"ไม่ชอบแบบไหน ก็อย่าทำแบบนั้นกับคนอื่น" เป็นประโยคที่เราท่องกับตัวเองบ่อยๆเวลามีปัญหากับคนอื่นค่ะ
เราถูกเลี้ยงมาด้วยแนวคิดของการให้อภัยค่ะ แม่จะบอกเสมอเวลามีใครมาพูดหรือทำไม่ดีกับเราว่าให้อภัยเค้า อย่าไปใส่ใจ บลาๆๆ (แม่เป็นคนใจดีมากค่ะ)
ก็เลยเป็นคนที่ต่อให้มีคนมาหาเรื่อง ก็จะพยายามทำให้เรื่องสงบลงที่สุด ไม่ค่อยไฝว้ ขอโทษได้ก็ขอโทษ ต่อให้เราไม่ใช่ฝ่ายผิดก็ตาม
แต่ในใจเราก็คือดื้อมาก ขอโทษไปก็จริง เรื่องจบจริง แต่ใจมันไม่สงบง่ายๆเลย เพราะรู้สึกลึกๆว่านี่มันไม่ยุติธรรม แต่ก็เห็นแต่ผลลัพธ์ที่ก็ไตร่ตรองแล้วว่าดีกว่าให้เรื่องมันบานปลาย ก็เลยข่มใจไว้
แล้วก็ใช้เวลาเป็นตัวช่วยเยียวยาเสมอค่ะ บางครั้งก็จะใช้การเขียนไดอารี่กับตัวเองเป็นการระบายเอา
จะว่าเป็นคนยอมคนก็คงใช่ประมาณนึง มันก็มีบ้างค่ะที่จะโต้กลับแต่น้อย เรามักประเมินก่อนว่าการทะเลาะครั้งนั้นฝ่ายตรงข้ามมีแนวโน้มจะเข้าใจรึเปล่า
ถ้าเค้าดูรับฟังเราจะคุยด้วยเหตุผล ถ้าดูยังไงเค้าก็มีแต่ทิฐิอคติแน่ๆ อันนี้เราจะเลี่ยงเพราะมันเสียเวลา
ซึ่งที่เจอมาส่วนใหญ่มันก็เป็นอย่างหลัง เถียงไปเดี๋ยวก็ใช้อารมณ์กันเปล่าๆ เลยช่างมัน ยอมจบๆเรื่องก็ได้
พอเราเห็นว่าเรื่องจบ ฝ่ายตรงข้ามมาฉอดๆว่าเราเสร็จ ทำเราเสียหาย จบเรื่องเค้าก็ไปใช้ชีวิตดี๊ด๊า คือมันแอบแค้นค่ะ(เราเองก็ไม่ใช่คนใจดีขนาดนั้น...)
ในกรณีของการบูลลี่ก็เหมือนกันค่ะ เราเคยโดนแบบไร้สาระมากๆ ซึ่งเราก็เป็นฝ่ายขอโทษให้มันจบเรื่อง (เจ็บใจมากค่ะ แต่ตอนนั้นไม่มีทางเลือกอื่นที่คิดได้)
ความจริงเค้าผิดเราก็อยากให้เค้าขอโทษ เพราะเราพร้อมจะให้อภัยอยู่แล้ว แต่ของแบบนี้มันบังคับกันไปก็ไม่มีประโยชน์
บางคนเราก็อยากให้เค้าได้บทเรียนจริงๆว่าไม่ควรไปทำแบบนี้กับใคร บางคนก็เป็นคนใกล้ตัวที่สนิทมากๆ แต่เราก็รู้ว่าเราสอนเค้าไม่ได้ ก็เลยได้แต่เคืองกับตัวเอง เคืองทั้งเค้าทั้งตัวเองนี่แหละค่ะ ที่ไม่รู้ว่าต้องทำยังไงถึงจะดีที่สุด
เราไม่ชอบให้เค้ามาว่าหรือหาเรื่องเรา เราก็พยายามไม่ทำแบบนั้น
อันนี้เราก็ไม่รู้ว่าใช้หลักการนี้รึเปล่า เพราะสุดท้ายเราก็เป็นฝ่ายคิดมากอยู่ดี...
แล้วคนอื่นๆใช้หลักการนี้กันมั้ยคะ? มีวิธีพลิกแพลงการใช้งานแบบไหนบ้าง? หรือมีวิธีจัดการความคิดกันยังไง? เล่าสู่กันฟังได้นะค้า
"ไม่ชอบแบบไหน ก็อย่าทำแบบนั้นกับคนอื่น" หลักการนี้ใช้กันแค่ไหน?
