฝ่ายออกมาแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง หนึ่งในนั้นคือ ผศ.ดร.
เชษฐา ทรัพย์เย็น ประธานที่ประชุมสภาคณาจารย์และข้าราชการแห่งประเทศไทย หรือ ทปสท. โดย อาจารย์
เชษฐา ได้โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า
จากการเปิดเผยเอกสารของแอสตร้าเซนเนก้า ทำให้ได้บทสรุปชัดเจนแล้วว่าการบริหารจัดการวัคซีนของรัฐผิดพลาดอย่างน้อย 5 ข้อ ดังนี้
1. รัฐเข้าข่ายปกปิดความผิด สิ่งนี้อาจเป็นเหตุหนึ่งที่องค์การเภสัชกรรมไม่ยอมเปิดเผยสัญญากับแอสตร้าเซนเนก้า เพราะเอกสารชี้ชัดว่าไทยสั่งซื้อวัคซีนล่าช้า เพิ่งเซ็นสัญญาเมื่อเดือนมกราคมและพฤษภาคมปีนี้เอง
2. รัฐเข้าข่ายตัดสินใจเชิงบริหารล่าช้า เพราะเอกสารฉบับนี้ชี้ชัดว่าไทยสั่งซื้อวัคซีนล่าช้ากว่าประเทศอื่นในอาเซียน ไม่ว่าจะเป็น อินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ เวียดนาม หรือแม้แต่ประเทศขนาดเล็กอย่างมัลดีฟส์ ทั้งๆ ที่ไทยเป็นแหล่งผลิตวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าที่ประเทศอาเซียนอื่นไม่มี
3. รัฐเข้าข่ายวางแผนด้านราคาซื้อวัคซีนผิดพลาด ทำให้มีต้นทุนค่าเสียโอกาสสูง หรือ highly opportunity cost โดยในเอกสารชี้ชัดว่าไทยปฏิเสธคำแนะนำเรื่องเข้าร่วมโครงการ covax จึงทำให้ไม่ได้ซื้อวัคซีนแอสต้าเซนเนก้าในราคาต้นทุน แต่ราคาซื้อแพงกว่าที่ควรจะเป็น ในภาวะที่การคลังภาครัฐมีปัญหาอย่างหนักในปัจจุบัน
4. รัฐเข้าข่ายประเมินสถานการณ์ในอนาคตผิดพลาด เพราะไทยแจ้งไปยังแอสตร้าเซนเนก้าถึงการคาดการณ์ความต้องการใช้วัคซีนเพียงเดือนละ 3 ล้านโดส ทั้งๆ ที่ปัจจุบันเป็นที่ชัดเจนว่าการระบาดหนักสุดตั้งแต่เคยมีมา ทำให้สังคมเริ่มย้อนกลับไปตั้งคำถามต่อความแม่นยำในวิเคราะห์สถานการณ์ของบรรดาเทคโนแครต (technocrat) ด้านสาธารณสุขของไทย
5. รัฐเข้าข่ายหลอกลวงประชาชน เพราะที่ผ่านมารัฐเคยให้ข่าวสาธารณะว่าตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นไป เป็นเวลา 5 เดือน ไทยจะได้รับวัคซีนจากแอสตร้าเซนเนก้าเดือนละ 10 ล้านโดส ซึ่งค้านกับเอกสารของแอสตร้าเซนเนก้านี้ที่ปรากฏออกมาว่าทางการไทยต้องการวัคซีนเพียงเดือนละ 3 ล้านโดส
https://www.facebook.com/chettha.sapyen/posts/10225091090089474
พิจิตรเริ่มวิกฤต! ผู้ว่าฯสั่งขยาย รพ.สนาม เหตุป่วยพุ่ง เตียงเต็ม ชี้มาจาก กทม.-ปริมณฑล ทยอยกลับ
https://www.matichon.co.th/region/news_2835270
เริ่มวิกฤต! โรงพยาบาลสนามบึงบัวเตียงเต็มแล้ว ผู้ว่าฯพิจิตร สั่งขยายโรงพยาบาลสนามที่วิทยาลัยเทคนิค หลังจากที่ยอดผู้ป่วยติดเชื้อโควิดที่เดินทางมาจากกทม.และปริมลฑลเพิ่มขึ้นสูงอย่างต่อเนื่อง วันเดียวครึ่งร้อย แจ้งความประสงค์ที่จะเดินทางกลับมารักษาตัวที่บ้านเกิด
วันที่ 18 กรกฎาคม 2564 นาย
