ผู้เชี่ยวชาญนอร์เวย์ยังแนะ เลิกใช้วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า-จอห์นสันแอนด์สัน หวั่นผลข้างเคียงรุนแรง
https://www.matichon.co.th/foreign/news_2716682
ผู้เชี่ยวชาญนอร์เวย์ยังแนะ เลิกใช้วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า-จอห์นสันแอนด์สัน หวั่นผลข้างเคียงรุนแรง
เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลนอร์เวย์เพื่อประเมินการใช้วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า และ ของบริษัทจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ยังคงแนะนำให้ยุติการใช้วัคซีนของทั้งสองบริษัทนี้ในประเทศนอร์เวย์ เนื่องจากความเสี่ยงที่แม้จะเกิดขึ้นได้ยากแต่มีผลข้างเคียงที่รุนแรง และเพื่อหลีกเลี่ยงความล่าช้าของการกระจายวัคซีน คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญเสนอแนะให้ใช้วัคซีนดังกล่าวบนพื้นฐานความสมัครใจ
นาย
ลาร์ส วอร์แลนด์ หัวหน้าคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ กล่าวว่า พวกเขาไม่แนะนำให้ใช้วัคซีนชนิดที่ใช้อะดิโนไวรัสเป็นตัวนำพา (adenoviral vector vaccines) ในโครงการวัคซีนแห่งชาติ เนื่องจากพบว่าผลข้างเคียงรุนแรงในกลุ่มคนจำนวนเล็กๆ ที่ได้รับวัคซีนดังกล่าวเข้าไป
ด้านนาย
เบนท์ ฮอย รัฐมนตรีสาธารณสุขนอร์เวย์ ยังไม่ได้แสดงท่าทีใดๆ
ทั้งนี้จนถึงกลางเดือนมีนาคม จากที่มีการฉีดวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าในประเทศนอร์เวย์ไปแล้ว 134,000 โดส มีรายงานเกิดกรณีผู้ป่วยเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันรุนแรง 5 ราย โดยเป็นรายงานที่เกิดในกลุ่มคนหนุ่มสาวและเป็นผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงดี และมีผู้ได้รับวัคซีนอีกรายเสียชีวิตจากการเกิดภาวะเลือดออกในสมอง
นอร์เวย์ได้ระงับการใช้วัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าไปตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม ขณะที่ผลข้างเคียงจากการรับวัคซีนดังกล่าวที่ถูกระบุว่าเกิดขึ้นได้ยากนั้น ขณะนี้ยังคงอยู่ในระหว่างการศึกษาเพิ่มเติม
เมื่อวันที่ 15 เมษายน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขนอร์เวย์แนะนำให้เลิกใช้วัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้า แต่รัฐบาลนอร์เวย์เลือกที่จะตั้งคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญขึ้นเพื่อตรวจสอบความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าและวัคซีนของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ซึ่งวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 ของทั้งสองบริษัทใช้เทคโนโลยีเดียวกันในการพัฒนาวัคซีน
เพื่อไทย จี้รัฐบาล ปรับแผนฉีดวัคซีน แนะควรให้อำนาจผอ.เขต มีอำนาจตัดสินใจเอง
https://www.matichon.co.th/politics/news_2715558
“เพื่อไทย” จี้ รบ.ปรับแผนการฉีดวัคซีน แนะควรให้อำนาจ ผอ.เขตในกทม. มีอำนาจบริหารจัดการเรื่องฉีดวัคซีน-ล็อกดาวน์แต่ละเขต
เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 10 พฤษภาคม ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) นาย
วิชาญ มีนชัยนันท์ ประธานภาคกทม. พรรคพท. น.ส.
อรุณี กาสยานนท์ โฆษกพรรค พร้อมผู้สมัคร ส.ก. ของพรรค ร่วมกันแถลง
โดยน.ส.
