การปวดท้องประจำเดือนและการมีบุตรยาก อาจสัมพันธ์กับท้องผูก

การปวดท้องประจำเดือนและการมีบุตรยาก อาจสัมพันธ์กับท้องผูก
(บทความนี้ เขียนจากการสังเกต และอธิบายตามPathophysiology ที่น่าจะเป็น)


ประจําเดือนหรือระดูคือการมีเลือดออกจากมดลูกของเด็กหญิงที่เริ่มถึงวัยเจริญพันธุ์จนกว่าจะสูงอายุและเกิดภาวะหมดประจำเดือน

ขอลอกบทความและรูปจาก wikipedia เรื่องประจำเดือน

ในช่วงวันที่ 1-14 ของเดือนจะมีการสร้างและ การเจริญของไข่จนสุกเต็มที่ช่วงนี้เรียกว่า Follicular phaseโดยจะมี ฮอร์โมน follicle stimulating hormone (FSH) กระตุ้นรังไข่ให้ สร้าง estrogen เพื่อควบคุมการสร้างไข่และการ เจริญของไข่ในช่วงนี้ระดับ ฮอร์โมน estrogen จึงมีปริมาณสูงขึ้น

• ในช่วงวันที่ 14-28 ของเดือนจะมีการสร้าง ฮอร์โมน Luteinizing hormone (LH) ซึ่งจะเป็น ฮอร์โมนที่กระตุ้นให้รังไข่สร้างฮอร์โมน progesterone และระดับ ฮอร์โมน LH จะมี ปริมาณสูงขึ้นก่อนวันที่มีการตกไข่เพราะ ฮอร์โมน LH จะกระตุ้นให้ไข่ตก ส่วน ฮอร์โมน progesterone จะควบคุมการหนาตัวของเยื่อบุ มดลูกเพื่อรองรับไข่ที่ถูกผสม ดังนั้นในช่วงนี้ ระดับ progesterone จะสูงถ้าไข่ไม่ได้ถูกผสม ระดับ progesterone จึงจะลดระดับต่ำลง เยื่อบุ มดลูกที่หนาตัวนี้....ก็จะลอกตัวหลุดออก  (เป็นกลุ่มเซลล์ที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น)ทำให้มีแผลในโพรงมดลูก และมีเลือดออกจากแผลมาเป็นประจำเดือน

ช่วงนี้มดลูกจะบวมเป่งจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและข้างในมีเลือดที่ค้างและเซลล์ของเยื่อบุมดลูกที่หลุดลอกตัวมาลอยอยู่ในนั้น
แล้วจะค่อยไหลออกมาเป็นเลือดประจำเดือน

แต่ถ้าในช่วงนั้นถ้ามีการเพิ่มความดันในช่องท้องจากการเบ่งถ่ายอุจจาระในผู้ป่วยท้องผูก จะเพิ่มความดันในช่องท้องอย่างมากจะดันให้เลือดประจำเดือนและเซลล์เยื่อบุที่ลอกตัวออกมา ไหลออกจากปากมดลูกเร็วขึ้น
แต่ถ้าแรงดันในช่องท้องยังสูงมาก  จากการเบ่งถ่ายและปริมาณเลือดที่ค้างอยู่มาก
แรงเบ่ง จะกดตัวมดลูกทำให้เลือดบางส่วน ที่มีเยื่อบุมดลูกที่ลอกตัว ไหลย้อนทวนไปทางท่อรังไข่ หลุดลงไปในช่องท้อง และตกในช่องท้องส่วนล่าง
เซลล์เยื่อบุมดลูกที่ยังไม่ตายเมื่อตกลงบนเยื่อบุช่องท้องจะมีเลือดมาเลี้ยงและมีชีวิตเกิดขึ้นมาใหม่แล้วจะมีการหลุดลอกเลือดออกทุกครั้งที่มีประจำเดือน
และเลือดที่พุ่งออกจากท่อรังไข่ จากการเบ่งถ่าย
จะทำให้เกิดการอักเสบในช่องท้องส่วนล่างทำให้เกิดมีพังผืดในช่องท้อง
เมื่อเวลาผ่านไปนานเข้า
เมื่อยังมีการเบ่งถ่ายเป็นประจำตอนมีประจำเดือน
เลือดและเยื่อบุมดลูกที่ลอกตัวที่ออกมาทางท่อรังไข่จะหลุดเข้ามาในช่องท้องมากขึ้นในช่วงมีประจำเดือน

ทำให้มีอาการปวดท้องในช่วงมีประจำเดือนอย่างมาก

ในการผ่าตัดช่องท้องหรือส่องกล้องเข้าช่องท้องในผู้ป่วยโรคเยื่อบุมดลูกอยู่ผิดที่(endometriosis)
จะพบกลุ่มถุงน้ำเยื่อบุมดลูกเลือด กระจายตัวเป็นหย่อมๆเต็มในอุ้งเชิงกราน
และมีพังผืดรอบๆไปยึดมดลูกกระเพาะปัสสาวะและลำไส้ทำให้มีการดึงรั้งของท่อรังไข่ให้ตีบแคบ ซึ่งเป็นผลให้บางคนเป็นโรคนี้มีบุตรยาก หรือมีท้องนอกมดลูก หรือในท่อรังไข่

ดังนั้นการรักษาเรื่องท้องผูกจะแก้ไขปัญหาโรคนี้แต่ต้นๆได้

นพ.สุทธิศักดิ์ วุฒิพันธ์เรืองชัย 6 พค.2564
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่