รังสรรค์ ตันเจริญ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร พร้อมด้วยนายอำเภอเมืองพิจิตร และนายกเทศมนตรีเมืองพิจิตร ตลอดจนผู้เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่บริเวณศูนย์ประชุมวิทยาลัยเทคนิคพิจิตร อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร เพื่อติดตามการจัดสร้างโรงพยาบาลสนาม แห่งที่ 2 ของอำเภอเมืองพิจิตร ซึ่งเป็นสถานที่รองรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ โดยโรงพยาบาลสนามดังกล่าวสามารถรองรับผู้ป่วยได้ไม่น้อยกว่า 150 – 200 เตียง หลังจากโรงพยาบาลสนามแห่งที่ 1 ซึ่งอยู่ภายในอุทยานบัว ในบึงสีไฟ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ซึ่งรองรับผู้ติดเชื้อได้เพียงจำนวน 140 เตียง มีผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ใช้บริการไปจนเต็มทุกเตียง และไม่สามารถขยายเพิ่มเติมได้ เนื่องจาก มีกลุ่มผู้ใช้แรงงานในจังหวัดต่างๆ แต่มีภูมิลำเนาเป็นชาวจังหวัดพิจิตร โดยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งเป็นพื้นที่ควบคุมและเข้มงวดสูงสุด ทยอยเดินทางกลับเข้ามาในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และส่วนใหญ่จะเป็นผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่ยังไม่มีเตียง หรือสถานพยาบาลรับรักษา จึงทำให้แรงงานดังกล่าวเลือกที่จะเดินทางกลับภูมิลำเนา เพื่อมารักษาตัวในภูมิลำเนาเกิด
สำหรับโรงพยาบาลสนามแห่งที่ 2 นี้จะมีการแบ่งแยกเป็นโซนๆ รวมถึงแบ่งเป็นผู้ติดเชื้อชายและหญิง ไม่ให้ปะปนกัน เพื่อความปลอดภัยของผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เพิ่มสูงขึ้น สำหรับวันนี้ได้รับการสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องมือ และคนงานจากเทศบาลเมืองพิจิตร วิทยาลัยเทคนิคพิจิตร ฝ่ายปกครองอำเภอเมืองพิจิตร ทำความสะอาด ปรับภูมิทัศน์ และประกอบเตียงกระดาษ รวมทั้งอื่นๆเพื่อให้พร้อมเปิดรับผู้ป่วยรายใหม่ในสัปดาห์หน้านี้
นอกจากนี้ในส่วน อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร ขณะนี้ พบผู้ติดเชื้อโควิดซึ่งเดินทางจากพื้นที่สีแดงซึ่ง เป็น กทม. และปริมลฑล ยังทยอยเดินทาง กลับมาอย่างต่อเนื่อง เจ้าหน้าที่กู้ภัย พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร ต้องเร่งช่วยกัน นำไม้อัด มาประกอบ เพื่อแบ่งกั้นพื้นที่ภายในอาคารหอประชุม ที่ว่าการอำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร หลังจากที่ โรงพยาบาลสนามเดิม ที่ใช้เต็นท์มากางแล้วติดแอร์ จำนวน 2 แห่ง จำนวน 23 เตียง เต็มหมดแล้ว ประกอบกับการเช่าเต็นท์จากภาคเอกชน พร้อมทั้งติดตั้งเครื่องปรับอากาศมีค่าใช้จ่ายที่สูง ทางอำเภอจึงต้องปรับเปลี่ยนมาใช้พื้นที่ในหอประชุมแทน โดยมีการกั้นพื้นที่บริเวณเป็นสัดส่วน ห้ามบุคคลภายนอกเข้าไปด้านใน
ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร เผย ยอมรับว่าจังหวัดพิจิตร มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ใช้แรงงานที่เดินทางจากกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งเป็นพื้นที่สีแดง ติดต่อขอเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลของรัฐ จึงทำให้เตียงตามโรงพยาบาลหลักและโรงพยาบาลสนามเต็ม จึงต้องมีการขยายโรงพยาบาลสนามในพื้นที่อำเภอเมืองพิจิตรเพิ่มเติมขึ้นอีก 1 แห่ง เป็นแห่งที่สองเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ตลอดจนสั่งการให้ขยายโรงพยาบาลสนาม อีก 11 อำเภอกำลังเร่งสร้างโรงพยาบาลสนาม อีก 800 เตียง โดยคาดว่าจะสามารถสร้างเสร็จและเปิดใช้ได้ในสัปดาห์หน้า สำหรับสถานการณ์ผู้ป่วยรายใหม่ของจังหวัดพิจิตรเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง วันละ 60-70 คน
โดยล่าสุด พบผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 32 ราย มีผู้ป่วยยืนยันสะสม ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 ถึงปัจจุบัน รวม 621 ราย ยังรักษาอยู่ในโรงพยาบาลหลักและโรงพยาบาลสนาม 429 ราย หายป่วยแล้ว 156 ราย
ด้าน นาย
วิริยะ จันทร์ประเสริฐ รองสาธารณสุขอำเภอสากเหล็ก กล่าวว่า โรงพยาบาลสนามแห่งใหม่นี้จะสามารถติดตั้งเตียงรักษาผู้ป่วยในระยะสีเขียว ได้ จำนวน 60 เตียง โดยในขณะนี้ก็มีผู้ที่แจ้งความประสงค์ที่จะขอเข้ามาทำการรักษาตัว ในโรงพยาบาลสนามอำเภอสากเหล็กที่กำลังสร้างแล้วถึง 20 กว่าคน ซึ่งส่วนใหญ่ จะเป็นชาวอำเภอสากเหล็กที่เดินทางไปทำงานอยู่ที่กรุงเทพ และอยู่ระหว่างรอเตียง ซึ่งโรงพยาบาลสนาม ของอำเภอสากเหล็ก มีจำนวน 2 แห่งก็เต็มแล้วทั้ง 23 เตียง โดยหากอนาคต มีผู้ป่วยมากขึ้นก็อาจจะต้องหาสถานที่เพื่อขยายเตียง ต่อไปให้มากขึ้น
สุรินทร์วิกฤต! งดรับผู้ป่วยนอกจังหวัดทุกประเภท หลังเตียงผู้ป่วยโควิดสีแดง-ส้มเต็มแล้ว!
https://www.matichon.co.th/covid19/thai-covid19/news_2835378
สุรินทร์วิกฤต! เตียงรักษาผู้ป่วยโควิด-19 สีแดง-ส้ม เต็มแล้ว ประกาศงดรับผู้ป่วยนอกจังหวัดทุกประเภท เตรียมพร้อม รพ.สนามแห่งที่ 2 ขณะที่พบผู้ป่วย 2 ราย นอนรักษาตัวเองอยู่ที่บ้าน รพ.กาบเชิงรับไปรักษาแล้ว หลังบริหารจัดการเตียงค่อนข้างลำบาก
วันที่ 18 ก.ค.64 ผู้สื่อข่าวประจำ จ.สุรินทร์ รายงานว่า หลังจาก โรงพยาบาลในพื้นที่ภาคกลางเตียงเต็ม หลังจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นจากสถานการณ์ดังกล่าว ทำให้รัฐบาลมีนโยบายให้หลายจังหวัดเริ่มทยอยประกาศแจ้งประชาชนที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในจังหวัดและเป็นผู้ป่วยติดเชื้อโควิดและเดินทางกลับมาจากพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด และต้องการจะกลับไปรักษาตัวที่จังหวัดนั้น ๆ ให้ติดต่อกับโรงพยาบาลในภูมิลำเนา ผู้นำชุมชน อสม. หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใกล้บ้าน ก่อนจะมีการเคลื่อนย้าย ตามที่เป็นข่าวนั้น
ล่าสุด เย็นวานนี้ (17 ก.ค.64) เพจเฟสบุ๊คของ “
ศูนย์ข้อมูล COVID-19 จ.สุรินทร์” ได้ออกประกาศระบุข้อความว่า “
ประกาศ ของดรับผู้ป่วยนอกจังหวัด ทุกประเภท เพื่อปรับปรุงศักยภาพชั่วคราว เนื่องจากขณะนี้ เตียงสำหรับรับรองผู้ป่วยสีแดง และสีส้ม ของจังหวัดสุรินทร์ เต็ม! ข้อมูล ณ วันที่ 17 กรกฎาคม 2564 #สุรินทร์ต้องชนะ #สุรินทร์ไม่ทิ้งกัน #DMHTTA”