อรุณี กล่าวว่า หลังรัฐบาลเปิดให้ประชาชนอายุ 60 ปีขึ้นไปและผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง 7 โรคลงทะเบียนฉีดวัคซีนตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม จนถึงปัจจุบันพบว่ามีผู้ลงทะเบียน เพียง 1.55 ล้านคน ซึ่งถือว่าน้อยมากจากที่ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 16 ล้านคน สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลสอบตกในการสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในการฉีดวัคซีน บกพร่องต่อการสื่อสารและทำความเข้าใจถึงประสิทธิภาพ และผลข้างเคียงที่แท้จริงให้กับประชาชนอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ หากรัฐบาลมีเป้าหมายเพื่อเร่งฉีดวัคซีนให้ได้มากที่สุด ควรเร่งดำเนินการดังนี้
1. ปรับเปลี่ยนแผนการลงทะเบียนฉีดวัคซีน ให้บุคคลทั่วไปที่สมัครใจและมีความพร้อม 2.ปรับให้กลุ่มอาชีพบริการซึ่งต้องสัมพันธ์กับการพบปะผู้คนในเมืองได้ฉีดวัคซีนก่อน เช่น จักรยานยนต์รับจ้าง, คนขับรถตู้, ตุ๊กตุ๊ก , พนักงานส่งพัสดุหรืออาหารเดลิเวรี ฯลฯ 3.เร่งสืบสวนหาสาเหตุอาการข้างเคียงของวัคซีน พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลอย่างชัดเจน และ 4.สร้างความเชื่อมั่นประชาชน หากเสียชีวิตหลังฉีดวัคซีน รัฐบาลควรจ่ายเงินชดเชยที่สูง โดยนำกรณีของต่างประเทศมาปรับใช้ เช่น ในมาเลเซีย หากเสียชีวิตหลังฉีดวัคซีน รัฐบาลจ่ายชดเชย 3.7 ล้านบาท, สิงคโปร์จ่าย 5.25 ล้านบาท แต่ไทยจ่ายไม่เกิน 4 แสนบาท
น.ส.
อรุณี กล่าวอีกว่า 1 ปีที่ผ่านมาของการระบาด รัฐบาลไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับคนประเทศได้ในทุกด้าน ทั้งในมิติของการแก้ไขปัญหา การรับมือ หรือการป้องกันการระบาด จึงไม่แปลกใจหากจะมีประชาชนทยอยเดินทางไปต่างประเทศเพื่อฉีดวัคซีน เพราะต้องการเลือกยี่ห้อวัคซีนเอง แต่ประชาชนคนทั่วไปไม่ได้มีโอกาสเลือกแบบนั้นทุกคน จึงอยากให้รัฐบาลเร่งสร้าง ภูมิคุ้มกันหมู่ให้เร็วที่สุด ก่อนที่ไทยจะเป็นประเทศเดียวที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ในขณะที่หลายประเทศกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว
นาย
วิชาญ กล่าวว่า จากการที่พรรคพท.ลงพื้นที่พบชาวบ้านโดยเฉพาะในพื้นที่ กทม. เห็นปัญหาต่างๆ เราได้แจกทั้งแมส และแอลกอฮอล์อย่างกว้างขวาง พร้อมประสานงานช่วยเหลือผู้ป่วยกว่า 76 ครั้ง ซึ่งสถิติที่ได้มาถอือว่ายังเป็นตัวเลขที่สูง ทางพรรคพท. จึงขอเสนอแนะให้รัฐบาล โดยเฉพาะกทม. ดำเนินการตามนี้
1. รัฐควรนำผู้ป่วยออกไปอยู่ที่โรงพยาบาล หรือสถานที่รักษา ขณะที่กลุ่มเสี่ยงก็ควรคัดออกจากชุมชนไปเลย ให้ไปอยูในสถานที่ที่จัดให้ 14 วัน เพราะไม่เช่นนั้น เขาก็ยังต้องดำเนินชีวิต ออกไปทำงาน ฯลฯ
2. กทม. ควรให้อำนาจกับผู้อำนวยการเขตในการบูรณาการในแต่ละเขต แล้วประสานงานกับส่วนราชการต่างๆโดยมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการจะล็อกดาวน์ในเขตต่างๆ รวมถึงดูแลในส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น อำนาจในการฉีดวัคซีน ฯลฯ ให้อำนาจเขาจัดการเลยโดยไม่ต้องรวมศูนย์อยู่ที่ กทม. เท่านั้น