เราถูกเลี้ยงมาด้วยแนวคิดของการให้อภัยค่ะ แม่จะบอกเสมอเวลามีใครมาพูดหรือทำไม่ดีกับเราว่าให้อภัยเค้า อย่าไปใส่ใจ บลาๆๆ (แม่เป็นคนใจดีมากค่ะ)
ก็เลยเป็นคนที่ต่อให้มีคนมาหาเรื่อง ก็จะพยายามทำให้เรื่องสงบลงที่สุด ไม่ค่อยไฝว้ ขอโทษได้ก็ขอโทษ ต่อให้เราไม่ใช่ฝ่ายผิดก็ตาม
แต่ในใจเราก็คือดื้อมาก ขอโทษไปก็จริง เรื่องจบจริง แต่ใจมันไม่สงบง่ายๆเลย เพราะรู้สึกลึกๆว่านี่มันไม่ยุติธรรม แต่ก็เห็นแต่ผลลัพธ์ที่ก็ไตร่ตรองแล้วว่าดีกว่าให้เรื่องมันบานปลาย ก็เลยข่มใจไว้
แล้วก็ใช้เวลาเป็นตัวช่วยเยียวยาเสมอค่ะ บางครั้งก็จะใช้การเขียนไดอารี่กับตัวเองเป็นการระบายเอา
จะว่าเป็นคนยอมคนก็คงใช่ประมาณนึง มันก็มีบ้างค่ะที่จะโต้กลับแต่น้อย เรามักประเมินก่อนว่าการทะเลาะครั้งนั้นฝ่ายตรงข้ามมีแนวโน้มจะเข้าใจรึเปล่า
ถ้าเค้าดูรับฟังเราจะคุยด้วยเหตุผล ถ้าดูยังไงเค้าก็มีแต่ทิฐิอคติแน่ๆ อันนี้เราจะเลี่ยงเพราะมันเสียเวลา
ซึ่งที่เจอมาส่วนใหญ่มันก็เป็นอย่างหลัง เถียงไปเดี๋ยวก็ใช้อารมณ์กันเปล่าๆ เลยช่างมัน ยอมจบๆเรื่องก็ได้
พอเราเห็นว่าเรื่องจบ ฝ่ายตรงข้ามมาฉอดๆว่าเราเสร็จ ทำเราเสียหาย จบเรื่องเค้าก็ไปใช้ชีวิตดี๊ด๊า คือมันแอบแค้นค่ะ(เราเองก็ไม่ใช่คนใจดีขนาดนั้น...)
ในกรณีของการบูลลี่ก็เหมือนกันค่ะ เราเคยโดนแบบไร้สาระมากๆ ซึ่งเราก็เป็นฝ่ายขอโทษให้มันจบเรื่อง (เจ็บใจมากค่ะ แต่ตอนนั้นไม่มีทางเลือกอื่นที่คิดได้)
ความจริงเค้าผิดเราก็อยากให้เค้าขอโทษ เพราะเราพร้อมจะให้อภัยอยู่แล้ว แต่ของแบบนี้มันบังคับกันไปก็ไม่มีประโยชน์
บางคนเราก็อยากให้เค้าได้บทเรียนจริงๆว่าไม่ควรไปทำแบบนี้กับใคร บางคนก็เป็นคนใกล้ตัวที่สนิทมากๆ แต่เราก็รู้ว่าเราสอนเค้าไม่ได้ ก็เลยได้แต่เคืองกับตัวเอง เคืองทั้งเค้าทั้งตัวเองนี่แหละค่ะ ที่ไม่รู้ว่าต้องทำยังไงถึงจะดีที่สุด
เราไม่ชอบให้เค้ามาว่าหรือหาเรื่องเรา เราก็พยายามไม่ทำแบบนั้น
อันนี้เราก็ไม่รู้ว่าใช้หลักการนี้รึเปล่า เพราะสุดท้ายเราก็เป็นฝ่ายคิดมากอยู่ดี...
แล้วคนอื่นๆใช้หลักการนี้กันมั้ยคะ? มีวิธีพลิกแพลงการใช้งานแบบไหนบ้าง? หรือมีวิธีจัดการความคิดกันยังไง? เล่าสู่กันฟังได้นะค้า