ขณะที่ รพ.สุรินทร์ กำลังเตรียมความพร้อมโรงพยาบาลสนามแห่งที่ 2 เพื่อรองรับผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น โดยโรงพยาบาลในพื้นที่ จ.สุรินทร์ แต่ละแห่งเตียงเริ่มเต็มแล้ว จังหวัดจึงออกประกาศงดรับผู้ป่วยนอกจังหวัดดังกล่าว และอยู่ระหว่างบริหารจัดการเตียงให้ผู้ป่วยภายในจังหวัดที่เพิ่มขึ้นให้เพียงพอ และหากมีความพร้อมรับผู้ป่วยนอกจังหวัด ก็จะมีการประกาศให้ทราบอีกครั้ง
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่ไปยังหมู่บ้านโจรก (จะ-โหรก) ต.ด่าน อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ หลังพบข้อมูลว่ามีผู้ป่วยโควิด จำนวน 2 ราย ที่ต้องรักษาตัวเองที่บ้าน เนื่องจากเตียงที่ รพ.กาบเชิง เต็มไม่สามารถรับผู้ป่วยไปรักษาได้ หลังเดินทางมาจากจังหวัดพื้นที่เสี่ยง และอีกรายเป็นเพื่อนบ้านใกล้เคียงกัน ซึ่งพบว่า รพ.กาบเชิงได้มีการรับตัวไปรักษาแล้วเมื่อ 2 วันก่อน หลังมีการบริหารจัดการเตียงเพื่อรองรับผู้ป่วยภายในจังหวัดอย่างทุลักทุเล ด้วยความเข้มงวดและรัดกุม
นอกจากนี้ภายในหมู่บ้านโจรกยังมีการกักตัวกลุ่มเสี่ยงใกล้ชิดผู้ป่วยภายในบ้าน โดยมีการนำเชือกฟางพร้อมเขียนข้อความติดไว้ที่หน้าบ้านว่า “พื้นที่กักตัว พื้นที่เสี่ยง” ซึ่งได้มีการเฝ้าระวังสังเกตอาการและตรวจหาเชื้อแล้วไม่พบ แต่ยังคงต้องกักตัวดูอาการจนครบตามที่กำหนดอยู่ โดยบรรยากาศภายในหมู่บ้านดังกล่าวเป็นไปอย่างเงียบเหงา
สำหรับ สถานการณ์ COVID-19 จังหวัดสุรินทร์ (ระลอกใหม่ 26 มิถุนายน 2564) ข้อมูลระหว่างวันที่ 26 มิถุนายน 2564 ถึง 17 กรกฎาคม 2564 เวลา 19.00 น. ผู้ติดเชื้อยืนยันสะสม 1,556 ราย
ผู้ติดเชื้อรายใหม่ +165 ราย อยู่ระหว่างรักษา 1,218 ราย(โรงพยาบาลสนาม 101 ราย)
เป็นผู้ติดเชื้อภายนอกจังหวัดจำนวน 163 ราย- อำเภอสังขะ 37 ราย- อำเภอเมืองสุรินทร์ 29 ราย
– อำเภอสำโรงทาบ 14 ราย- อำเภอศีขรภูมิ 14 ราย- อำเภอรัตนบุรี 13 ราย- อำเภอปราสาท 11 ราย
– อำเภอชุมพลบุรี 11 ราย- อำเภอโนนนารายณ์ 9 ราย- อำเภอบัวเชด 7 ราย- อำเภอลำดวน 5 ราย
– อำเภอศรีณรงค์ 5 ราย- อำเภอสนม 5 ราย- อำเภอท่าตูม 3 ราย เป็นผู้ติดเชื้อภายในจังหวัด จำนวน 2 ราย
– อำเภอปราสาท 1 ราย- อำเภอท่าตูม 1 ราย หายป่วยสะสม 338 ราย (รายใหม่ +96 ราย)
– อำเภอรัตนบุรี 23 ราย- อำเภอเมืองสุรินทร์ 19 ราย- อำเภอสังขะ 18 ราย- อำเภอชุมพลบุรี 15 ราย
– อำเภอกาบเชิง 8 ราย- อำเภอท่าตูม 6 ราย- อำเภอสนม 4 ราย- อำเภอจอมพระ 1 ราย- อำเภอสำโรงทาบ 1 ราย- อำเภอศรีณรงค์ 1 ราย เสียชีวิตสะสม 0 ราย ข้อมูล ณ วันที่ 17 กรกฎาคม 2564
JJNY : นักวิชาการชี้รัฐหลอกปชช.│พิจิตรเริ่มวิกฤต!│สุรินทร์วิกฤต!│โควิด'ขสมก.'พุ่ง ฉีดแล้วยังติด80-90ราย│"สายการบิน"อ่วม
https://www.nationtv.tv/news/378829450