3. รัฐ โดยกทม. ควรกำหนดการฉีดวัคซีน โดยแผนการดำเนินการต้องชัดเจน 4.ถ้าพบเจอผู้ติดเชื้อในชุมชนใดควรปิดกั้นชุมชนไปเบลย เช่น คลองเตย เมื่อเจอแล้วก็ห้าวบุคคลเดินทางเข้าออก แล้วคัดแยกผู้ป่วยให้รวดเร็ว ตอนนี้เขตราชเทวี ห้วยขวาง และวังทองหลาง มีเอกสารที่ชี้ให้เห็นว่าต้องการปิดชุมชน
นาย
วิชาญ กล่าวอีกว่า สำหรับการติดตามการดำเนินการของภาครัฐ และกทม.ที่ทีม กทม. เราทำ เห็นว่า กทม.ยังดำเนินการน้อยมาก โดยวัดที่ทำการฌาปนกิจผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโควิดสะท้อนมาว่า ไม่มีอุปกรณ์ป้องกันใดๆ กลุ่มจิตอาสา อสส. และมูลนิธิก็เช่นกัน ตนแนะนำเงินกองทัน 500 ล้านของสปสช.ที่อุดหนุน กทม. มาใช้ นอกจากนี้ ควรเร่งเขาไปดูแลผู้พิการ และผู้ป่วยติดเตียงตามบ้านอย่างเร่งด่วน
ดัชนีเชื่อมั่นอุตฯ ต่ำสุดในรอบ 8 เดือน ส.อ.ท. ตัดพ้อเอกชนนำเข้าวัคซีนเองไม่ได้
https://www.prachachat.net/breaking-news/news-665647
ส.อ.ท. เผยดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน เม.ย. 64 ลดลงต่ำสุดในรอบ 8 เดือน วอนรัฐเร่งจัดหาและฉีดวัคซีนให้ประชาชน ออกมาตรการเยียวยาทุกกลุ่ม ล่าสุดผลสำรวจเอกชนความต้องการฉีดวัคซีนขอนำเข้า-ควักจ่ายเอง 6,000 บริษัท จำนวนกว่า 1 ล้านคน อาจต้องชวด หลังรัฐรับปากจัดหาให้เพียงพอแน่นอน
วันที่ 10 พฤษภาคม 2564 นาย
สุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2564 อยู่ที่ระดับ 84.3 ปรับตัวลดลงจากระดับ 87.3 ในเดือนมีนาคม 2564 โดยค่าดัชนีฯ ปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบ 8 เดือน นับตั้งแต่เดือนกันยายน 2563
เนื่องจากผู้ประกอบการมีความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกที่ 3 ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและขยายวงกว้างไปทั่วประเทศ ส่งผลให้ภาครัฐยกระดับมาตรการควบคุมโควิด-19 ให้เข้มงวดมากขึ้น
แม้ว่าภาครัฐจะไม่ได้ประกาศมาตรการล็อกดาวน์ หรือเคอร์ฟิวเหมือนกับการระบาดในระลอกแรก แต่วิกฤตโควิด-19 ระลอก 3 ได้ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจชะลอตัวลงทั้งการค้าการลงทุน การเดินทางท่องเที่ยว ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ขณะที่มาตรการ Work From Home ถูกนำกลับมาใช้อีกครั้งเพื่อลดความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโควิด-19
อย่างไรก็ตาม ในเดือนเมษายนยังมีวันทำงานน้อย เนื่องจากมีวันหยุดต่อเนื่องในช่วงเทศกาลสงกรานต์ทำให้ภาคการผลิตส่วนใหญ่ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า
สำหรับดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 91.8 จากระดับ 94.0 ในเดือนมีนาคม 2564 เนื่องจากผู้ประกอบการมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 ระลอก 3 อยู่ ที่อาจยืดเยื้อและต้องใช้ระยะเวลานานในการควบคุม ขณะที่การฉีดวัคซีนให้กับประชาชนยังมีความล่าช้า ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอนสูง ขณะที่สถานการณ์โควิด-19 ในหลายประเทศยังไม่คลี่คลาย รวมทั้งสถานการณ์การเมืองของประเทศเพื่อนบ้านยังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อภาคการส่งออกของไทย
