โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนกดทับเส้นประสาท หรือ HNP (Herniated nucleus pulposus) เกิดจากหมอนรองกระดูกมีการฉีกขาด
ทำให้สารน้ำที่อยู่ในหมอนรองกระดูกเคลื่อนออกมาจนกดทับเส้นประสาท ส่วนใหญ่จะพบบริเวณข้อต่อกระดูกสันหลัง L4-L5 และ L5-S1
มักพบในผู้ป่วยอายุระหว่าง 21-50 ปี เกิดได้จากหลายสาเหตุเช่น การยกของหนัก อุบัติเหตุ และการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลัง เป็นต้น
ผู้ป่วยที่เป็นโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อกดทับเส้นประสาท จะมีอาการปวดหลังร้าวลงขา และจะมีอาการปวดมากขึ้นเมื่อนั่งหรือก้ม
หรือไอจาม แต่อาการจะดีขึ้นเมื่อยืนหรือเดิน ร่วมกับมีอาการชา ตามแนวของเส้นประสาท (Dermatome) ในรายที่มีการเคลื่อน
ของหมอนรองกระดูกมากๆจะมีกล้ามเนื้อของขาที่เส้นประสาทถูกกดทับ อ่อนแรง โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยที่เป็นโรค HNP อาการจะดีขึ้น
โดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัด แต่หากผู้ป่วยมีอาการปวดรุนแรงมาก ร่วมกับกล้ามเนื้ออ่อนแรง และทำการรักษาโดยวิธีการไม่ผ่าตัดแล้วอาการไม่ดีขึ้น
ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการผ่าตัด
การรักษาทางกายภาพบำบัด
1.การดึงหลัง (Traction) เพื่อลดการกดทับของเส้นประสาท
2. การลดอาการปวด โดยใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด เช่น การทำ Ultrasound
การกระตุ้นไฟฟ้า การวางแผ่นประคบร้อน
3.การออกกำลังกายกล้ามเนื้อหลัง เมื่ออาการปวดลดลง
บทความโดย ฟิสิคอลคลินิกกายภาพบำบัด
การรักษาทางกายภาพบำบัดโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนกดทับเส้นประสาท
ทำให้สารน้ำที่อยู่ในหมอนรองกระดูกเคลื่อนออกมาจนกดทับเส้นประสาท ส่วนใหญ่จะพบบริเวณข้อต่อกระดูกสันหลัง L4-L5 และ L5-S1
มักพบในผู้ป่วยอายุระหว่าง 21-50 ปี เกิดได้จากหลายสาเหตุเช่น การยกของหนัก อุบัติเหตุ และการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลัง เป็นต้น
ผู้ป่วยที่เป็นโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อกดทับเส้นประสาท จะมีอาการปวดหลังร้าวลงขา และจะมีอาการปวดมากขึ้นเมื่อนั่งหรือก้ม
หรือไอจาม แต่อาการจะดีขึ้นเมื่อยืนหรือเดิน ร่วมกับมีอาการชา ตามแนวของเส้นประสาท (Dermatome) ในรายที่มีการเคลื่อน
ของหมอนรองกระดูกมากๆจะมีกล้ามเนื้อของขาที่เส้นประสาทถูกกดทับ อ่อนแรง โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยที่เป็นโรค HNP อาการจะดีขึ้น
โดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัด แต่หากผู้ป่วยมีอาการปวดรุนแรงมาก ร่วมกับกล้ามเนื้ออ่อนแรง และทำการรักษาโดยวิธีการไม่ผ่าตัดแล้วอาการไม่ดีขึ้น
ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการผ่าตัด
การรักษาทางกายภาพบำบัด
1.การดึงหลัง (Traction) เพื่อลดการกดทับของเส้นประสาท
2. การลดอาการปวด โดยใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด เช่น การทำ Ultrasound
การกระตุ้นไฟฟ้า การวางแผ่นประคบร้อน
3.การออกกำลังกายกล้ามเนื้อหลัง เมื่ออาการปวดลดลง
บทความโดย ฟิสิคอลคลินิกกายภาพบำบัด