หลังจากมีการเผยแพร่เอกสารลับการติดต่อกันระหว่างผู้บริหารแอสตร้าเซนเนก้า กับ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข ซึ่งพบข้อมูลว่าประเทศไทยประเมินความต้องการใช้วัคซีนเพียงเดือนละ 3 ล้านโดส และเพิ่งมาแจ้งขอเพิ่มในภายหลังเมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา อีกทั้งรัฐบาลไทยยังสั่งซื้อวัคซีนช้าที่สุดในอาเซียน ทั้งๆ ที่มีฐานการผลิตในประเทศตัวเองนั้น
ปรากฏว่ามีหลายฝ่ายออกมาแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง หนึ่งในนั้นคือ ผศ.ดร.เชษฐา ทรัพย์เย็น ประธานที่ประชุมสภาคณาจารย์และข้าราชการแห่งประเทศไทย หรือ ทปสท. โดย อาจารย์เชษฐา ได้โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า
จากการเปิดเผยเอกสารของแอสตร้าเซนเนก้า ทำให้ได้บทสรุปชัดเจนแล้วว่าการบริหารจัดการวัคซีนของรัฐผิดพลาดอย่างน้อย 5 ข้อ ดังนี้
1. รัฐเข้าข่ายปกปิดความผิด สิ่งนี้อาจเป็นเหตุหนึ่งที่องค์การเภสัชกรรมไม่ยอมเปิดเผยสัญญากับแอสตร้าเซนเนก้า เพราะเอกสารชี้ชัดว่าไทยสั่งซื้อวัคซีนล่าช้า เพิ่งเซ็นสัญญาเมื่อเดือนมกราคมและพฤษภาคมปีนี้เอง
2. รัฐเข้าข่ายตัดสินใจเชิงบริหารล่าช้า เพราะเอกสารฉบับนี้ชี้ชัดว่าไทยสั่งซื้อวัคซีนล่าช้ากว่าประเทศอื่นในอาเซียน ไม่ว่าจะเป็น อินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ เวียดนาม หรือแม้แต่ประเทศขนาดเล็กอย่างมัลดีฟส์ ทั้งๆ ที่ไทยเป็นแหล่งผลิตวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าที่ประเทศอาเซียนอื่นไม่มี
3. รัฐเข้าข่ายวางแผนด้านราคาซื้อวัคซีนผิดพลาด ทำให้มีต้นทุนค่าเสียโอกาสสูง หรือ highly opportunity cost โดยในเอกสารชี้ชัดว่าไทยปฏิเสธคำแนะนำเรื่องเข้าร่วมโครงการ covax จึงทำให้ไม่ได้ซื้อวัคซีนแอสต้าเซนเนก้าในราคาต้นทุน แต่ราคาซื้อแพงกว่าที่ควรจะเป็น ในภาวะที่การคลังภาครัฐมีปัญหาอย่างหนักในปัจจุบัน
4. รัฐเข้าข่ายประเมินสถานการณ์ในอนาคตผิดพลาด เพราะไทยแจ้งไปยังแอสตร้าเซนเนก้าถึงการคาดการณ์ความต้องการใช้วัคซีนเพียงเดือนละ 3 ล้านโดส ทั้งๆ ที่ปัจจุบันเป็นที่ชัดเจนว่าการระบาดหนักสุดตั้งแต่เคยมีมา ทำให้สังคมเริ่มย้อนกลับไปตั้งคำถามต่อความแม่นยำในวิเคราะห์สถานการณ์ของบรรดาเทคโนแครต (technocrat) ด้านสาธารณสุขของไทย
5. รัฐเข้าข่ายหลอกลวงประชาชน เพราะที่ผ่านมารัฐเคยให้ข่าวสาธารณะว่าตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นไป เป็นเวลา 5 เดือน ไทยจะได้รับวัคซีนจากแอสตร้าเซนเนก้าเดือนละ 10 ล้านโดส ซึ่งค้านกับเอกสารของแอสตร้าเซนเนก้านี้ที่ปรากฏออกมาว่าทางการไทยต้องการวัคซีนเพียงเดือนละ 3 ล้านโดส
https://www.facebook.com/chettha.sapyen/posts/10225091090089474
พิจิตรเริ่มวิกฤต! ผู้ว่าฯสั่งขยาย รพ.สนาม เหตุป่วยพุ่ง เตียงเต็ม ชี้มาจาก กทม.-ปริมณฑล ทยอยกลับ
https://www.matichon.co.th/region/news_2835270
เริ่มวิกฤต! โรงพยาบาลสนามบึงบัวเตียงเต็มแล้ว ผู้ว่าฯพิจิตร สั่งขยายโรงพยาบาลสนามที่วิทยาลัยเทคนิค หลังจากที่ยอดผู้ป่วยติดเชื้อโควิดที่เดินทางมาจากกทม.และปริมลฑลเพิ่มขึ้นสูงอย่างต่อเนื่อง วันเดียวครึ่งร้อย แจ้งความประสงค์ที่จะเดินทางกลับมารักษาตัวที่บ้านเกิด