จึงเสนอแนะให้ภาครัฐ
1. เร่งควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกที่ 3 ให้ได้โดยเร็ว โดยใช้มาตรการล็อกดาวน์เฉพาะพื้นที่ที่มีความเสี่ยงและมีการแพร่ระบาดสูง
2. เร่งจัดซื้อและกระจายวัคซีน COVID-19 ให้กับประชาชนเพื่อควบคุมการแพร่ระบาด รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนเกี่ยวกับความปลอดภัยของวัคซีน
3. ออกมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ระลอกที่สามอย่างเร่งด่วน ให้ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่มและผู้ประกอบการเพื่อช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ
4. เร่งแก้ไขปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ที่ยังเป็นปัญหาต่อเนื่องเพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออก
“
เรื่องวัคซีนเรามีการสำรวจความต้องการจากเอกชนทั้งที่เป็นสมาชิกและไม่ใช่ ที่ต้องการนำวัคซีนไปฉีดให้พนักงานของเขา ล่าสุดพบว่ามีถึง 6,174 บริษัท จำนวนกว่า 1 ล้านคน ภายในเดือน มิ.ย.นี้ แต่ถ้าไม่ทันเราก็ต้องแจ้งยกเลิกเขาไป แม้เราจะพยายามทำเต็มที่แล้ว โดยหลังจากนี้ต้องรอรัฐเป็นผู้นำเข้า เพราะรัฐให้เหตุผลว่าไม่ต้องการให้เอกชนมาแบกรับภาระนี้”
JJNY : นอร์เวย์แนะเลิกใช้แอสตร้า J&J│พท.จี้ปรับแผนฉีดวัคซีน│เชื่อมั่นอุตฯต่ำรอบ8ด. ส.อ.ท.พ้อ│ท่องเที่ยวพัทยาวอนเยียวยา
https://www.matichon.co.th/foreign/news_2716682
ผู้เชี่ยวชาญนอร์เวย์ยังแนะ เลิกใช้วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า-จอห์นสันแอนด์สัน หวั่นผลข้างเคียงรุนแรง
เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลนอร์เวย์เพื่อประเมินการใช้วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า และ ของบริษัทจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ยังคงแนะนำให้ยุติการใช้วัคซีนของทั้งสองบริษัทนี้ในประเทศนอร์เวย์ เนื่องจากความเสี่ยงที่แม้จะเกิดขึ้นได้ยากแต่มีผลข้างเคียงที่รุนแรง และเพื่อหลีกเลี่ยงความล่าช้าของการกระจายวัคซีน คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญเสนอแนะให้ใช้วัคซีนดังกล่าวบนพื้นฐานความสมัครใจ
นายลาร์ส วอร์แลนด์ หัวหน้าคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ กล่าวว่า พวกเขาไม่แนะนำให้ใช้วัคซีนชนิดที่ใช้อะดิโนไวรัสเป็นตัวนำพา (adenoviral vector vaccines) ในโครงการวัคซีนแห่งชาติ เนื่องจากพบว่าผลข้างเคียงรุนแรงในกลุ่มคนจำนวนเล็กๆ ที่ได้รับวัคซีนดังกล่าวเข้าไป
ด้านนายเบนท์ ฮอย รัฐมนตรีสาธารณสุขนอร์เวย์ ยังไม่ได้แสดงท่าทีใดๆ
ทั้งนี้จนถึงกลางเดือนมีนาคม จากที่มีการฉีดวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าในประเทศนอร์เวย์ไปแล้ว 134,000 โดส มีรายงานเกิดกรณีผู้ป่วยเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันรุนแรง 5 ราย โดยเป็นรายงานที่เกิดในกลุ่มคนหนุ่มสาวและเป็นผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงดี และมีผู้ได้รับวัคซีนอีกรายเสียชีวิตจากการเกิดภาวะเลือดออกในสมอง
นอร์เวย์ได้ระงับการใช้วัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าไปตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม ขณะที่ผลข้างเคียงจากการรับวัคซีนดังกล่าวที่ถูกระบุว่าเกิดขึ้นได้ยากนั้น ขณะนี้ยังคงอยู่ในระหว่างการศึกษาเพิ่มเติม
เมื่อวันที่ 15 เมษายน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขนอร์เวย์แนะนำให้เลิกใช้วัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้า แต่รัฐบาลนอร์เวย์เลือกที่จะตั้งคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญขึ้นเพื่อตรวจสอบความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าและวัคซีนของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ซึ่งวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 ของทั้งสองบริษัทใช้เทคโนโลยีเดียวกันในการพัฒนาวัคซีน
เพื่อไทย จี้รัฐบาล ปรับแผนฉีดวัคซีน แนะควรให้อำนาจผอ.เขต มีอำนาจตัดสินใจเอง
https://www.matichon.co.th/politics/news_2715558
“เพื่อไทย” จี้ รบ.ปรับแผนการฉีดวัคซีน แนะควรให้อำนาจ ผอ.เขตในกทม. มีอำนาจบริหารจัดการเรื่องฉีดวัคซีน-ล็อกดาวน์แต่ละเขต
เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 10 พฤษภาคม ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) นายวิชาญ มีนชัยนันท์ ประธานภาคกทม. พรรคพท. น.ส.อรุณี กาสยานนท์ โฆษกพรรค พร้อมผู้สมัคร ส.ก. ของพรรค ร่วมกันแถลง
โดยน.ส.อรุณี กล่าวว่า หลังรัฐบาลเปิดให้ประชาชนอายุ 60 ปีขึ้นไปและผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง 7 โรคลงทะเบียนฉีดวัคซีนตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม จนถึงปัจจุบันพบว่ามีผู้ลงทะเบียน เพียง 1.55 ล้านคน ซึ่งถือว่าน้อยมากจากที่ตั้งเป้าหมายไว้ที่ 16 ล้านคน สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลสอบตกในการสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในการฉีดวัคซีน บกพร่องต่อการสื่อสารและทำความเข้าใจถึงประสิทธิภาพ และผลข้างเคียงที่แท้จริงให้กับประชาชนอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ หากรัฐบาลมีเป้าหมายเพื่อเร่งฉีดวัคซีนให้ได้มากที่สุด ควรเร่งดำเนินการดังนี้
1. ปรับเปลี่ยนแผนการลงทะเบียนฉีดวัคซีน ให้บุคคลทั่วไปที่สมัครใจและมีความพร้อม 2.ปรับให้กลุ่มอาชีพบริการซึ่งต้องสัมพันธ์กับการพบปะผู้คนในเมืองได้ฉีดวัคซีนก่อน เช่น จักรยานยนต์รับจ้าง, คนขับรถตู้, ตุ๊กตุ๊ก , พนักงานส่งพัสดุหรืออาหารเดลิเวรี ฯลฯ 3.เร่งสืบสวนหาสาเหตุอาการข้างเคียงของวัคซีน พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลอย่างชัดเจน และ 4.สร้างความเชื่อมั่นประชาชน หากเสียชีวิตหลังฉีดวัคซีน รัฐบาลควรจ่ายเงินชดเชยที่สูง โดยนำกรณีของต่างประเทศมาปรับใช้ เช่น ในมาเลเซีย หากเสียชีวิตหลังฉีดวัคซีน รัฐบาลจ่ายชดเชย 3.7 ล้านบาท, สิงคโปร์จ่าย 5.25 ล้านบาท แต่ไทยจ่ายไม่เกิน 4 แสนบาท