วันที่ 18 กรกฎาคม 2564 นายรังสรรค์ ตันเจริญ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร พร้อมด้วยนายอำเภอเมืองพิจิตร และนายกเทศมนตรีเมืองพิจิตร ตลอดจนผู้เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่บริเวณศูนย์ประชุมวิทยาลัยเทคนิคพิจิตร อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร เพื่อติดตามการจัดสร้างโรงพยาบาลสนาม แห่งที่ 2 ของอำเภอเมืองพิจิตร ซึ่งเป็นสถานที่รองรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ โดยโรงพยาบาลสนามดังกล่าวสามารถรองรับผู้ป่วยได้ไม่น้อยกว่า 150 – 200 เตียง หลังจากโรงพยาบาลสนามแห่งที่ 1 ซึ่งอยู่ภายในอุทยานบัว ในบึงสีไฟ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ซึ่งรองรับผู้ติดเชื้อได้เพียงจำนวน 140 เตียง มีผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ใช้บริการไปจนเต็มทุกเตียง และไม่สามารถขยายเพิ่มเติมได้ เนื่องจาก มีกลุ่มผู้ใช้แรงงานในจังหวัดต่างๆ แต่มีภูมิลำเนาเป็นชาวจังหวัดพิจิตร โดยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งเป็นพื้นที่ควบคุมและเข้มงวดสูงสุด ทยอยเดินทางกลับเข้ามาในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และส่วนใหญ่จะเป็นผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่ยังไม่มีเตียง หรือสถานพยาบาลรับรักษา จึงทำให้แรงงานดังกล่าวเลือกที่จะเดินทางกลับภูมิลำเนา เพื่อมารักษาตัวในภูมิลำเนาเกิด
สำหรับโรงพยาบาลสนามแห่งที่ 2 นี้จะมีการแบ่งแยกเป็นโซนๆ รวมถึงแบ่งเป็นผู้ติดเชื้อชายและหญิง ไม่ให้ปะปนกัน เพื่อความปลอดภัยของผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เพิ่มสูงขึ้น สำหรับวันนี้ได้รับการสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องมือ และคนงานจากเทศบาลเมืองพิจิตร วิทยาลัยเทคนิคพิจิตร ฝ่ายปกครองอำเภอเมืองพิจิตร ทำความสะอาด ปรับภูมิทัศน์ และประกอบเตียงกระดาษ รวมทั้งอื่นๆเพื่อให้พร้อมเปิดรับผู้ป่วยรายใหม่ในสัปดาห์หน้านี้
นอกจากนี้ในส่วน อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร ขณะนี้ พบผู้ติดเชื้อโควิดซึ่งเดินทางจากพื้นที่สีแดงซึ่ง เป็น กทม. และปริมลฑล ยังทยอยเดินทาง กลับมาอย่างต่อเนื่อง เจ้าหน้าที่กู้ภัย พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร ต้องเร่งช่วยกัน นำไม้อัด มาประกอบ เพื่อแบ่งกั้นพื้นที่ภายในอาคารหอประชุม ที่ว่าการอำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร หลังจากที่ โรงพยาบาลสนามเดิม ที่ใช้เต็นท์มากางแล้วติดแอร์ จำนวน 2 แห่ง จำนวน 23 เตียง เต็มหมดแล้ว ประกอบกับการเช่าเต็นท์จากภาคเอกชน พร้อมทั้งติดตั้งเครื่องปรับอากาศมีค่าใช้จ่ายที่สูง ทางอำเภอจึงต้องปรับเปลี่ยนมาใช้พื้นที่ในหอประชุมแทน โดยมีการกั้นพื้นที่บริเวณเป็นสัดส่วน ห้ามบุคคลภายนอกเข้าไปด้านใน
ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร เผย ยอมรับว่าจังหวัดพิจิตร มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ใช้แรงงานที่เดินทางจากกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งเป็นพื้นที่สีแดง ติดต่อขอเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลของรัฐ จึงทำให้เตียงตามโรงพยาบาลหลักและโรงพยาบาลสนามเต็ม จึงต้องมีการขยายโรงพยาบาลสนามในพื้นที่อำเภอเมืองพิจิตรเพิ่มเติมขึ้นอีก 1 แห่ง เป็นแห่งที่สองเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ตลอดจนสั่งการให้ขยายโรงพยาบาลสนาม อีก 11 อำเภอกำลังเร่งสร้างโรงพยาบาลสนาม อีก 800 เตียง โดยคาดว่าจะสามารถสร้างเสร็จและเปิดใช้ได้ในสัปดาห์หน้า สำหรับสถานการณ์ผู้ป่วยรายใหม่ของจังหวัดพิจิตรเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง วันละ 60-70 คน
โดยล่าสุด พบผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 32 ราย มีผู้ป่วยยืนยันสะสม ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 ถึงปัจจุบัน รวม 621 ราย ยังรักษาอยู่ในโรงพยาบาลหลักและโรงพยาบาลสนาม 429 ราย หายป่วยแล้ว 156 ราย
ด้าน นายวิริยะ จันทร์ประเสริฐ รองสาธารณสุขอำเภอสากเหล็ก กล่าวว่า โรงพยาบาลสนามแห่งใหม่นี้จะสามารถติดตั้งเตียงรักษาผู้ป่วยในระยะสีเขียว ได้ จำนวน 60 เตียง โดยในขณะนี้ก็มีผู้ที่แจ้งความประสงค์ที่จะขอเข้ามาทำการรักษาตัว ในโรงพยาบาลสนามอำเภอสากเหล็กที่กำลังสร้างแล้วถึง 20 กว่าคน ซึ่งส่วนใหญ่ จะเป็นชาวอำเภอสากเหล็กที่เดินทางไปทำงานอยู่ที่กรุงเทพ และอยู่ระหว่างรอเตียง ซึ่งโรงพยาบาลสนาม ของอำเภอสากเหล็ก มีจำนวน 2 แห่งก็เต็มแล้วทั้ง 23 เตียง โดยหากอนาคต มีผู้ป่วยมากขึ้นก็อาจจะต้องหาสถานที่เพื่อขยายเตียง ต่อไปให้มากขึ้น
สุรินทร์วิกฤต! งดรับผู้ป่วยนอกจังหวัดทุกประเภท หลังเตียงผู้ป่วยโควิดสีแดง-ส้มเต็มแล้ว!
https://www.matichon.co.th/covid19/thai-covid19/news_2835378
สุรินทร์วิกฤต! เตียงรักษาผู้ป่วยโควิด-19 สีแดง-ส้ม เต็มแล้ว ประกาศงดรับผู้ป่วยนอกจังหวัดทุกประเภท เตรียมพร้อม รพ.สนามแห่งที่ 2 ขณะที่พบผู้ป่วย 2 ราย นอนรักษาตัวเองอยู่ที่บ้าน รพ.กาบเชิงรับไปรักษาแล้ว หลังบริหารจัดการเตียงค่อนข้างลำบาก
วันที่ 18 ก.ค.64 ผู้สื่อข่าวประจำ จ.สุรินทร์ รายงานว่า หลังจาก โรงพยาบาลในพื้นที่ภาคกลางเตียงเต็ม หลังจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นจากสถานการณ์ดังกล่าว ทำให้รัฐบาลมีนโยบายให้หลายจังหวัดเริ่มทยอยประกาศแจ้งประชาชนที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในจังหวัดและเป็นผู้ป่วยติดเชื้อโควิดและเดินทางกลับมาจากพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด และต้องการจะกลับไปรักษาตัวที่จังหวัดนั้น ๆ ให้ติดต่อกับโรงพยาบาลในภูมิลำเนา ผู้นำชุมชน อสม. หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใกล้บ้าน ก่อนจะมีการเคลื่อนย้าย ตามที่เป็นข่าวนั้น