น.ส.อรุณี กล่าวอีกว่า 1 ปีที่ผ่านมาของการระบาด รัฐบาลไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับคนประเทศได้ในทุกด้าน ทั้งในมิติของการแก้ไขปัญหา การรับมือ หรือการป้องกันการระบาด จึงไม่แปลกใจหากจะมีประชาชนทยอยเดินทางไปต่างประเทศเพื่อฉีดวัคซีน เพราะต้องการเลือกยี่ห้อวัคซีนเอง แต่ประชาชนคนทั่วไปไม่ได้มีโอกาสเลือกแบบนั้นทุกคน จึงอยากให้รัฐบาลเร่งสร้าง ภูมิคุ้มกันหมู่ให้เร็วที่สุด ก่อนที่ไทยจะเป็นประเทศเดียวที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ในขณะที่หลายประเทศกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว
นายวิชาญ กล่าวว่า จากการที่พรรคพท.ลงพื้นที่พบชาวบ้านโดยเฉพาะในพื้นที่ กทม. เห็นปัญหาต่างๆ เราได้แจกทั้งแมส และแอลกอฮอล์อย่างกว้างขวาง พร้อมประสานงานช่วยเหลือผู้ป่วยกว่า 76 ครั้ง ซึ่งสถิติที่ได้มาถอือว่ายังเป็นตัวเลขที่สูง ทางพรรคพท. จึงขอเสนอแนะให้รัฐบาล โดยเฉพาะกทม. ดำเนินการตามนี้
1. รัฐควรนำผู้ป่วยออกไปอยู่ที่โรงพยาบาล หรือสถานที่รักษา ขณะที่กลุ่มเสี่ยงก็ควรคัดออกจากชุมชนไปเลย ให้ไปอยูในสถานที่ที่จัดให้ 14 วัน เพราะไม่เช่นนั้น เขาก็ยังต้องดำเนินชีวิต ออกไปทำงาน ฯลฯ
2. กทม. ควรให้อำนาจกับผู้อำนวยการเขตในการบูรณาการในแต่ละเขต แล้วประสานงานกับส่วนราชการต่างๆโดยมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการจะล็อกดาวน์ในเขตต่างๆ รวมถึงดูแลในส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น อำนาจในการฉีดวัคซีน ฯลฯ ให้อำนาจเขาจัดการเลยโดยไม่ต้องรวมศูนย์อยู่ที่ กทม. เท่านั้น
3. รัฐ โดยกทม. ควรกำหนดการฉีดวัคซีน โดยแผนการดำเนินการต้องชัดเจน 4.ถ้าพบเจอผู้ติดเชื้อในชุมชนใดควรปิดกั้นชุมชนไปเบลย เช่น คลองเตย เมื่อเจอแล้วก็ห้าวบุคคลเดินทางเข้าออก แล้วคัดแยกผู้ป่วยให้รวดเร็ว ตอนนี้เขตราชเทวี ห้วยขวาง และวังทองหลาง มีเอกสารที่ชี้ให้เห็นว่าต้องการปิดชุมชน
นายวิชาญ กล่าวอีกว่า สำหรับการติดตามการดำเนินการของภาครัฐ และกทม.ที่ทีม กทม. เราทำ เห็นว่า กทม.ยังดำเนินการน้อยมาก โดยวัดที่ทำการฌาปนกิจผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโควิดสะท้อนมาว่า ไม่มีอุปกรณ์ป้องกันใดๆ กลุ่มจิตอาสา อสส. และมูลนิธิก็เช่นกัน ตนแนะนำเงินกองทัน 500 ล้านของสปสช.ที่อุดหนุน กทม. มาใช้ นอกจากนี้ ควรเร่งเขาไปดูแลผู้พิการ และผู้ป่วยติดเตียงตามบ้านอย่างเร่งด่วน
ดัชนีเชื่อมั่นอุตฯ ต่ำสุดในรอบ 8 เดือน ส.อ.ท. ตัดพ้อเอกชนนำเข้าวัคซีนเองไม่ได้
https://www.prachachat.net/breaking-news/news-665647
ส.อ.ท. เผยดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน เม.ย. 64 ลดลงต่ำสุดในรอบ 8 เดือน วอนรัฐเร่งจัดหาและฉีดวัคซีนให้ประชาชน ออกมาตรการเยียวยาทุกกลุ่ม ล่าสุดผลสำรวจเอกชนความต้องการฉีดวัคซีนขอนำเข้า-ควักจ่ายเอง 6,000 บริษัท จำนวนกว่า 1 ล้านคน อาจต้องชวด หลังรัฐรับปากจัดหาให้เพียงพอแน่นอน