ล่าสุด เย็นวานนี้ (17 ก.ค.64) เพจเฟสบุ๊คของ “ศูนย์ข้อมูล COVID-19 จ.สุรินทร์” ได้ออกประกาศระบุข้อความว่า “ประกาศ ของดรับผู้ป่วยนอกจังหวัด ทุกประเภท เพื่อปรับปรุงศักยภาพชั่วคราว เนื่องจากขณะนี้ เตียงสำหรับรับรองผู้ป่วยสีแดง และสีส้ม ของจังหวัดสุรินทร์ เต็ม! ข้อมูล ณ วันที่ 17 กรกฎาคม 2564 #สุรินทร์ต้องชนะ #สุรินทร์ไม่ทิ้งกัน #DMHTTA”
ขณะที่ รพ.สุรินทร์ กำลังเตรียมความพร้อมโรงพยาบาลสนามแห่งที่ 2 เพื่อรองรับผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น โดยโรงพยาบาลในพื้นที่ จ.สุรินทร์ แต่ละแห่งเตียงเริ่มเต็มแล้ว จังหวัดจึงออกประกาศงดรับผู้ป่วยนอกจังหวัดดังกล่าว และอยู่ระหว่างบริหารจัดการเตียงให้ผู้ป่วยภายในจังหวัดที่เพิ่มขึ้นให้เพียงพอ และหากมีความพร้อมรับผู้ป่วยนอกจังหวัด ก็จะมีการประกาศให้ทราบอีกครั้ง
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่ไปยังหมู่บ้านโจรก (จะ-โหรก) ต.ด่าน อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ หลังพบข้อมูลว่ามีผู้ป่วยโควิด จำนวน 2 ราย ที่ต้องรักษาตัวเองที่บ้าน เนื่องจากเตียงที่ รพ.กาบเชิง เต็มไม่สามารถรับผู้ป่วยไปรักษาได้ หลังเดินทางมาจากจังหวัดพื้นที่เสี่ยง และอีกรายเป็นเพื่อนบ้านใกล้เคียงกัน ซึ่งพบว่า รพ.กาบเชิงได้มีการรับตัวไปรักษาแล้วเมื่อ 2 วันก่อน หลังมีการบริหารจัดการเตียงเพื่อรองรับผู้ป่วยภายในจังหวัดอย่างทุลักทุเล ด้วยความเข้มงวดและรัดกุม
นอกจากนี้ภายในหมู่บ้านโจรกยังมีการกักตัวกลุ่มเสี่ยงใกล้ชิดผู้ป่วยภายในบ้าน โดยมีการนำเชือกฟางพร้อมเขียนข้อความติดไว้ที่หน้าบ้านว่า “พื้นที่กักตัว พื้นที่เสี่ยง” ซึ่งได้มีการเฝ้าระวังสังเกตอาการและตรวจหาเชื้อแล้วไม่พบ แต่ยังคงต้องกักตัวดูอาการจนครบตามที่กำหนดอยู่ โดยบรรยากาศภายในหมู่บ้านดังกล่าวเป็นไปอย่างเงียบเหงา
สำหรับ สถานการณ์ COVID-19 จังหวัดสุรินทร์ (ระลอกใหม่ 26 มิถุนายน 2564) ข้อมูลระหว่างวันที่ 26 มิถุนายน 2564 ถึง 17 กรกฎาคม 2564 เวลา 19.00 น. ผู้ติดเชื้อยืนยันสะสม 1,556 ราย
ผู้ติดเชื้อรายใหม่ +165 ราย อยู่ระหว่างรักษา 1,218 ราย(โรงพยาบาลสนาม 101 ราย)
เป็นผู้ติดเชื้อภายนอกจังหวัดจำนวน 163 ราย- อำเภอสังขะ 37 ราย- อำเภอเมืองสุรินทร์ 29 ราย
– อำเภอสำโรงทาบ 14 ราย- อำเภอศีขรภูมิ 14 ราย- อำเภอรัตนบุรี 13 ราย- อำเภอปราสาท 11 ราย
– อำเภอชุมพลบุรี 11 ราย- อำเภอโนนนารายณ์ 9 ราย- อำเภอบัวเชด 7 ราย- อำเภอลำดวน 5 ราย
– อำเภอศรีณรงค์ 5 ราย- อำเภอสนม 5 ราย- อำเภอท่าตูม 3 ราย เป็นผู้ติดเชื้อภายในจังหวัด จำนวน 2 ราย
– อำเภอปราสาท 1 ราย- อำเภอท่าตูม 1 ราย หายป่วยสะสม 338 ราย (รายใหม่ +96 ราย)
– อำเภอรัตนบุรี 23 ราย- อำเภอเมืองสุรินทร์ 19 ราย- อำเภอสังขะ 18 ราย- อำเภอชุมพลบุรี 15 ราย
– อำเภอกาบเชิง 8 ราย- อำเภอท่าตูม 6 ราย- อำเภอสนม 4 ราย- อำเภอจอมพระ 1 ราย- อำเภอสำโรงทาบ 1 ราย- อำเภอศรีณรงค์ 1 ราย เสียชีวิตสะสม 0 ราย ข้อมูล ณ วันที่ 17 กรกฎาคม 2564