วันที่ 10 พฤษภาคม 2564 นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2564 อยู่ที่ระดับ 84.3 ปรับตัวลดลงจากระดับ 87.3 ในเดือนมีนาคม 2564 โดยค่าดัชนีฯ ปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบ 8 เดือน นับตั้งแต่เดือนกันยายน 2563
เนื่องจากผู้ประกอบการมีความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกที่ 3 ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและขยายวงกว้างไปทั่วประเทศ ส่งผลให้ภาครัฐยกระดับมาตรการควบคุมโควิด-19 ให้เข้มงวดมากขึ้น
แม้ว่าภาครัฐจะไม่ได้ประกาศมาตรการล็อกดาวน์ หรือเคอร์ฟิวเหมือนกับการระบาดในระลอกแรก แต่วิกฤตโควิด-19 ระลอก 3 ได้ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจชะลอตัวลงทั้งการค้าการลงทุน การเดินทางท่องเที่ยว ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ขณะที่มาตรการ Work From Home ถูกนำกลับมาใช้อีกครั้งเพื่อลดความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโควิด-19
อย่างไรก็ตาม ในเดือนเมษายนยังมีวันทำงานน้อย เนื่องจากมีวันหยุดต่อเนื่องในช่วงเทศกาลสงกรานต์ทำให้ภาคการผลิตส่วนใหญ่ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า
สำหรับดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 91.8 จากระดับ 94.0 ในเดือนมีนาคม 2564 เนื่องจากผู้ประกอบการมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 ระลอก 3 อยู่ ที่อาจยืดเยื้อและต้องใช้ระยะเวลานานในการควบคุม ขณะที่การฉีดวัคซีนให้กับประชาชนยังมีความล่าช้า ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอนสูง ขณะที่สถานการณ์โควิด-19 ในหลายประเทศยังไม่คลี่คลาย รวมทั้งสถานการณ์การเมืองของประเทศเพื่อนบ้านยังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อภาคการส่งออกของไทย
จึงเสนอแนะให้ภาครัฐ
1. เร่งควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกที่ 3 ให้ได้โดยเร็ว โดยใช้มาตรการล็อกดาวน์เฉพาะพื้นที่ที่มีความเสี่ยงและมีการแพร่ระบาดสูง
2. เร่งจัดซื้อและกระจายวัคซีน COVID-19 ให้กับประชาชนเพื่อควบคุมการแพร่ระบาด รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนเกี่ยวกับความปลอดภัยของวัคซีน
3. ออกมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ระลอกที่สามอย่างเร่งด่วน ให้ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่มและผู้ประกอบการเพื่อช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ
4. เร่งแก้ไขปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ที่ยังเป็นปัญหาต่อเนื่องเพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออก
“เรื่องวัคซีนเรามีการสำรวจความต้องการจากเอกชนทั้งที่เป็นสมาชิกและไม่ใช่ ที่ต้องการนำวัคซีนไปฉีดให้พนักงานของเขา ล่าสุดพบว่ามีถึง 6,174 บริษัท จำนวนกว่า 1 ล้านคน ภายในเดือน มิ.ย.นี้ แต่ถ้าไม่ทันเราก็ต้องแจ้งยกเลิกเขาไป แม้เราจะพยายามทำเต็มที่แล้ว โดยหลังจากนี้ต้องรอรัฐเป็นผู้นำเข้า เพราะรัฐให้เหตุผลว่าไม่ต้องการให้เอกชนมาแบกรับภาระนี้”